ศาสตร์ แห่ง ศิลป (เส้น) - ศาสตร์ แห่ง ศิลป (เส้น) นิยาย ศาสตร์ แห่ง ศิลป (เส้น) : Dek-D.com - Writer

    ศาสตร์ แห่ง ศิลป (เส้น)

    เป็นเรื่อง ของ ศิลปะ อะคร้าบ เกี่ยวกับ องค์ประกอบ ศิลปะ ใครสนใจเรื่องเส้นก็เข้ามาดูได้นะ

    ผู้เข้าชมรวม

    17,156

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    17.15K

    ความคิดเห็น


    11

    คนติดตาม


    4
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  26 มี.ค. 49 / 15:19 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      เส้น
             
                
      เส้น  หมายถึง  รอยขีดเขียนด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่สร้างให้ปรากฎบนพื้นระนาบ  หรือการนำจุดมาเรียงต่อกันเป็นจำนวนมากโดยมีความยาวและทิศทาง  และยังหมายถึงส่วนขอบรอบนอกของวัสถุอีกด้วย

      ความรู้สึกที่มีต่อเส้น

              
        เส้นเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างสรรค์  เส้นสามารถแสดงให้เกิดความหมายของภาพและให้ความรู้สึกได้ตามลักษณะของเส้น เส้นที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่  เส้นตรงและเส้นโค้ง
                จากเส้นตรงและเส้นโค้งสามารถนำมาสร้างให้เกิดเป็น เส้นใหม่ที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปได้ดังนี้

      เส้นตรงแนวตั้ง  ให้ความรู้สึกแข็งแรง  สูงเด่น  สง่างาม  น่าเกรงขาม

      เส้นตรงแนวนอน  ให้ความรู้สึกสงบราบเรียบ  กว้างขวาง  การพักผ่อน  หยุดนิ่ง

      เส้นตรงแนวฉียง  ให้ความรู้สึกไม่ปลอดภัย  การล้ม  ไม่หยุดนิ่ง

      เส้นตัดกัน   ให้ความรู้สึกประสานกัน  แข็งแรง

      เส้นโค้ง  ให้ความรู้สึกอ่อนโยนนุ่มนวล

      เส้นคลื่น  ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวไหลเลื่อน  ร่าเริง  ต่อเนื่อง

      เส้นประ  ให้ความรู้สึกขาดหาย  ลึกลับ  ไม่สมบรูณ์  แสดงส่วนที่มองไม่เห็น

      เส้นขด  ให้ความรู้สึกหมุนเวียนมึนงง

      เส้นหยัก   ให้ความรู้สึกขัดแย้ง  น่ากลัว  ตื่นเต้น  แปลกตา

                นักออกแบบนำเอาความรู้สึกที่มีต่อเส้นที่แตกต่างกันมาใช้ในงานศิลปะประยุกต์  โดยใช้เส้นมาเปลี่ยนรูปร่างของตัวอักษร  เพื่อให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวและทำให้สื่อความหมายได้ดียิ่งขึ้น

      อะครับ ก็จบเพียงเท่านี้  ต้องขอโทษด้วยนะครับ ที่ไม่มีรูปให้ดู  ก็คิดกันเองนะว่าน่าตามันเป็นไง  เออ  ลืมบอก  เส้นเนี่ย  สามารถบอกนิสัยได้ด้วยนะ  ใครชอบเส้นอะไร  (ใช่เส้นใหญ่  เส้นเล็กนะ)  ก็ดูได้นะครับ
                 

           

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×