Twin Princesses พอเกิดใหม่มาก็ดันกลายเป็น "เจ้าหญิงตัวสำรอง" ซะแล้ว

โดย เจ้าหนูตัวจุ้น

แม้พวกเราทั้งคู่จะเป็นถึงฝาแฝดที่ถือกำเนิดขึ้นโดยองค์จักรพรรดินีที่ท่านพ่อทรงรักใคร่ ทว่าเพียงแค่สีตาและคำทำนายที่แตกต่างกันออกไป ทุกอย่างก็เปลี่ยนผันและฉัน... ก็เป็นได้แค่ตัวตายตัวแทน (เกิดใหม่)

อ่านนิยาย

รีวิวจากนักอ่าน

รีวิว

เรื่องราวที่มีศักยภาพในการเติบโตต่อได้อีกมาก

รีวิวถึงลำดับตอนที่ 12

เยี่ยมมาก

-------------------

Twin Princess

พอเกิดใหม่มาก็ดันกลายเป็น “เจ้าหญิงตัวสำรอง” ซะแล้ว

Story by เจ้าหนูตัวจุ้น

-------------------

Criticized by SilverWing
23.3.2562

First Impression

“นิยายแนวเกิดใหม่ที่นางเอกเป็นโรคหัวใจตาย (ไม่ใช่รถบรรทุกชน)”

ชื่อเรื่องและคำโปรยของนิยายเรื่องนี้ตรงไปตรงมา หรือพูดง่ายๆ คือเหมือนกับปิดป้ายประกาศไว้อย่างชัดเจนมากว่าเป็นนิยายแนวเกิดใหม่ (ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้) แต่สิ่งที่เรื่องนี้ชูขึ้นมาให้ชัดเจน และโดดเด่นเทียบกับเรื่องอื่นคือการเอาประเด็นเรื่องความเป็น ฝาแฝด’ ‘ชาติกำเนิดและเรื่องของ คำทำนาย มาเกี่ยวข้องด้วย โดยส่วนนี้ถือว่าทำได้ดี เพราะมันทำให้คนอื่นที่กดหานิยายผ่านๆ มาเห็นแล้วออกอาการ หืม ?ขึ้นมาทันที และยังสามารถวาดภาพในใจได้ว่าไส้ในของเรื่องนี้น่าจะมีอะไรอยู่บ้าง

ที่หน้านิยาย สิ่งแรกสุดที่กระแทกสายตาก่อนคือ Theme High Contrast สีขาวตัดดำชนิดเข้มมาก – ถามว่ามันดีหรือไม่ดี.. อันนี้คงขึ้นอยู่กับความชอบ แต่ที่แน่คือมัน กระแทกตา แบบสุดๆ

สิ่งที่แปลกอยู่ในส่วนของข้อมูลเบื้องต้น มันค่อนข้างแหวกแนวอยู่บ้างหากเทียบกับนิยายส่วนใหญ่ที่เห็นบทเว็บ เนื่องจากมันไม่ได้ถูกใช้แนะนำตัวละคร หรือเป็นส่วน Writer’s Talk ที่คุ้นเคยกัน แต่กลับเป็นการใช้พื้นที่นี้เพื่อการเกริ่นนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง -- แต่การเกริ่นนำจำนวนเจ็ดย่อหน้านั้นเมื่อที่อ่านไปอ่านมาแล้วจะละลึกได้ทันทีว่านี่มันไม่ใช่เกริ่นนำหรอก.. นี่มันบทนำต่างหาก

ที่พูดว่ามันเป็นบทนำ ไม่ใช่การเกริ่นนำนั่นเพราะว่าในส่วนนี้มันดันมีเนื้อเรื่อง ! ทั้งยังเป็นเนื้อเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญทีเดียวเพราะมันได้เล่าความเป็นมา (Background) ของ นรินทร์หญิงสาวคนสำคัญที่น่าจะมีบทบาทเป็นถึงตัวละครเอกในนิยายเรื่องนี้

การเอาบทนำมาไว้ตรงนี้ค่อนข้างสุ่มเสี่ยง เพราะจะมีคนอ่านบางจำพวกที่ไม่แม้แต่จะปรายตามอง ข้อมูลเบื้องต้น เหล่านี้ – แต่จะมาก หรือจะน้อยอย่างไรไม่อาจบอกได้ แต่เชื่อเถอะว่ามีนักอ่านจำนวนไม่น้อยแน่ที่หุนหันกดอ่านตอนหนึ่งทันทีโดยไม่ทันได้รู้ตัวว่าเสียโอกาสที่จะได้รับข้อมูลสำคัญของตัวละครเอกไปในหน้าแรกสุดของนิยาย

ถามว่านั่นเป็นความผิดของผู้เขียนหรือไม่ ? เห็นทีต้องตอบว่าไม่เพราะคนเขียนไม่เกี่ยวอะไรกับความมือไวใจเร็วของนักอ่านกลุ่มนั้น – ทว่ามันจะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเอา บทนำไปอยู่ในที่ๆ มันควรอยู่ เพื่อไม่ให้มีใครพลาดข้อมูลที่อาจส่งผลต่อการตีความภาพรวมของเนื้อเรื่อง

คำแนะนำ

พิจารณาปรับเปลี่ยนตำแหน่งการวางส่วนเนื้อเรื่องที่เป็นอดีต(ก่อนตาย)ของตัวละครหลักไปไว้ในตอน อาจสลับเอาพาร์ทแนะนำตัวละครขึ้นมาอยู่แทนเพื่อให้เป็น Pattern มาตรฐาน – ทั้งนี้ในมุมนักอ่านการแนะนำตัวละครจะไม่มีก็ได้ จะอ่านข้ามก็ได้.. แต่การอ่านข้าม Background ของตัวละครหลักไป นี่ไม่ต่างอะไรกับการอ่านข้ามบท

อนึ่ง.. ตัวผู้วิจารณ์เองก็จัดอยู่กลุ่ม กดข้าม การแนะนำตัวละครไป เนื่องจากไม่ต้องการรับ Spoil ใดๆ โดยที่ยังไม่เริ่มต้นอ่าน

การจัดหน้ากระดาษและรูปแบบทั่วไป

“อยู่ในระดับที่ดี เพียงแต่ว่า...”

การจัดย่อหน้า การเว้นระยะห่างต่างๆ ของ Paragraph โดยรวมไม่ใช่ปัญหาของนิยายเรื่องนี้ จะมีเพียงจุดที่อาจเล็ดลอดสายตาของผู้เขียนไปบ้างเช่นเนื้อหาในตอนที่ 4 ที่อยู่ดีๆ ก็กองรวมกันเป็นพืด -- ซึ่งความจริงน่าจะแก้ไขได้หากมีการเปิดหน้านิยายซ้ำหลังการอัพเดทแต่ละตอน

อีกประเด็นหนึ่งที่อยากชี้ให้เห็นคือการเลือกใช้ Font ไม่เหมือนกันในช่วงตอนต้นกับตอนหลัง (แม้ว่าอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่โตมากนัก) แต่จะบอกว่า ฟอนต์ที่ชื่อ Tohoma ซึ่งเป็น Default ของเว็บเด็กดีไม่ใช่ฟอนต์ที่สวย มันมีลักษณะของความแข็ง ความเหลี่ยม และยังหนากว่า Font มาตรฐานอื่นๆ ทำให้หน้ากระดาษดูแน่นกว่าความเป็นจริง และเจ้าความแน่นที่ว่าก็น่ารำคาญพอสมควรในมุมของคนอ่าน


(เปรียบเทียบความแตกต่างของ Font ระหว่างตอนที่ 3 และตอนที่ 9)

คำแนะนำ

ควรตรวจสอบหน้านิยายเพื่อดูการจัดหน้าทุกครั้งหลังจากกดอัพเดท และพิจารณาปรับเปลี่ยน Font ให้เป็นไปในทางเดียวกัน (อะไรก็ได้ที่อ่านง่าย และสบายตากว่า Tohoma)

Character Discussion

1.เชลีน -- เจ้าหญิงน้อยยัดไส้สาวมหาลัย

เชลีน คนแรก ซึ่งเป็นเจ้าหญิงแต่กำเนิด เป็นตัวตนแรกเริ่มของเด็กน้อยที่ถูกกำหนดให้มีนิสัยเย็นชาตั้งแต่ต้นเรื่อง -- แค่เรื่องนั้นก็สะดุดแล้ว

เรากำลังคาดหวังว่าตัวตนของเด็กน้อยอายุ 3 ขวบนั้นสามารถ เย็นชาได้จริงหรือ ?

ความจริงคือ.. ไม่น่าจะได้ – เพราะเด็กอายุเท่านี้ ยังไม่มีลักษณะ นิสัย ให้เราเห็นกันด้วยซ้ำ -- ว่ากันตามหลักการแล้ว เด็กที่อายุน้อยมากๆ ในระดับก่อน 3 ปี เราจะยังไม่สามารถนิยามหรือกำหนด นิสัย ให้กับเด็กเหล่านั้นได้ แต่จะแบ่งลักษณะของเด็กโดยใช้คำว่า พื้นอารมณ์ หรือ Temperamentในการแบ่งเด็กเล็กออกเป็นสี่กลุ่มเท่านั้นคือ

1.เด็กเลี้ยงง่าย - กินง่าย นอนง่าย อารมณ์ดี ปรับตัวเก่ง

2.เด็กเลี้ยงยาก - กินยาก นอนยาก โวยวายเก่ง ปรับตัวยาก

3.เด็กปรับตัวช้า - ขี้อาย เครียดง่าย เฉย ถอยหนีหากเจอเรื่องแปลกใหม่

4.กลุ่มปานกลาง – คือแบ่งเข้าไปในสามข้อข้างต้นไม่ได้ชัดเจน หรือมีหลายๆ อย่างผสมกัน

ถ้าว่ากันตามนี้แล้วตัวเชลีนในอดีต (ก่อนที่จะถูกยัดไส้ในด้วยนรินทร์) คงใกล้เคียงกับกลุ่มที่เรียกว่า เด็กปรับตัวช้าเด็กนิ่งหรือ เด็กเงียบ เสียมากกว่า -- ไม่น่าจะใช่คำว่าเย็นชา

แล้วอย่างไร ? การนิยามว่าเชลีนน้อยจะเย็นชาจริง หรือว่าเป็นกลุ่มปรับตัวช้าจะส่งผลอย่างไรต่อเนื้อเรื่องหรือ ? – เอาจริงๆ แล้วอาจไม่มีผลขนาดนั้น ถ้าแม่นรินทร์ไม่ย้ำคิดบ่อยเหลือเกินว่าเธอจะต้องอ้างอิงพฤติกรรมเก่าของเจ้าหญิงน้องเชลีนด้วยการเป็นคน เย็นชาให้ได้โดยที่คนอื่นไม่สังเกต -- นั่นเหตุของความขัดแย้งภายในของเชลีนซึ่งน่าจะ เย็นชา แต่ก็มีความ แอบรั่ว อยู่ในทีจากไส้ใน นรินทร์ ซึ่งถูกยัดเข้ามาใหม่

นรินทร์ เป็นเป็นนักศึกษาวัยประมาณสิบเก้าปีที่มีโรคประจำตัวมาก่อนทำให้ร่างกายอ่อนแอตั้งแต่เล็ก แม้จะเป็นอย่างนั้นเธอก็พยายามดูแลตนเองมาจนสามารถใช้ชีวิตใกล้เคียงกับปกติ อย่างน้อยก็จนเข้ามหาวิทยาลัยและได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นแบบคนอื่นอยู่บ้าง

จนกระทั่งถึงเวลา.. โชคชะตาฟ้าลิขิตก็กำหนดให้เธอตาย (เพื่อย้ายบทมายังต่างโลก)

นิสัยดั้งเดิมของนรินทร์เป็นอย่างไร ในส่วนนี้ผู้เขียนไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ชัด ทว่าเราในฐานะผู้อ่านก็ยังสามารถเก็บเล็กผสมน้อยมาได้จากการที่เธอเป็นคนอ่านนิยาย เธอรู้จักเกมจีบหนุ่ม เธออาสาเป็นหน่วยสวัสดิการในงานกีฬาสี และบางทีเธอก็ใช้คำอุทานว่า อกอีแป้นจะแตก

โดยสรุปคร่าวๆ คือ นรินทร์ มีแนวโน้มว่าจะเป็นแค่หญิงวัยรุ่นธรรมดาๆ ซึ่งมีโลกส่วนตัวประมาณหนึ่ง เธอสามารถเข้าสังคมได้ เธอมีงานอดิเรกไว้ผ่อนคลาย และดูน่าจะไม่ใช่คนจำพวกที่เคร่งเครียดไปกับทุกสิ่งอย่าง ทั้งหมดนั้นเป็นองค์ประกอบกลางๆ ที่ไม่ได้โดดเด่นอะไรในฐานะ ตัวละครหลัก -- ยกเว้นก็แต่เรื่องโรคร้ายที่มีไว้ให้ตายเร็วกว่าชาวบ้านเขา

รอยต่อระหว่างสองโลกคือเหตุการณ์หัวใจวายเฉียบพลันของนรินทร์และเหตุจมน้ำของเจ้าหญิงน้อยเชลีน – หลังจากนั้น นรินทร์คนเดิมตายลง เธอกลับได้มาเริ่มต้นชีวิตอีกครั้งในร่างของ เชลีน เจ้าหญิงฝาแฝดองค์โตของอาณาจักรเวนตีส (จักรวรรดิเวนตีส ?)

นรินทร์สามารถตระหนักรู้ได้ในทันทีว่าเกิดอะไรขึ้น เธอจำได้ว่าเคยอ่านนิยายเรื่องหนึ่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ทั้งยังจำละเอียดได้เสียด้วยว่าเป็นนิยายที่มีจำนวนเล่มสองเล่ม และแต่ละเล่มมีเนื้อหาครอบคลุมประมาณไหน นั่นทำให้เธอรู้ชะตากรรมของเจ้าหญิงเชลีน และเชร่าซึ่งอยู่ในหนังสือเป็นอย่างดี

แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเธอไม่ได้เอาข้อมูลตรงนั้นมาใช้ประโยชน์ นอกเสียจากการเดินตามเกมไปเรื่อยๆ

เมื่อ นรินทร์ เข้ามาสอดไส้อยู่ใน เชลีนที่ฟื้นจากการจมน้ำ การเล่นตามบทของนรินทร์ทำให้เชลีนคนใหม่สามารถดำเนินชีวิตในรั้วราชวังได้อย่างไม่มีใครจับสังเกตถึงความผิดปกติ แม้ว่าในบรรดาคนใกล้ชิดอย่างเมดสาวเอเดรียน่าหรือองค์จักรพรรดิอาจจะมีทีท่าระแคะระคายอยู่บ้างถึงรายละเอียดนิสัยบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เพราะไม่มีใครแสดงท่าทีอะไรจึงทำให้ไม่มีผลใดๆ ที่กระทบต่อเหตุการณ์สำคัญในเนื้อเรื่อง

จากบทชีวิตประจำวันของเชลีนและเชร่า ทำให้เราได้เห็นเจ้าหญิงน้อยในวัยเพียงสามขวบที่ต้องแบกรับอะไรหลายอย่างมากกว่าเด็กวัยเดียวกัน อย่างเช่นการเรียนมารยาท และการเรียนภาษา – การเรียนอะไรแบบนี้ ด้วยวัยเท่านี้ แม้จะฟังดูเป็นไปได้ในโจทย์ของเลี้ยงดูธิดาแห่งจักรพรรดิ แต่ถ้าลองปรับมุมมองในฐานะการเลี้ยงดูเด็กอายุสามปี ก็ต้องบอกว่าราชวงศ์นี้เลี้ยงลูกดุเอาเรื่อง

แล้วเด็กสามขวบจริงๆ ทำอะไรได้บ้าง ? นั่นคือคำถามที่นำไปสู่ความสมเหตุสมผลในจุดนี้

แน่นอนว่าเด็กสามขวบพอจะพูดเป็นคำ เป็นประโยคสั้นๆ ที่ไม่ซับซ้อนได้ แต่การเรียนรู้ราชาศัพท์ หรือคำพิธีการต่างๆ นั้นถือว่าเกินวัย กระทั่งการเขียนหนังสือสำหรับพวกเขาก็นับว่าไม่ง่าย (ว่ากันตามชีวิตจริง) แม้จะพอเป็นไปได้ในเด็กรายที่เรียนรู้เร็วซึ่งอาจจะสามารถเขียนคัดลอกตามแบบตัวอักษรได้ แต่ก็ยากมากจริงๆ ในการแต่งหรือเขียนประโยคด้วยตนเอง

โดยสรุปก็คือ.. เชลีนกับเชร่า อาจจะเด็กเดินไปสำหรับการเรียนที่เข้มข้นขนาดนั้น การเลือกช่วงอายุ 3 ขวบมาใช้ในเหตุการณ์ต้นเรื่องจึงทำให้มีความไม่เหมาะสมในแง่ของ พัฒนาการเด็ก

ทว่าจุดนี้สามารถนำมาเป็นสเน่ห์ของนิยายแนวเกิดใหม่ในต่างโลกได้ เพราะในขณะที่เชร่ามีพัฒนาการสมวัย อาจจะเรียนรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง เล่นบ้างเรียนบ้างเป็นปกติ เชลีนที่มีมันสมองและความทรงจำของเด็กมหาวิทยาลัยสมควรจะฉายแววได้อย่างเต็มที่ – ทว่าดูเหมือนบริบทของนิยายเรื่องนี่จะมุ่งเน้นให้เชลีนเกิดใหม่แบบ ไม่ผิดสังเกต เราจึงไม่ได้เห็นเด็กน้อยอัจฉริยะในรูปแบบดังกล่าว

ซึ่งนั่นออกจะน่าเสียดาย

อย่าลืมว่าความสนุก.. ความน่าติดตามของนิยายแนวเกิดใหม่อยู่ที่ตัวละครหลักซึ่งมีมันสมองโตเกินวัย หรือมีความรู้ ความสามารถพิเศษ ที่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ไม่ว่าจะในระดับเล็กๆ เช่นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การหาเงิน การหาของ การประกอบอาชีพ ไปจนถึงระดับใหญ่อย่างการชี้นำและสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสภาพสังคม เปลี่ยนคำทำนายทายทัก หรือแสดงออกถึงการกระทำ/แนวคิดใดๆ มีผลต่อการตัดสินใจสำคัญของคนสำคัญอย่างองค์จักรพรรดิเป็นต้น

การเดินเรื่องลักษณะนี้ทำให้ นรินทร์ เป็นการทำให้ตัวละครที่ เกิดใหม่ แต่ไม่สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างที่เป็นจุดขายนิยายแนวนี้

จากพฤติกรรมพยายามเนียนของนรินทร์ เห็นชัดว่าเธอยังไม่มีความต้องการ เปลี่ยนแปลง อะไรเลยทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าชะตาชีวิตของเชลีนจะจบลงอย่างโหดร้าย ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ ? -- บางทีนรินทร์อาจจะสนุกกับการสวมบทบาทเป็นเชลีนมากเกินไปจนเธอลืมตั้งคำถามแบบนั้นก็เป็นไปได้

แต่จะว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนไปเลยก็คงไม่ใช่ทั้งหมด เพราะในบางเวลาเชลีนคนใหม่ (ที่มีนริทร์เป็นไส้ใน) ก็มีหลุดอะไรที่เกินวัย หรือไม่เหมาะกับสถากรณ์ออกมาให้เห็นอยู่บ้างเหมือนกัน

ยกตัวอย่างเช่นตอนอายุสามขวบเข้าเฝ้าจักรพรรดิแล้วยืนเหม่อ เธอสามารถพูดถ้อยคำกึ่งพิธีการอย่าง ลูกขอประทานอภัย ออกมาได้โดยไม่มีใครสังเกต – (ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ? หรือเป็นเพราะวิธีการใช้คำพูดแบบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรียนมารยาทอยู่แล้ว )

หรืออีกครั้งตอนอายุห้าขวบที่เธอสามารถใช้คำพูดจาเกินเด็กอย่าง น่าเสียดายว่าสำหรับเราแล้วการเรียนเวทมนตร์เป็นสิ่งที่น่าสนใจนะเชร่า...– ในครั้งนั้นก็ดูจะไม่มีใครเอะใจเหมือนกันว่าเด็กห้าขวบคนนี้พูดจาฉลาด

อีกประเด็กหนึ่งที่ค่อนข้างแปลกคือเชลีนที่มีฐานะเป็นถึงเจ้าหญิงกลับเรียกข้าหารับใช้อย่างเอเดรียน่าว่า พี่– ว่ากันตามสังคมศักดินาแล้ว เจ้านายหรือชนชั้นสูงไม่ควรจะใช้คำนับพี่น้องแบบนั้นในการเรียกข้ารับใช้ – ยิ่งอบรมมารยาทมาแล้วยิ่งไม่ควร (ควรทราบว่าการนับพี่นับน้องกับคนอื่นไปทั่วเป็นพฤติกรรมของคนไทยและชาวตะวันออก ไม่ใช่จักรวรรดิเวนตีส)

ทั้งจากตัวอย่างการพูดจาที่มีแนวโน้มฉลาดเกินวัย กับเรื่องการวางตัวกับข้ารับใช้ในทัศนที่มีการให้เกียรติในฐานะเพื่อนมนุษย์เช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นผลจากตัวตนของนรินทร์ที่แอบซ่อนอยู่ แต่การที่ไม่มีใครสนใจสังเกตเรื่องนี้ ก็เป็นโอกาสที่น่าเสียดายอีกเหมือนกันที่ทำให้เนื้อเรื่องไม่มีการเดินไปข้างหน้า

ย้ำอีกครั้งว่าเอกลักษณ์ของตัวละครเกิดใหม่ คือการมาของเธอจะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลง – แต่เนื้อเรื่องที่มาถึงจุดนี้.. ตัวตนของเชลีน และเรื่องราวแวดล้อมยังคงนิ่งสนิท

จนกระทั่งถึงเวลาที่อายุ 5 ขวบกำลังใกล้เข้ามานั้น การเปลี่ยนแปลงที่รอมานานถึงได้เกิดขึ้น(สักที) เพราะไส้ในที่เป็น นรินทร์ เริ่มสงสัยแล้วว่าเหตุการณ์เกี่ยวกับคำทำนายที่ควรจะเกิดขึ้นตามเนื้อเรื่อง ทำไมยังมาไม่ถึง ? -- นี่เอง.. จุดนี้แหละที่เป็นการกระซิบบอกจากนักเขียนว่า โลกแฟนตาซีโลกนี้ เป็นอีกใบหนึ่งซึ่งไม่ใช่โลกในนิยายสองเล่มนั้น

โดยรวมแล้วสิ่งที่น่าจะเป็นปัญหาของตัวละครนรินทร์และเชลีนคือ หลังการย้ายตัวตนมาอยู่ต่างโลกแล้วเธอกลับไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย ไม่ว่าจะต่อเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องตัวตนของเธอในฐานะเจ้าหญิง ไม่นับเรื่องคำนายหรือเรื่องของอาณาจักรเวนติสที่ยังไม่ถึงเวลาอีกต่างหาก

แต่การตัดสินแบบนั้นอาจเร็วเกินไป เพราะถ้ามองกันในภาพใหญ่จริงๆ แล้วเรื่องราวทั้งหมดอาจจะยังไม่ถึงเวลาเริ่มต้นเลยด้วยซ้ำด้วยจำนวนตอนแค่หกตอนเพียงเท่านั้น

เพราะกว่าเราจะได้เห็นวี่แววชัด ก็ต้องรอกระทั่งถึงตอนที่เธอสนทนา ความลับ กับองค์จักรพรรดิ เราถึงจะร้องว่า นั่นไงล่ะ ! ความเปลี่ยนแปลง เริ่มมาให้เห็นแล้ว !

2.เชร่า -- นางมารน้อยที่รอวันเติบโต

เชร่าเป็นตัวละครสายน้องสาวที่ถูกกำหนดให้มีออร่าน่ารัก เธอซนกว่าคนพี่ แถมยังแอบมีมารยาที่ใช้ประโยชน์จากความน่ารักของตัวเองทำให้คนอื่นใจอ่อน (มารยาเด็ก ?) ทั้งหมดที่เรารู้เกี่ยวกับนิสัยของเธอมีเพียงเท่านี้

แม้บทบาทในอนาคตของ เจ้าหญิงเชร่า จากนิยายสองเล่มนั้นแง้มบอกแล้วได้ว่าเธอจะมีตัวตนที่ยิ่งใหญ่ในฐานะผู้กอบกู้อาณาจักร แต่ทว่า ณ เวลานี้เรายังไม่ได้เห็นอะไรจากตัวละครตัวนี้เลยมากไปกว่าเด็กน้อยที่โตตามวัย เป็นตัวละครแบนๆ ที่มีด้านเดียว คือเด็กน้อยร่าเริง ช่างพูดจาแถมยังชอบออกนอกกฎเป็นบางครั้ง แต่ก็ยังอยู่ในขอบข่ายที่เกิดขึ้นได้สำหรับเด็กวัยนี้

ถ้าว่ากันด้วยเรื่องของ บทเชร่าในช่วงนี้ยังเบาบาง

การมีอยู่ของตัวเธอในแต่ละหน้าแต่ละตัวอักษรไม่ได้มีผลอะไรให้เรื่องเดินไปข้างหน้า แม้กระทั่งเรื่องความสัมพันธ์พี่น้องของฝาแฝด เชร่าก็ยังไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงพฤติกรรมหรือทัศนคติใดๆ แก่เจ้าหญิงคนพี่อย่างเชลีนที่ถูกยัดไส้โดยนักศึกษาสาวจากต่างโลก

ในฐานะคนอ่านจึงได้แต่คาดหวังว่าในอนาคตเชร่าจะไม่จืด อย่างน้อยเธอควรมีผลกับเนื้อเรื่องให้มากพอ สมกับที่ชูโรงว่าเป็นนิยายต่างโลกที่ตัวเอกมีพี่น้องฝาแฝด

3.จักรพรรดิดาเดยน์ -- คุณพ่อผู้กุมความลับ

พระบิดาหนุ่มหล่อคนนี้เปิดตัวครั้งแรกในบท Prologue พร้อมกับการสั่งฆ่า

เหตุการณ์นี้อาจตีความได้สองกรณี ซึ่งแต่ละกรณีจะนำไปสู่ภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันในตัวตนขององค์จักรพรรดิ ณ ความประทับใจแรก

การสั่งฆ่าแบบที่หนึ่ง คือ หนึ่งท่านจักรพรรดิเดือดจริงจนขาดสติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่ารักลูกมากจึงแค้นมาก หรือโมโหหัวร้อนกับการถูกหยามหน้าในดินแดนของตัวเอง การสั่งฆ่าทันทีโดยไม่สนเบื้องหน้าเบื้องหลัง ให้อารมณ์ประมาณว่าขอลงดาบไปก่อน เรื่องราวสืบสาวกันอย่างไรค่อยคิดอีกที กลับกลายเป็นการสร้างตัวตนของราชาจอมหุนหันขึ้นมาอย่างเสียไม่ได้

ส่วนอีกหนึ่งสมมติฐานที่อาจเป็นไปได้ก็คือ ตัวพระองค์เองรับรู้เบื้องหลังของเหตุสังหารครั้งนี้อยู่แล้ว และไม่จำเป็นจะต้องสืบสาวเอาเรื่องใดๆ จากมือสังหารที่มีฐานะเพียงหมากเบี้ย การจัดการสั่งฆ่าผู้ลงมือทันทีเสียให้สิ้นเรื่องจึงไม่ต่างอะไรกับการเขี่ยเศษฝุ่น

ทั้งสองกรณีล้วนเป็นไปได้ในการอ่านบทแรก เพียงครั้งแรก -- แต่ต้องยอมรับไว้ก่อนว่าจากบทและฉากที่ปูมา แนวโน้มจะเป็นไปในทางรักลูกมากจนคลั่งและแค้นเสียมากกว่า โดยอ้างอิงจากคำบรรยายที่ว่า ..เสียงเรียกขานอย่างบ้าคลั่งจากกษัตริย์ผู้ไม่เคยหลั่งน้ำตา สีหน้าคมคายได้รูปจากโศกเศร้ากลับกลายเป็นเคียดแค้น

แต่อะไรคือความจริงที่อยู่เบื้องหลังการสั่งฆ่าครั้งนี้กันแน่ ยังไม่มีใครรู้ชัด

หลังจากพ้นบท Prologue ตัวละครเดเดยน์มักมาปรากฎตัวต่อหน้าเด็กแฝดทั้งสองคนในฐานะพ่อมากกว่าจักรพรรดิ จากจุดนี้เองเราจะได้เห็นว่าเขายังมีความขี้แกล้งลูกสาว และยังมีบางมุมที่ส่งสัญญาณถึงการจับผิด

ที่แน่นอนอีกหนึ่งอย่างคือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเขากับลูกสาวคนโต(ที่ถูกยัดไส้) มีบางช็อตบางมุมที่ดู มุ้งมิ้งฟรุ้งฟริ้ง มากจนชวนสังเกต อีกทั้งตัวเชลีนเองก็ดูจะชมชอบในรูปลักษณ์และบุคลิกของผู้เป็นพ่ออยู่ไม่น้อย – จนไปๆ มาๆ กลับได้กลิ่นความค้ำคอร์ (Incest) ขึ้นมาได้

ความจริงแล้วการที่ลูกสาวในช่วงวัยเด็กจะหลงใหลในตัวของผู้เป็นพ่อ สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีทางจิตวิทยา (Freud's Psychosexual Stages of Development) ซึ่งกล่าวถึงการพัฒนาบุคลิกภาพในระยะต้นของชีวิตผู้หญิงซึ่งพอจะนิยามง่ายๆ ว่า “รักพ่อ อิจฉาแม่” (Electra complex) กล่าวคือ ในช่วงวัยเด็กของผู้หญิงจะเกิดความรักและความหวงแหนพ่อ เด็กหญิงจึงมีการแสดงออกโดยจะรักและยกย่องเทิดทูนพ่อ แต่จะชิงชังแม่ของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็จะเลียนแบบแม่เพื่อที่จะให้พ่อสนใจ – กระบวนการนี้ควรจะเกิดขึ้นและสิ้นสุดลงในช่วงอายุ 3-6 ปี ซึ่งเด็กหญิงจะรับรู้ได้ถึงบทบาททางเพศที่ควรเป็นหลังจากนั้น

จะบอกว่า Electra complex กำลังเกิดขึ้นกับเชลีนอย่างนั้นหรือเปล่า เธอถึงได้ มีปฎิกิริยา กับองค์จักรพรรดิเดเดยน์ในลักษณะ ใจเต้นแรงหรือ ใบหน้าร้อนผ่าว แบบนั้น ? – เอาจริงๆ คือไม่น่าใช่ เพราะไส้ในของเธอคือหญิงอายุเหยียบยี่สิบปีที่สมควรจะรับร็บทบาททางเพศสมบูรณ์เต็มที่แล้ว

สรุปคืองานรักงานหลงรอบนี้

reviewer author
@SilverWing
25 มี.ค. 62 / 10:11 น.

0