โรคกระดูกพรุนป้องกันได้ - โรคกระดูกพรุนป้องกันได้ นิยาย โรคกระดูกพรุนป้องกันได้ : Dek-D.com - Writer

    โรคกระดูกพรุนป้องกันได้

    ผู้เข้าชมรวม

    240

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    240

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  26 ก.ค. 56 / 15:58 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      โรคกระดูกพรุนป้องกันได้

      จากสถิติของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF International Osteoporosis Foundation 2012) ในปี 2555  1 ใน 3 ของผู้หญิง และ 1 ใน 5 ของผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แล้วกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก โดยร้อยละ 10-20 ที่กระดูกสะโพกหักจะเสียชีวิตภายใน 6 เดือน และอีกหลายรายต้องมีคนคอยช่วยเหลือดูแลตลอดชีวิต เนื่องจากอาการโรคแทรกซ้อนและค่ารักษาพยาบาลที่สูงมาก และที่สำคัญโรคกระดูกพรุนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราป้องกันได้

      โรคกระดูกพรุนเกิดจากสาเหตุอะไร
      จริงๆแล้วร่างกายของคนเราจะมีกระบวนการสลายกระดดูกเก่าและสร้างกระดูกใหม่เป็นประจำอยู่แล้ว เมื่อตอนที่เราอายุน้อยๆ การสร้างมันจะมากกว่าการสลาย จำนวนกระดูกก็จะเพิ่มมากขึ้นจนอายุประมาณ 30-35 ปี จากนั้นก็จะเริ่มลดลง เพราะการสร้างกระดูกจะน้อยลง และผู้หญิงก็จะมีการสร้างกระดูกที่น้อยลงยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อเข้าสู่วัยทอง กระดูกก็จะยิ่งไปเร็ว ถ้าคนที่สะสมมวลกระดูกมาน้อยในวัยหนุ่มสาว พอมาถึงช่วงวัยทองก็จะเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เร็ว และยังมีปัจจัยอื่นมาเสริมอีกด้วย การที่มวลกระดูกจะเพิ่มขึ้นได้ดี หรืออัตราการสลายของมวลกระดูกก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมสุขภาพ เช่นคนที่ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่นปลาเล็กปลาน้อย ดื่มนม กินผักใบเขียว หรือคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำก็จะทำให้ร่างกายสร้างมวลกระดูกได้ดี เพราะเวลาที่เรามีการออกกำลังกาย จะเกิดการกดหรือรับน้ำหนัก  ก็จะไปกระตุ้นให้เซลล์ที่สร้างมวลกระดูกมันสร้างกระดูกได้มากขึ้น และพฤติกรรมดื่มเหล้า สูบบุหรี่ก็เป็นปัจจัยทำให้มวลกระดูกลดลง การดื่มเหล้าจะทำให้การดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ลดลง การดื่มสุรายังทำให้ปัสสาวะบ่อย ขับแคลเซี่ยมออกไปอีก ส่วนการสูบบุหรี่ทำให้เข้าสู่วัยทองเร็วขึ้น

      การออกกำลังกายก็จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกด้วย และต้องเน้นการออกกำลังกายที่มีการกดหรือรับน้ำหนัก มีการวิจัยพบว่าในนักบินอวกาศที่อยู่ในสภาวะไร้แรงดึงดูดจะสูญเสียมวลกระดูกเร็วมาก อย่างการออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำอาจจะไม่ได้ช่วยในเรื่องการเพิ่มมวลกระดูกสักเท่าไหร่ อีกส่วนหนึ่งในการเพิ่มมวลกระดูกคือการรับแสงแดด แสงอัลตร้าไวโอเล็ตในแสงแดดจะช่วยกระตุ้นให้ผิวหนังสร้างวิตามินดี ซึ่งวิตามินดีจะเป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและช่วยนำแคลเซียมไปใช้ในการสร้างกระดูก ควรรับแสงแดดในช่วงเช้า

      ในประเทศไทยพบว่าเมื่ออายุมากขึ้นคนไทยเป็นโรคกระดูกพรุนประมาณ 1 ใน 4 ถึง 5 คน โรคกระดูกพรุนนั้นถือว่าเป็นภัยเงียบ เราจะไม่รู้ตัวว่าเป็นจนกระดูกหัก แล้วถ้าเป็นกระดูกสะโพกหัก ก็ต้องผ่าตัดรักษา มีภาวะแทรกซ้อนตามมา และมีผู้ป่วยเสียชีวิตถึง 1 ใน 5 รายในปีแรก และในรายที่รอดชีวิตมาก็อาจจะมีภาวะทุพพลภาพ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีผลต่อคุณภาพชีวิต หรือในผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังหัก หลังจะโค้งค่อม หายใจไม่ค่อยสะดวก เวลาเป็นหวัดก็จะเป็นปอดอักเสบ ท้องแคบลง มีอาการท้องผูก กินอาหารก็อืดเร็ว และถ้าหลังค่อมการทรงตัวไม่ดีก็จะอืดเร็ว

      สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยก็ควรสะสมมวลกระดูกไว้แต่เนิ่นๆ ด้วยการดูแลสุขภาพโดยรวม เช่นดื่มนม กินผักใบเขียว งดเหล้าและบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพียงเท่านี้ก็ช่วยชะลอการสลายตัวของกระดูกในวัยสูงอายุได้เป็นอย่างมาก

      แหล่งรวมบทความสารคดีประวัติศาสตร์ บทความสารคดีจักรวาลและดาวเคราะห์ บทความสารคดีสงคราม บทความสารคดีภัยธรรมชาติ บทความสารคดีชีวิตสัตว์ บทความสารคดีอาวุธทางการทหาร บทความสารคดีการจัดอันดับ บทความสารคดีวิทยาศาสตร์ บทความสัมภาษณ์คนดัง บทสนทนาปัญหาเศรษฐกิจ บทสนทนาประเด็นข่าวร้อน เรื่องราวน่ารู้ ความรู้ทั่วไป สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ไลฟ์สไตล์ สุขภาพ ผู้หญิง ความงาม แม่และเด็ก สัตว์เลี้ยง อาหาร ร้านอาหาร เกมส์ เทคโนโลยี มาดูกันได้ที่  http://megatopic.blogspot.com



      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×