“นิทานเปรียบดั่งกระจกเงาของชีวิต” - “นิทานเปรียบดั่งกระจกเงาของชีวิต” นิยาย “นิทานเปรียบดั่งกระจกเงาของชีวิต” : Dek-D.com - Writer

    “นิทานเปรียบดั่งกระจกเงาของชีวิต”

    ผู้เข้าชมรวม

    535

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    535

    ความคิดเห็น


    4

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  1 ม.ค. 56 / 12:09 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      “นิทานเปรียบดั่งกระจกเงาของชีวิต”

                 นิทาน ถือเป็นเรื่องราวที่ทุกคนล้วนเคยสัมผัสมาแล้วทั้งนั้น   ตอนเด็กๆพ่อแม่อ่านนิทานกล่อมนอนเราอยู่เสมอ เพราะนิทานจะทำให้เรานอนหลับโดยไม่ต้องใช้ยานอนหลับเลย   อีกทั้งนิทานยังทำให้เด็กเกิดพัฒนาการในเวลาเดี่ยวกันอีกด้วย   ถือว่านิทานนั้นมีความสำคัญกับชีวิตเราตั้งแต่เด็กๆจนปัจจุบันนี้ถึงอายุของคนๆนั้นจะล้วงเลยไปถึง 50 ปี ไปแล้วก็ตาม  นิทานก็ยังสมารถกินใจได้ทุกวัยเหมือนเดิม เปลี่ยนก็แต่ตรงที่ว่าผู้ใหญ่จะฟังนิทานแล้วจะพูดว่า นิทานไม่ใช่เรื่องจริง นิทานเป็นแค่เรื่องที่แต่งขึ้นมาหลอกเด็กเท่านั้น ดั่งคำพูดที่ว่า “นิทานหลอกเด็ก”   ส่วนเด็กเมื่อฟังนิทานแล้วจะเชื่อเป็นเรื่องจริง จนบ้างครั้งเด็กจะร้องไห้ เพราะสงสารตัวละครบ้างตัวก็มีเพราะเด็กนั้นจะจินตนาการไปเรื่อยๆ   แต่ผู้ใหญ่จะไม่อาการแบบนี้เลย   จากแง่ความคิดนี้มันบ่งบอกถึงจินตนาการของเด็กกับผู้ใหญ่  ว่าผู้ใหญ่มักจะมีจินตนาการน้อยกว่าเด็ก   มีการทดลองที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง โดยใช้กลุ่มเป๋าหมาย 2 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนมัธยมและนักเรียนอนุบาล โดยวาดรูปวงกลมเล็กๆบนกระดานแล้วถามนักเรียนว่าคืออะไร? นักเรียนมัธยมทั้งหมดตอบว่า”วงกลม” แต่สำหรับ นักเรียนอนุบาล กลับได้คำตอบที่หลากหลายเช่น “ฟุตบอล ไข่ไก่ ดวงอาทิตย์ ลูกชิ้น”  ผลการทดลองสรุปว่า จินตนาการหายไปหมด เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้มากขึ้น  ผลการทดลองนี้มันสอดคล้องกับแง่ความคิดที่ผมได้พูดข้างต้นเลยครับ   2 เรื่องที่แตกต่าง กลับมีคำตอบไปในแนวเดี่ยวกันคือ จินตนาการของวัยผู้ใหญ่หายไปเพราะการได้เรียนรู้มากขึ้นหรือเก่งขึ้นอย่างนั้นหรือ?  ถ้าเรามีจินตนาการแต่ไม่มีความรู้ แล้วเราจะฉลาดอย่างไร? 2 คำถามที่แตกต่างเช่นกัน  แต่มีคำกล่าวของเจ้าพ่อจินตนาการที่เรารู้จักก็คือ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ที่กล่าวไว้ว่า  “จินตนาการเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าความรู้  ความรู้มีข้อจำกัด  ขณะที่จินตนาการแผ่คลุมไปทั่วทั้งโลก  กระตุ้นความก้าวหน้า  และให้กำเนิดแก่วิวัฒนาการ”   โอ๋... จินตนาการ มีความสำคัญขนาดนี้เลยหรือ? ว่าแต่ท่านผู้อ่านที่อ่านบทความผมอยู่ตอนนี้ คิดว่า จินตนาการของคุณนั้นเป็นแบบใด และจินตนาการสำคัญกับคุณไม?   2 คำถาม ที่คำตอบอยู่ที่คุณ   เอาละเรามาเข้าเรื่องนิทานกันต่อ ส่วนเรื่องจินตนาการ นั้นผมคิดว่าคุณคงจะตอบ2 คำถามที่ผมถามไปแล้วเมื่อไม่กี่วินาที  ที่ผ่านมาใช่ไมครับ? คำถามนี้มี 2 ตัวเลือกให้ตอบ คือ ถ้าใช่ คุณอ่านบทความผมต่อ  แต่ถ้าไม่ใช่ คุณก็ควรอ่านบทความผมต่อเช่นกัน สรุปคือ อ่านบทความผมต่อ(แล้วจะพบคำตอบเองว่าทำไหมควรอ่านต่อ)   ที่ผมกำลังเขียนบทความอยู่นี้  ท่านผู้อ่านรู้ไมครับว่า บรรยากาศรอบๆตัวผมเป็นอย่างไร    ผมจะบรรยายละกันครับ ขณะที่ผมบรรยายนั้น ท่านผู้อ่านก็จินตนาการไปด้วยน่ะครับว่า ภาพผมตอนเขียนบทความนี้เป็นอย่างไร หรือท่านจะเอากระดาษมาวาดรูปก็ได้ครับ(วาดรูปตอนผมเขียนบทความ) เตรียมพร้อมหรือยังครับครับท่านผู้อ่าน ผมจะเริ่มบรรยายเลยละกันครับ   ตอนนี้บรรยากาศรอบๆตัวผมนั้น เย็นมากครับ เพราะฝนกำลังตกครับ ฝนตกหนักบ้าง เบาบ้าง (ตามจังวะของฝน) ส่วนผมหนาวตลอด ผมนั่งเขียนบนโต๊ะส่วนตัวของผม ซึ่งด้านหน้าผมเป็นหน้าต่างครับ ผมจะเขียนและเงยหน้าดูหน้าต่างบ้างเป็นครั้งคราว (ดูว่าฝนตกหนักขนาดไหน) ผมใส่เสื้อหนาวด้วยครับ  เอาแค่นี้ละกันครับ  ว่าแต่ท่านผู้อ่านที่น่ารักทุกคนจินตนาการเป็นอย่างไรบ้างครับ พอนึกภาพผมตอนนี้ออกไหมครับ ถ้าท่านนึกออก จากที่ท่านจินตนาการอยู่นั้น แล้วท่านลองย้อนกลับไปนึกคำถามก่อนหน้านี้ที่ผมถามว่า “จินตนาการของคุณเป็นแบบใด และ จินตนาการสำคัญกับคุณไม?  ผมคิดว่าคำถามนั้นคำตอบได้เฉลยออกมาแล้วครับ   คำตอบสำหรับคนที่ยังตอบไม่ได้ เมื่อหลายนาทีที่ผ่านมา (ท่านผู้อ่านที่ตอบว่าไม่ใช่)  ซึ่งก่อนหน้านี้คนที่ตอบว่า ไม่ใช่นั้น ก็ยัง งง อยู่ใช่ไมครับว่าทำไหมผมถึงให้อ่านต่อ แล้วมี(วงเล็บด้วยว่า) แล้วจะพบคำตอบเองว่าทำไหมควรอ่านต่อ   ตอนนี้คงรู้แล้วซิน่ะ   ที่ผมบรรยายบรรยากาศรอบๆตัวผมนั้น ก็เพราะ อยากให้ผู้อ่านเข้าใจ จินตาการของคุณว่าเป็นอย่างไร ถ้าผู้อ่านจินตนาการ ภาพผมที่กำลังเขียนบทความอยู่   ท่ามกลางบรรยากาศที่หนาวเย็น เพราะฝนตกได้ ก็ถือว่า ผู้อ่านได้ตอบคำถามก่อนหน้านี้ แล้วครับ และยังได้ใช่จินตนาการของคุณอีกด้วยครับ เราต้องมั่นจินตนาการอยู่บ่อยๆ เพื่อให้เราได้คิดอยู่เสมอ เรายิ่งคิดบ่อยเท่าไหร่ เราก็จะพบคำตอบมากขึ้นเท่านั้น   เหมือนกับท่านผู้อ่านตอนนี้เลยซิครับ เพราะท่านก็กำลังคิดอยู่ใช่ไมละครับ  (แต่ควรคิดหรือจินตนาการที่เป็นสิ่งดีเท่านั้นน่ะ ส่วนความคิดที่ร้ายๆไม่ควรแม้แต่คิดเลยครับ อืม! ขออธิบายเรื่องความคิดสักเล็กน้อยครับ คือ คุณรู้ไหมว่า ความคิดของคนเรานั้น วันๆหนึ่งเราจะคิดเรื่องต่างๆ ประมาณเท่าไหร่ ลองเดาดูก่อนสัก 5 วินาทีครับ 1….2…3…4…5…  หมดเวลาครับ คิดออกยังน่ะ ผมเฉลยเลยละกัน มีนักจิตวิทยาบอกว่า คนเราจะมีความคิดประมาณ 50,000 ความคิดในหนึ่งวันเลยทีเดี่ยว   โอ๋! ท่านผู้อ่านคงจะคิดว่าเอ๋.. ความคิดจำนวนมากนี้มาเข้าในหัวเราตอนไหนกันน่า....  คงจะเป็นตอนที่เราดูละครบ้าง ดูข่าวสารต่างๆบ้าง ฟังเพลงบ้าง ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั้น พอเราได้ดู หรือได้ยิน แล้วก็จะคิดอยู่แล้วใช่ไหมครับ เช่น ดูละครก็คิดว่าใครเป็นพระเอกน่า ทำไหมนางเอกถึงไม่รักพระเอกตอนเริ่มต้นละคร อะไรประมาณนี้ละครับ นั้นคือเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความคิดแต่ละวันของคนเราที่มีจำนวนมากถึง 50,000 ต่อวันเลยทีเดี่ยว)  เอาละเรามาเข้าหัวข้อของเราสักทีครับ ผู้อ่านจำได้ไหมครับว่าหัวข้อบทความของผมอันนี้คืออะไร? อย่าพลิกไปดูหัวข้อครับ ลองใช้ความจำของเรา ว่าเรามีความจำดีขนาดไหน ว่าแต่จำได้ไหมครับ ผมเฉลยเลยละกันครับ หัวข้อของบทความของผมคือ ... “นิทานเปรียบดั่งกระจกเงาของชีวิต”   อืม... ท่านผู้อ่านตอบถูกกันทุกคนเลยครับ แสดงว่าความจำของท่านผู้อ่านดีเยี่ยมเลยเลยครับ !  “นิทานเปรียบดั่งกระจกเงาของชีวิต”หัวข้อที่ผมหยิบยกขึ้นมากล่าวในบทความนี้ ท่านผู้อ่านสงสัยไหมครับว่า  นิทานจะเป็นกระจกเงาของชีวิตเราอย่างไร? ผมให้เวลาท่านผู้อ่านคิดสัก10 วินาที ถามว่านิทานจะเป็นกระจกเงาของชีวิตเราอย่างไร? 1…2….3….4….5…..6….7…..8…..9…..10…. (หมดเวลาตอบแล้วจิ หมดเวลาตอบแล้วจิ)  อืม! เมื่อท่านผู้อ่านคิดคำตอบได้แล้ว ว่านิทานจะเป็นกระจกเงาของชีวิตเราอย่างไร?  เมื่อท่านผู้อ่านคิดคำตอบได้แล้ว เก็บคำตอบของท่านไว้ก่อนครับ แล้วมาดูในแง่คิดของผมต่อว่าคำตอบที่ท่านคิดอยู่นั้นจะเหมือนที่ผมคิดหรือเปล่าน่า?   นิทานจะเป็นกระจกเงาของชีวิตได้จริงครับ และนิทานยังเป็นกระจกเงาที่ส่องชีวิตให้คนดังประสบความสำเร็จมาแล้วหลายต่อหลายท่าน เดี่ยวผมจะเล่าเกี่ยวกับนิทานต่างๆที่คนดังเขาเคยมานำเป็นกระจกเงาของตัวเองครับ เริ่มจากคนดังคนแรกเลยละกันครับ คนแรกที่จะนำเสนอคือ  “เนลสัน โรลิห์ลาห์ลา แมนเดลา” ท่านผู้นี้เป็น ประธานาธิบดีคนแรกของแอฟริกาใต้ ท่านประธานาธิบดีผู้นี้ เคยฟังนิทานที่แม่ของท่านเล่าให้ฟังเมื่อวัยเด็ก ซึ่งท่านจำได้ไม่ลืม   “มีหญิงชราผู้หนึ่งป่วยเป็นโรค ต้อกระจก คอยร้องขอความช่วยเหลือจากชายที่ผ่านทาง แต่ชายเหล่านั้นกลับทำเป็นมองไม่เห็น ต่อมามีชายหนุ่มอีกคนเดินผ่านมา หญิงชราจึงร้องขอให้ชายหนุ่มผู้นี้ล้างดวงตาให้ ชายหนุ่มก็ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี และแล้วปาฏิหารย์ก่อเกิดขึ้นกับหญิงชรา เมื่อโรคต้อกระจกที่เคยเป็น อยู่ก็หายไป จากหญิงชรากลับกลายเป็นหญิงสาวผู้งดงาม”  จากนิทานเรื่องนี้ทำให้ชีวิตของท่านประธานาธิบดีเปลี่ยนไป ขณะที่ท่านถูกคุมขังอยู่บนเกาะโรบเบน ท่านใช้การทำความดีทำให้ผู้คนเกิดความประทับใจ และสามัคคีและการกระทำความดีเล็กๆน้อยๆเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ผู้ตกทุกข์ได้ยาก กลายมาเป็นผู้ร่วมอุดมการณ์ของท่านในเวลาต่อมา

      “บ้างครั้งการทำความดีและความใจกว้าง สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้”  ประธานาธิบดีคนแรกของแอฟริกาใต้ กล่าว...

      นี้เป็นนิทานกระจกเงาส่องชีวิตคนดั่งคนแรกที่ผมกล่าว  ว่าแต่ท่านผู้อ่านพร้อมที่จะฟังคนดั่งคนต่อไปซึ้งเป็นคนที่สองที่ผมจะกล่าว พร้อมหรือยังครับ? ผมให้เวลาพัก 10 วินาทีละกันครับ 1….2….3….4….5…..6….7…..8….9…10….. อ่าดีขึ้นไหมครับ พร้อมแล้ว เริ่มกันเลยครับ กับคนดังคนที่สองที่ผมจะกล่าวคือ  คิมวูจุง    คิมวูจุง เป็นชาวเกาหลีผู้ก่อตั้งบริษัทกลุ่มแดวู เคยฟังนิทานที่ประทับใจมากเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของมดกับนกพิราบ “กาลครั้งหนึ่ง มีมดตัวหนึ่งถูกกระแสน้ำพัดไปในลำธาร แต่กลับรอดชีวิตมาได้จากการช่วยเหลือของนกพิราบ มดขอบคุณนกพิราบมากๆ ที่ช่วยเหลือตน และมดก็ได้สัญญากับนกพิราบว่า เมื่อใดที่นกพิราบมีภัย ข้า(มด) จะช่วยเหลือสุดกำลังดั้งที่นกพิราบช่วยตนมาเช่นกัน  และเมื่อวันนั้นมาถึง วันที่นกพิราบมีภัย มดกระจิริดนี้ก็ใช้กำลังทั้งหมดที่มันมีช่วยนกพิราบพ้นภัยตามที่สัญญาไว้เช่นกัน”   ตอนเริ่มต้นทำธุรกิจ คิมวูจุงเคยทำสัญญาทางการค้ากับพ่อค้าชาวอินโดนีเซียคนหนึ่ง ว่าจะส่งผ้าไหมให้ในราคาหลาละ 17 เหรียญ แต่อยู่ๆรัฐบาลอินโดนีเซียก็จำกัดการนำเข้าสินค้า ราคาผ้าไหมจึงตกลงเหลือครึ่งหนึ่ง ทำให้พ่อค้าอินโดคนนี้ ขาดทุนทันที สามแสนเหรียญ และยังถูกธนาคารตรวจสอบอีก จนพ่อค้าชาวอินโดนีเซียคนนี้ คิดจะปิดกิจการลง  แต่เมื่อ คิมวูจุง รู้ข่าว จึงนำเงินสามแสนเหรียญ ไปให้พ่อค้าคนนั้น  ทั้งทีตอนนั้น คิมวูจุง มีเงินแค่หนึ่งหมื่นเหรียญเท่านั้น  หลังจากนั้นหนึ่งปี รัฐบาลอินโดนีเซีย ยกเลิกข้อจำกัดการนำเข้าสินค้า ราคาผ้าไหมจึงสูงขึ้นถึงหลาละ 37 เหรียญ  พ่อค้าชาวอินโดนีเซียคนนี้จึงแก้ไข สัญญาเดิมที่ราคาหลาละ 17 เหรียญ เป็น 35 เหรียญ  คิมวูจุง จึงมีกำไรเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งล้านเหรียญ เลยทีเดียว   ซึ่งตอนที่ คิมวูจุง นำเงินสามแสนเหรียญไปให้พ่อค้าชาวอินโดนีเซียนั้น ทั้งที่เขามีเงินแค่หนึ่งหมื่นเหรียญเท่านั้น ก็เพราะคิมวูจุง ได้อ่านนิทานเรื่องมดกับนกพิราบนั้นเอง และคิมวูจุง ก็นำนิทานเรื่องนั้นเป็นกระจกเงาของชีวิตเขา ทำให้ คิมวูจุง ประสบความสำเร็จที่มีเงินกำไรเพิ่มขึ้น ทั้งที่เขาไม่เคยคิดเลยก็ตาม

      “ความดีซึ่งเธอมองว่าเป็นเรื่องขี้ผงที่เธอทำวันนี้  อาจจะเป็นความสำเร็จที่ไม่ต้องลงแรงแม้แต่นิดเดียว ในวันพรุ่งนี้ก็ได้”

      คิมวูจุง ผู้ก่อตั้งบริษัทกลุ่มแดวู  กล่าว...

      คิดดีย่อมได้แต่สิ่งดีๆงามๆทั้งนั้นใช่ไมผู้อ่าน?  เอาละท่านผู้อ่านครับ หลังจากที่ผมได้เล่านิทานสองนิทานของคนดังที่เขานำนิทานมาเป็นกระจกเงาของชีวิตที่ส่องตัวเอง จนประสบความสำเร็จในที่สุด เป็นอย่างไรบ้างละครับ รู้สึกว่านิทานเป็นกระจกวิเศษณ์ที่สามารถส่องทางนำให้ชีวิตสู่ความสำเร็จที่ใหญ่ไมครับ? ต่อจากนี้ผมขอนำเสนอนิทาน  นิทานหนึ่ง นิทานนี้เป็นนิทานที่เกิดขึ้นจริง และ อยากให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายนำนิทานนี้มาเป็นกระจกเงาส่องชีวิตของตนได้ก็เป็นการดี นิทานเรื่องนี้สอนให้เราเป็นตัวของตัวเอง ไม่เอาตัวเองเปรียบเทียบกับคนอื่น  โดยเฉพาะวัยรุ่นปัจจุบันนี้ มักจะเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับเพื่อน โดยเฉพาะการเรียน อันนี้ผมขอเจาะจงไปที่นักเรียนชั้นม.6   เพราะ เพราะช่วงเวลานี้นักเรียนชั้นม.6ต้องตัดสินใจว่าจะเรียนอะไร? เพื่อที่จะได้นำไปใช้กับอาชีพในอนาคต แต่นักเรียนชั้นม.6 ส่วนใหญ่ มักจะตัดสินใจตามเพื่อน เห็นเพื่อนเรียนคณะนี้ ก็เลือกเรียนบ้าง ทั้งที่ตัวเองไม่ถนัด ที่ตามเพื่อนก็เพราะเอาตัวเองไปเปรียบกับเพื่อน เพื่อนอาจจะเก่ง(ถนัด)คณะนี้ เราก็เลยคิดว่าเราก็คงเรียนได้มั่ง!เรียนไปก่อนอนาคตค่อยคิดอีกที  เหตุผลนี้ทำให้พอเรียนก็เครียดเพราะไม่ใช่คณะที่เราถนัด  พอมองดูเพื่อนเรียนไม่เห็นจะเครียดเลยแถมยังมีความสุขอีก เพราะเพื่อนเขาถนัดนี่ครับพอเรียนก็จะไม่เครียดเหมือนกับคนที่เลือกเรียนทั้งที่เขาไม่ถนัด  พอเรียนจบคนที่เลือกเรียนตามเพื่อนก็ไม่รู้จักทำงานอะไร ส่วนคนที่เรียนที่ตัวเองถนัด เรียนจบก็ได้งานทำที่ตัวเองฝันไว้ แต่คนที่เลือกตามเพื่อนนี่ซิ จะไปสมัครงานตามที่เรียนมาก็ไม่ได้ เพราะไม่ถนัดทำไม่เป็น ถึงแม้สุดท้ายจะยอมทำงานที่ตัวเองไม่ถนัดเพื่อเลี้ยงชีพตัวเองไปก่อน  แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างสองคนนี้คือ คนแรกคนที่เรียนตามตัวเองถนัดและทำงานที่ตัวเองถนัด ชีวิตตอนเรียนและตอนทำงานจะมีความสุข แต่คนที่เลือกเรียนตามเพื่อน ชีวิตตอนเรียนและตอนทำงานจะมีแต่ความทุกข์   ดั่งที่ “แมซิม  กอร์กี้” เคยกล่าวว่า “เมื่อการทำงานเป็นความสนุกชีวิตก็รื่นรมย์ เมื่อการทำงานเป็นหน้าที่ชีวิตก็เหมือนกับการเป็นทาส”   เห็นไมครับท่านผู้อ่าน แค่เราเอาตัวเองไปเปรียบกับคนอื่น แล้วเมื่อไรเราจะรู้ว่าเรานั้นต้องการอะไร ว่าแต่ท่านผู้ล่ะตอนนี้ท่านกำลังเอาตัวเองไปเปรียบกับคนอื่นหรือไม่   ถ้าไม่ถือเป็นเรื่องดี แต่ถ้าท่านกำลังเอาคนอื่นมาเปรียบเทียบกับตัวเองอยู่ผมว่าลองฟังนิทาน  นิทานที่ผมได้เกริ่นเมื่อตอนสักครู่นี้ละกันครับ เผื่อท่านจะได้คิดอะไรได้บ้าง นิทานนี้มีชื่อว่า  นิทาน กระจกของไอน์สไตน์   เรื่องมีอยู่ว่า “ตอนที่ไอน์สไตน์ยังเด็ก เขารักการเล่นเป็นชีวิตจิตใจ  พ่อไอน์สไตน์จึงเล่าเหตุการณ์หนึ่งให้ไอน์สไตน์ฟัง   เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับลุงแจ็กกับพ่อ ที่ไปทำความสะอาดปล่องควันที่โรงงานแห่งหนึ่ง ระหว่างทำงานด้วยกัน หลังกับใบหน้าของลุงแจ็ก ดำปี๋เลยพ่อเห็นแล้ว ก็คิดในใจว่า หน้าของพ่อก็คงดำปี๋เช่นกัน แต่ความจริงแล้วหน้าของพ่อกลับไม่เปื้อนแม้แต่นิด  ส่วนลุงแจ็ก เห็นหน้าพ่อขาวสะอาด ก็คิดใจว่า ตัวเองคงจะสะอาดเหมือนกัน” เมื่อเล่าจบ พ่อก็พูดว่า”ไม่มี ใครในโลกนี้จะเป็นกระจกส่องตัวเราได้ นอกจากตัวเราเอง หากเอาคนอื่นมาเป็นกระจก  คนโง่อาจส่องให้ตัวเองกลายเป็นอัฉริยะขึ้นมาก็ได้ ตั้งแต่นั้นมาชีวิตของไอน์สไตน์ก็เปลี่ยนไป เขาใช้ตัวเองเป็นกระจกส่องดูตัวเองอยู่ตลอดเวลา และส่องเอาพรสวรรค์และความสามารถของตัวเองออกมาในที่สุดและที่สำคัญคือ ไอน์สไตน์ ไม่เคยสนใจชื่อเสียงที่ได้มาและไม่เคยเอาชื่อเสียงและรายได้ของตัวเองไป เปรียบเทียบกับคนอื่นเลย

      “หากมัวแต่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เราจะสูญเสียความเป็นตัวเองในที่สุด”   อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์เจ้าของทฤษฎีสัมพันธภาพที่ก้องโลก กล่าว...

      และอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักเรียนชั้นม.6 ที่เลือกเดิมตามสั่งของพ่อแม่ ก็คือ พ่อแม่เป็นคนสั่งให้เรียนคณะที่เราไม่ถัด หากเราจะปฏิเสธ พ่อแม่ไปก็กลัวว่าท่านทั้งสองจะเสียใจ ในบทความนี้ผมจะยกคำพูดระหว่างพ่อกับลูกที่ชื่อธรรม โดยที่ธรรมนั้นยังไม่รู้จะเรียนคณะอะไร แต่แม่ของเขาอย่างให้เรียน แพทย์ แต่ในระหว่างการพูดของพ่อในวันนั้น ทำให้ธรรมเข้าใจตัวเองมากขึ้น สำหรับนักเรียนชั้นม.6 ควรเอาคำพูดของพ่อธรรม เป็นแนวคิดน่ะครับ เรื่องมีอยู่ว่า....”อีกหนึ่งช่วงเวลาที่เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในชีวิต คือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
      ซึ่งมันก็มาพร้อมกับการสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ในช่วงที่ใกล้จะสมัครสอบ
      ผมก็ยังตัดสินใจไม่ได้ซักทีว่าจะลงคณะไหน เรียนอะไร เย็นวันหนึ่งจึงเดินเข้าไปคุยกับพ่อ

      ธรรม : พ่อครับ! ผมจะเลือกเรียนคณะไหนดี ให้มันจบออกมาแล้วมีงานที่ดีทำ

      พ่อ : สิ่งที่ลูกจะเรียนนะ พ่อเลือกไว้ให้ตั้งแต่แรกแล้ว

      ธรรม : อะไรเหรอพ่อ

      พ่อ : สิ่งที่พ่อจะให้ธรรมเรียนก็คือสิ่งเดียวกันกับสิ่งที่อยู่ในใจธรรมนั่นแหละ
      ชอบอะไรก็เรียนอันนั้นไปเลยเพราะสิ่งที่ลูกชอบกับสิ่งที่ลูกเรียนมันจะอยู่กับลูกไปตลอดชีวิต
      ดังนั้นลูกคือคนตัดสินใจ พ่อว่านะ! จะเรียนอะไรก็ตามแต่
      ไม่ต้องไปห่วงหรอกว่าจบมาแล้วจะมีงานแบบไหนให้เราทำ
      เพราะว่ามัน ไม่มีงานใดหรอกที่ต่ำ ถ้าเราทำด้วยใจที่สูง

      ธรรม : ครับพ่อ! แต่แม่หรือญาติๆก็อยากให้ผมเรียนหมอกันทั้งนั้น ก็มันมีทั้งเงิน มีทั้งเกียรติ
      สังคมไทยก็ยอมรับว่าเป็น อาชีพอันดับหนึ่ง แต่ผมก็ไม่ได้อยากเป็นเท่าไหร่หรอก เอาไงดีพ่อ!

      พ่อ : งั้นพ่อขอถามอะไรเราซักข้อนะ ธรรมคิดว่าอะไรที่มันสำคัญที่สุดในโลกนี้
      อากาศ, น้ำ, ดิน, มนุษย์, สัตว์ หรือธรรมคิดว่าอะไร

      ธรรม : เอ่อ! อืม! ไม่รู้ซิพ่อ

      พ่อ : น้ำหยดเล็กๆมันทำให้เกิดผืนป่า ป่าย่อยๆมันช่วยฟอกอากาศให้สดชื่น
      อากาศเพียงน้อยนิดทำให้เกิดสิ่งมีชีวิต ชีวิตมนุษย์พักพิงอยู่บนผืนแผ่นดิน
      หรือแม้แต่จุลินทรีย์ที่ดูไร้ค่ามันยังช่วยย่อยสลายสิ่งต่างๆให้เกิดสมดุล

      พ่อเองก็ไม่รู้เหมือนกันหรอกนะว่าสิ่งไหนมันสำคัญที่สุดในโลก
      รู้แต่ว่าถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป โลกใบนี้มันก็จะไม่เป็นโลกอีกต่อไป
      แล้วมันจะมีอาชีพไหนไหมละลูกที่ดีที่สุดหรือสำคัญที่สุด
      มันอยู่ที่ตัวเราจะมองจะตัดสินใจต่างหาก
      อย่าตัดสินใจอะไรเพียงเพราะบรรทัดฐานของสังคมจนเกินไป

      ธรรม : เข้าใจแล้วครับพ่อ

      พ่อ : สิ่งที่ลูกต้องเรียนก็เรียนตามหัวใจตัวเองนั่นแหละ
      ไม่ต้องห่วงหรอกว่าจบออกมาแล้วจะมาทำอะไร
      เพราะไม่ว่าจะทำอะไรขอแค่ทำให้มันสุดๆ
      เพราะมันจะเป็นความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่เวลาที่เราบอกใครไปว่า
      เราเก่งในสิ่งที่เราเป็น
      แม้ว่าหน้าที่นั้นมันจะเป็นเรื่องที่เล็กน้อยต้อยต่ำเพียงใดก็ตาม

      และมีอีกสิ่งหนึ่งที่พ่อ อยากจะบอกลูกมากคือ
      อย่าไปดูถูกใครหรือดูถูกอาชีพใดๆ
      เพียงเพราะเราคิดว่าเขา โง่หรือต้อยต่ำ
      ในโลกนี้ไม่เคยมีคนโง่ ทุกคนล้วนแต่เป็นคน อัจฉริยะเพราะ
      ถ้าเราไปตัดสินปลาโดยใช้ความสามารถในการปีนต้นไม้ ทั้งชีวิตมันก็จะคิดว่ามันโง่

      ธรรม : ขอบคุณครับพ่อ

      วันนั้นหลังจากที่ผมคุยกับพ่อเสร็จ ผมก็ตัดสินใจได้ว่า
      สิ่งที่ผมต้องการจะเรียนในมหาวิทยาลัยคือสิ่งใด

      และมีอีกสิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้มันก็คือ
      ใจเราเป็นเช่นไร โลกเราก็จะเป็นเช่นนั้น
      ถ้าใจเราแคบโลกของเรามันก็แคบ ถ้าใจเรากว้างโลกของเรามันก็กว้าง
      และถ้าใจเราสว่างต่อให้โลกมืดซักแค่ไหนก็จะยังคงเห็นทางไปเสมอ

      อย่าไปดูถูกใคร อย่าไปดูถูกอาชีพใด
      เพราะถ้าขาดใครไป โลกนี้มันก็คงไม่น่าอยู่อีกต่อไป

      ในโลกนี้ไม่เคยมีคนที่ "ไร้ค่า"
      มีเพียงแค่คนที่ "เห็น" หรือ "ไม่เห็น" คุณค่าในตนเอง

      "ดินหนึ่งก้อนอาจมีค่ามากกว่าทองหนึ่งก้อน
      เพราะอย่างน้อยต้นไม้ก็ไม่สามารถงอกเงยได้บนก้อนทอง

      เป็นอย่างไรกันบ้างละครับ ระหว่างการสนทนาพ่อกับธรรม ท่านที่กำลังจะเลือกเรียนคณะอยู่นั้น ก็ควรใช่แนวคิดที่พ่อของธรรมน่าจะดีที่สุดครับ สรุปคือการเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง โดยไม่เอาตัวเองไปเปรียบกับใคร เป็นสิ่งที่ดีที่สุดครับ

      ท่านผู้อ่านครับ นิทานที่ผมได้นำมาเล่าให้ท่านฟังในวันนี้นั้น ผมคิดว่าท่านผู้อ่านน่าจะได้นำมาเป็นกระจกเงาของชีวิต เพื่อที่เราจะนำนิทานมาเป็นหนทางหนึ่งในการดำเนินชีวิต อย่างที่ของดังๆของโลก เคยนำนิทานมาส่องชีวิตของเขา จนประสบความสำเร็จในชีวิตมาแล้ว เพราะนิทาน   ว่าแต่ท่านผู้อ่านทั้งหลายล่ะ ท่านผู้อ่านก็คงจะมีนิทานที่ตัวเองชอบอยู่แล้ว แต่บ้างครั้งเราไม่นำนิทานนั้นเป็นกระจกเงาของชีวิต  เพราะคิดว่านิทานเป็นแค่เรื่องราวในตำนานที่หลอกเด็ก  แต่ในความคิดของผมนิทานก็คือเรื่องราวของชีวิติมนุษย์นี้และ แต่ผู้ที่แต่งนิทานนั้นเอาอย่างอื่นมาแทนมนุษย์  สรุปง่ายๆคือ นิทานก็คือกระจกอีกด้านของชีวิตเรา  ถ้าเรานำนิทานที่เป็นกระจกอีกด้านของชีวิตนั้นมาเป็นกระจกเงาส่องชีวิตเรา ผลที่เกิดคือ เราจะรู้จักตัวเราเองและกระทำแต่สิ่งที่ดีออกมาดั่งนิทานทุกตอนที่บ่งบอกว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” นี้และคือนิทานในแง่คิดของผม แล้วท่านผู้อ่านล่ะคิดอย่างไร? ท่านคิดคำตอบ แล้วตอบกับตัวเอง แต่ถ้าท่านยังไม่หาคำตอบไม่ได้ ผมแนะนำให้ท่านไปอ่านิทานอะไรก็ได้ และนำมาส่องชีวิต และนำคือคำตอบของท่านละ  และสุดท้ายผมขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน มีความสุขในการอ่านนิทานครับผม..........(ย้ำ อย่าลืมอ่านนิทานน่ะครับ แล้วท่านจะคิดอะไรได้มากขึ้น)  ผมมั่นใจ!  ขอบคุณครับ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×