ดวงดาวแพลงก์ตอน
ประสบการณ์จากแพลงก์ตอนตัวเล็กแต่สร้างแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ให้กับฉัน คืนนี้ฉันก็ได้พบกับความจริงในห้องLabที่เรียกว่า ทะเล
ผู้เข้าชมรวม
667
ผู้เข้าชมเดือนนี้
1
ผู้เข้าชมรวม
เป็นบันทึกถึง...ทะเล ที่มีแรงบันดาลใจจากสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆที่เรียกว่า...แพลงก์ตอน
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ดวงดาวแพลงก์ตอน
ในสมุดเลกเชอร์(lacture) วิชาแพลงก์ตอนวิทยาที่เพื่อนๆชอบยืมไปถ่ายเอกสารในช่วงเทศกาลสอบ จะมีคำย่อที่รู้กันในหมู่เพื่อนฝูงจนถึรุ่นน้องในสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่ได้รับการสืบทอดตำราเรียนเล่มเก่า นั่นคือ คำว่า “ pk. “ pk. เขียว หรือ phytopk. (pk.ที่เป็นผู้ผลิตเบื้องต้นในระบบนิเวศทางทะเล) ใครที่เป็นสามาชิกใหม่หรือรุ้นน้องที่ไม่ได้สนิทกันมากอาจจะงงๆว่า pk. คืออะไร แต่ในนามของเด็ก Marine Science ต้องรู้แน่ว่า คือ plankton (แพลงก์ตอน) สิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสระ มีขนาดเล็กที่ตาเปล่ามองไม่เห็นจนถึงขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้และจับมากินอย่างแมงกะพรุนที่แสนจะกรุบกรอบเวลาเคี้ยวอยู่ในปาก แบ่งได้เป็น แพลงก์ตอนพืช ที่เป็นสาหร่ายต่างๆ เช่น ไดอะตอม ที่เป็นอาหารอันโอชะของแพลงก์ตอนสัตว์ซึ่งเป็นพวกที่สองในกลุ่มแพลงก์ตอน เช่น ตัวอ่อนของสัตว์หลายชนิด พวกกุ้ง ปู กั้ง หอย ปลาบางชนิด
ในชั่วโมงเรียนทฤษฎีวิชาแพลงก์ตอนวิทยาฉันจะเข้าเรียนทุกคาบเนื่องจากเป็นผู้เสียสละในฐานนะผู้ที่คอยเสนอสมุดเลกเชอร์ในช่วงสอบ (เหมือนเป็นsaleยังไงก็ไม่รู้) ทำให้ฉันต้องกอบโกยความรู้ที่หน้าจอคอมคอมพิวเตอร์และคำพูดที่อาจารย์พูดพร้อมกันลงในสมุดเลกเชอร์เล่มเล็กให้มากที่สุด ไม่ใช่ว่าฉันจะเป็นคนขยันอะไรมากมาย แต่ด้วยภาระหน้าหน้าที่ที่ค้ำคอและแววตาที่น่าสงสารของเพื่อนๆจนทำให้ฉันต้องดำรงตำแหน่งนี้ราวกับนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาถึง 4 ปี ฉันลงจากตำแหน่งนี้เมื่อจบการศึกษา อย่างที่บอกไปแล้วว่าฉันไม่ใช่คนขยันมากมายฉันจึงยอมใช้สิทธิ์ที่เพื่อนๆใช้กันไปแล้วในชั่วโมงเรียนทฤษฎีวิชาแพลงก์ตอนวิทยา ฉันจึงไม่เข้าเรียนวิชาLabแพลงก์ตอนโดยอ้างเหตุผลที่ว่าไปห้องสมุดหาความรู้อื่นนอกเหนือจากตำราเรียน ตั้งแต่หนังสือพิมพ์ที่เคาท์เตอร์ นิตยสาร วารสาร จนถึงนิยาย เรื่องสั้นต่างๆ ขลุกตัวอยู่จนหมดวันโดยไม่เข้าเรียนวิชาLabแพลงก์ตอนเลย
มีอยู่วันหนึ่งที่มีเรียนวิชาLabแพลงก์ตอนแต่ห้องสมุดหยุดบริการ ฉันไม่มีที่ไปเพราะที่หอไฟก็ดับถ้าจะนอนก็คงจะร้อนก็เลยต้องทำใจไปเรียนวิชาLabแพลงก์ตอน ด้วยความที่ไม่ค่อยได้เข้าเรียนจึงมีไม่รู้ว่าแพลงก์ตอนแต่ละชนิดหน้าตาเป็นอย่างไร วันนี้เลยรู้จักหนึ่งตัวเจ้าไดโนแฟลกเจลเลต (Dinoflagelate) ก็คือ แพลงก์ตอนธรรมดาชนิดหนึ่งเมื่อแรกเห็นจากกล้องจุลทรรศน์ มีหนวดสมารถเคลื่อนไหวได้ เจ้าไดโนแฟลกเจลเลตทำให้เกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสี (Red tide) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ ขี้ปลาวาฬ ” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนพืชจนทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีไปจากสีน้ำทะเลธรรมชาติ เมื่อเจ้าไดโนแฟลกเจลเลตมีการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น (Bloom) ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีแดง บางครั้งเห็นน้ำทะเลเป็นสีเขียว สีแดง สีน้ำตาลแดง ส่งผลต่างๆ เช่น เจ้าไดโนแฟลกเจลเลตสามารถสร้างสารพิษได้ เมื่อหอยกินไดโนแฟลกเจลเลตนี้เข้าไปพิษจะสะสมอยู่ในหอยโดยไม่ทำอันตรายแก่หอยแต่จะส่งผลต่อคนที่กินหอยตัวนั้นและอาจจะเกิดพิษอัมพาตได้ซึ่งจะทำให้คนเสียชีวิต ฉันรู้แค่นั้นในวิชาLabแพลงก์ตอน พอเลิกเรียนดูเหมือนว่าทุกอย่างจะยังเหมือนเดิม ห้องเรียนห้องเก่า กล้องจุลทรรศน์ตัวเดิม สมุดเลกเชอร์เล่มเดิม ฉันก็ไม่ได้รู้อะไรมากกว่าเดิม เย็นวันนั้นก็หมดไปตามแสงของดวงตะวันที่จมหายไปกับน้ำทะเล
คืนนี้พระจันทร์ถูกบดบังหลังเมฆก้อนใหญ่ ดาวดวงเล็กดวงน้อยก็พลอยหลบหน้าตามไปด้วยจึงเห็นเพียงแสงไฟสองข้างทางของมหาวิทยาลัย* แต่ยังมีคนโรแมนติกชวนไปนั่งเล่นที่ชายหาดของคณะฯ*ยามค่ำคืน คิดอะไรของเขากันนะ แต่ฉันก็ตามไปอย่างว่าง่ายเพียงเพราะไม่อยากเซ็งอยู่ที่หอตอนหัวค่ำ พอลมโชยถูกหน้าความเริงร่ำก็ขับไล่ความเบื่อหน่ายออกไปหมด
ฉับกับใครอีกคนเดินเล่นอยู่ริมชายหาดไม่มีใครเอื้อนเอ่ยถ้อยคำใด ต่างฟังบทเพลงแห่งท้องทะเลที่ขับกล่อม ผืนฟ้าเป็นสีเดียวกับพื้นน้ำ...สีดำแห่งรัตติกาล คลื่นเข้าหาฝั่งครั้งแล้วครั้งเล่าเพียงแผ่วเบาทำหน้าที่ไม่ได้ขาดตกบกพร่อง แอบโรแมนติกสักพักฉันก็ผลักใครอีกคนที่ชวนมาด้วยลงไปในน้ำทะเลมีแสงระยิบระยับเกิดขึ้นที่น้ำทะเล เราหยุดดูกัน สวยดีในความรู้สึกฉันเอามือตีน้ำทะเลและวิ่งอยู่ในน้ำทะเลอยู่พักใหญ่ แสงเกิดขึ้นเป็นทางยาวตามที่เราเดินหรือวิ่งไป จึงเห็นข้อดีในวันที่พระจันทร์หลบหน้าดวงดาวหลับใหล แต่ในน้ำดาวยังส่องแสง ทำให้คิดไปถึงชั่วโมงเรียนทฤษฎีวิชาแพลงก์ตอนวิทยาที่ร่ำเรียนมา แสงที่เกิดขึ้นเกิดจากสารประกอบพวกฟอสฟอรัสในทะเล ฟอสฟอรัสจะเรืองแสงเฉพาะเวลาที่เกิดการเสียดสีกัน เวลาที่มีคลื่นกระทบฝั่งแรงๆเวลากลางคืน แต่ในน้ำนิ่งๆจะไม่มีการเรืองแสงของพวกฟอสฟอรัสเลย ชาวประมงเรียกการเรืองแสงของฟอสฟอรัสว่า พรายน้ำ พรายทะเล หรือผีพราย ฟังแล้วน่ากลัวฉันจึงขอเรียกเจ้าฟอสฟอรัสว่า “ ดวงดาวแห่งท้องทะเล ” ฟังแล้วน่าดูน่ามองและน่าฟังมากกว่าเพราะว่าไม่น่ากลัวและที่สำคัญสวยเหมือนดาวบนท้องฟ้า พูดถึงการเรืองแสงในทะเลพวกแพลงก์ตอนก็สามารถเรืองแสงได้เหมือนกัน เช่น ไดโนแฟลกเจลเลต โคพีพอด (ตัวอ่อนของลูกกุ้ง ลูกปู ลูกปลา) พวกนี้เป็น Fluorescent plankton เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโปรตีนที่เรียกว่า Fluorescent protein (โปรตีนเรืองแสง) จึงเห็นแสงวับๆแวมๆคล้ายหิ่งห้อยอยู่ในทะเลยามค่ำคืน แบคทีเรียบางชนิดในทะเลก็สามารถเรืองแงได้เหมือนกัน เช่น พวกวิบริโอ (Vibrio sp.) ซึ่งก่อการเรืองแสงในตัวกุ้ง ทำให้กุ้งเป็นโรคและตายในที่สุด
ในห้องเรียนห้องเล็กมีเรื่องราวบอกกล่าวไว้อาจจะจริงหรือไม่จริงเราก็ไม่รู้ แต่ห้องเรียนห้องใหญ่ข้างนอกมีเรื่องมากมายให้เรียนรู้และค้นหาความจริงที่เคยร่ำเรียนมา อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีก็ต้องมีการค้นคว้าทดลอง คืนนี้ฉันก็ได้พบกับความจริงในห้องLabที่เรียกว่า
” ทะเล ”
หลังจากค่ำคืนนี้หมดไปวันใหม่ก็ทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ฉันไปเรียนวิชาแพลงก์ตอนวิทยาทั้งทฤษฎีและLabไม่เคยขาด แอบขอบคุณดวงดาวแห่งท้องทะเลที่เสมือนแรงบันคาลใจในความใฝ่รู้ อยากรู้จักอีกหลายชีวิตที่ก่อเกิดในทะเล จึงทำให้ฉันได้เล็งเห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งที่ดี ทำให้การมองโลกของเรากว้างขึ้น มีความคิดต่างไปเมื่อได้เห็นหรือเรียนรู้อะไรที่แปลกใหม่ เราอาจจะมองโลกกันคนละมุมกันแต่เราสามารถแลกเปลี่ยนความรู้สึกกันได้ นี่คือประสบการณ์จากแพลงก์ตอนตัวเล็กแต่สร้างแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ให้กับฉัน
ทะเลยามค่ำคืนก็สวยดีเหมือนกันมีหลายชีวิตเชื้อเชิญให้เราไปค้าหนาด้วยความเป็นมิตร คืนไหนว่างๆถ้าไม่มีที่ไปทะเลอาจเป็นคำตอบสุดท้าย ลองแวะไปทะเลให้เท้าได้สัมผัสผืนทราย ให้ลมสัมผัสหน้า ให้ดวงตาสัมผัสแสงระยิบระยับจากแพลงก์ตอนหรือดวงดาวแห่งท้องทะเล แล้วคุณจะหลงรักทะเลยามค่ำคืนอย่างหมดหัวใจอย่างที่ฉันรัก....
บันทึกถึง....ทะเล
Aromatic
............................................................................................................................................
มหาวิทยาลัย* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศริวิชัย วิทยาเขตตรัง
คณะฯ* คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ผลงานอื่นๆ ของ aromatic ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ aromatic
"เยี่ยมค่ะ"
(แจ้งลบ)หากจะถามว่าบทความประเภทใด สมควรแก่การมีอยู่มากที่สุด สำหรับฉันคือบทความที่สร้างแรงบันดาลใจดีๆ แก่คนที่ผ่านเข้ามาอ่านได้ และ "ดวงดาวแพลงก์ตอน" ก็ทำได้ค่ะ ภาษาน่ารัก การเปรียบเทียบเรื่องวิทยาศาสตร์กับความโรแมนติกแห่งท้องทะเลช่างเป็นลูกเล่นที่ขัดแย้งกัน ขณะเดียวกันก็ลงตัวอย่างได้ผล ที่สำคัญ หากทีเด็กๆ ที่กำลังหลงทาง ไม่รู้จะเรียนต่อที่ไหนดี คงได้มาพบอ ... อ่านเพิ่มเติม
หากจะถามว่าบทความประเภทใด สมควรแก่การมีอยู่มากที่สุด สำหรับฉันคือบทความที่สร้างแรงบันดาลใจดีๆ แก่คนที่ผ่านเข้ามาอ่านได้ และ "ดวงดาวแพลงก์ตอน" ก็ทำได้ค่ะ ภาษาน่ารัก การเปรียบเทียบเรื่องวิทยาศาสตร์กับความโรแมนติกแห่งท้องทะเลช่างเป็นลูกเล่นที่ขัดแย้งกัน ขณะเดียวกันก็ลงตัวอย่างได้ผล ที่สำคัญ หากทีเด็กๆ ที่กำลังหลงทาง ไม่รู้จะเรียนต่อที่ไหนดี คงได้มาพบอีกหนึ่งแรงบันดาลใจดีๆ ของการเรียนรู้ต่อยอดจากสิ่งที่ชอบ สรุปว่า ชอบค่ะ อ่านน้อยลง
แม่หญิงทอดยอด | 9 ธ.ค. 53
1
0
"เยี่ยมค่ะ"
(แจ้งลบ)หากจะถามว่าบทความประเภทใด สมควรแก่การมีอยู่มากที่สุด สำหรับฉันคือบทความที่สร้างแรงบันดาลใจดีๆ แก่คนที่ผ่านเข้ามาอ่านได้ และ "ดวงดาวแพลงก์ตอน" ก็ทำได้ค่ะ ภาษาน่ารัก การเปรียบเทียบเรื่องวิทยาศาสตร์กับความโรแมนติกแห่งท้องทะเลช่างเป็นลูกเล่นที่ขัดแย้งกัน ขณะเดียวกันก็ลงตัวอย่างได้ผล ที่สำคัญ หากทีเด็กๆ ที่กำลังหลงทาง ไม่รู้จะเรียนต่อที่ไหนดี คงได้มาพบอ ... อ่านเพิ่มเติม
หากจะถามว่าบทความประเภทใด สมควรแก่การมีอยู่มากที่สุด สำหรับฉันคือบทความที่สร้างแรงบันดาลใจดีๆ แก่คนที่ผ่านเข้ามาอ่านได้ และ "ดวงดาวแพลงก์ตอน" ก็ทำได้ค่ะ ภาษาน่ารัก การเปรียบเทียบเรื่องวิทยาศาสตร์กับความโรแมนติกแห่งท้องทะเลช่างเป็นลูกเล่นที่ขัดแย้งกัน ขณะเดียวกันก็ลงตัวอย่างได้ผล ที่สำคัญ หากทีเด็กๆ ที่กำลังหลงทาง ไม่รู้จะเรียนต่อที่ไหนดี คงได้มาพบอีกหนึ่งแรงบันดาลใจดีๆ ของการเรียนรู้ต่อยอดจากสิ่งที่ชอบ สรุปว่า ชอบค่ะ อ่านน้อยลง
แม่หญิงทอดยอด | 9 ธ.ค. 53
1
0
ความคิดเห็น