ข้อมูลเกี่ยวกับของซามูไรทั้งหมด - ข้อมูลเกี่ยวกับของซามูไรทั้งหมด นิยาย ข้อมูลเกี่ยวกับของซามูไรทั้งหมด : Dek-D.com - Writer

    ข้อมูลเกี่ยวกับของซามูไรทั้งหมด

    ข้อมูลเกี่ยวกับซามูไรขอรับ

    ผู้เข้าชมรวม

    3,860

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    3.86K

    ความคิดเห็น


    5

    คนติดตาม


    2
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  27 ต.ค. 49 / 18:03 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      ข้อมูลของซามูไรต่างๆขอรับ

      ลัทธิบูชิโด



      คงต้องท้าวความก่อนว่าญี่ปุ่นในสมัยก่อน ลัทธิศาสนาได้ถูกริดรอนเสรีภาพและถูกห้ามแพร่หลาย ยกเว้นลัทธิขงจื๊อเพราะเป็นลัทธิที่เกื้อหนุนต่อการปกครองแบบทหาร ซึ่งเป็นยุคที่เกิดพวกนักรบหรือซามูไร (Samurai) และมีสำนักสำหรับฝึกซามูไรหลายแห่ง ประกอบกับได้มีผู้นำคนสำคัญคนหนึ่งคือ ยามากะ โซโก (Yamaga Soko - ค.ศ. 1622 - 1685) ได้นำแนวคิดแบบชินโตกับขงจื๊อมาประสานกัน ซึ่งนำไปสู่การสร้างลัทธิบูชิโด (Bushido)

      ลัทธิบูชิโด คือ ลัทธิที่ยอมรับและยกย่องวิถีแห่งคนกล้า ซึ่งคนญี่ปุ่นเรียกว่า"ซามูไร" (Samurai) คำว่า "บูชิโด" ได้แปลว่า "หนทางของอัศวินนักต่อสู้" (the way of the fighting knight) ซึ่งเราอาจแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า "มรรควิธีที่จะนำไปสู่ความเป็นซามูไร"

      ลัทธิ "บูชิโด" สอนให้เหล่าซามูไรยึดมั่นในความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และจงรักภักดีต่อเจ้านายของตน ซามูไรถือว่าความตายเป็นเรื่องเล็กน้อย ปรัชญาแห่งบูชิโดกล่าวไว้ว่า "ความตายเป็นสิ่งเบาบางยิ่งกว่าขนนก"

      หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นถูกบังคับให้ปิดประเทศ จึงทำให้ญี่ปุ่นจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ทันกับความเจริญของโลกในขณะนั้น ทำให้ศาสนาทุกศาสนาที่มีอยู่ในญี่ปุ่นสามารถเผยแพร่ได้ง่ายกว่าแต่ก่อน แม้แต่รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นก็เปิดโอกาสให้ประชาชนนับถือศาสนาใดก็ได้


      กฎของซามูไร


      อยากเป็นซามูไร
      แล้วซามูไรญี่ปุ่นในสมัยนั้น เค้ามีแนวทางปฏิบัติตัวกันยังไง...
      1. ซามูไรทุกคนจะต้องเป็นผู้อยู่ในสังกัดของเจ้านายในระบบศักดินา และจะต้องมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อเจ้านายอย่างมั่นคง ซามูไรที่ดีนั้นจะต้องรำลึกอยู่เสมอ และหาทางตอบแทนบุญคุณให้ได้ ถือว่าเป็นความดีสูงสุด ไม่เพียงแต่เจ้านายเหนือหัวเท่านั้น แต่รวมไปถึงบุคคลทั้งหลายที่มีบุญคุณ

      เหล่าซามูไรนั้น จะต้องคำนึงถึงพันธะหน้าที่เป็นสำคัญ ถึงแม้นว่าจะไม่เต็มใจ เพราะอาจเป็นเหตุที่ทำให้ตนต้องทอดทิ้งบิดา มารดา บุตร และภรรยาก็ตามแต่ เพื่อรักษาหน้าที่ของตน ที่มีต่อเจ้านายก่อน และครอบครัวของซามูไรทุกคนจะต้องยินดี และสนับสนุนการกระทำของพวกเขาด้วย จึงจะได้รับยกย่องอย่างสูงจากสังคม

      2. ซามูไรจะต้องเป็นผู้มีความกล้าหาญไม่เกรงกลัวความตาย และสามารถเผชิญกับความตายได้ทุกเมื่อ เพราะถูกสอนว่า ชีวิตเป็นสิ่งไม่เที่ยง และไม่มีตัวตนแท้จริงที่ถาวร ชีวิตทุกชีวิตเกิดมาเพื่อใช้กรรม เวลามีชีวิตอยู่จะต้องดำเนินชีวิต และปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยไม่หวั่นไหวกับความตาย

      3. ซามูไรจะต้องเป็นผู้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ยอมตายเพื่อรักษาเกียรติ ดีกว่าอยู่อย่างไร้เกียรติ

      4. ซามูไรจะต้องมีความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อเจ้านาย ซึ่งคำสอนในข้อนี้แสดงให้เห็นถึง อิทธิพลทางความคิดของลัทธิขงจื๊อในเรื่องของระเบียบวินัย และความจงรักภักดี

      5. ซามูไรจะต้องเป็นผู้มีความเที่ยงธรรม และช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก มีเมตตาจิต และรักความยุติธรรม ไม่นิ่งดูดาย เมื่อเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก ต้องรีบช่วยเหลือ






      ฮาราคีรี



      การตายที่มีเกียรติของซามูไรญี่ปุ่นคือ การทำฮาระคิริ (Harakiri) หรือเซ็ปปุกุ (Seppuku) หรือการคว้านท้อง การตายแบบนี้ต้องใช้พลังจิต และความอดทนอย่างสูงที่จะต้องเผชิญกับความเจ็บปวด ซึ่งมาจากการใช้มีดสั้นแทงที่หน้าท้องใต้เอวขวา แล้วกรีดมาทางซ้ายจากนั้นดึงมีดขึ้นข้างบน การคว้านท้องเช่นนี้ เป็นการเปิดเยื่อบุช่องท้องแล้วตัดลำไส้ให้ขาด การตายด้วยวิธีนี้นอกจากเป็นการตายอย่างมีเกียรติแล้ว ยังเป็นการแสดงความกล้าหาญและพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการบังคับจิตใจของตนเอง...














      โรนิน



      โดยทั่วไป ซามูไรจะมีสังกัดขึ้นอยู่กับเจ้านายคนใดคนหนึ่ง ซามูไรที่เจ้านายเสียชีวิตหรือพ่ายแพ้ในการต่อสู้ จะกลายเป็น "ซามูไรไร้สังกัด" ที่เรียกว่า "โรนิน" ซึ่งมีสถานะต่ำต้อยมากในสังคม ซามูไรทั้งหลายจึงยินดีสู้อย่างถวายชีวิตเพื่อกลุ่มและเจ้านายของตนเป็นฝ่ายชนะ






      ฮากาคูเระ คิคิกามิ



      "Hagakure Kikigaki" คือ หนังสือที่สอนเกี่ยวกับ "Bushido" (Samurai's way) มีทั้งหมด 11ฉบับ ที่เขียนเสร็จในปีค.ศ. 1716 โดย Tsunetomo Yamamoto ผู้เป็นทั้งนักรบและบัณฑิต

      Hagukure รู้จักกันในชื่ออื่นๆคือ Hagakure kikigaki, Hagakure rongo, Nabeshima rongo, Way of samurai

      ประโยคที่เป็นที่นิยมก็ คือ "Bushido is a way of dying" บูชิโดคือหนทางแห่งความตาย หรือ "The Way of the Samurai is found in death." หนทางแห่งซามูไรค้นพบในความตาย ที่กลายเป็นประโยคเด็ดตามภาพยนตร์ทั่วไปว่า "ซามูไรย่อมแสวงหาที่ตาย" (ที่ตาย ไม่ใช่ ความตาย)

      Tsunetomo เป็น หลานชายของ Kiyoakira Nakano ผู้นำของตระกูล Nakano (ตอนเหนือของคิวชู) นากาโนะ ขึ้นชื่อเรื่องนักดาบ เมื่อสึเนะโตะโมะเรียนหนังสือ พ่อของเขากล่าวว่า "Reading books is the work of Imperial Court, but the work of the House of Nakano is found in military valor, grasping the staff of oak."


      ซามูไรคนสุดท้าย



      ผู้นำซามูไรในประวัติศาสตร์จริงชื่อ ไซโกะ ทากาโมริ นายคนนี้ก่อนที่จะมาเป็นผู้นำกบฏ เขาเป็นแกนนำในการโอนย้ายอำนาจจากโชกุนราชวงศ์โตกุกาว่าไปให้จักรพรรดิ์เมจิ ในสมัยเมจิ คิดว่าน่าจะตรงกับสมัยปลายรัชกาลที่สี่ต่อกับรัชกาลที่ห้า ของสยามประเทศ ซามูไร ไซโกะ คนนี้เคยเป็นผู้นำทหารของรัฐบาลเมจิ และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงกองทัพของญี่ปุ่นให้เป็นกองทัพสมัยใหม่แบบตะวันตก แต่ต้องผันตัวเองมาเป็นกบฏสู้กับกองทัพที่ตัวเองสร้างขึ้นมาเอง

      ส่วนเหตุผลที่เขาผันตัวเองมาเป็นกบฏก็คือ ตัวเองเสนอไอเดียแก่รัฐบาลเมจิ โดยเฉพาะกับ ผู้นำซามูไรอีกสองคนที่ร่วมแรงกันผันอำนาจจากโชกุนมาให้จักรพรรดิ์ คนนึงชื่อ ไคโดะ โคอิน ซึ่งถือว่าเป็นนักการทูต ของกลุ่ม มาจากตระกูลโชชู อีกคน ชื่อ โอคูโบะ โตชิมิจิ ซึ่งมาจากตระกูลเดียวกับไซโกะ คือมาจากตระกูล ซัทซูมา คนนี้ถือว่าเป็นขงเบ้งของกลุ่ม ส่วนไอเดียที่ ไซโกะ เสนอก็คือแผนการที่จะขยายรุกรานสู่เกาหลี โดยการส่งผู้แทนไปที่เกาหลี ซึ่งคาดว่าทางเกาหลีจะสังหารผู้แทนนี้ และทางญี่ปุ่นจะได้เป็นข้ออ้างในการรุกรานเกาหลีนี้ ซึ่งผู้แทนนี้ไซโกะ อาสาที่จะเป็นผู้แทนเอง แต่ว่า ไคโดะ กับโอกุโบะ ปฏิเสธแผนการนี้ ไซโกะจึงลาออกจากรัฐบาลและกลับบ้านตัวเอง แล้วโดนเกลี้ยกล่อมให้มาเป็นผู้นำกบฏต่อต้านรัฐบาลเมจิ จุดจบของไซโกะ ก็คือการทำฮาราคีรี หรือเซปุกุในภาษาณี่ปุ่น เพื่อที่ตัวเองจะได้ไม่โดนจับคับ ต่อมาจักรพรรดิ์เมจิ ได้ประกาศอภัยโทษแต่พวกกบฏรวมทั้ง ไซโกะด้วย

      คิโดะ โคอินเป็นซามูไรชั้นล่างจากแคว้นโจชู ไซโก ทะคะโมะริ กับโอคุโบะ โทะชิมิจิ เป็นซามูไรชั้นล่างแบบโกชิ หรือเรียกว่าซามูไรพื้นเมืองจากแคว้นซัตสุมะ สังกัดไดเมียวตระกูลชิมะสุ ไซโกนั้นเป็นคนสนิทของชิมะสุ นะริอะคิระ ไดเมียวในช่วงญี่ปุ่นเปิดประเทศ ในขณะที่โอคุโบะเป็นคนสนิทของชิมะสุ ฮิสะมิตสุ บิดาไดเมียวที่ครองเมืองต่อจากอะคิระ

      คิโดะสังกัดไดเมียวตระกูลโมริ แม้ว่าจะเป็นซามูไรชั้นล่างแต่ได้เข้ามามีอำนาจในการบริหารภายในแคว้น เนื่องจากแคว้นโจชูขณะนั้นเกิดการปฏิรูป ไดเมียวโอนอำนาจการบริหารไปให้ซามูไรชั้นล่างทำเอง

      จักรพรรดิในสมัยนั้นคือ จักรพรรดิมุตสุฮิโตะ รัชสมัยเมจิ ไซโก โอคุโบะ และคิโดะถือเป็นแกนนำคณะคณาธิปไตยกลุ่มแรกในสมัยเมจิช่วงต้น อิโต ยะมะงะตะ มัตสุคะตะ และคุโระดะ ถือเป็นแกนนำในสมัยเมจิตอนปลาย เนื่องจากผู้มีอำนาจทางการเมืองมาจากแคว้นซัตสุมะกับโจชูเสียส่วนใหญ่ รัฐบาลสมัยนั้นจึงมีชื่อเรียกว่ารัฐบาลซัตโจ


      อาวุธประจำกาย



      อาวุธประจำกายของซามูไรนั้น ทั่วโลกรู้ดีว่า คือ ดาบอันคมกริบ ซามูไรบางคนใช้วิธีฝึกฝนความคมดาบของตน โดยอาศัยร่างของชาวบ้านสามัญชนเป็นที่ทดสอบ ทำให้ชาวบ้านทั่วไปต่างผวา ดังนั้นในสมัยของโชกุน โตกูงาวะ จึงมีกฎหมายอนุญาตให้ซามูไรเอาศพของนักโทษประหาร ไปรองรับคมดาบของตนได้ วิธีการก็คือ เอาศพไปมัดติดกับหลัก ซึ่งทำจากลำไม้ไผ่ จากนั้นนักดาบในชุดซามูไรออกศึก(กามิ ชิโม)ก็จะถือดาบย่างเยื้องเข้ามาพินิจพิจารณาดูว่า จะฟันส่วนใดของศพจึงจะเหมาะสม เช่นว่า การฟันข้อมือจะง่ายดายที่สุด ส่วนการฟันขาดสะโพก(เรียว กูรูม่า)หรือฟันตัดสองบ่า(ไต-ไต)จะยากที่สุด หลังจากฟันแล้ว ซามูไรก็จะตรวจสอบดาบของตนอย่างละเอียดว่า มีบิ่น หรืองอหรือไม่ เสร็จแล้วก็ไปตรวจตราร่องรอยการฟันบนร่างศพ

      ซามูไรที่เก่งกาจนั้นจะมีดาบชั้นดีไว้ครอบครอง เช่น ดาบที่ผลิตจากสำนักตีดาบมีระดับ เช่น ติมบะ โนะกามิ โยชินามิ (ค.ศ.1565-1635) หรือสำนักของ อิโนอูเอะ ชินกาอิ(ราว ค.ศ.1674)

      ศิลปะการใช้ดาบต่อสู้อย่างรวดเร็วฉับไวนั้น สร้างชื่อเสียงให้ซามูไร จนใครได้ยินชื่อก็หนาว


      ชนิดของดาบซามูไร


      ดาบมีหลายแบบและหลายประเภท แต่สามารถแบ่งชนิดหลักๆ ออกได้ ๓ ชนิดดังนี้
      ดาบยาว (Long Sword)

      ๑. "ตาชิ" (Tachi) ดาบยาวของทหารม้า มีความโค้งของใบดาบมาก ใช้ฟันจากหลังม้า มีความยาวของใบดาบมากกว่า ๗๐ เซนติเมตร

      ๒. "คาตานะ" (Katana) ดาบที่มาแทนที่ดาบตาชิของทหารม้า ตั้งแต่กลางสมัยมุโรมาชิ (ราว พ.ศ. ๒๐๐๐) สามารถใช้ต่อสู้บนพื้นดินได้คล่องตัวกว่า เพราะมีความโค้งน้อยควบคุมได้ง่าย ความยาวใบดาบโดยประมาณ ๖๐.๖ เซนติเมตรขึ้นไปถึง ๗๐ เซนติเมตร

      ดาบขนาดกลาง (Medium Sword)

      "วากิซาชิ" (Wakizashi) ดาบที่ใช้พกพาคู่กับดาบคาตานะของซามูไร ใบดาบมีความยาวตั้งแต่ ๑๒ นิ้วถึง ๒๔ นิ้ว ดาบที่ซามูไรใช้สำหรับทำ "เซปปุกุ" เมื่อยามจำเป็น และเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือนได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้ ตามปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่ม และโดยธรรมเนียมห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่น ต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้น



      ดาบขนาดสั้น (Short Sword)

      ๑. "ตันโตะ" (Tanto) มีลักษณะคล้ายมีดสั้น ความยาวน้อยกว่าดาบวากิซาชิ

      ๒. "ไอกุชิ" (Aikuchi) คล้ายมีดไม่มีที่กั้นมือ ใช้สำหรับพกในเสื้อ เหมาะกับสตรี


      ยุคสมัยของดาบซามูไร


      ยุคสมัยของดาบซามูไร แบ่งออกได้ ๔ ยุค
      ๑. ยุคดาบโบราณ (Ancient Sword) ก่อนคริสต์ศักราช ๙๐๐ (ก่อน พ.ศ. ๑๔๔๓) ยุคที่ดาบของ "อามากุนิ" ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการถลุงเหล็กเนื้อดีในสมัยนาร่า

      ๒. ยุคดาบเก่า (Old Sword) ราวปี พ.ศ. ๑๔๔๓-๒๐๗๓ ถือเป็นยุคทองของดาบซามูไร แทบไม่น่าเชื่อเมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ศิลปะไทย จะอยู่ในช่วงเดียวกับศิลปะสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๘) จนถึงสมัยศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐) ในขณะที่ปี พ.ศ. ๑๘๔๐ เป็นปีที่ดาบของ "มาซามูเน่" ถือกำเนิดขึ้นและภูมิปัญญาขั้นสูงสุดที่ตกทอดเป็นมรดกของดาบชั้นยอด

      ๓. ยุคดาบใหม่ (New Sword) ราวปี พ.ศ. ๒๑๓๙-๒๔๑๐ ซึ่งอยู่ช่วงเดียวกับศิลปะสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ คือช่วงสมัยเอโดะ และยุคที่ญี่ปุ่นปิดประเทศห้ามคนเข้าออกอย่างเด็ดขาด (พ.ศ. ๒๑๘๒)

      ๔. ยุคดาบสมัยโมเดิร์น (Modern Sword) ราวปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ถึงปัจจุบัน ยุคที่ดาบทหารถือกำเนิดขึ้น (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๘๘) การผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อการสงครามไม่มีพิธีกรรมแบบโบราณ ดาบญี่ปุ่นมัวหมองเพราะถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ การตัดคอเชลยศึกไม่ใช่ประเพณีของชนชั้นซามูไร พอมาถึงสมัยปัจจุบันดาบกลายเป็นงานศิลปะชั้นสูงที่มีราคาแพง



      อามากุนิ



      ช่างตีดาบยุคแรกมีชื่อว่า "อามากุนิ" เขาพัฒนาการตีดาบไม่ให้หักง่ายด้วยการใช้เหล็กที่ดี และมีการศึกษาวิธีทำให้เหล็กแข็งแกร่งกว่าเดิม เหล็กที่ดีของญี่ปุ่นได้จากการถลุง มีชื่อว่า "ทามาฮากาเน่" (Tamahagane)

      อามากุนิพบว่า...การที่จะให้ได้ดาบคุณภาพดีต้องควบคุมของสามสิ่ง คือ การควบคุมความเย็น, การควบคุมปริมาณคาร์บอน และการนำสิ่งปะปนที่อยู่ในเหล็กออก ปริมาณคาร์บอนคือหัวใจสำคัญในการตีดาบ หากใส่คาร์บอนในเหล็กมากไปเหล็กจะเปราะ, ใส่น้อยไปเหล็กจะอ่อน จึงต้องใส่ในปริมาณที่พอเหมาะ

      เหล็กถูกนำมาหักแบ่งเป็นชิ้นเล็กวางซ้อนกันก่อนหลอม และนำไปตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นจึงพับเหล็กเป็นสองชั้นขณะยังร้อนๆ แล้วตีซ้ำอีกครั้งแล้วครั้งเล่า เหล็กจะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นหมื่นๆ ชั้น ทำให้คาร์บอนกระจายไปจนทั่วเนื้อเหล็ก แล้วจึงนำไปตีแผ่ออกให้เป็นใบดาบ จะได้ใบดาบที่ดีเนื้อเหล็กแกร่งและคมไม่หักอีกต่อไป


      ยุคสมัยคามาคูระ



      สี่ร้อยปีผ่านมาเข้าสู่สมัยคามาคูระ (Kamakura Period) ราวปี พ.ศ. ๑๗๓๕-๑๘๗๙ จักรพรรดิบอกให้ช่างตีดาบศึกษาวิธีการตีเหล็กจากยุคโบราณ

      ยุคนี้ถือเป็นจุดเริ่มยุคทองของดาบซามูไร มีการพัฒนาดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิมเมื่อกว่า ๔๐๐ ปีก่อน ถือเป็นเทคนิคที่สุดยอดของดาบ มีการเพิ่มวิธีการผสมเหล็กสองชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีความแข็งจะมีปริมาณคาร์บอนสูงใช้ทำเป็นตัวดาบ และเหล็กอ่อนที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำใช้ทำเป็นไส้ดาบเพื่อให้ยืดหยุ่น

      จากเหล็กสองชนิดที่ถูกนำมาพับและตีมากกว่าสิบชั้น ทำให้เกิดชั้นเล็กๆ เป็นทวีคูณเป็นหมื่นชั้น ช่างตีดาบจะพับเหล็กแข็งให้เป็นรูปตัว ย และนำเหล็กอ่อนมาวางไว้ตรงกลางเพื่อทำเป็นไส้ใน แล้วนำไปหลอมและตีรวมกันใหแผ่ออกเป็นใบดาบ จากนั้นนำไปหลอมในอุณหภูมิที่เหมาะสมซึ่งมากกว่า ๗๐๐ องศาเซลเซียส แล้วจึงนำมาแช่น้ำเย็น

      การแช่น้ำต้องระมัดระวังมาก หากแช่ไม่ดีดาบจะโค้งเสียรูป เหล็กที่มีความแข็งต่างกันเมื่อทำให้เย็นทันทีจะหดตัวต่างกัน ถือเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ใบดาบโค้งได้รูปตามธรรมชาติ


      มาซามูเน่


      ช่างตีดาบที่สร้างสมดุลของความแข็งและความอ่อนของเหล็กและพัฒนาโครงสร้างของดาบออกเป็นเหล็กสามชิ้น คือ "มาซามูเน่" (Masamune)

      ราวปี พ.ศ. ๑๘๔๐ ดาบของมาซามูเน่ถือเป็นดาบที่พัฒนาถึงขั้นสูงสุด ในญี่ปุ่นไม่มีช่างตีดาบคนใดจะเทียบได้ เขาสร้างความสมดุลของความแข็งของคมดาบ

      เคล็ดลับการทำดาบคือการผสมเหล็กสามชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนสูงจะใช้เป็นใบดาบด้านข้างที่เรียกว่า Gawa-gane และด้านคมดาบ (Ha-gane) ใช้เหล็กที่แข็งมากโดยผ่านการพับและตีถึง ๑๕ ครั้ง ซึ่งสามารถสร้างชั้นของเหล็กที่ซ้อนกันถึง ๓๒,๗๖๘ ชั้น ทำให้เหล็กเหนียวและแกร่งมากกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำจะใช้เป็นส่วนไส้ใน (Core Steel) ทำให้มีความยืดหยุ่นเรียกว่า Shi-gane แล้วนำไปหลอมที่อุณหภูมิประมาณ ๘๐๐ องศาเซลเซียสให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงนำมาตีแผ่ออกเป็นใบดาบ



      มารามาซะ



      ช่างตีดาบในยุคเดียวกันที่มีชื่อเสียงเทียบเคียงมาซามูเน่ คือ "มารามาซะ" กล่าวกันว่าใครที่มีดาบของ "มารามาซะ" ไว้ครอบครอง เลือดจะสูบฉีดให้อยากที่จะชักดาบออกมาสังหารคู่ต่อสู้เพราะความคมของมัน ในขณะเดียวกันซามูไรที่ครอบครองดาบของ "มาซามูเน่" กลับสงบนิ่งเยือกเย็น




      จากญี่ปุ่นถึงไทย



      ดาบญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาช่วงสมัยเอโดะ (พ.ศ. ๒๑๔๖-๒๔๑๐) จากการติดต่อค้าขาย ญี่ปุ่นนำพัดและดาบเข้ามาในอยุธยา

      ในสมัยอยุธยา ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากสยาม เช่น ไม้กฤษณา, ไม้ฝาง, น้ำกุหลาบ, พริกไทย เป็นต้น มีการตั้งหมู่บ้านญี่ปุ่นในอยุธยา เมื่อมีชาวญี่ปุ่นมาอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์โดยลี้ภัยทางศาสนาและส่วนหนึ่งเป็นพวกซามูไรแตกทัพที่สูญเสียเจ้านายหรือที่เรียกว่า "โรนิน" (Ronin) แตกทัพจากสงครามเซกิงาฮาร่า ได้โดยสารเรือสำเภาที่กำลังจะเดินทางมาค้าขายยังชมพูทวีปและมาตั้งรกรากในประเทศสยาม สิ่งสำคัญที่นำติดตัวมาด้วยก็คือดาบญี่ปุ่น ซามูไรเหล่านี้ได้กลายเป็นทหารอาสาญี่ปุ่นในเวลาต่อมา


      กันโต



      ดาบทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีชื่อเรียกว่า "Gunto" เป็นดาบที่ถูกผลิตขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๑ และสิ้นสุดการผลิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งถือว่าเป็นยุค Modern เป็นดาบที่ทำเพื่อการสงคราม ผลิตจำนวนมาก ยังคงความคมกริบ แต่ไม่ประณีต และไม่มีขั้นตอนการทำอย่างประเพณีโบราณ ดาบรุ่นนี้ตกค้างอยู่ในแถบอินโดจีนจำนวนมากหลังจากสงครามสิ้นสุด ซึ่งอาจจะพบได้ในประเทศพม่าและประเทศไทย ถูกฝังดินอยู่กลางป่าหรือในถ้ำตามเส้นทางเดินทัพของทหารญี่ปุ่น ดาบยุคสงครามจะเป็นดาบที่ใช้ฝักทำด้วยเหล็ก มีห่วงทองเหลืองหรือทองแดงเรียกว่า "โอบิ-โทริ" ใช้สำหรับห้อยกับเข็มขัด ตัวดาบและฝักเหล็กมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะที่จะใช้เหน็บเอวอย่างดาบฝักไม้แบบโบราณ ซึ่งมีห่วงผูกเงื่อนที่ทำจากผ้าไหมใช้เหน็บเอวของซามูไร ดาบทหารที่ไม่มีขั้นตอนการผลิตในแบบพิธีกรรมโบราณ จึงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างดาบของพวกซามูไร


      พิธีกรรมโบราณ



      พิธีกรรมโบราณนั้นมีขั้นตอนมากมายและถือเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ช่างตีดาบต้องถือศีลกินเจในขณะที่หลอมเหล็ก ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร เพื่อผลิตดาบให้เป็นมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของดาบเล่มนั้นๆ ช่างตีดาบและลูกมือจะร่วมมือกันทำดาบเพียงหนึ่งเล่มในระยะเวลามากกว่าเดือน ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าช่างตีดาบที่ดีจะทำดาบที่ดีออกมา หากช่างตีดาบมีจิตใจไม่ดีดาบที่ตีออกมาก็จะไม่ดีไปด้วย ดาบแต่ละเล่มจึงมีราคาไม่เท่ากัน กล่าวกันว่า...บางเล่มราคามากกว่าที่ดินหนึ่งผืน หรือดาบที่ดีเพียงเล่มเดียวอาจจะมีราคาสูงกว่าหอกสามร้อยเล่ม

      ในสมัยโบราณดาบจึงไม่ใช่อาวุธที่สามารถจะซื้อมาใช้ในกองทัพได้ นอกจากเป็นสมบัติส่วนตัวของเหล่าซามูไรเท่านั้น


      ซาดาอิจิ กัสสัน


      "ซาดาอิจิ กัสสัน" Sadaeji Gassan ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน

      กัสสันเป็นตระกูลช่างตีดาบที่ตกทอดมากว่า ๗๐๐ ปี ปัจจุบันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมการตีดาบอย่างประณีตตามขั้นตอนและวิธีการแต่โบราณจากยุคทอง สมัยคามาคูระ โดยเป็นมรดกตกทอดมาถึง "ซาดาโตชิ กัสสัน" (Sadatoshi Gassan) ดาบซามูไรยังคงความประณีตงดงามถือเป็นงานศิลปะขั้นสูงสุดตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ปัจจุบันยังมีช่างตีดาบอีกจำนวนมากที่ตีดาบตามแนวทางดั้งเดิม


      ความงามของดาบซามูไร


      ตลอดทั้งตัวดาบหากสังเกตจะเห็นว่าดาบนั้นมีความงดงามมาก งามตามธรรมชาติทั้งๆ ที่ไม่มีเครื่องประดับใดๆ จุดเด่นคงอยู่ที่ลักษณะใบดาบที่โค้งได้รูป ถือเป็นการออกแบบที่สุดยอด

      ลวดลายน้ำบนใบดาบเรียกว่า "ฮามอน" ถูกประดิษฐ์ขึ้นมากว่าพันปีโดย "อามากุนิ" ไม่เป็นเพียงลวดลายที่งดงามอย่างเดียว แต่เป็นความลับของคมดาบด้วย

      ในส่วนของที่กั้นมือเรียกว่า "Tsuba" (Handguard) มักทำจากเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง หรือเงิน เป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม มีการทำลวดลายต่อเนื่องทั้งสองด้านมาตั้งแต่โบราณ มีมากมายหลายแบบจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว (ยกเว้นของดาบทหารที่มีลวดลายเดียวเฉพาะเท่านั้น)

      ส่วนด้ามจับที่ทำด้วยไม้ หุ้มทับด้วยหนังปลากระเบนและผ้าไหม พับเว้นช่องเป็นรูปข้าวหลามตัด คือเอกลักษณ์ของดาบที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง










      คุณลักษณะพิเศษ



      ตัวดาบมีคุณลักษณะพิเศษ คือสามารถทรงตัวให้วางตั้งอยู่บนฝ่ามือได้โดยตัวดาบไม่ล้มแม้จะขยับมือไปมา จากการทดลองดูด้วยดาบซามูไรจำนวน ๓ เล่ม ซึ่งสามารถตั้งได้ทั้งหมด คงไม่ใช่เพราะความบังเอิญ เพราะว่ายังทดลองเอาดาบของไทยมาวางดู แต่ไม่สามารถตั้งได้อย่างดาบญี่ปุ่น


      ชุดเกราะ



      พูดถึงซามูไรคนมักจะนึกถึงเสื้อเกราะและหมวก ซึ่งทำจากเหล็กกล้าขนาดบาง (ช่วงศตวรรษที่ 5 และ 6) และมีลักษณะเป็นชั้นบางๆ ซ้อนกันอย่างเกราะซามูไรที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ เกราะแบบนี้ทำจากแผ่นเหล็กบางๆ ร้อยซ้อนกันเป็นแผ่น แล้วเคลือบด้วยแลคเกอร์อีกชั้นเพื่อกันน้ำ จากนั้นนำมาประกอบกันเป็นชุดโดยใช้เชือกหนังร้อยให้เกยกัน เกราะดั้งเดิมจะมีสองรูปแบบด้วยกัน ดังนี้:

      • โยโรอิ – เกราะสำหรับซามูไรขี่ม้า ซึ่งมีหมวกเกราะน้ำหนักมากและแผงกำบังไหล่ด้วย
      • โดมารุ – เกราะสำหรับซามูไรเดินเท้า เป็นเกราะสวมพอดีตัวและมีน้ำหนักเบา

      ต่อมาเมื่อการต่อสู้แบบตัวต่อตัวมีบทบาทมากขึ้น เกราะแบบโดมารุจึงได้รับความนิยมในหมู่ซามูไรมากกว่า และมีการดัดแปลงรูปแบบให้มีหมวกน้ำหนักมาก แผงกำบังไหล่และคางน้ำหนักเบาด้วย

      หมวกซึ่งเรียกว่า คาบุโตะ ทำจากแผ่นเหล็กที่ยึดติดกันด้วยหมุดเหล็ก ซึ่งในบางแบบอาจมีหมุดเหล็กดังกล่าวเรียงเป็นแผงนอกหมวกเพื่อให้ดูมีเอกลักษณ์ ซามูไรชั้นที่สูงขึ้นไปจะมีตราประจำตระกูลและเครื่องประดับอื่นๆติดอยู่บนหมวกด้วย บ้างก็มีหน้ากากเหล็กเป็นภาพปีศาจติดอยู่ด้วย พร้อมหนวดเคราทำจากขนม้า ในยามสงบ การประดับตกแต่งหมวกยิ่งเป็นไปอย่างเอิกเกริกจนกลายเป็นงานศิลปะไปสำหรับสมัยปัจจุบัน





      การสวมเกราะ


      ในการออกศึก ซามูไรจะแต่งองค์ทรงเครื่องครบครัน เพื่อป้องกันอาวุธศัตรู ขั้นตอนการสวมใส่เสื้อเกราะจึงต้องพิถีพิถันมาก



      เริ่มแรกจะต้องใส่ชุดชั้นใน ซึ่งมีผ้าเตี่ยวแบบพิเศษ ตามด้วยชุดกิโมโนที่ทำด้วยผ้าลินินอย่างดี กางเกงทรงโปร่งขายาว รวมทั้งสวมหมวกผ้าบุนวมเพื่อรองรับน้ำหนักหมวกเล็กอีกชั้นหนึ่ง จากนั้นจึงจะนำเสื้อเกราะเหล็กมาสวมทับ


      จุดตาย



      การต่อสู้นั้นไม่ว่าจะเป็นการโจมตีหรือตั้งรับก็ตาม ย่อมไม่เกินจุดตาย 9 จุดนี้
      กลางกระหม่อม
      ท่าฟันเฉียงซ้าย
      ท่าฟันเฉียงขวา
      ฟันระดับสะโพกซ้าย
      ฟันระดับสะโพกขวา
      ฟันเฉียงบนซ้าย
      ฟันเฉียงบนขวา
      ฟันทวนพายุ(ฟันจากล่างขึ้นบน)
      ท่าทะลวง(ใช้ในระยะประชิด)


      ดาบซากาบะ



      ดาบซากาบะเป็นดาบสลับคม คือ เป็นดาบที่คมกับปลายดาบอยู่ตรงข้ามกับดาบปกติ สามารถฟันได้ทุกอย่าง ยกเว้นคน











      วิชาดาบบัตโต



      วิชาบัตโต เป็นท่าจับดาบที่จะเพิ่มความเร็วของดาบตอนชักจากฝักเป็น 2 หรือ 3 เท่า เป็น ท่าที่ใช้จัดการคู่ต่อสู้ในคราวเดียว บางครั้งเรียกอิไอ หรือนุคิ


      คุณค่าของดาบ




      ปัจจุบันดาบญี่ปุ่นกลายเป็นงานศิลปะที่มีราคาสูงมาก ดาบที่ขายเป็นที่ระลึกนั้นจะไม่คมและทำด้วยสแตนเลส เป็นของประดับบ้าน

      ดาบยังมีการผลิตในต่างประเทศด้วย เช่น ประเทศสเปนและไต้หวัน ส่วนดาบที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นตามขั้นตอนแบบพิธีโบราณนั้นก็ยังมีอยู่มากมาย ยังคงเป็นดาบแท้ตีใบดาบด้วยเหล็ก หลายๆตระกูลอย่าง"ตระกูลกัสสัน" ยังใช้เหล็กเนื้อดีมีความคมกริบเหมือนกับพันปีที่ผ่านมา

      ดาบถูกตกแต่งหลายๆแบบมากมายด้วยเงิน ทอง การประดับประดาและการแกะลวดลายลงบนใบดาบ รัฐบาลญี่ปุ่นดูแลการผลิตดาบอย่างเข้มงวดเพื่อให้ทรงคุณค่าต่อไปอย่างมีเอกลักษณ์ แม้ปัจจุบันดาบจะไม่ได้เป็นจิตวิญญาณของซามูไรอย่างแต่ก่อน แต่ก็คงเป็นตำนานแห่งอาวุธสังหาร และงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่มีที่สิ้นสุดสืบไป











      _ _ _ ซามูไร ... รุ่นสุดท้าย _ _ _

      เห็นชื่อหนัง The Last Samurai ซึ่งแสดงนำโดย ทอม ครูซ แล้ว ทำให้เกิดความคิดคำนึงว่า แท้ที่จริงนั้น ใครกัน คือ ซามูไรรุ่นสุดท้ายในญี่ปุ่น ทีมงาน ต๋วย'ตูน จึงค้นคว้าหาความจริงมาเล่าสู่กันฟัง ... พวกเราก็เลยได้อานิสงค์รับรู้ไปด้วยนะจ๊ะ

      ประวัติศาสตร์นักสู้ซามูไร เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 11 เมื่อรัฐบาลอ่อนแอ ชาวบ้าน ตลอดจนขุนนางญี่ปุ่น จึงหันไปพึ่งพาผู้มีฝีมือในเชิงยุทธ ที่ขนานนามกันว่า "ซามูไร" จากนั้นมาซามูไรก็รุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ "โชกุฯ" อัครมหาเสนาบดี และ "โตเมียว" เจ้าผู้ครองนครต่างๆ ของญี่ปุ่น ต่างก็มีซามูไรเป็นกองทัพไว้ประดับบารมี

      อาวุธประจำกายของซามูไรนั้น ทั่วโลกรู้ดีว่า คือ ดาบอันคมกริบ ซามูไรบางคนใช้วิธีฝึกฝนความคมดาบของตน โดยอาศัยร่างของชาวบ้านสามัญชนเป็นที่ทดสอบ แบบนี้ชาวบ้านก็ผวาไปตามกันซีครับ ดังนั้น ในสมัยของโชกุน โตกูงาวะ จึงมีกฎหมายอนุญาตให้ซามูไรเอาศพของนักโทษประหาร ไปรองรับคมดาบของตนได้ วิธีการก็คือ เอาศพไปมัดติดกับหลัก ซึ่งทำจากลำไม้ไผ่ จากนั้นนักดาบในชุดซามูไรออกศึก (กามิ ชิโม) ก็จะถือดาบเยื้องย่างเข้ามาพินิจพิจารณาดูว่า จะฟันส่วนใดของศพจึงจะเหมาะสม เช่นว่า การฟันข้อมือจะง่ายดายที่สุด ส่วนการฟันขาดสะโพก (เรียว กูรูม่า) หรือฟันตัดสองบ่า (ไต-ไต) จะยากที่สุด หลังจากฟันแล้ว ซามูไรก็จะตรวจสอบดาบของตนอย่างละเอียดว่า มีบิ่น หรืองอหรือไม่ เสร็จแล้วก็ไปตรวจตรา ร่องรอยการฟันบนร่างศพ

      ซามูไรที่เก่งกาจนั้น มีดาบชั้นดีไว้ครอบครองครับ เช่น ดาบที่ผลิตจากสำนักตีดาบมีระดับ เช่น ติมบะ โนะ กามิ โยชินามิ (ค.ศ.1565-1635) หรือสำนักของ อิโนอูเอะ ชินกาอิ (ราว ค.ศ.1674)

      ศิลปะการใช้ดาบต่อสู้อย่างรวดเร็วฉับไวนั้น สร้างชื่อเสียงให้ซามูไร จนใครได้ยินชื่อก็หนาว

      แต่ ... เมื่อถึงกาลเวลาหนึ่ง ดาบซามูไรก็ต้องถูกสยบ ด้วยอาวุธอื่นอันทรงอานุภาพกว่า

      ในปี ค.ศ.1551 หนุ่มนักสู้วัย 20 ปี นาม โอดะ โนบูนางะ ขึ้นเป็นไดเมียวครองนครเล็กๆ โอวาริใกล้กับเมืองนาโงยาในปัจจุบัน เขาได้สร้างวีรกรรมที่ทำให้ญี่ปุ่นทั้งประเทศตื่นตะลึง นั่นคือ สามารถใช้นักรบเพียง 3,000 คน ยืนหยัดต่อสู้ และพิชิตกองทัพขนาด 25,000 คน ของ อิมะงาวะ ซึ่งเป็นไดเมียวนครใหญ่ โดยอิมะงาวะนั้น คิดการใหญ่ ต้องการเป็นโชกุน แลยกกำลังออกปราบปรามเมืองใหญ่น้อย แต่โนบูนางะไม่ยอมก้มหัวให้ เขาใช้กลยุทธ์หลอกเอากองทัพของอิมะงาวะ ไปติดกับในซอกเขา ท่ามกลางหมอกหนา แล้วนำนักรบจำนวนน้อยของตน ถล่มข้าศึกจนราบคาบ

      ก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ.1542 ชาวโปรตุเกสได้มาถึงญี่ปุ่นเป็นหนแรก เพื่อค้าขาย พวกเขาได้นำปืนยาว อาวุธชนิดใหม่ ที่ชนชาวญี่ปุ่นไม่เคยเห็นมาด้วย เจ้าครองนครต่างๆ ชื่นชมมาก เพราะมันมีพลานุภาพเหนือกว่าหน้าไม้ และธนูหลายเท่า และโดยที่พี่ยุ่นนั้น ถนัดในเรื่องก๊อปปี้ ดังนั้น จึงมีข้อมูลที่พ่อค้าโปรตุเกสคนหนึ่งบันทึกไว้ เพียงชั่วหกเดือน นับจากที่ได้ลูบคลำปืนเป็นครั้งแรก เหล่าช่าวญี่ปุ่นก็สามารถผลิตปืนขึ้นเองได้ถึง 600 กระบอก

      ปืนนั้นเป็นอาวุธระยะไกล สามารถสังหารข้าศึกได้แบบไม่ทันรู้ตัว ในอมตะวรรณกรรม "ผู้ชนะสิบทิศ" ของ "ยาขอบ" เมื่อ บุเรงนอง จอมทัพพม่า ได้เห็นอานุภาพของปืนเป็นครั้งแรก ก็ยังทรงรำพึงอย่างรันทดพระทัยว่า ต่อแต่นี้ไป คงจะไม่ได้เห็นภาพการต่อสู้ด้วยดาบ หรือทวนอย่างห้าวหาญ สมกับเป็นนักรบอีกแล้ว

      ครับ แม้นักรบซามูไรหลายคนจะเหยียดหยาม นักรบถือปืนว่า ขี้ขลาดตาขาว แต่โนวุนางะเป็นขุนศึกประเภทคิดใหม่-ทำใหม่ เขาเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่า ยุคแห่งอาวุธทันสมัยได้มาถึงแล้ว และหากเขาต้องการรวมรวมญี่ปุ่นให้เป็นหนึ่งเดียว เขาจำเป็นต้องใช้ปืน

      นอกจากปืนแล้ว โนบูนางะยังมียอดขุนพลคู่ใจ ซ้าย-ขวา คือ โตโยโตมิ ฮิเดโยชิ กับ โตกูงาวะ อิเอยาสุ (สองคนนี้ต่อมาโด่งดังสุดๆ ทั้งคู่) ทำให้ โนบูนางะสามารถแผ่ขยายอำนาจกว้างขวางออกไปได้อย่างรวดเร็ว แต่แล้วก็พบอุปสรรคสำคัญ ซึ่งมิใช่กองทัพของไดเมียวใด

      หากทว่า เป็นสมณะนักรบ แห่งพุทธศาสนา !

      ในปี 1571 โนบูนางะยกกำลังกองทัพ 30,000 คน ไปล้อมวัดซากาโมโต บนเขาฮิเออิ ทางเหนือของเกียวโต วัดนี้เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ทั้งของผู้นับถือศาสนาพุทธ และชินโต แต่พระภิกษุในวัดปฏิเสธไม่ยอมอ่อนน้อม และอพยพชาวบ้านลูกเล็กเด็กแดงทั้งหลายเข้ามาหลบ ภายในวัด

      เหตุการณ์ต่อจากนี้ บาทหลวง หลุยส์ ฟรังส์ มิชชันนารีซูอิต ได้บันทึกไว้ว่า

      "เมื่อรู้ว่าชาวบ้านทั้งหมดได้ไปปักหลักอยู่ในวัด โนบูนางะก็สั่งการทันที ให้เอาปืนระดมยิง ใช้ไฟเผา และบุกเข้าไปใช้ดาบสังหารทุกคนภายในวัด ไม่ว่าจะเป็นชายหญิง หรือเด็กเล็ก"

      และหลังจากนี้ โนบูนางะก็ได้นำกลยุทธ์การรบแผนใหม่มาใช้ โดยดาบซามูไรไม่มีทางเทียบได้เลย

      ในการรบแบบเดิมๆ ของซามูไร พวกเขาจะควบม้าดาหน้าเข้ามา พร้อมกับกวัดไกวดาบในมือ ประจัญบานห้ำหั่นกันแบบถึงเนื้อถึงตัว แต่เมื่อพบกับกลยุทธ์ใหม่ของโนบูนางะ พวกเขาไม่มีโอกาสหรอกครับ โนบูนางะจัดวางพลปืนจำนวน 3,000 คนของเขา รับมือทหารม้าซามูไร โดยตั้งแนวเป็นชั้นๆ และไม่ยิงพร้อมกันทีเดียวหมดทุกคน เมื่อแถวหน้ายิงออกไป แล้วก็จะบรรจุกระสุน ระหว่างนั้น แถวที่ 2 และ 3 ก็ยิงออกไปทีลัแถวตามลำดับ ยิงออกไป 3-4 ชุด ทัพม้าซามูไรก็ไม่เหลือ

      เมื่อเห็นเช่นนั้น วัดอื่นๆ ก็เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของปืน และตั้งต้นสร้างโรงงานผลิตปืนเป็นการใหญ่ โดยเฉพาะเมืองอิสระ ซากาอิ ถึงกับเป็นแหล่งอุตสาหกรรมค้าขายปืน ให้กับผู้ซื้อทุกราย ไม่มีเกี่ยงในปี 1575 นั้น ถึงกับกล่าวกันว่า ทัพของโนบูนางะทันสมัย ยิ่งกว่าทัพขนาดเล็กของยุโรปเสียอีก

      ถัดไป คือ วัด ฮอนงันจิ ในโอซากา ซึ่งเป็นวัดใหญ่ มีสานุศิษย์ที่ร่ำรวยมาก มีขุมกำลังซามูไรที่สามารถ ซึ่งก็มื ภิกษุสมณะของวัดนั่นเอง บรรดาหลวงพ่อ และหลวงพี่แห่งวัดนี้ ใช้เวลานอกเหนือการปฏิบัติธรรม มาฝึกฝนการใช้ดาย และธนูอย่างช่ำชอง จนต่อต้านกองทัพปืนยาวของโนบูนางะได้นานถึง 11 ปี ! โนบูนางะจึงเปลี่ยนไปใช้การบุกทางทะเล โดยใช้ปืนใหญ่ขนาดเล็ก ระดมยิงจากเรือเหล็ก ซึ่งยุทธวิธีนี้ ล้ำหน้าการรบทางเรือของอเมริกา ในสงครามกลางเมือง ถึง 300 ปีเชียวครับผม

      ดีแต่ว่า พระจักรพรรดิทรงเห็นว่า วัดใหญ่ และสำคัญแห่งนี้จะไม่รอดพ้นความพินาศ จึงยื่นพระหัตถ์มาไกล่เกลี่ย โดยให้โนมูนางะครอบครองโอซากาได้ และภิกษุในวัดฮอนงันจิ ก็ยังปฎิบัติธรรมต่อไปอย่างอิสระได้เช่นกัน ซึ่งพระท่านก็ยินดีที่ไม่เสียหน้า ต้องยอมแพ้

      ถึงจุดนี้ ท่านผู้อ่านเห็นด้วยไหมครับ ถ้าจะกล่าวว่า นักดาบซามูไรขนานแท้รุ่นสุดท้าย ที่ยืนหยัดต่อสู้กับอาวุธไฮเทค (ในยุคนั้น) ได้อย่างทรหด ก็คือ สมณะแห่งพุทธศาสนา นั่นเอง

      ในที่สุด โนบูนางะก็มีอำนาจสูงสุดในญี่ปุ่น เขามิได้เก่งในเชิงรบอย่างเดียว หากการบริหารก็เยี่ยมยอด เขาบูรณะวังหลวงให้แก่จักรพรรดิ เพิ่มรายได้ประจำปีให้พระองค์ เพื่อให้สมแก่ พระเกียรติ เขาสนับสนุนโชกุน โยชิอากิ แต่เมื่อโชกุนมีทีท่าไม่น่าไว้ใจ เขาก็เนรเทศไปเสียจากนครหลวง เขาเคยกล่าวกับบาทหลวงฟรังส์ว่า

      "ไม่ว่า จักรพรรดิ หรือโชกุน ข้าก็ควบคุมได้อย่างสมบูรณ์หมดสิ้นแหละ"

      นอกจากนี้ โนบูนางะยังเสริมสร้างความแข็งแรง ในด้านเศรษฐกิจ และค้าขายให้กับญี่ปุ่นด้านการทหาร ก็มีทหารม้าชั้นดีถึง 20,000 นาย

      แต่วาระสุดท้ายของเขาก็มาถึงอย่างกะทันหัน ในปี 1582 ขณะที่เขาพักผ่อนอยู่ในที่พำนัก ในเกียวโต แวดล้อมด้วยทหารในสังกัด ของนายพลอาเคชิ มัตสุฮิเดะ ผู้ซึ่งฝักใฝ่ในองค์จักรพรรดิ และต้องการโค่นล้มโนบูนางะ บาทหลวงฟรังส์บันทึกเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า

      "เหล่าทหารของอาเคชิ กรูผ่านประตูเข้าไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีการขัดขวาง เนื่องจากไม่มีใครคาดคิดว่า จะเกิดการกบฎ โนบูนางะเพิ่งล้างหน้าล้างตา หลังตื่นนอนเช้าตรู่ ทหารที่ทรยศได้ยิงธนูเสียบสีข้างของเขา ในบูนางะกระชากลูกธนูออก แล้วฉวยดาบโค้งยาวออกมาต่อสู้ แต่อีกเพียงครู่เดียว ก็ถูกยิงเข้าที่แขนอีก เขากลับเข้าไปในห้อง แล้วปิดประตูลั่นดาล บางคนกล่าวว่า เขากระทำฮาราคีรี แต่บางคนก็เชื่อว่า เขาจุดไฟเผาห้อง และตายในกองเพลิง เรารู้แน่นอนแต่เพียงว่า บุรุษผู้ที่แม้แต่ทหารก็ยังเงียบเสียง เพียงได้ยินชื่อเขา ได้ตายไปในที่นั้น โดยไม่เหลือร่องรอยใดๆ กระทั่งเส้นผมสักเส้นเดียว ..."

      จุดจบของผู้ที่สยบนักรบซามูไรได้อย่างราบคาบ ช่างน่าเศร้าเสียนี่กระไร หรือเป็นผลกรรมตามสนองจากการที่เขา ได้เข่นฆ่าอย่างทารุณต่อสมณะนักสู้ ในพระพุทธศาสนา ... ซามูไร รุ่นสุดท้าย

       

      ต๋วย'ตูน 1 กพ.47
      โงเมนนาไซ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×