งานสังคมว้อย ให้มิ้งเพียงผู้เดียว - งานสังคมว้อย ให้มิ้งเพียงผู้เดียว นิยาย งานสังคมว้อย ให้มิ้งเพียงผู้เดียว : Dek-D.com - Writer

    งานสังคมว้อย ให้มิ้งเพียงผู้เดียว

    มิ้งจ๋า มิ้งก๊อปเลยนะจ๊ะ

    ผู้เข้าชมรวม

    623

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    623

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  7 ธ.ค. 49 / 21:52 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      พัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา

      -ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับรัฐที่อยู่ใกล้เคียง

      ลักษณะความสัมพันธ์

      เหตุการณ์สำคัญ

      ผลที่จะได้รับจากมีความสัมพันธ์

      -ความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย

      ลักษณะความสัมพันธ์กันสุโขทัยนั้นอยุธยามีนโยบายทั้งทางด้านการประสานประโยชน์  การเผชิญหน้าทางด้านการทหารและการใช้นโยบายสร้างความสัมพันธ์ฉันเครือญาติผสมผสานกันไป

      สมเด็จพระรามาธิบดีที่1  พระองค์ทรงยกทัพไปยึดเมืองพิษณุโลกของอาณาจักรสุโขทัยเอาไว้ได้  พระมหาธรรมราชาที่1ต้องจัดส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระราชาธิบดีที่1เพื่อทรงขอเมืองพิษณุโลกกลับคืน  ซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่1ก็ทรงคืนเมืองให้กันอาณาจักรสุโขทัย  

      ความสัมพันธ์ของอยุธยากับสุโขทัยได้สิ้นสุดลงในพ.ศ.2006  ผลจากการดำเนินนโยบายของอยุธยาในครั้งนี้มีผลทำให้มีผลทำให้อาณาเขตของอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวาง  และมีความเข้มแข็งมากขึ้น

      -ความสัมพันธ์กันอาณาจักรล้านนา

      ลักษณะความสัมพันธ์ของอยุธยากับล้านนาส่วนใหญ่มักจะเป็นการทำศึกสงครามเพื่อป้องกันมิให้ล้านนาเข้ามาคุกคามหัวเมืองฝ่ายเหนือของอยุธยาซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนสุโขทัย  และขณะเดียวกันก็อาศัยล้านนาเป็นด่านหน้าป้องกันการคุกคามจากพม่าทางฝ่ายเหนือ

      สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่1  ทรงนำทัพจากอยุธยาไปตีเมืองลำปาง  เพื่อช่วยท่าวมหาพรหมเชียงรายชิงราชสมบัติจากพระยาแสนเมืองมาจากเจ้าเมืองเชียงใหม่เมื่อพ.ศ.1929

      ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับล้านาสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2306 เมื่อกองทัพพม่าได้ไปตีเชียงใหม่  และยึดเอาล้านนามาเป็นประเทศราช  โดยอยุธยาไม่สามารถจะช่วยป้องกันได้อีก  และอีก4ปีต่อมากรุงศรีอยุธยาก็เสียให้แกพม่าในพ.ศ.2310

       

      -ความสัมพันธ์กับพม่า

      มีความสัมพันธ์ในลักษณะของการทำศึกสงคราม  ซึ่งส่วนใหญ่พม่าจะเป็นฝ่ายรุกรานก่อน  และในบางสมัยอยุธยาก็ดำเนินความสัมพันธ์แบบประนีประนอม  เพื่อรักษาความมั่นคงของอาณาจักร  รวมทั้งชีวิตและทรัพย์สินของคนไทย

      ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช  เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ส่งกองทัพไปตีเมืองเชียงกรานของมอญซึ่งขณะนั้นขึ้นอยู่กับอยุธยา  เมื่ออยุธยาส่งกองทัพเข้ามาส่งกองทัพไปช่วยเมืองเชียงกรานจึงเกิดการสู้รบกับพม่าเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2081  จากนั้นพม่าก็มีนโยบายป้องกันความปลอดภัยของพม่าก็มีนโยบายป้องกันความปลอดภัยของพม่าทางด้านตะวันออกด้วยการขยายอำนาจเข้าครอบงำเหนืออยุธยา

      หลังแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปแล้ว  อยุธยาว่างเว้นสงครามกับพม่าไปนาน  และภายในพม่าเกิดการแตกแยกกันเอง  จนพม่าได้ความเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้อีกจึงยกทัพมาตีดินแดนไทย  พม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยาและสามารถยึดครองกรุงศรีอยุธยาได้

      -ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ

      ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับมอญ  มีลักษณะความสัมพันธ์ทางด้านการค้าการผูกสัมพันธไมตรีด้วยการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  และมีความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองในลักษณะที่ราชธานีมีต่อประเทศราช

      อยุธยาพยายามแผ่อิทธิพลเข้าไปยังหัวเมืองมอญเพื่อให้มาเป็นหัวเมืองประเทศราช  ด้วยการใช้กำลังไพร่พลขยายอิทธิพลให้มอญเข้ามาสวามิภักดิ์  และให้ความเป็นมิตรคอยช่วยเหลือเกื้อกูลในยามที่มอญมีศึกกับพม่า

      กามเป็นมิตรกับมอญ  มีความสำคัญต่อความมั่นคงของอยุธยามาก  เพราะหัวเมืองมอญจะเป็นเสมือนเมืองด่านหน้าในการสกัดกั้นทัพพม่า  รวมทั้งเป็นการสอดแนมเพื่อรายงานความเคลื่อนไหวของพม่าส่งมาให้อยุธยาได้ทราบล่วงหน้าด้วย

       

      -ความสัมพันธ์กับเขมร

      ลักษณะความสัมพันธ์ที่อยุธยามีต่อเขมรส่วนใหญ่จะเป็นความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม  ด้านการทำศึกสงคราม  และด้านการเมืองในฐานะที่เขมรเป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา

      สมัยพระรามาธิบดีที่2พระองค์ทรงยกทัพไปรบกับเขมรจนได้เมืองนครธม แต่ช่วงเวลาไม่นานเขมรได้ย้ายเมืองหลวงจากนครธมไปอยู่ที่เมืองบาลาญ  และเมืองพนมเปญ  เพื่อหนีการโจมตีจากอยุธยา

      ความสัมพันธ์กับเขมรสิ้นสุดลงเมื่อพ.ศ.2310เมื่ออยุธยาเสียอิสรภาพให้กับพม่า

      -ความสัมพันธ์กับล้านช้าง

      ความสัมพันธ์ที่มีต่อล้านช้าง ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของการผูกมิตรเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีให้แน่นแฟ้น

      สมัยพระเจ้ารามาธิบดีที่1กับพระเจ้าฟ้างุ้มกษัตริย์ของล้านช้างเป็นครั้งแรก  และต่อมาได้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้นในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมื่อพระไชยเชษฐาธิราช  กษัตริย์ของล้านช้างได้แต่ตั้งทูตอันเชิญพระราชสาสน์พร้อมเครื่องบรรณาการมาถวายและกราบทูลขอพระเทพกษัตรี  พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิไปเป็นพระอัครมเหสี

      อยุธยายังคงรักษาสัมพันธไมตรีอันดีกับล้านช้างไว้  จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแกพม่าครั้งที่1   ในพ.ศ.2112 ความสัมพันธ์ของอยุธยาต่อล้านช้างก็ลดน้อยลง  และไม่ปรากฏเรื่องราวความเกี่ยวข้องให้ทราบมากนักจะสิ้นสมัยอยุธยา

      -ความสัมพันธ์กับญวน

      ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากันญวนส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย   โดยลักษณะความสัมพันธ์จะเกี่ยวข้องกับการทำสงครามเพื่อแย่งชิงความเป็นเหนือเขมร

      สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  เมื่อราชวงศ์เขมรซึ่งตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองละแวกเกิดการแตกแยกกันเองระหว่างพระธรรมราชากันนักแก้วฟ้าจอกจนทำสงครามกัน  ทางอยุธยาให้การสนับสนุนพระธรรมราชา   ขณะที่ญวนหนุนหลังนักแก้วฟ้า  ความขัดแย้งในเขมรจึงชักนำให้ไทยกับญวนต้องทำสงครามสู้รบกันในดินแดนเขมรผลัดกันแพ้ชนะหลายครั้ง

      อยุธยาได้เขมรเข้ามาอยู่ใต้อำนาจในระยะเวลาสั้นๆ  หลังจากนั้นญวนก็เข้าไปมีอิทธิพลเหนือเขมรอีก   อยุธยาจึงต้องส่งกองทัพไปตีเขมรกลับคืนมา  สถานการณ์ในเขมรจะดำเนินไปในลักษะณะเช่นนี้โดยตลอด   กระทั่งสิ้นสุดสมัยอยุธยา

      -ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู

      ความสัมพันธ์ที่อยุธยาดำเนินกันหัวเมืองเหล่านี้  เป็นความสัมพันธ์ทางด้านการค้า  การทำสงคราม  การผูกสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้น

      อยุธยาได้ส่งกองทัพบุกตีเมืองมะละกา  ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญบริเวณคาบสมุทรมลายูหลายครั้งคือ  ในพ.ศ.1962สมันสมเด็จพระอินทราชาและพ.ศ.1974ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 และพ.ศ.1998ในสมัยสมเด็จพระไตรโลกนาถ  การส่งกองทัพอยุธยาไปตีเมืองมะละกา  นอกจากจะได้มะละกามาเป็นเมืองขึ้นแล้ว  หัวเมืองรายทางที่กองทัพอยุธยาเคลื่อนทัพผ่านไปก็ได้เข้ามาอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาด้วย

      การได้หัวเมืองมลายูเป็นเมืองประเทศราชนี้  นอกจากอยุธยาจะได้ผลประโยชน์จากเครื่องบรรณาการแล้วยังได้ผลประโยชน์ด้านการค้าอีกด้วย  เพราะหัวเมืองมลายูเป็นเมืองท่าในการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศให้กับอยุธยา

      ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่าอยุธยากับรัฐอื่นๆที่อยู่ห่างไกลทวีปเอเซีย

      ลักษณะความสัมพันธ์

      เหตุการณ์สำคัญ

      ผลที่จะได้รับจากมีความสัมพันธ์

      -ความสัมพันธ์กับจีน

      อยุธยาดำเนินความสัมพันธ์กันจีนในลักษณะรัฐบรรณาการซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันทางการเมืองและการค้า

      สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่1ในสมันอยุธยามีพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ที่เสด็จขึ้นครองราชย์  ซึ่งแต่ละพระองค์ก็ได้แต่งตั้งคณะทูตนำเครื่องบรรณาการไปยังเมืองจีนตามธรรมเนียมปฏิบัติที่กระทำสืบต่อกันมา

      การติดต่อทำการค้ากับจีนได้มีผลต่อทำให้ชาวจีนเข้ามารับราชการในอยุธยาด้วย

      -ความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น

      ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการค้าเป็นหลัก

      ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนแถบกรุงศรีอยุธาในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นต้นมา

      สมัยพระเจ้าปราสาททองได้มีเหตุการณ์ที่กระทบต่อความสัมพันธ์ของอยุธยากับญี่ปุ่นครั้งใหญ่ทำให้ชาวญี่ปุ่นอพยพลี้ภัยออกจากกรุงศรีอยุธยา

      -ความสัมพันธ์กับเปอร์เซีย

      ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเปอร์เซียจะเป็นความสัมพันธ์ด้านการค้า

      กษัตริย์เปอร์เซียได้ส่งทูตมาเดินทางเข้าเฝ้าพระนาราย์ณมหาราช   อันเป็นผลทำให้เปอร์เซียและอยุธยามีสัมพันธไมตรีต่อกัน

      ชาวเปอร์เซียส่งผลดีต่อการค้าของอยุธยา  รวมทั้งเปิดโอกาศให้ชาวเปอร์เซียเข้ามารับราชการในอยุธยา  หลังจากพระนารายณ์มหาราชไปแล้ว  ไม่ปรากฏหลักฐานถึงการเดินทางไปเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยากันเปอร์เซียอีก                                    

      ลักษณะความสัมพันธ์กับตะวันตก

      ลักษณะความสัมพันธ์

      เหตุการณ์สำคัญ

      ผลที่จะได้รับจากมีความสัมพันธ์

      -ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส

      โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่อยุธยาดำเนินความสัมพันธ์ด้วย  โดยมีความสัมพันธ์ทางด้านการค้า  รวมทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง  และทางด้านวัฒนธรรม

      ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับโปรตุเกสเริ่มขึ้นเมื่อพ.ศ.2045ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 เมื่อกองเรือโปรตุเกสเข้าโจมตีเมืองมะละกาและยึดเอาไว้ได้  แต่ภายหลังทราบว่าเมืองมะละกาเป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา   อยุธยาจะช่วยอำนวยความสะดวกและให้สิทธิพิเศษทางการค้า  และอนุญาตให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองมะละกา

      อยุธยามีความสัมพันธ์กับโปรตุเกสทางด้านการทหารและวัฒนธรรม อยุธยาได้ซื้อปืนจากโปรตุเกสมาใช้และจ้างทหารโปรตุเกสมาเป็นทหารอาสาอยู่ในกองทัพอยุธยา  ส่วนด้านวัฒนธรรมบาทหลวงโปรตุเกสเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันในกรุงศรีอยุธยา  และอยุธยาได้รับวัฒนธรรมการทำขนมหวานจากโปรตุเกส อันเป็นที่มาของขนมไทย

      -ความสัมพันธ์กับฮอลันดา

      ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่าอยุธยากับฮอลันดามักจะเป็นความสัมพันธ์ทางด้านการค้าและการเมือง

      ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  เมื่อฮอลันดาได้ส่งคณะทูตเดินทางมาเจรจาสร้างสัมพันธไมตรีและขอตั้งสถานีการค้าที่ปัตตานีอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.2147

      ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฮอลันดา  ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและปลอดภัยของอยุธยาที่เกิดขึ้นจากการกระทำของฮอลันดา  ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชต้องทรงดำเนินนโยบายหันไปกระชับความสัมพันธ์ให้ฝรั่งเศสมากขึ้น  เพื่อดึงเอาฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอำนาจ  ทำให้ฮอลันดาค่อยๆลดปริมาณลง

      -ความสัมพันธ์กับอังกฤษ

      ความสัมพันธ์ที่อยุธยามีต่ออังกฤษเป็นลักษณะความสัมพันธ์ทางการค้า  และในบางช่วงก็มีความสัมพันธ์ทางด้านกมาเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

      สมัยสมเด็จพระทรงธรรม  เมื่อโธมัส  เอสซิงตัน   ได้นำพระสาสนจากพระเจ้าเจมส์ที่1มาถวายสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเพื่อขอเจริญทางพระราชไมตรีด้วย

      เรือสินค้าของอังกฤษโดนโจรสลัดปล้มสะดม  อังกฤษเชื่อว่าขุนนางไทยมีส่วนรู้เห็นจึงขอให้อยุธยาชดใช้ค่าเสียหายแต่อยุธยาไม่ยอมจึงเกิดการสู้รบที่เมืองมะริด  สมเด็จพระนาราณย์ทรงไม่พอพระทัย การกระทำของอังกฤษจึงตัดความสัมพันธไมตรีด้วย

      -ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส

      อยุธยาเริ่มมีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกันศาสนาก่อน  จากนั้นก็ขยายไปถึงความสัมพันธ์ทางด้านการค้าและการเมือง

      ช่วงพ.ศ.2223-2230อยุธยากับฝรั่งเศสได้ส่งราชทูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างกันหลายคณะ  โดยในพ.ศ.2223อยุธยาส่งออกญาพิพัฒนราชไมตรีเป็นราชทูตไปเยือนฝรั่งเศส  แต่ไปไม่ถึงเนื่องจากเรือเกิดอัปปางขณะระหว่างทาง

      การมีความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส  ได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและปลอดภัยของอยุธยาให้สามารถขจัดอิทธิพลของฮอลันดาที่จะคุกคามอยุธยาลงได้  แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ฝรั่งเศสมีอิทธิพลทางการเมืองและการทหารในไทย  จะต้องขับไล่ชาวฝรั่งเศสออกไปตอนสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนาราณย์มหาราช

      -ความสัมพันธ์กับสเปน

      อยุธยามีความสัมพันธ์กับสเปนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับชาติตะวันตกอื่น  ลักษณะความสัมพันธ์มักจะเป็นเรื่องการติดต่อค้าขายเป็นหลัก

      อยุธยามีความสัมพันธ์ทางด้านการค้ากับสเปนมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  โดยทางราชสำนักอยุธยาได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้เป็นอย่างดี  แต่ความสัมพันธ์ทางการค้าไม่เจริญเท่าใดนัก  กลับค่อยๆลดน้อยลง  และขาดการติดต่อกันไปหลายปี

      ผลจากการที่อยุธยาดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ถูกต้อง  เหมาะสมกับสถานการณ์ช่วยให้อยุธยาเป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรือง  มีความมั่งคั่ง  และรักษาอำนาจมาได้อย่างยาวนาน

       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×