ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หนังสั้น เรื่อง " สิ่งสำคัญ "

    ลำดับตอนที่ #1 : เนื้อหา หนังสั้นเรื่อง สิ่งสำคัญ

    • อัปเดตล่าสุด 7 ต.ค. 54


    หนังสั้นเรื่อง  สิ่งสำคัญ

                ณ บ้านแห่งหนึ่งมีพ่อ แม่ ลูก  ครอบครัวนี้มีฐานะที่ปานกลางพอมีพอกิน  มีชีวิตที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติ  เช้าวันหนึ่งบรรยากาศที่แสนสบาย  ท้องฟ้าที่โปร่งใส ซึ่งเป็นวันที่ครอบครัวนั้นได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา  ภายในบ้านนั้นพ่อและแม่กำลังนั่งดูโทรทัศน์อย่างสนุกสนาน  พอมองออกมาตรงหน้าบ้านก็จะเห็นลูกชายซื่งกำลังหนังอ่านหนังสือการ์ตูนอยู่ที่หน้าบ้าน  ไม่นานนักพ่อที่กำลังนั่งดูโทรทัศน์อยู่นั้นก็ลุกมาที่หน้าบ้านเพื่อที่จะออกมายืนตรงระเบียงดูลูกชายที่กำลังหนังอ่านหนังสือการ์ตูนอยู่ที่หน้าบ้าน  พ่อนั้นมีความสุขมากทุกครั้งที่ได้มองลูกชายของเขา  พ่อก็ได้ลงไปนั่งคุยกับลูกชายพ่อนั้นก็ได้ชวนลูกชายคุยไปต่างๆนาๆถามเรื่องนั้นเรื่องนี้แต่ในความรู้สึกของลูกชายมีความรู้สึกว่าพ่อนั้นช่างน่ารำคาญถามเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ได้  มีความรู้สึกเบื่อหน่ายในคำพูดของพ่อ  ไม่นานนั้นความอดทนของลูกชายก็หมดลงเพราะพ่อนั้นยังไม่หยุดถามประโยคสุดท้ายที่พ่อพูด  คือ พ่อถามว่าดอกไม้นั้นเขาเรียกว่าดอกอะไรแต่ด้วยความรำคาญของลูกชายนั้นได้ตวาดพ่ออกไปเสียงดังว่า พ่อจะถามผมอะไรหนักหนา  ดอกกุหลาบไงพ่อไม่รู้จักหรือไง  ในขณะที่ลูกชายกำลังตวาดพ่อของเขาอยู่นั้นในอีกมุมหนึ่งแม่ที่กำลังเดินนำอาหารมาให้ก็ต้องตกใจกับการกระทำของชายตัวเองที่เขากำลังยืนตวาดพ่ออยู่  จานขนมที่แม่กำลังเอามาให้นั้นได้ตกลงกับพื้นแม่นั้นรู้สึกเสียใจมากจึงเดินหันหลังกลับเขาไปในบ้าน  ไม่นานหนักแม่ก็เดินออกมาพร้อมกับไดอารี่เล่มหนึ่งที่พ่อได้จดเอาไว้พ่อนั้นคิดว่าจะให้ไดอารี่เล่มนี้เป็นของขวัญวันเกิดของลูกชายเมื่อเขาอายุครบ   20 ปี  แม่เอาไดอารีมาให้พ่อนั้นได้อ่านบันทึกทั้งหมดที่เขานั้นได้บันทึกเอาไว้ลูกชายนั้นรู้สึกกับการกระทำเมื่อสักครู่ที่เขานั้นได้ทำลงไปกับพ่อของเขา

                จากความรู้สึกผิดเมื่อสักครู่ที่ไดทำลงไปนั้นทำให้เขามีความรู้สึกดีๆที่จะทำเพื่อทดแทนต่อพ่อและแม่ของเขา แต่ความรู้สึกที่จะทดแทนนั้นเขาก็ยังมีจิตใจและความรู้สึกต่อต้านที่จะทำแบบนั้นเพราะว่าสิ่งเหล่านั้นเขายังไม่เคยได้แสดงคววามรู้สึกดีๆกับพ่อแม่สักเท่าไร  จึงมีความรู้ที่ไม่กล้าแต่ความต้องการของ

    เขาในตอนนั้นอยากจะพาพ่อและแม่ไปเที่ยวกันอย่งพร้อมหน้าพร้อมตา  แต่ในสถานะการณ์ตอนนั้นเขาสามารถทำอย่างอื่นที่เป็นกรทดแทนได้แต่เขากับไม่ทำแต่กับไปคิดถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงหรืออาจจะเป็นไปไม่ได้ขณะเดียวกันนั้นแม่เของเขาก็เริ่มที่จะป่วยหนักเพราะว่าอาการโรคหัวใจที่แม่เป็นอยู่แล้วนนั้นเริ่มกำเริบขึ้นทำให้ร่างกายของแม่ที่เคยแข็งแรงนั้นทรุดตัวลงเร็วมากจนกระทั่งแม่นั้นป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาตัวแม่นั้นรักษาอาการโรคหัวใจนั้นอยู่นานมาก  จนกระทั่งหมอนั้นได้บอกกับลูกชายของเขาว่าหัวใจแม่คุณนั้นอ่อนแอมากแล้วหมอหมดทางรักษาแต่มีทางเดียวคือต้องหาหัวใจมาเปลี่ยนแต่ร่างกายของแม่คุณนั้นจะต้องรับและตอบสนองกับหัวใจได้ด้วยและที่สำคัญค่าใช้จ่ายในการรักษานั้นมีราคาสูงมาก  หมอขอแนะนำให้คุณพาคุณแม่ของคุณไปรักษาตัวอยู่ที่บ้านจะดีกว่าจนกว่าจะมีคนนั้นได้มาบริจาคหัวใจ  พอหลังจากที่คุยกับคุณหมอเสร็จแล้วลูกชายนั้นได้นำเรื่องราวต่างที่หมอนั้นได้พูดคุยกับเขาไปปรึกษากับพ่อว่าแม่นั้นไม่มีทางรักษาจนกว่าจะมีหัวใจมาเปลี่ยน  พอลูกชายนั้นได้พาแม่กับมาที่บ้านแต่แม่นั้นไม่มีทางดีขึ้นเลยเนื่องด้วยโรคหัวใจถ้าเป็นแล้วจะมีอาการทรุดตัวงเร็วรมไปถึงกับอาการเครียดด้วยจึงทำแม่นั้นทรุดตัวลงแร็วมาก  จนกระทั่งวันนึงลูกชายนั้นได้เข้ามาพูดคุยป้อนยาแม่ตัวแม่เองนั้นก็เริ่มรู้ตัวว่าตัวเองนั้นึงไม่ไหวและอยูได้ไม่นานแล้วจึงได้นำมือของลูกชายมาจับไว้  แม่นั้นยังยิ้มให้ลูกชายและแม่นั้นก็บอกกับลูกชายว่าแม่นะรักลูกมากแต่ในขณะเดียวกันมือของแม่ที่จับลูกชายไว้ได้ถูกปล่อยลงอย่างไร้เรี่ยวแรงจึงทำให้ลูกชายของเขารู้แล้วว่าแม่ขิงเขานั้นไม่ได้อยู่บนลูกนี้อีกต่อไปแล้วเขารู้สึกเสียใจมาก

                หลังจากวันนั้นเขาก็กลับมานั่งที่เก้าอี้ตัวเดิมคอยเฝ้าแต่คิดเรื่องราวต่างๆที่ผ่นในชีวิต  เขาหยิบมือถือขึ้นมาก้เห็นรูปถ่ายพ่อแม่และเขานั้นเขาก็ยิ่งรู้สึกเสียใจมากแต่แล้วเขาก็หันไปเห็นไดอารี่ที่พ่อเขาเป็นคนเขียนไว้ตั้งแต่เด็กจนโตทำให้เขาคิดได้ว่าถึงเขาจะสูญเสียคนที่เขารักที่สุดไปแล้วคนหนึ่งแต่เขาก็ยังเหลือพ่อที่เขารักมากที่สุดอีกคนหนึ่งที่เขาต้องคอยดูแลและเอาใจใส่  เขาก็คิดได้ว่าอะไรที่เขานึกจะทำในตอนนั้นทำเขานั้นได้ทำทุกอย่างที่คิดและพาพ่อไปเพราะก่อนหน้านี้ที่เขาคิดจะทำกลับไม่ได้ทำแล้วต้องสูญเสียคนที่รักไปก่อนทั้งที่เขายังไม่ตอบแทนพระคุณอะไรเลยจึงทำให้เขามีบทเรียนนในชีวิตมากขึ้น

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    แนวคิดของหนังสั้นเรื่อง  "สิ่งสำคัญ"

                    แนวคิดในการทำหนังเรื่องได้แรงบันดารใจมาจาก คลิปใน  youtube ที่เป็นเรื่องราวของพ่อและลูกที่นั่งถามว่านั่นคือนกอะไรแต่ลูกชายของเขากลับมีความรู้สึกรำคาญใจจึงทำให้พ่อได้เอาไดอารี่ที่จดบันทึกว่าตอนเด็กๆๆนั้นลูกชายของเขาได้ถามเอาตั้งหลายแต่เขาไม่รู้สึกรำคาญใจเลย  ลูกชายของเขานั้นรู็สึกผิดจึงได้ขอโทษพ่อของเขาแต่ในหนังสั้นนี้ได้ทำการดัดแปลงเสริมเติมแต่งบทเข้าไปเพื่อเพิ่มอรรถรสในการชมมากยิ่งขึ้นแล้วเนื้อหาของหนังสั้นเรื่องยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาภายในครอบบครัวอีกด้วยเรื่องระหว่างพ่อแม่ลูกทั้งหมดจึงเป็นแนวคิดของ

    หนังเรื่อง "สิ่งสำคัญ"

    การสังเคราะห์

               การนำผลงานมาบูรณาการณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำผลงานทั้งหมดมาหาข้อสรุปร่วมกันในการจัดทำ

    การสังเคราะห์จะมีขอบเขตในการดำเนินงาน นำงานเรื่องราวมาสรุปให้เห็นเป็นแนวคิด เป็นการมุ่งหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะ เป็นการค้นหาความเป็นจริง ศึกษาส่วนประกอบและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ

    เรื่องราว ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม ปรับปรุงแก้ไขและนำไปใช้ประโยชน์

    การวิเคราะห์

              การนำผลงานออกมาพิจารณาเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทำความเข้าใจในแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้งเพื่อดูว่าเรื่องราวเนื้อหานั้นจะสามารถเข้ากันได้รึป่าว สัมพันธ์และเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง การวิเคราะห์ประกอบคือ

           1. ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ตลอดจนทัศนะคติในเรื่อง

    2.                ศิลปะการสื่อสาร การใช้ภาษาการและถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ

    การเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์

    การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร

    การเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละครและแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์

    ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้น

    การคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละครและแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่า

    สิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์

    อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

    ดังนั้นขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์สามารถสรุปได้คือ

     

    1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research) เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม

     

    2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise) หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นถ้า…” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น

     

    3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis) คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)

     

    4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment) เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ

     

    5. บทภาพยนตร์ (screenplay) สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที

     

    6. บทถ่ายทำ (shooting script) คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง

     

    7. บทภาพ (storyboard) คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย

     

    การเขียนบทภาพยนตร์จากเรื่องสั้น

    การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ ซึ่งบทภาพยนตร์ต่อไปนี้ได้แปลมาจากเรื่องสั้นในนิตยสาร The Mississippi Review โดย Robert Olen Butler เรื่อง Salem แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงมาตรฐานรูปแบบการเขียนบทภาพยนตร์ว่ามีการเขียนและการจัดหน้าอย่างไร ขอให้ศึกษาได้ใบทภาพยนตร์โดยทั่วไป

    ขั้นแรก หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ การตัดต่อ การประเมินผล
    ขึ้นสอง หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค

    ขั้นสาม เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ
    ขั้นสี่  บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา
               
    เรื่องบทเนี้ยจะมี หลายแบบนะ
                               -
    บทแบบสมบูรณ์  ประมาณว่า เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูด
                               -
    บทแบบอย่างย่อ ประมาณว่า เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง
                               -
    บทแบบเฉพาะ  
                               -
    บทแบบร่างกำหนด
    ขั้นห้า การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน  ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก ผมพูดรวมๆละกัน มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้ 

    ขั้นหก ค้นหามุมกล้อง 
                      -
    มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆอ่ะครับ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
                      -
    มุมแทนสายตา ไม่ต้องอธิบายมั้ง
                      -
    มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆ สวยมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์  เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ
    ขั้นเจ็ด การเคลื่อนไหวของกล้อง
                      -
    การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถนั้นสัมพันกัน
                      -
    การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหวเลย
                      -
    การซูม เป็นการเปลียนองค์ประกอบภาพเหมือนเน้ความสนใจในจุดๆหนึ่ง
    ขั้นแปด เทคนิคการถ่าย
                        
    เอาเป็นว่าจับกล้องให้มั่น แบบกระชับกับตัวเลย คือแขนทั้งสองข้างแนบตัวและก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็ว กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอ

    ขั้นเก้า หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอฟเฟค ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ

    ขั้นสิบ การตัดต่อ
                  
    อย่างแรกเลยครับจัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม
                  
    อย่างสองคือจัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้
                  
    อย่างสามแก้ไขข้อบกพร่อง
                  
    อย่างสี่ เพิ่มทคนิคให้ดูสวยงาม
                  
    อย่างห้า เรื่องเสียง

    เอาละครับขั้นการตัดต่อและมาดูละกันการตัดต่อเชื่อมฉากมีอะไรบ้าง

                  -
    การตัด cut
                  -
    การเฟด fade
                  -
    การทำภาพจางซ้อน
                  -
    การกวาดภาพ
                  -
    ซ้อนภาพ
                  -
    ภาพมองทาจ
    1. movie maker
    ตัดต่อเบื้องต้น
    2. Sony vegas 7.0

    3. adobe premiere pro 2.0 มีการตัดต่อค่อนข้างละเอียดอ่อนมากๆใช้งานยากแต่ ถ้าใช้เป็นสามารถสร้างหนังได้ใหญ่ๆ แต่การใช้งานยุ่งยากไม่เหมาะกับมือใหม่

    ตัดต่อ VDO

    โดยโปรแกรม  Adobe Premiere Pro CS3

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

                                                                    1.ประชุมกลุ่ม  ลงมติจัดทำชิ้นงาน

                                                                    2.กำหนดเนื้อหา  ขอบเขตของงาน

                                                                    3.วางโครงเรื่องให้สอดคล้องกับบทเพลง

                                                                    4.จัดเตรียมอุปกรณ์การถ่ายทำ และตัดต่อ

                                                                    5.กำหนดสถานที่ถ่ายทำ

                                                                    6.คัดเลือกนักแสดง

                                                                    7.จัดหาอุปกรณ์ประกอบฉาก

                                                                    8.ดำเนินการถ่ายทำ

                                                                    9.ตัดต่อ

                                                                    10.ประชุมกลุ่ม  เพื่อแก้ไขชิ้นงาน

                                                                    11.นำเสนอผลงาน

     

     

     

     

     

     

     

    การสร้าง Project

                    1.เปิดโปรแกรม  Adobe Premiere Pro CS3 ขึ้นมาจะให้คุณเลือก  ว่าจะเปิด project ใหม่ หรือ เปิดงานเดิมที่เคยทำไว้  ดังรูป   1. New Project    2. Open Project

     


     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

                    2.ปรับค่าขนาดของโปรเจ็คได้ตามความต้องการ 

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


    3.เมื่อตั้งชื่อ โปรเจ็กแล้ว OK สักครูจะขึ้นวินโดว์ที่เป็นหน้าต่างงานดังภาพ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


    การ Import  File

    Video formats    ที่ใช้งานได้   AVI, MOV, MPEG/MPE/MPG, DML, and WMV

    Audio formats:  ที่ใช้งานได้AIFF, AVI, MOV, MP3, WAV, WMA

                    1.คลิกที่เมนู File > Inport

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

                2.จากนั้นก็เลือกไฟล์ตามที่เราต้องการ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


    3.จากที่เรา อิมพอร์ทไฟล์เข้ามา ไฟล์จะมาลงที่หน้าต่าง โปรเจ็ก   จะเรียงกันอยู่ในลักษณะใดนั้นอยู่ที่เราจะตั้งค่ามัน ดังภาพวินโดว์โปรเจ็กด้านล่างขวามื

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

                    2.ลากลงไปวางไว้ที่ TimeLine ในช่อง Video 1 (คลิกเม้าท์ที่ชื่อไฟล์ค้างไว้แล้วลากลงไปวางในตำแหน่งชนขอบด้านหน้าสุด)

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


    การใส่ข้อความต่างๆลงไปในคลิปวิดีโอ

                         1.คลิกที่เมนู เลือก File > New > Title

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


                       

                       

                        2.จากนั้นก็เลือกรูปแบบตัวอักษร  และจัดทำแหน่งตามต้องการ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


    การแทรก  Effects

                           1 ) เลือก Transitions ที่ต้องการ  จากนั้นลาก Transitions มาใส่ ใน Track  vdo

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


                2.เราก็จะได้ Transitions ตามที่เราต้องการ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    การ Export

                      เป็นการทำงานขั้นสุดท้ายหลังจากเราได้ตัดต่อวีดีโอจนเสร็จสิ้น ผู้ตัดต่อต้องตัดสินใจว่า จะExport ออกมาเป็นไฟล์อะไร ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานของนักตัดต่อเอง ซึ่งไฟล์ที่ตัดต่ออกมาจะใช้ สองรูปแบบหลักๆคือ  VCD  และ DVD  และนอกจากนั้นจะมี แบบ  MPEG1, MPEG2, Quicktime, RealMedia, Windows Media  เป็นต้น

     

                           1.คลิกที่เมนู file > Export >  Movie  หรือ  Adobe  media  Encoder  ซึ่งทำได้ทั้งสองแบบ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

                         2. เลือก พื้นที่ที่ต้องการจัดเก็บ แล้วคลิก  SAVE

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


                    3.หลังจากนั้น จะขึ้น dialog   box  ขึ้นมาแสดงสถานนะการ Rendering  ว่าก้าวหน้าไปกี่ %  

    ให้รอจนครบ  100% จึงถือว่าเสร็จสินการทำงาน

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


                   

     


     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    Storyboard

                  Storyboard คือการเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูด และแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏ ว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือหนังขึ้นมาจริงๆ

    ประโยชน์ของ Storyboard

    Storyboard คือภาพร่างของช๊อตต่างๆที่วาดลงในกรอบ โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการทำงานร่วมกันของคนเขียนบท ผู้กำกับภาพ และผู้กำกับ Storyboardจะช่วยให้ทีมงานทั้งหมดจินตนาการได้ว่าหนังจะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร พวกเขาต้องทำอะไรกันบ้างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามนั้น

    ผู้อำนวยการสร้าง จะสามารถคำนวณงบประมาณที่จะใช้ในการถ่ายทำได้ Storyboardจะทำให้รู้ว่าหนังมีกี่ช๊อต กี่โลเคชั่น ฉากใหญ่โตแค่ไหน มีเทคนิคหรืออุปกรณ์พิเศษมากน้อยเพียงใด

    ผู้จัดการกองฯ รู้ว่าการถ่ายทำควรจะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ต้องตระเตรียมอะไร ยังไงบ้าง

    ผู้กำกับ และผู้ช่วยฯ สามารถวางแผนการแสดง หรือการเคลื่อนที่ของนักแสดง ในทิศทางต่างๆได้

    ผู้กำกับภาพหรือตากล้อง รู้ว่าจะต้องทำงานอย่างไร ถ่ายทำด้วยขนาดภาพใดซึ่งมีผลต่อการเลือกใช้เลนส์ รู้วิธีการเคลื่อนกล้อง และสามารถวางแผนการใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆได้ เช่น ดอลลี่ เครน

    ฝ่ายศิลป์ รู้ว่าจะต้องจัดการกับฉากหรือโลเคชั่นมากน้อยเพียงใด ตามขนาดภาพที่ระบุไว้ในStoryboard

    คนจัดแสง รู้ขอบเขตของการทำงานของตน

    แม้แต่ผู้บันทึกเสียงและคนถือไมค์บูม ก็รู้ว่าเขาควรจะอยู่ในตำแหน่งไหนของกองถ่าย

    3 สิ่งสำคัญที่อยู่ในStoryboard

    1. Subject หรือCharacter ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญคือพวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร

    2. กล้อง ทำงานอย่างไร ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพ และการเคลื่อนกล้อง

    3. เสียง พวกเขากำลังพูดอะไรกัน มีเสียงประกอบ หรือเสียงดนตรีอย่างไร

    โดยสตรอรี่บอร์ดจะประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้

    ตัวละครอะไรบ้างอยู่ในซีน ตัวละครหรือวัตถุเคลื่อนไหวอย่างไร

    ตัวละครมีบทสนทนาอะไรกันบ้าง

    ใช้เวลาเท่าไหร่ระหว่างซีนที่แล้วถึงซีนปัจจุบัน

    ใช้มุมกล้อง ใช้กล้องอะไรบ้างในซีนนั้นๆ ใกล้หรือไกล หรือใช้มุมอะไร

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    การวางแผน

                    -หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ การตัดต่อ การประเมินผล

                    -หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มี ความสามารถเฉพาะ จะดีมากๆ และอีกอย่างคือทีมเวิค

                    -วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ

                    -วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา

                    -แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน ขนาดมุม     กล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้

                    -ค้นหามุมกล้อง  

                    -มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ


                    -มุมแทนสายตา

                  - มุมพ้อยออฟวิว เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ ขั้นเจ็ด การ         เคลื่อนไหวของกล้อง

                   - การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถนั้นสัมพันกัน

                   - การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหวเลย

                  - การซูม เป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบภาพ  เหมือนเน้นความสนใจในจุดๆหนึ่ง

                    -การตัดต่อadobe premiere pro

                 -จัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้งครับอย่าให้ขัดอารมณ์
 

                     -จัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้      

                     -แก้ไขข้อบกพร่องครับ
-เพิ่มทคนิคให้ดูสวยงาม

    แบบประเมินผล

    ในการประเมินความคิดเห็นที่มีต่อ หนังสั้นเรื่องเนื้อทรายที่ใครเขารังเกลียดแต่......

     ข้อมูลทั่วไป

      เพศ             ชาย                    หญิง

      อายุ             15-20                21 ขึ้นไป

      คณะ            บริหารธุรกิจ                 สถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ                                                        วิศวกรรมศาสตร์

     

     

     

    หัวข้อแบบประเมิน

     ระดับความคิดเห็น

    ดีมาก

     

    5

    ดี

     

    4

    ปานกลาง

    3

    พอใช้ได้

    2

    ปรับปรุง

     

    0

    1.

    ขั้นตอนการจัดการหนังสั้น

     

     

     

     

     

    2.

    ความเหมาะสมของตัวละคร

     

     

     

     

     

    3.

    การดำเนินเรื่อง

     

     

     

     

     

    4.

    เทคนิคการถ่ายทำ

     

     

     

     

     

    5.

    สถานที่การถ่ายทำ

     

     

     

     

     

    6.

    การเรียบเรียงลำดับภาพ

     

     

     

     

     

    7.

    เทคนิคการตัดต่อ

     

     

     

     

     

    8.

    เสียงประกอบหนัง

     

     

     

     

     

    9.

    ความเหมาะสมที่จะนำหนังเผยแพร่

     

     

     

     

     

     

    10.

     

    เสื้อผ้า การแต่งหน้า ตามบทหนัง

     

     

     

     

     

     

    แสดงความคิดเห็น ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

     


     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×