ตำรวจไทย - ตำรวจไทย นิยาย ตำรวจไทย : Dek-D.com - Writer

    ตำรวจไทย

    มาดูประวัติตำรวจกันน่ะ

    ผู้เข้าชมรวม

    356

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    356

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  27 ส.ค. 51 / 11:53 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      กรมตำรวจไทยมีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้แก่ประชาชน เป็นกิจการที่มีคู่สังคมไทยมาเนิ่นนาน  ซึ่งวิวัฒนาการของตำรวจไทย  พอจะแบ่งออกได้เป็น    ยุคใหญ่  ๆ ดังนี้

                   ๑.  การตำรวจยุคที่  ๑  เป็นกิจการตำรวจที่มีมาก่อน  พ.ศ.๒๔๐๓  ซึ่งขอเรียกว่า  ตำรวจสมัยโบราณ  กรมตำรวจจะได้รับจัดตั้งขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อใด  ไม่สามารถหาหลักฐานที่แน่นอนได้  สันนิษฐานกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  (ประมาณ  พ.ศ.๑๘๐๐ ) เพราะนับเนื่องตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย  จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การจัดรูปการปกครองก็ยังคงรูปเดิมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเพียงข้อสันนิษฐานตามแนวประวัติศาสตร์การปกครอง  อย่างไรก็ตาม  ได้มีการพบหลักฐานที่แน่ชัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  พบว่า  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า  เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา  พร้อมกันนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี  การตำรวจ  ขึ้นด้วย และให้ขึ้นอยู่กับ  เวียง  มี  เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายก-อัครมหาเสนาบดี  เป็นผู้บังคับบัญชา  กิจการตำรวจครั้งนั้นแบ่งออกเป็น  ตำรวจพระนครบาล  ตำรวจภูธร ส่วนตำรวจหลวง ให้ขึ้นอยู่กับ  วัง  มี  เจ้าพระยาธรรมมาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาล  เป็น ผู้บังคับบัญชา

                   นอกจากนี้มีหลักฐานว่า เมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ ภายหลังสร้างกรุงศรีอยุธยาได้ ๑๐๕ ปี สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราศักดินาของตำรวจไว้เป็นบรรทัดฐาน ในบทพระอัยการระบุตำแหน่ง นาพลเรือน เช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายอื่น จากพระบรมราชโองการนี้ เป็นประจักษ์พยานว่า “ ตำรวจ” ได้ก่อกำเนิดขึ้นแล้วในประเทศไทยอย่างเป็นปึกแผ่น อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ประมาณ ๕๐๐ ปีมาแล้ว) และมีเอกสารหลายชิ้นที่แสดงว่า บุคคลที่จะเป็นตำรวจได้นั้น ต้องคัดเลือกจากผู้ที่มีชาติกำเนิดสืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่ได้ทำความดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และต้องเป็นบุคคลที่ทรงวางพระราชหฤทัย การบังคับบัญชาตำรวจจึงขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะแต่พระองค์เดียว

                  ถึงแม้การตำรวจไทยในยุคนี้จะจัดตั้งเพื่อให้ทำหน้าที่ในวงจำกัด และมิได้ขยายไปยังส่วนการปกครองทั่วประเทศก็ตาม แต่เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้น กรมตำรวจจึงได้รับความสนใจที่จะปรับปรุงรูปแบบเพื่อให้เป็นไปตามแบบอย่างประเทศตะวันตก  นับเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

                 ๒. การตำรวจยุคที่ ๒ เป็นกิจการตำรวจระหว่าง พ.ศ. ๒๔๐๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งขอเรียกว่า สมัยปฏิรูป เพราะเป็นสมัยที่ได้มีการปฏิรูปการปกครองประเทศไทยอย่างขนานใหญ่ในทุกๆ ด้านตามแบบอย่างอารยประเทศตะวันตก ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือในปี พ.ศ. ๑๔๐๕ ได้ว่าจ้าง กัปตัน เอส.เยเบิร์ดเอมส์ (Capt.S.J.Bird Ames) ชาวอังกฤษ ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงรัฐยาภิบาลบัญชา มาเป็นผู้พิจารณาวางโครงการจัดตั้งกองตำรวจสำหรับรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตนครหลวงตามแบบอย่างยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในสมัยนั้น ซึ่งเป็นยุคที่อังกฤษ ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกต ฮอลันดา กำลังแข่งขันกันหาเมืองขึ้นในทวีปเอเชีย ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ถึงกับต้องเสียเอกราช แต่ก็ต้องเสียดินแดนบางส่วนไปเป็นอันมาก การจัดระเบียบการปกครองประเทศขณะนั้น จึงเพ่งเล็งไปในด้านป้องกันประเทศเป็นหลักใหญ่ นโยบายการตำรวจจึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายการเมืองระหว่างประเทศและการทหารด้วย

                  การปรับปรุงการตำรวจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นอกจากได้ขยายงานตำรวจนครบาล โดยให้ นาย เอ.เย.ยาดิน (A.J.Jardine) มาช่วยงานเพิ่มขึ้นแล้ว ยังได้จัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นในรูป ทหารโปลิศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ สำหรับเป็นกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาคและให้สามารถปฏิบัติการทางทหารได้ด้วย โดยว่าจ้าง  นาย ยี.เชา. (G.Schau) ชาวเดนมาร์คมา  เป็นผู้วางโครงการ ผู้บังคับบัญชาส่วนมากก็โอนมาจากนายทหาร ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๒๐ ได้เปลี่ยน กองทหารโปลิศ เป็น กรมกองตระเวนหัวเมือง จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้ตั้ง กรมตำรวจภูธร ขึ้นแทนกรมกองตระเวนหัวเมือง โดยมี  พลตรีพระยาวาสุเทพ(ยี.เชา.) เป็นเจ้ากรมตำรวจภูธร กำลังพลในระยะแรกใช้ตำรวจ ต่อมาเมื่อทางทหารได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.เกณฑ์ทหาร ทางตำรวจภูธรก็ได้ขออนุมัติใช้กฎหมายฉบับนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ เกณฑ์คนเข้าเป็นตำรวจด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อได้จัดตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแล้วก็ได้มีการขยายการตำรวจไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคตามลำดับ เพื่อให้มีกำลังตำรวจสำหรับป้องกันปราบปรามโจรผู้ร้าย อำนวยความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง

                  กิจการที่ควรจะกล่าวอีกประการหนึ่ง ก็คือการจัดตั้ง โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อผลิตนายตำรวจออกรับราชการตำแหน่งผู้บังคับหมวดในส่วนภูมิภาค แม้ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ จะได้ย้ายมาตั้งที่ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม ก็ถือกันว่า โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ซึ่งตั้งขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้นกำเนิดของโรงเรียนนายร้อยตำรวจปัจจุบัน

                  ทางด้านตำรวจนครบาลก็ปรากฏหลักฐานว่าในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๐ – ๒๔๕๑ ได้จัดตั้ง โรงเรียนพลตำรวจ ขึ้นสำหรับฝึกอบรมตำรวจซึ่งได้รับการคัดเลือกเข้ารับราชการตาม พ.ร.บ.ลักษณะเกณฑ์ทหาร และตั้ง โรงเรียนนายหมวด สำหรับฝึกอบรมผู้ที่จะแต่งตั้งเป็นนายตำรวจตำแหน่ง รองสารวัตร อีกด้วย

                  เกี่ยวกับการฝึกอบรมตำแหน่งเพื่อเพิ่มพูนความรู้และสมรรถภาพการปฏิบัติหน้าที่ทั้งประเทศ (Pre–servce Training & In–service Training) นั้น กรมตำรวจได้เห็นความสำคัญและได้ดำเนินการโดยหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบโดยเฉพาะตลอดมาอย่างจริงจัง ปัจจุบันได้ขยายงานการฝึกอบรมตำรวจขึ้นเป็นกองบัญชาการ คือ กองบัญชาการศึกษา   

                    อนึ่ง กิจการตำรวจในยุคนี้ขึ้นอยู่กับกระทรวง ๒ กระทรวง คือ กรมพลตระเวน หรือ ตำรวจนครบาล ขึ้นอยู่กับกระทรวงพระนครบาล กรมตำรวจภูธร ขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย เพิ่งจะรวมเป็นกรมเดียวกันภายใต้การบังคับบัญชาของอธิบดีคนเดียวกัน เมื่อ ๑๓ ตุลาคม ๒๔๕๘ เรียกว่า “ กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน ” กรมตำรวจจึงถือว่า วันที่ ๑๓ ตุลาคม ของทุกปี เป็น วันตำรวจ และในปลายปีนี้เองได้เปลี่ยนเป็น “ กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล ” ยกฐานะเจ้ากรมขึ้นเป็นอธิบดี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้มี    พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รวมกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงนครบาล จึงโอนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้เปลี่ยนนาม กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจพระนครบาล เป็น “ กรมตำรวจภูธร ” แต่ยังคงแบ่งตำรวจออกเป็น ๒ ประเภท คือ ตำรวจที่จับกุมโจรผู้ร้าย ไต่สวน ทำสำนวนฟ้องศาลโปลิศสภาโดยตรง เรียกว่า “ ตำรวจนครบาล ” ตำรวจที่ทำการจับกุมโจรผู้ร้ายได้แล้วส่งให้อำเภอไต่สวนทำสำนวนให้อัยการฟ้องศาลอาญาประจำจังหวัดนั้นๆ เรียกว่า “ ตำรวจภูธร ” จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้เปลี่ยนนาม กรมตำรวจภูธร เป็น “ กรมตำรวจ ” ตลอดมา

                    กรมตำรวจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ นั้น หลักการใหญ่มิได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก คงดำเนินการตามแนวที่ได้วางไว้ในรัชกาลที่ ๕ มีการปรับปรุงบ้างก็เพียงเล็กน้อย กล่าวคือ ได้ขยายกิจการตำรวจภูธรไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้น ทางด้านตำรวจนครบาลก็ได้ว่าจ้าง นาย อีริค เซนต์ เจ.ลอซัน (Mr. Eric Saint J.Lawson) ชาวอังกฤษเข้ามาช่วยอีกคนหนึ่ง กรมตำรวจในยุคสมัยรัชกาลที่ ๖ ที่ควรจะกล่าวถึงมีอยู่ ๒ เรื่องคือ การจัดตั้งจเรตำรวจ และ การจัดตั้งตำรวจส่วนกลาง ขึ้นเพื่อช่วยเหลือตำรวจท้องที่ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า กรมตำรวจนั้นเดิมมีอยู่ ๒ กรม และขึ้นอยู่กับกระทรวง ๒ กระทรวง ภายหลังจากที่กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวนได้รวมเป็นกรมเดียวกันเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๔๕๘ แล้วเสนาบดีกระทรวงนครบาลก็ได้ประกาศตั้งตำแหน่งจเรตำรวจขึ้น เพื่อให้ทำหน้าที่ตรวจราชการ โดยเฉพาะเหตุผลและหลักการตรวจราชการในหน้าที่จเรตำรวจนั้น ปรากฎชัดในกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาล ว่า ด้วยหน้าที่  จเรตำรวจพระนครบาลและกรมตำรวจภูธร ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๘ ซึ่งมีว่า “ ด้วยตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมตำรวจภูธรกับกรมพลตระเวนเป็น กรมตำรวจพระนครบาลและกรมตำรวจภูธร แล้ว ทรงพระราชดำริว่า กรมนี้เป็นกรมใหญ่มีหน้าที่ราชการในส่วนลาดตระเวนท้องที่ทั่วราชอาณาจักร สมควรจะมีพนักงานจเรสำหรับตรวจการงานในกรมนี้ด้วยแผนกหนึ่ง ฯลฯ ” อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่านอกจากให้ จเรตำรวจมีหน้าที่ตรวจราชการในกรมตำรวจแล้ว กฎเสนาบดีฉบับเดียวกันนี้ยังให้อำนาจเสนาบดีกระทรวง   นครบาลที่จะสั่งให้จเรตำรวจตรวจราชการในกรมอื่นๆ ในสังกัดได้อีกด้วย ซึ่งต่อมาหลังจากที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพระนครบาลได้รวมเป็นกระทรวงเดียวกันแล้ว เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎที่ ๕ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๔๖๖ ให้ จเรตำรวจ มีหน้าที่ตรวจราชการฝ่ายปกครองได้ด้วย รวมตลอดถึงระเบียบการงานในอำเภอ

                   สำหรับการจัดตั้งตำรวจส่วนกลาง( คือที่มาของตำรวจสอบสวนกลางปจจุบัน ) เพื่อช่วยเหลือตำรวจท้องที่ในด้านการสืบสวนสอบสวน การปราบปรามและทางวิทยาการ นั้น ปรากฎว่าทางตำรวจภูธรมี  ตำรวจกลาง เป็นหน่วยช่วยเหลือ ทางตำรวจนครบาลมี ตำรวจกองพิเศษ เป็นหน่วยช่วยเหลือ สำหรับหน่วยตำรวจที่มีหน้าที่อย่างตำรวจสันติบาลปัจจุบันนั้น เรียกว่า ตำรวจ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×