ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สุดยอดกีต้าร์ร๊อคของเมืองไทย

    ลำดับตอนที่ #3 : กีต้าร์ปืน"กิตติ กาญจนสถิตย์"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.65K
      2
      7 ก.ค. 53

    กิตติ  กาญจนสถิตย์
     หรือ" กีตาร์ปืน "

     

    ความเป็นมาของ กิตติ กีต้าร์ปืน
    (จาก
    www.guitargunthailand.com)

    ยุคซิกซ์ตี้ส์ (’ 60 ) ระหว่างพุทธศักราช 2503-2512

               ขณะที่คลื่นดนตรีร็อคถาโถมเข้าสู่วงการดนตรีเมืองไทยเองก็ปฏิเสธกระแสนี้ไม่พ้น โดยเฉพาะเมื่อทหารอเมริกันชุดแรกเริ่มเดินทางสู่สมรภูมิเวียดนามในปีพุทธศักราช 2504 และสร้างผลสะเทือนทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองวัฒนธรรม และ ‘ ดนตรี ’

               คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับคำ ‘ ทหาร จี.ไอ. ’ เพราะกำลังทหารสหรัฐที่มาพำนักอาศัยผืนแผ่นดินไทยเป็นฐานทัพเพื่อส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดในเวียดนามเหนือต่อเนื่องกันหลายปี โดยกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสนามบินอู่ตะเภา อำเภอสัตหีบ จังหวัดระยอง , สนามบินตาคลีจังหวัดนครสวรรค์ รวมถึงแคมป์ที่อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา ฯลฯ

               ยุคสมัยของขบวนแถวนักดนตรีคนไทยที่อาศัยเล่นตามแคมป์พักของทหารอเมริกัน เริ่มขึ้นในยุคนี้เอง และกลายเป็นการตอกหลักหมุดเพื่อเปิดตำนานหน้าแรกของ ร็อค แอนด์ โรล เมืองไทย
    ต่อมาเป็นต้นธารที่ก่อให้เกิดสายธารดนตรีต่อเนื่อง เพื่อสานต่อตำนานดนตรีอันยิ่งใหญ่
    โดยอาศัยความยิ่งใหญ่ของศิลปินแห่งฝั่งฟากโลกตะวันตกเป็นแม่แบบกระทั่งทุกวันนี้



    ‘ กิตติ กาญจนสถิตย์ ’
    ผู้ร่วมก่อตั้งวงคาไลโดสโคป
    และร่ายเวทมนต์ของกระสุนดนตรี
    กรีดใจและกระชากวิญญาณสาวกร็อค
    เป็นเวลานานกว่า 3 ทศวรรษมาแล้ว



               ปี 2521 ที่ถนนดนตรีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน กิตติ และวงคาไลโดสโคป ตัดสินใจเตรียมเดินทางไปผจญภัยยังต่างแดน แต่ก่อนจะไปได้ออกผลงานเพลงในรูปแผ่นสียงชุดหนึ่งกับค่าย EMI ในสมัยที่ระย้า หรือ ประเสริฐ พงศ์ธนานิกร เป็นผู้จัดการบริษัทฯและเป็นโปรดิวเซอร์เพลงชุดนี้ด้วย

              ปี 2522 เดินทางไปเล่นดนตรีที่ประเทศ New Zealand เมือง Wellington โดยมีสัญญาเล่นที่คลับแห่งหนึ่ง ชื่อ Spat’s เป็นเวลา 1 ปี

             หลังจากนั้นไม่นาน กิตติ กับ มือเบสวง V.I.P แป๋ง-นิวัติ กองแก้วได้รวบรวมตัวนักดนตรีขึ้นใหม่ในนาม วง ‘ นิวเวฟ ’ (New wave) พร้อมด้วยสมาชิกอีก 3 คน คือ ชูชาติ หนูด้วง หรือ โก้ คาราบาว กลอง , สมโชค เล้าเปี่ยมทอง กีต้าร์ ส่วนนักร้องนำชื่อ จี๊ด-จรัส บุญกลิ่น อดีตนักร้องวงเฮฟวี่ เมาท์เทน รวมเป็นสมาชิก 5 คน แสดงดนตรีตามสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด และยังได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปไกลถึงประเทศเยอรมันนี

             กิตติ กาญจนสถิตย์ ได้สร้างปรากฏการณ์แปลกใหม่ ในวงการดนตรีเมืองไทยนั่นคือ การสร้างกีต้าร์ไฟฟ้ารูปทรงปืน ทำให้ชื่อเสียงโด่งดัง จนได้รับสมญานามว่า กิตติ กีต้าร์ปืน จากนักจัดรายการสุดฮิตในเวลานั้นนาม วิฑูร วทัญญู

             ปี 2523 กิตติ กีต้าร์ปืน กลับมารวมตัวกันใหม่กับ วง Kaleido Scope และได้ออกผลงานชุด Medley Smoke ในนามค่ายนิธิทัศน์ซึ่งเป็นค่ายเพลงใหญ่ในเวลานั้นพร้อมกับมีการตระเวนแสดงดนตรีไปทั่วประเทศ

              ขณะเดียวกันทางทีวีก็มีการโปรโมทเทปชุดนี้จนทำให้ชื่อเสียงของกิตติ กีต้าร์ปืนกับวง Kaleido Scope ได้รับความนิยมจากผู้ที่ชื่นชอบเพลงในสไตล์ Rock และ Heavy เป็นอย่างมาก

              ปี 2524 ได้ออกผลงานชุด Medley Rod Stewart สังกัดค่ายนิธิทัศน์โปรโมชั่น

              ปี 2525 กิตติ กีต้าร์ปืน กับวงคาไลโดสโคปเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาให้กับเครื่องดื่ม Pepsi

              ปี 2526 เป็นมือกีต้าร์รับเชิญให้กับวง Rockestra ชุดวิทยาศาตร์ สังกัดค่ายนิธิทัศน์โปรโมชั่น

              ปี 2527 ออกผลงานคู่กับ แหลม มอริสัน ชุด King Of Rock ‘n Roll

              กลางปี 2528 กิตติ กีต้าร์ปืน ประกาศเลิกเล่นดนตรีตามผับตามบาร์โดยสิ้นเชิง เพื่อเปิดสอนกีต้าร์ไฟฟ้าด้วยตนเอง

             ปี 2529 สถาบันสอนดนตรีชื่อ ‘ บ้านประชาชน ’ ในย่านแฮปปี้แลนด์ บางกะปิ กรุงเทพฯ จึงเกิดขึ้น และถูกยกระดับการเรียนการสอนให้เป็นโรงเรียนที่ได้รับการอนุมัติหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเรียนจบแล้วลูกศิษย์ลูกหาจะได้มีใบประกาศนียบัตรรับรองอย่างเป็นทางการ
    และเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากบ้านประชาชน เป็น โรงเรียนดนตรี กิตติ กีต้าร์ปืน

              ผ่านมากระทั่งทุกวันนิ้ สถาบันดนตรีแห่งนี้ได้ก้าวขึ้น ปีที่ 20 มอบวิชาความรู้ด้านดนตรีแก่ เยาชน และผู้สนใจทั่วไปนับได้เป็นพันคน ทั้งกีต้าร์ไฟฟ้า แนวร็อค เฮฟวี่ บลูส์ ป๊อป รวมถึงกีต้าร์คลาสสิค , เบส , กลอง , เปียโน เรียบเรียงเสียงประสาน , วิชาขับร้อง - ฝึกร้องเพลง และคอร์สพิเศษ Sound Engineer เรียนรู้เกี่ยวกับการบันทึกเสียง
             นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมทางดนตรีอีกมากมาย เช่น การประกวดแข่งขันวงดนตรีในชื่อ Battle of Bands รวมถึงการจัดเวิร์คชอปทางดนตรี ให้กับสถาบันต่างๆอีกด้วย

              27 ธันวาคม 2530 วงดนตรีเพื่อชีวิต ‘ คาราบาว ’ ได้เชิญไปแสดงคอนเสิร์ต ‘ อีสานเขียว ’
    โครงการโดยกองทัพบก ณ สนามกีฬากองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต

              ปี 2531 คอนเสิร์ต เวลคัม ทู อีสาน เขียว ที่อเมริกา ซานฟรานซิสโก กับวงคาราบาว และเพื่อนศิลปิน

              ปี 2532 ออกอัลบั้มชื่อว่า ‘ สายธารใต้ขุนเขา ’ ซึ่งอำนวยการผลิตโดย ระย้า ในนามค่ายรถไฟดนตรี

              ปี 2538 ออกอัลบั้มชุด ‘ สูงสุดสู่อัศจรรย์ ’( เพลงบรรเลงทั้งชุด ) สังกัด ‘ คิท เมททัล มิวสิค จำกัด ’

              ปี 2540 กิตติออกอัลบั้มชุด กีต้าร์ปืนและได้นักร้องเสียงดีคือ โจ ร็อค หรือ อภิสิทธ์ ถิระวัฒน์ มาเป็นนักร้องนำชุดนี้สังกัด เอ็มสแควร์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ บันทึกเสียงที่ Kit Metal Studio

             จุดเด่นของอัลบั้ม จิมมี่ วอลโด (Jimmy Waldo) อดีตมือคีย์บอร์ดวง Quiet Riot และวง Alcatrazz เป็นผู้มิกซ์เสียงให้ที่ห้องอัด Media Sonix Ca. สหรัฐอเมริกา

              ทุกวันนี้ กิตติ กีต้าร์ปืน เปิดโรงเรียนสอนดนตรีที่แฮปปี้แลนด์เป็นหลัก นอกนั้นยังมีผลิตภัณฑ์ เครื่องดนตรี ซึ่งเป็นยี่ห้อของตนเอง ในนาม Guitar Gun อีกทั้งจำหน่ายเครื่องดนตรียี่ห้ออื่นๆ และห้องซ้อมดนตรี รวมทั้ง ‘ โครงการพิเศษ ’ อื่นๆ อีกมากมาย และเป็นผู้จัดคอนเสิร์ตร็อคหลายครั้งด้วยกัน รวมถึงคอนเสิร์ตที่ร่วมกับ แกรี่ บาร์เด้น (Gary Barden) อดีตนักร้องนำวงไมเคิล เชงเกอร์ กรุ๊ป (M.S.G.) ตระเวนจัดทัวร์คอนเสิร์ต ในนาม Kitti guitar gun Production
    ใช้ชื่อว่าคอนเสิร์ต ‘ ร็อค โลก ร็อค ไทย ’

             ครั้งล่าสุดที่ผลักดันให้เกิดคือ ‘The Legend of Rock Star Concert’ คอนเสิร์ตแห่งตำนานร็อค เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2546 ที่อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี โดย I.T.V เป็นผู้จัด

    แม้นว่ากาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไป .
    เมื่อขุนเขายังตั้งทะมึน 
    ธารน้ำยังรินไหล ...ทำไมชีวิตจึงจะหยุดก้าวเดิน ?
    วันนี้กิตติพร้อมแล้ว...สำหรับการพลิกฟื้นนาม ‘ กีต้าร์ปืน ’
    ซึ่งเป็นอาวุธคู่กายในการขับขานกระสุนดนตรี
    เพลงร็อค แอนด์ โรล เพื่อขับกล่อมผู้คนอีกคราหนึ่ง.


     


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×