มอนอ มุมมองใหม่
ผู้เข้าชมรวม
643
ผู้เข้าชมเดือนนี้
4
ผู้เข้าชมรวม
วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม นำสังคม มหาราชแห่งความภูมิใจ มหาวิทยาลัยแห่งปัญญา | ||
วิทยาเขตหลัก ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก วิทยาเขตพะเยา |
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ความเป็นมาเกี่ยวกับประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวรนั้นมีสภาพการที่สืบต่อเนื่องกันมาหลายขั้นตอน โดยเริ่มต้นจากการเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2510 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ ภายหลังการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 16 กันยายน วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก เริ่มรับนิสิตรุ่นแรกเข้าเรียนในชั้นปีที่ 3 ในปี พ.ศ. 2510 จำนวนคนแต่เนื่องจากความไม่พร้อมของสถานที่จึงได้ฝาก เรียนที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน 60 คน วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน 60 คน และในปี พ.ศ. 2511 จึงเริ่มเปิดการเรียนการสอนโดยรับนิสิตเข้าศึกษาต่อใน ชั้นปีที่ 3 โดยดำเนินการสอนที่พิษณุโลกต่อมาวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 นามมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตามหนังสือด่วนมากของสำนักพระราชวังที่ รล. 0002/1601 ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 และพระราชทานความหมายกำกับว่า "ศรีนครินทรวิโรฒ" (มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็น ศรีสง่า แก่มหานคร วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก ซึ่งเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา 1 ใน 8 ขณะนั้นจึงยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัย โดยเป็นวิทยาเขต 1 ใน 8 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อันมี วิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหารของมหาวิทยาลัยโดยในขณะนั้น มหาวิทยาลัย มีที่ดินอยู่ในครอบครอง 1 แปลง คือโฉนดที่ดินเลขที่ 6498 เนื้อที่ 102-3-37 ไร่ ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแล้ว ในปี พ.ศ. 2522 มหาวิทยาลัยได้ขออนุญาตกระทรวงหมาดไทยใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ บริเวณทุ่งหนองอ้อปากคลองจิกเนื้อที่ตามหนังสือสำคัญ สำหรับหลวง 1280-2-85 ไร่ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีการกำหนดเขตที่ดินบริเวณนี้เป็นเขตจัดรูปที่ดินอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงขอใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ได้รับอนุมัติแล้วได้นำขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยทำการรังวัดที่ดินใหม่เป็น 2 แปลง แปลงที่ 1 มีพื้นที่ 1283-3-06 ไร่ ทะเบียนราชพัสดุเลยที่ 903 แปลงที่ 2 มีพื้นที 102-3-37 ไร่ ทะเบียนราชพัสดุเลขที่ 904 รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคและมีมติรับหลักการที่จะยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก ขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยเอกเทศในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ 2527 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการตราพระราชบัญญัติ จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น ช่วงปีพ.ศ. 2527-2531 มหาวิทยาลัยได้เตรียมความพร้อมสำหรับมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ โดยจัดทำผังแม่บทการเตรียมงบประมาณทางด้าน การก่อสร้าง และพัฒนาด้านอาคารสถานที่ และบุคลากร รัฐบาลขณะนั้นมี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้ยกฐานะวิทยาเขตพิษณุโลก ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ และได้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2533 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่มที่ 107 ตอนที่ 131 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 400 ปี ของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณูปการอันใหญ่หลวงแก่แผ่นดินไทย อีกทั้งยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีประสูติกาล และจำเริญวัยที่เมืองพิษณุโลก มหาวิทยาลัย จึงได้กำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 เป็นวันกำเนินมหาวิทยาลัย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่นี้ว่า "มหาวิทยาลัยนเรศวร" เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2532 นับเวลาจากการเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา 7 ปี และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอีก 16 ปี รวมเวลาแห่งการก่อตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ใช้เวลา ยาวนานถึง 23 ปี มน.(NU) คือ อักษรย่อทางราชการ ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร นเรศวร คือพระนามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชองค์มหากษัตราธิราชผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยให้หลุดพ้นจาก สี คือ สีเทา-แสด มหาวิทยาลัยนเรศวร มีอุดมการณ์ มุ่งมั่นที่จะดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้พระราชทานความเป็นไท ความสงบ ความผาสุกแก่ปวงชนชาวไทยมาแล้วในอดีต ดังนั้น มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงมุ่งเน้นที่จะสืบสานให้สังคมไทยเป็นไทจากอวิชชา โดยค้นคว้าและสะสมองค์ความรู้เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบและสันติสุข มุ่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี เพื่อเป็นมรดกของชาติ สืบไป มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ ( Comprehensive University ) ตั้งขึ้นในภูมิภาค เพื่อรับผิดชอบในเขตภาคเหนือตอนล่าง มุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูงทุกด้าน เป็นศูนย์รวมแหล่งวิทยาการต่าง ๆ ที่มีคุณค่าต่อมวลมนุษย์ มุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่จะให้สังคมไทยเป็นไทจากอวิชชา โดยการผลิตบัณฑิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นแหล่งรวมและเสริมสร้างองค์ความรู้
พ.ศ. 2497 ภายหลังการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรซึ่งจัดขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นเวลา 13 ปี โดยเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาแห่งที่ 4 รองจากประสานมิตร ปทุมวัน และบางแสน ตามลำดับ
ความเป็นประเทศราชของพม่า ครั้งเสียกรุงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2112 ทรงประกอบวีรกรรม กล้าหาญนำชาติให้ก้าวสู่ความเป็นเอกราชเกรียงไกร เทียมไหล่นานาประเทศ ทรงเป็นพระมหากษัตรธิราช ทรงมีพระประสูติกาล ทรงพระเจริญวัยที่เมืองพิษณุโลก ทรงเป็นศรัทธา ความภูมิใจ เป็นศักดิ์ศรีของคนชาวพิษณุโลกและคนไทยทั้งชาติตราสัญลักษณ์ เป็นพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในท่านั่ง พระหัตถ์ขวาทรงสุวรรณภิงคารหลั่งทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพ ตอนล่างพระแท่นมีอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนเรศวร อยู่ภายในป้ายชายธง ตราสัญลักษณ์ เป็นรูปช้างศึก อยู่ในโล่ห์กลมแบบโบราณ ตอนล่างรูปช้างศึกมีอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนเรศวร อยู่ภายในป้ายชายธง ดอกไม้ คือ ดอกเสลา
สีเทา หมายถึงสีของสมอง แปลว่าความคิดหรือปัญญา
สีแสด หมายถึงสีของคุณธรรมและความกล้าหาญ
สีแสดประกอบด้วย
สีแดง หมายถึงสมเด็จพระนเรศวร แปลว่าความกล้าหาญ
สีเหลือง หมายถึงพระพุทธชินราช แ ปลว่าคุณธรรม
เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมไทยให้นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง รวมทั้งการแข่งขันได้แบบยั่งยืนในประชาคมโลก
การศึกษา
มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกครอบคลุมทั้งสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรภาคปกติ ภาคพิเศษ และหลักสูตรนานาชาติรวมทั้งสิ้น 208 หลักสูตร แบ่งเป็นระดับประกาศนียบัตร 5 หลักสูตร, ปริญญาตรี 85 หลักสูตร, ปริญญาโท 88 หลักสูตร และปริญญาเอก 30 หลักสูตร[2]
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนเรศวรมีหน่วยงานในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 16 คณะ 2 วิทยาลัย[15] ดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ยังมีบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งหมด
มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกระจายโอกาสและการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่จังหวัดพะเยาขึ้น โดยให้ชื่อว่า "วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา" ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 และเริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2542[11]
ต่อมาคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยได้มีมติเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา เป็น "มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา" เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550[16] เพื่อเตรียมยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคตต่อไป
มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ประมาณ 5,700 ไร่[17] ปัจจุบัน ประกอบไปด้วยสำนักวิชา 12 สำนักวิชา[18] ดังนี้
มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิทยบริการ เพื่อขยายเครือข่ายการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาไปยังจังหวัดต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้สนใจศึกษาต่อที่ไม่สามารถมาเรียนโดยตรงที่มหาวิทยาลัยได้ โดยมีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวรกำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนของศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยทั้งหมด[19] ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนเรศวรได้เปิดทำการเรียนการสอน ณ ศูนย์วิทยบริการ 10 แห่งดังต่อไปนี้[20][21]
อาคารเวฟเพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน โรงเรียนวัชรวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 1 ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ โรงเรียนตากพิทยาคม ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ | โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร โรงเรียนวิทยานุกูลนารี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ โรงเรียนอุทัยวิทยาคม ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี |
จากการที่มหาวิทยาลัยนเรศวรได้วางเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยเป็น "มหาวิทยาลัยวิจัย (Research University) "[10] จึงได้มีการจัดตั้งสถาบันต่าง ๆ เพื่อบริหารจัดการ ประสานงานและรวบรวมงานวิจัยต่าง ๆ ของคณาจารย์และนิสิตของมหาวิทยาลัยดังนี้
ในแต่ละปี สถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนเรศวรมีการจัด "การประชุมวิชาการ นเรศวรวิจัย (Naresuan Research Conference)" ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและผู้ที่สนใจนำเสนอผลงานวิจัยและการสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งในปี พ.ศ. 2552 นี้ การประชุมวิชาการ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 5 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ณ อาคารเรียนรวมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีหัวข้อการประชุม เรื่อง "งานวิจัยกับการพัฒนาเชิงพื้นที่"
ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล ISI ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2548 มีทั้งสิ้น 112 เรื่อง[22] ส่วนในปี พ.ศ. 2552 นั้น มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับทุนวิจัยรวมทั้งสิ้น 373 โครงการ[23] โดยแบ่งตามสาขาดังนี้
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากหน่วยงานอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยนานาชาติ และเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง ที่ได้รับทุนวิจัยรวมอีก 76 โครงการ
ผลงานอื่นๆ ของ atomy pitlok ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ atomy pitlok
ความคิดเห็น