ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการด้านการเมืองและการปกครองของไทย

    ลำดับตอนที่ #5 : การเมืองการปกครองของไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 12.32K
      4
      5 พ.ย. 52

    ลักษณะการปกครองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ..2475

    1.พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

    2.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ

    3.อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทยและเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

    4.ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา รัฐบาลและศาล

    5.ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน

    6.ประชาชนเลือกตัวแทนในการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี

    7.ในการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

    - การปกครองส่วนกลาง แบ่งเป็น กระทรวง ทบวง กรมต่าง
    - การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น จังหวัด และอำเภอ
    - การปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองคการบริหารส่วนตำบล

     

                 การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยเป็นไปอย่างสงบไม่รุนแรงเหมือนบางประเทศ แต่อย่างไรก็ตามลักษณะการเมืองการปกครอง มิได้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์  อำนาจบางส่วนตกอยู่กับผู้นำทางการเมือง หรือผู้บริหารประเทศ มีการขัดแย้งกันในด้านนโยบาย  มีการแย่งชิงผลประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง ระบบการปกครองของไทยจึงมีลักษณะกลับไปกลับมาระหว่างประชาธิปไตยกับคณาธิปไตย (การปกครองโดยคณะปฏิวัติ)

     

    ประชาธิปไตย หลัง 14 ตุลาคม 2516
                  จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ.2511 หลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511 ซึ่งใช้เวลาร่างถึง 10 ปีแต่หลังจากบริหารประเทศมาเพียง 3 ปีเศษ จอมพลถนอม กิตติขจร และคณะได้ทำการปฏิวัติตนเองและล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 และได้เข้าควบคุมการบริหารประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ

    การบริหารประเทศโดยคณะปฏิวัติ ซึ่งนำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร หรือกลุ่ม ถนอม-ประภาส-ณรงค์ ถูกมองว่าเป็นการทำการปฏิวัติเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและกลุ่ม มีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นมากมาย ในที่สุด นิสิต นักศึกษา และประชาชนได้ร่วมกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญและขับไล่รัฐบาล จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ซึ่งเรียกเป็นวันมหาวิปโยคในที่สุดจอมพลถนอม กิตติขจรและคณะต้องลาออกจากตำแหน่งและเดินทางออกนอกประเทศภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

     

    นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีระยะหนึ่งในระยะนี้ถือว่าเป็นการตื่นตัวในทางประชาธิปไตยอย่างมาก มีการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพมากขึ้น มีการจัดหยุดงาน (สไตร๊ค์) มีการแสดงออกในทางเสรีภาพด้านการพูด การเขียน จำนวนหนังสือพิมพ์ได้มีออกจำหน่ายมากขึ้น มีกลุ่มพลังทางการเมืองเกิดขึ้นมากมาย มีการเดินขบวน เพื่อเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์หลายครั้ง  เหตุการณ์เหล่านี้ได้สร้างความเบื่อหน่ายให้กับประชาชนเรื่อยมา อีกทั้งคุณภาพของผู้แทนราษฎรไม่ดีไปกว่าเดิม นิสิตนักศึกษาได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเหตุการณ์วุ่นวายต่างๆ

     

    จนในที่สุดเกิดวิกฤติการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 ทหารในนามคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้แต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร บริหารประเทศมาได้เพียง 1 ปี คณะปฏิรูปฯ ได้ยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง และครั้งหลังนี้ได้แต่งตั้งพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2523 จึงได้ลาออกจากตำแหน่ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจาก พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ดำรงตำแหน่งมาจนถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2531 รวมระยะเวลา 8 ปีเศษได้มีการปรับปรุงคณะรัฐบาลหลายครั้ง ในระหว่างดำรงตำแหน่ง มีผู้พยายามทำการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ สมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ชื่อว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ทางด้านการเมืองการปกครอง มีการพัฒนาโครงสร้างทางการเมืองให้เข้มแข็ง รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ก้าวหน้าด้วย

     

    พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อจากพลเอกเปรมติณสูลานนท์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2531 และถือได้ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความชอบธรรมในกระบวนการบริหารตามระบอบประชาธิปไตยรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ถูกคณะทหารซึ่งเรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทำการยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 และได้แต่งตั้งให้ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ทำการบริหารประเทศมาได้ปีเศษจึงพ้นจากตำแหน่งไป

     

    เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่นำโดย พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีพลเอก สุจินดา คราประยูรไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งจึงถูกต่อต้านจากพรรคการเมืองบางพรรค นิสิตนักศึกษา และประชาชนบางกลุ่ม จนนำไปสู่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬเมื่อวันที่ 15-17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 และในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ลาออกจากตำแหน่ง

    นายอานันท์ ปันยารชุน ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายสำคัญที่การยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่และเมื่ออยู่ในตำแหน่งได้ประมาณ 3 เดือนเศษ นายอานันท์ ปันยารชุน จึงได้ทำการยุบสภา เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2535

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×