อารายธรรมอียิปต์โบราณ
เป็นอารายธรรมของชาวอียิตป์โบราณ
ผู้เข้าชมรวม
2,850
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
อารยธรรมอียิปต์โบราณ(Civilization of Ancient
อียิปต์เป็นดินแดนที่น่าพิศวงมากประเทศหนึ่ง คนทั่วไปมองว่าอารยธรรมอียิปต์มีความเชื่อที่เล้นลับแฝงอยู่มากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ซ่อนความเจริญด้านต่างๆ ไว้อย่างมากมายด้วยเช่นกัน เมื่อย้อนมาพิจารณาดูว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อียิปต์มีความรุ่งเรืองและถึงกับเป็นดินแดนที่น่าพิศวง ตลอดจนมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญมากมาย เช่น ปิรามิค วิหารขนาดใหญ่ เป็นต้น
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และแม่น้ำไนล์
อียิปต์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ในสมัยโบราณบริเวณที่ีมีผู้คนอาศัยอยู่ได้แก่ ดินแดนที่อยู่บนสองฟากฝั่งแม่น้ำไนล์ ทิศเหนือคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกคือทะเลแดง ทิศใต้คือประเทศนูเบียหรือซูดานในปัจจุบัน ส่วนทิศตะวันตกคือทะเลทรายซะฮารา อียิปต์โบราณประกอบด้วยบริเวณสองแห่งคืออียิปต์บน (Upper Egypt) และอียิปต์ล่าง (Lower Egypt) อียิปต์บนได้แก่ บริเวณที่มีแม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา มีความยาวประมาณ
อียิปต์เป็นดินแดนกันดารฝน แต่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์ซึ่งได้รับน้ำอันเกิดจากหิมะละลาย และฝนในฤดูร้อนจากภูเขาในอบิสสิเนีย น้ำจะไหลบ่าลงมาตามแม่น้ำ ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมจนถึงตุลาคมทำให้สองฝั่งแม่น้ำไนล์จมอยู่ใต้น้ำเป็นบริเวณกว้าง เมื่อน้ำลดโคลนตมที่น้ำพัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
ความอุดมสมบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำไนล์ได้มาจากตะกอนโคลนตมอันอุดมด้วยปุ๋ยซึ่งน้ำที่ท่วมประจำปีนำมาทิ้งไว้เช่นเดียวกับบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ของเมโสโปเตเมียพัฒนาการของอารยธรรมก็ค่อนข้างจะเป็นไปตามแบบแผนเดียวกัน กล่าวคือมีการร่วมแรงกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม สร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดคูน้ำไปยังดินแดนที่ห่างไกลออกไปแต่ทว่าพัฒนาการทางการเมืองของอียิปต์แตกต่างจากเมโสโปเตเมีย กล่าวคืออียิปต์ได้แบ่งแยกเป็นนครรัฐอิสระอย่างในเมโสโปเตเมีย หากแต่ร่วมกันเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของบุคคลเดียวคือกษัตริย์ซึ่งอียิปต์เรียกว่าฟาโรห์ (Pharaoh)
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้กษัตริย์อียิปต์สามารถรวบรวม และปกครองดินแดนทั้งหมดไว้ได้อย่างมั่นคงตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ปัจจัยดังกล่าวได้แก่
(1) ทะเลทรายช่วยป้องกันการแทรกซึมของพวกลิเบียจากทะเลทรายทางทิศตะวันตก หรือพวกเอเซียทางทิศตะวันออกและพวกนูเบียจากทิศใต้ การป้องกันตนเองจึงไม่ใช่ปัญหาน่าหนักใจสำหรับผู้ปกครองอียิปต์
(2) แม่น้ำไนล์เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง และระบบประสาทในการรวมดินแดนเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำที่เรือแพล่องไปมาได้สะดวก โดยอาศัยการควบคุมการเดินเรือในแม่น้ำไนล์ ผู้ปกครองก็สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชน และการถ่ายเทของสินค้าได้โดยอัตโนมัติ และอาศัยแม่น้ำไนล์เป็นเส้นทางคมนาคม สำหรับการเดินเรือไปเก็บภาษีอากรจากประชาชนตลอดจนเป็นเส้นทางเดินทัพ นอกจากนี้การที่เขตอุดมสมบูรณ์จำกัดอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เป็นแนวยาวตามสองฟากฝั่งทำให้ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณนี้ก็ยังเอื้อให้การปกครองประชาชนเป็นไปโดยง่าย
ความอุดมสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอที่อียิปต์ได้รับจากแม่น้ำไนล์ ด้วยเหตุนี้นักภูมิศาสตร์ จึงเรียกอียิปต์ว่า ดอกผลแห่งแม่น้ำไนล์ (Gift of the
อารยธรรมอิยิปต์โบราณ
อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของโลกโบราณในระยะต้นนั้นส่วนใหญ่ก็คืออารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำ ทั้งนี้เพราะการสร้างอารยธรรมในยุคแรกนั้นมีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่ เนื่องจากประชากรในยุคนั้นต้องอาศัยน้ำทั้งในการดำรงชีวิตและเพื่องานเกษตรกรรม การคมนาคมส่วนใหญ่ก็ต้องอาศัยแม่น้ำ ด้วยเหตุนี้แหล่งอารยธรรมโบราณของโลกจึงอยู่ที่บริเวณแม่น้ำใหญ่ 4 แห่ง คือ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส ยูเฟรตีส บริเวณแม่น้ำสินธุ และบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลือง อารยธรรมในบริเวณนี้เป็นอารยธรรมเกษตรกรรม เนื่องจากต้องอาศัยการดำรงชีวิตอยู่ใกล้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้งสิ้น
ก. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ นักประวัติศาสตร์กรีกท่านหนึ่งคือ เฮโรโดตัส (Herodotus:484-425 B.C.) กล่าวถึงอียิปต์ว่าเป็น a gift of the Nile เพราะถือว่าแม่น้ำไนล์นั้นคือหัวใจสำคัญที่หล่อเลี้ยงประเทศอียิปต์ เพราะตามปกติอียิปต์จะเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง เพราะล้อมรอบด้วยทะเลทราย มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในฤดูหนาวและตกเฉพาะบริเวณเดลต้า อียิปต์จึงได้อาศัยความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์ ในราวเดือนกรกฎาคมของทุกปีน้ำจากแม่น้ำจะไหลล้นฝั่งทั้งสองและเริ่มลดลงในเดือนตุลาคม เมื่อน้ำลดลงก็จะทิ้งโคลนตมไว้บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำ โคลนตมเหล่านี้จเป็นปุ๋ยช่วยให้พืชเจริญงอกงาม ฉะนั้น ถ้าขาดแม่น้ำไนล์เสียอียิปต์ก็จะกลายเป็นทะเลทรายที่ร้อนระอุ ด้วยเหตุที่แม่น้ำไนล์ให้ความอุดมสมบูรณ์นี้อารยธรรมของอียิปต์จึงเป็นอารยธรรมที่เกิดจากการเกษตรกรรม
อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงนี้เชื่อว่าเป็นเพราะอิทธิพลของของฟาโรห์ พระองค์เท่านั้นที่รู้จักและเข้า Ma'at ซึ่งหมายความว่า harmony นั่นคือเป็นผู้เดียวที่เข้าใจถึงความสอดคล้องต้องกันของจักรวาล เพราะฉะนั้นการปกครองของอียิปต์ในระยะแรกจึงมาในรูปของกษัตริย์เทวาธิปไตย ในระหว่างที่ฟาโรห์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็จะดำรงตำแหน่งโฮรัส (Horus) พระบุตรของโอสิริส (Osiris) เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอสิริส กล่าวคือเป็นเทพโอสิริสอีกองค์หนึ่งเพราะฉะนั้นกษัตริย์อียิปต์ทุกพระองค์ เมื่อได้มีการทำพิธีฝังพระศพแล้วก็จะถูกเรียกว่าเทพโอสิริสทุกพระองค์และเมื่อนั้นก็จะมีการช่วยเหลือข้าราชบริพารของพระองค์ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ได้อีกด้วย
ข. ประวัติศาสตร์การเมืองของอียิปต์ นักปราชญ์ผู้ทำการศึกษาเรื่องราวของอียิปต์โดยเฉพาะคือ จอห์น เอ วิลสัน (John A. Wilson) บันทึกไว้ว่า:-
"การเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการต่างๆ นั้น น้ำจะเกิดขึ้นภายในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์เอง กล่าวคือฝูงสัตว์จากบริเวณที่สูง รวมทั้งคนด้วย คงจะล่องมาตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำหาแหล่งที่มีพืชผลอุดมสมบูรณ์ ตามกันลงมาจนทั้งสองฝ่ายรู้จักกันดีขึ้น คนรู้ว่าสัตว์บางชนิดควรเลี้ยงไว้ใ่กล้สัตว์เพื่อเก็บไว้เป็นอาหารในวันหน้า พืชบางชนิดก็อาจขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากขึ้น เพื่อเลี้ยงทั้งมนุษย์และสัตว์ที่คนเลี้ยงไว้ด้วย"
จะเห็นได้ว่าการเรียนเรื่องอียิปต์นั้นก็คือการเรียนเรื่องการรวมประเทศให้อยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวตั้งแต่ประมาณ 3000 B.C. ถึง 2000 B.C. จนถึงสมัยที่ถูกเปอร์เซียรุกรานเมื่อปี 525 B.C. นับเป็นวงจรอารยธรรมแท้ๆ ซึ่งแต่ละสมัยจะมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในระหว่างสมัยเชื่อมแต่ก็จะมีการแทรกแซงด้วยเหตุการณ์ เช่น การรุกรานจากภายนอก เป็นต้น นักมานุษย์วิทยาได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องราวของอียิปต์ถอยหลังไปถึงสมัยเริ่มต้นของพวกอัฟริกัน จนถึงสมัยการรุกรานของพวกเซมิติคแยกออกเป็นชาติกุลแบ่งแยกกันปกครอง ในสมัยต้นนี้ได้มีงานฝีมือแล้ว ส่วนใหญ่ทำด้วยดินโคลนและหินรวมทั้งการสร้างปฏิทินมี 365 วัน ซึ่งในสมัยจูเลียส ซีซาร์ ถูกนำมาดัดแปลงใช้หลังจากนั้นถึง 3000 ปี และยังสืบเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้ด้วย
อียิปต์โบราณ หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์นี้เอง เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก กล่าวคือเมื่อประมาณ 6000 ปี มาแล้ว ประชาชนบริเวณนี้ได้เริ่มเรียนรู้วิธีที่จะเอาชนะธรรมชาติและนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ มีรัฐบาลที่เป็นระเบียบมีความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ตลอดจนมีศิลปและวรรณคดีชั้นสูง อารยธรรมนี้ก็เจริญและยั่งยืนอยู่เป็นเวลานาน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อารยธรรมเจริญอยู่เป็นเวลานานก็เพราะสภาพภูมิประเทศ
1. การที่อิยิปต์ล้อมรอบด้วยทะเลทรายทั้งทางทิศตะวันตก และทิศตะวันออกตลอดจนการที่แม่น้ำไนล์มี แก่งโจน(Catarats) ตั้งแต่ปากน้ำจนสุดสายแม่น้ำซึ่งยาวประมาณ
2. การที่แม่น้ำไนล์ท่วมฝั่งทุกปี ทำให้ประชาชนที่เข้าอยู่บริเวณนี้ต้องพยายามหาทางที่จะเอาชนะธรรมชาติจึงเกิดความร่วมมือกันทำงาน เช่น มีการชลประทาน มีการขุดคูส่งน้ำ เมื่อมีคนมาอยู่มากก็ต้องมีรัฐบาลปกครองเพื่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุข นอกจากนี้ความอุดมสมบูรณ์ที่ได้รับจากแม่น้ำไนล์ก็ยังมีส่วนทำให้ชาวอียิปต์มีจิตใจที่จะคิดค้นและสร้างสมศิลปวัฒนธรรมและวรรรณคดีต่างๆ
อียิปต์และแม่น้ำไนล์
เรื่องราวของอียิปต์ก็คือเรื่องราวของแม่น้ำไนล์ เป็นคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ ด้วยเหตุว่าดินแดนอันเป็นประจำทุกปีนั้น แม่น้ำไนล์จะนำเอาปุ๋ยอันโอชะขึ้นไปลาดไว้บนทั้งสองฝั่งน้ำ ทำให้ดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นดินอุดม มีพืชพันธ์ธัญญาหารเกิดขึ้นได้งอกงาม และตามลุ่มน้ำอันมีอาณาเขตแคบๆ ซึ่งบางแห่งกว้างประมาณสิบไมล์เท่านั้นเอง นี้แหละที่อารยธรรมของอียิปต์ได้เจริญงอกงามขึ้นและเกิดนครใหญ่ๆ ขึ้นเป็นจำนวนหลายต่อหลายนคร นอกจากจะอำนวยปุ๋ยอันโอชะให้ดังกล่าวแล้ว แม่น้ำสายนี้ยังเป็นเส้นทางคมนาคมของประเทศและนำออกสู่ทะเลใหญ่อีกด้วย
ความก้าวหน้าในอารยธรรมของอียิปต์ ขั้นแรกที่เราทราบก็คือ อารยธรรมที่เกี่ยวกับวิธีการทำนาของเขา โดยเหตุที่ในอียิปต์นั้นฝนแทบจะไม่ตกเลย ชาวนาจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีทำให้นาของตนมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ ในอียิปต์ภาคสูง คือในตอนต้นน้ำไนล์มีฝนตกชุกในฤดูสปิง เมื่อฝนไหลท่วมท้นมาและล้นสองฟากฝั่งแม่น้ำนั้นชาวอียิปต์ก็หาวิธีที่จะขังน้ำนี้ไว้ใช้ในฤดูน้ำลด และถ่ายเทไปตามคูเล็กๆ ซึ่งตัดผ่านไปตามท้องไร่ท้องนา นี้เป็นเครื่องมืออันแรกอันหนึ่ง ที่มนุษย์คิดขึ้นสู้กับธรรมชาติ
ประวัติของอียิปต์โบราณ
ความเป็นมาแต่แรกของอียิปต์โบราณนั้นไม่รู้จักกระจ่างนัก รู้แต่เพียงว่าดินแดนอียิปต์
โบราณถูกยึดครองโดยชาวลิบยานทางตะวันตกเฉียงเหนือ เซมิติคทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิโกรทางใต้ ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
1. สมัยก่อนราชวงศ์ (The Predynastic Period)
2. สมัยราชวงศ์ (The Dynastic Period)
3. สมัยภายใต้การปกครองของผู้รุกราน (The Period of Invasion)
1. สมัยก่อนราชวงศ์ เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 4,500-3,110 B.C. ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณยังไม่มี แต่ชาวอียิปต์โบราณได้เข้าตั้งมั่นบริเวณลุ่มน้ำไนล์แล้ว มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม มีหัวหน้าเป็นผู้นำด้านการปกครองและสังคม ขณะเดียวกันมักแย่งชิงดินแดนซึ่งกันและกัน ในที่สุดดินแดนทั้งสองฝั่งของลุ่มแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1. อียิปต์บน หรืออียิปต์ตอนใต้ (The Uppe Egypt or The Southern Egypt or The
2. อียิปต์ล่าง หรืออียิปต์ทางตอนเหนือ (The Lower Egypt of the Northen
2. สมัยราชวงศ์ เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 3100-940 B.C. ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณได้ก่อตั้งขึ้นและผู้นำชาวอียิปต์โบราณเป็นผู้ดำเนินการปกครองดินแดนอียิปต์เองเป็นส่วนใหญ่ สมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้ ดังนี้
1. สมัยต้นราชวงศ์ (The Protodynastic Period)
2. สมัยอาณาจักรเก่า (The
3. สมัยอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom)
4. สมัยอาณาจักรใหม่ หรือสมัยจักรวรรดิ (The
1. สมัยต้นราชวงศ์ (3110-2,665 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 1-2 เริ่มจากการแบ่งแยกดินแดน อียิปต์โบราณสิ้นสุดลงโดยความสามารถของผู้นำอียิปต์บนคือเมเนส (Menes) รวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกันสำเร็จในปี 3110 B.C. และยกตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 1 กำหนดให้เมมฟิสในอียิปต์ล่างเป็นเมืองหลวง แม้จะรวมดินแดนเข้าเป็นผืนเดียวกันก่อตั้งเป็นชาติขึ้น แต่ชาวอียิปต์โบราณก็ยังนิยมเรียกชาติตนครั้งนั้นว่า Land of Two Lands หลักฐานประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีน้อยมาก
2. สมัยอาณาจักรเก่า (2225-2180 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 3-6 สมัยนี้บางครั้งถูกเรียกว่า สมัยปิรามิด (The Pyramid Age) เพราะเกิดการสร้างปิรามิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีปิรามิดเกิดขึ้นมากกว่า 20 แห่ง ปิรามิดแห่งแรกสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์โจเซอร์ ในราชวงศ์ที่ 3 ที่เมืองสควารา และเพราะมีวิทยาการใหม่ ศิลปกรรม และสถาปัตยธรรมเจริญมากในราชวงศ์ที่ 4 ประจวบกับกษัตริย์มีอำนาจในการปกครองเป็นผลให้เกิดปิรามิดใหญ่ที่สุดขึ้น ปิรามิดอันนี้เป็นของกษัตริย์คูฟุ (Khufu) อยู่ที่เมือง กีซา (Giza) สมัยอาณาจักรเก่าสิ้นสุดลง ในราชวงศ์ที่ 6 เพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ ความทะเยอทะยานแย่งชิงอำนาจของขุนนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกขุนนางที่เรียกว่าโนมาร์ซ (Nomarch) เป็นผลให้เป็นเวลาร่วมสองศตวรรษที่อียิปต์โบราณต้องวุ่นวายเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นบ่อยครั้งและต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกขุนนางช่วงดังกล่าวนี้เรียกว่า ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่หนึ่ง
ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่1 (The First Federal 2180-2052 B.C.)เป็นช่วงระหว่างปลายสมัยอาณาจักรกลาง ในช่วงนี้ขุนนางมีอำนาจตั้งราชวงศ์ที่ 7-11 ปกครองอียิปต์โบราณ กล่าวคือที่เมืองธีปส์ (
3. สมัยอาณาจักรกลาง (2052-1786 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 11 ตอนปลายกับราชวงศ์ที่ 12 เริ่มด้วยกษัตริย์เมนตูโฮเต็ปที่ 2 (Mentuhotep 2) กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ที่ 11 แห่งธีปส์ปราบปรามขุนนางได้และรวบรวมดินแดนอียิปต์โบราณเข้าด้วยกัน ทรงฟื้นฟูการค้าและสภาพแวดล้อม เวลาส่วนใหญ่ของสมัยอาณาจักรกลางอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 12 กษัตริย์ที่สามารถคือ อเมเนมฮัสที่ 1 (Amenemhat) ทรงเก่งในการรบและทรงฟื้นฟูการค้ากับฟินิเซียน
4. สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ (1554-1090 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 18-20 มีธีปส์เป็นเมืองหลวง จักรวรรดิ์อียิปต์โบราณเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเพราะกษัตริย์เก่งในการรบ การปกครอง อียิปต์โบราณต้องทำสงครามยาวนานกับฮิตไตท์ พระให้การสนับสนุนกษัตริย์ อำนาจของขุนนางหมดไป ในสมัยนี้อียิปต์โบราณมีนโยบายรุกรานชุมชนใกล้เคียงมุ่งขยายอำนาจและการป้องกันการรุกรานของศัตรูภายนอก ดินแดนอียิปต์ขยายกว้างใหญ่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีมากและแน่นอนกว่าสมัยใดๆ ที่ผ่านมา กษัตริย์ที่ควรกล่าวคือ
1. อาเมส (Ahmose 1 or Amosis) เป็นผู้ขับไล่ฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สำเร็จพร้อมทั้งสามารถกำจัดอำนาจขุนนางและเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 18 ก่อตั้งสมัยอาณาจักรใหม่ขึ้น
2. อเมนโฮเตปที่ 1 และทัสโมสที่ 1 (Amenhopet 1 Thutmose 1) ทั้งสองพระองค์นี้เก่งในการรบ ขยายจักรวรรดิออกไป
3. พระนางฮัทเซฟซุท (Hatshepsut) มเหสีของทัสโมสที่ 2 ทรงเป็นกษัตริย์หญิงองค์แรกของอียิปต์และเป็นนักปกครองหญิงที่สามารถคนแรกของโลก (The First Capable Woman Rule in the Cirillzed World) ภายหลังพระสวามีสิ้นพระชนม์ลง ทรงปกครองอียิปต์นานถึง 40 ปี ทรงฟื้นฟูการค้า ศิลปกรรมและสถาปัตยธรรม
4. ทัสโมที่ 3 (Thutmose 3) ขึ้นปกครองจริงในปี 1469 B.C.ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางฮัทเซฟซุท ทรงเก่งในการรบ ทำสงครามประมาณ 17 ครั้งเพื่อปราบศัตรูในดินแดนทางตะวันออก ทรงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังว่าเป็นนโปเลียนแห่งอียิปต์ ขณะเดียวกันได้ให้การศึกษาเลี้ยงดูเด็กเป็นอย่างดี โดยหวังว่าเมื่อเด็กเหล่านั้นได้กลับดินแดนตนและขึ้นเป็นใหญ่จะจงรักภักดีต่ออียิปต์ ทรงสั่งให้ลงชื่อของนางฮัทเซฟซุทออกจากการจารึกเพราะทรงไม่พอใจที่พระนางขึ้นปกครองอียิปต์แทนในช่วงต้นสมัยของพระองค์
5. อเมนโฮเต็ปที่ 4 (Amenhotep 4) เป็นกษัตริย์นักปฏิรูปศาสนาของอียิปต์โบราณ เพราะทรงกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณเคารพบูชาเฉพาะสุริยเทพหรืออะตัน (Aton) อันถือได้ว่าการริเริ่มความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (Monotheism)
6. ตูแตงคามอน (Tutankhamon) ปกครองอียิปต์ต่อจากอเมนโฮเต็ปที่ 4 ทรงประกาศยกเลิกศาสนาของอเมนโฮเต็ปที่4 และกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณหันมาศรัทธาในเทพเจ้าอะมอนเร และเทพเจ้าอื่นๆ ดังเดิม ตลอดจนย้ายเมืองหลวงกลับธีปส์
7. รามซีสที่ 2 (Ramses 2) ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย ทรงเก่งในการรบทรงนำดินแดนที่สูญเสียไปในสมัยอเมนโฮเต็ปที่ 4 กลับคืนมาเป็นของอียิปต์ดังเดิมและทรงยุติสงครามกับฮิตไตท์ในการรบที่คาเดช (Kadesh) โดยอียิปต์ได้ปาเลสไตน์ ฮิตไตท์ได้ซีเรีย ทรงปลดปล่อยฮิบรูให้พ้นจากการเป็นทาส ทรงเป็นนักรักเพราะทรงมีโอรส 100 คน มีธิดา 50 คน สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 90 ปี ครองราชย์ 67 ปี ภายหลังการสิ้นพระชนม์ปรากฎว่าจักรวรรดิ์โบราณก็เริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับเพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ ขุนนางก่อความวุ่นวายแย่งชิงอำนาจกันพระขึ้นปกครองอียิปต์ครั้งราชวงศ์ที่ 21 ขึ้นที่เมืองทานิส (Tanis) และอียิปต์ถูกรุกรานจากศัตรูภายนอก
3. สมัยภายใต้การปกครองของผู้รุกราน 940 B.C. เรื่อยมา สมัยนี้ชนภายนอกปกครอง
อียิปต์โบราณเป็นระยะเวลายาวนานกล่าวคือ
1. ลิบยาน (Libyans) ปกครองระหว่าง 940-710 B.C. ตั้งราชวงศ์ที่ 22-24
2. เอธิโอเปียน (Ethiopians) ปกครองระหว่าง 736-657 B.C. ตั้งราชวงศ์ที่ 25
3. อัสซีเรียน (Assyrians) ปกครองระหว่าง 664-525 B.C.
4. เปอร์เซียน (Perians) ปกครองระหว่าง 525-404 B.C.
5. เปอร์เซียนปกครองอียิปต์ครั้งที่สองระหว่าง 341-332 B.C.
6. กรีก (Greeks) ปกครองระหว่าง 332-30 B.C.
ลักษณะอารยธรรมอียิปต์โบราณ
1. สภาพสังคม สังคมอียิปต์โบราณเปรียบได้กับรูปสามเหลี่ยมจัดแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ
1. กษัตริย์และราชวงศ์ถูกกำหนดให้อยู่ในตำแหน่งสูงสุด กษัตริย์สามารถมีมเหสีและสนมได้มากมาย ตลอดจนสนมอาจเป็นพี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกับมนุษย์
2. พระและขุนนาง มีบทบาททางด้านศาสนาและการปกครอง ชนทั้งสองกลุ่มนี้จัดเป็นชนชั้นสูงรองจากกษัตริย์
3. ชนชั้นกลาง ได้แก่ พ่อค้า ช่างฝีมือและศิลปิน
4. ชนชั้นต่ำ ได้แก่ ชาวนาซึ่งจัดเป็นชนชั้นส่วนใหญ่ของดินแดนสภาพของชาวนาอยู่ในรูปข้าติดที่ดิน ชาวนาเป็นกำลังสำคัญในกองทัพและเป็นแรงงานหลักในการสาธารณะประโยชน์
5. ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดถูกกวาดต้อนมาภายหลังพ่ายแพ้สงคราม
2. การประกอบอาชีพ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ
1. การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์จัดเป็นอาชีพหลัก เริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ 4000 B.C. อาชีพดังกล่าวนิยมทำแถบลุ่มน้ำไนล์ พืชที่นิยมปลูกคือข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ต้นแฟล็กซ์ตลอดจนผลไม้ต่างๆ เป็นต้น
2. การค้า เริ่มปรากฎเมื่อประมาณ 4000 B.C. โดยนิยมทำการค้ากับคนในแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมโสโปเตเมีย และอาระเบีย เป็นต้น
3. การทำเหมืองแร่ ทองแดงเป็นแร่ธาตุที่ชาวอียิปต์เริ่มขุดมาเมื่อประมาณ 4000 B.C. โดยทำกันในแถบไซนาย พลอยและทองคำขุดบริเวณเทือกเขาตะวันออก
4. งานฝีมือ ได้แก่งาน ปั้น งานหล่อ งานทอผ้า เป็นต้น
3. การปกครอง ลักษณะการปกครองเป็นแบบเทวธิปไตย (Theocracy) กล่าวคือ ผู้ปกครองอ้างดำเนินการปกครองในนามหรืออาศัยอำนาจของเทพเจ้าเพื่อใช้ในการปกครองกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการปกครองได้แก่
1. กษัตริย์หรือฟาโรห์ (Pharaoh) ฟาโรห์ เป็นผู้ที่ชาวอียิปต์โบราณยอมรับว่าเป็นเทพเจ้าและเป็นกษัตริย์ในเวลาเดียวกัน หน้าที่ของฟาโรห์คือเป็นผู้นำทางการปกครองและศาสนา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการปกครองเกิดจากการกำหนดขึ้นของกษัตริย์ผู้เป็นเจ้าของชีวิตของชาว
อียิปต์โบราณ
2. ขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือวิเชียร (Vizier) เป็นตำแหน่งใช้เรียกผู้บริหารที่สำคัญรองจากกษัตริย์ ตำแหน่งนี้ในสมัยราชวงศ์ต้นสงวนเฉพาะสำหรับราชโอรส แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงตกทอดแก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่และมีการสืบทอดแก่คนในตระกูลเดียวกัน
3. ขุนนาง (Noble) ทำหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานที่สำคัญ เช่น ในการเก็บภาษีและการชลประทาน เป็นต้น
4. ขุนนางมณฑลหรือผู้ว่าการมณฑลหรือโนมาร์ซ (Nomarch) เป็นตำแหน่งข้าหลวงประจำตามมณฑลหรือเมืองที่ห่างไกลจากเมืองหลวง มณฑลหรือเขตนั้นเรียกว่านอม (
4. ศาสนา เรื่องของศาสนาอียิปต์โบราณนั้นควรกล่าวในลักษณะ 3 ประเด็น
1. ชาวอียิปต์โบราณเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ เพราะความหวาดกลัวเชื่อและบูชาในปรากฎการณ์ธรรมชาติทำให้ชาวอียิปต์โบราณกำหนดเทพเจ้าขึ้นมากมาย ลักษณะเทพเจ้าในช่วงแรกนั้นมีรูปร่างเป็นสัตว์มากกว่ามนุษย์ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปร่างเทพเจ้าให้ดีขึ้น แต่เพราะชาติอียิปต์โบราณเกิดจาการรวมตัวของหลายชุมชน ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้เทพเจ้าของอียิปต์โบราณมีมากมายหลายองค์เทพเจ้าที่สำคัญคือ
เทพเจ้าอะมอน-เร (Amon-Re) เป็นเทพเจ้าที่สูงสุดในมวลเทพเจ้าทั้งหลาย ของอียิปต์โบราณ เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและชีวิต ชื่อเทพเจ้าองค์นี้เกิดจากการนำเทพเจ้าอะมอนซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งอากาศและความอุดมสมบูรณ์ของเมืองธีปส์ มารวมกับเทพเจ้าเรซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ของเมืองเฮลิโอโปลิส ได้เป็นเทพเจ้าอะมอน-เร ผู้ทรงพลังและอิทธิฤทธิ์
เทพเจ้าโอซิริส (Osiris) เป็นเทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำไนล์ เทพเจ้าแห่งความตาย และเทพเจ้าแห่งการตัดสินภายการตายเพื่อการเข้าสู่ภายหน้า
เทพเจ้าไอริส (
เทพเจ้าโฮรัส (Horus) เป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์ของชาวอียิปต์โบราณแถบดินแดนสามเหลี่ยม
ชาวอียิปต์โบราณมีความเชื่อว่าเทพเจ้าแต่ละองค์ควรมีสัตว์ไว้คอยรับใช้ดังนั้นจึงมีการสมมติสัตว์รับใช้ดังกล่าวให้เทพเจ้า เช่น แกะตัวผู้เป็นสัตว์รับใช้ของเทพเจ้าอะมอน-เร เป็นต้น สำหรับเรื่องการบวงสรวงนั้นพระเป็นผู้ประกอบพิธี และได้รับค่าจ้างตอบแทน
2. ชาวอียิปต์โบราณเชื่อในความเป็นอมตะของวิญญาณ คำตัดสินครั้งสุดท้ายและโลกหน้า ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าภายหลังความตายที่ทำความดีจะฟื้นขึ้นมาและเข้าพำนักในโลกหน้าซึ่งน่าอยู่และอุดมสมบูรณ์เช่นอียิปต์ จากความเชื่อนี้ทำให้เกิดการเก็บรักษาไว้เรียกว่า มัมมี่ (Mummy) มัมมี่นิยมทำเฉพาะกับกษัตริย์ คนธรรมดาจะฝังเท่านั้น มัมมี่จะถูกนำไปวางลงในหีบศพพร้อมม้วนกระดาษรู้จักในนามคัมภีร์ผู้ตาย (Book of the Dead)(1) คัมภีร์ผู้ตายที่ถูกต้องนั้นต้องเขียนโดยพระ ข้อความในคัมภีร์นั้นล้วนชี้แจงว่าผู้ตายกระทำดีเป็นหลักในโลกมนุษย์ทำชั่วบ้างเล็กน้อย เทพเจ้าโอซิริสเป็นผู้พิจารณาและดำเนินการตัดสินครั้งสุดท้ายถึงการให้วิญญาณดังกล่าวเข้าสู่โลกหน้าที่สมบูรณ์ได้หรือไม่ หีบศพและสมบัติของผู้ตายจะถูกนำวางไว้สุสานหินเรียก ปิรามิด (Pyramid) สฟิงค์ (Sphinx) เป็นสัตว์ประหลาดที่แกะสลักจากหินนำวางไว้หน้าปิรามิดเพื่อทำหน้าที่เฝ้าศพและสมบัติของผู้ตายที่บรรจุไว้ในปิรามิด
3 ศาสนาของกษัตริย์อเมนโฮเต็ปที่ 4 จุดประสงค์ในการปฏิรูปศาสนาของอะเมนโฮเต็ปที่ 4 คือ การมุ่งนำชาวอียิปต์โบราณให้พ้นจากความเชื่อในศาสนาอียิปต์โบราณที่บูชาในเทพเจ้าหลายองค์ (Polytheism) และมุ่งนำชาวอียิปต์โบราณให้พ้นจากอำนาจของพระ ศาสนาใหม่ของอะเมนโฮเต็ปกำหนดให้บูชาเฉพาะเทพเจ้าอะตัน (Aton) เพียงองค์เดียว ทรงสอนว่าเทพเจ้าอะตันเป็นเทพเจ้าสูงสุด ไม่มีตัวตนเป็นบิดาของมนุษย์ การเข้าถึงเทพเจ้าอะตันทำได้โดยสักการะด้วยดอกไม้ของหอมมิใช่ทำสงครามหรือทำพิธีบวงสรวงด้วยชีวิตสัตว์ ทรงสั่งปิดวิหารของเทพเจ้าทั้งหลายทรงปฎิเสธความเชื่อเรื่องการฟื้นจากความตายและโลกหน้า ทรงปฏิเสธการทำสงครามกับศัตรู เพราะทรงเชื่อว่าเทพเจ้าอะตันคือบิดาของมวลมนุษย์และการทำสงครามจะทำให้เทพเจ้าอะตันไม่พอใจ เพื่อแสดงความศรัทธาในเทพเจ้าอะตันทรงเปลี่ยนพระนามพระองค์เป็น อัคนาตัน (Akhanaton) ทรงย้ายเมืองหลวงจากธีปส์ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองและศาสนาของเทพเจ้าอะมอน-เร มาอยู่ที่เมืองอัคตาตัน (Akhatatton or Amarna) ห่างจากธีปส์ขึ้นไปทางเหนือประมาณร้อยไมล์ การปฏิรูปศาสนาของพระองค์ทำให้เกิดผลเสียทั้งภายในจักรวรรดิ์และภายนอกจักรวรรดิ์กล่าวคือพระในเทพเจ้าอะมอน-เร โดยเฉพาะที่เมืองธีปส์ตั้งตนเป็นศัตรูเพราะพระพวกนี้ขาดรายได้ และสถานภาพของพระที่เคยได้รับจากสังคมอียิปต์โบราณต้องลดน้อยลง และอียิปต์เองต้องเสียดินแดนซีเรียกับปาเลสไตน์ให้แก่ฮิตไตท์
5. ศิลปการเขียน ศิลปการเขียนของอียิปต์โบราณเริ่มเมื่อประมาณ 300 B.C. การบันทึกทำเป็นอักษรภาพ รู้จักในนามอักษรภาพเฮียโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ต่อมาเพื่อให้การเขียนง่ายขึ้นไม่สลับซับซ้อน ได้พัฒนาการเขียนให้มีตัวอักษรภาพน้อยลงเรียกอักษรเฮราติค (Hieratic) ภารเขียนทั้งสองแบบนี้เขียนได้ในหมู่พระเท่านั้น ในประมาณศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลได้มีการพัฒนาการเขียนให้ดีขึ้นกว่าเดิมมุ่งให้เขียนง่ายขึ้น ตัวอักษรภาพลดจำนวนน้อยลงและจำนวนผู้ที่สามารถเขียนได้มากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวทำให้อักษรภาพลดเหลือเพียง 24 ตัว เรียกตัวอักษรเดโมติค (Demotic) นอกเหนือจากการจารึกบนแผ่นหินแล้วชาวอียิปต์โบราณเป็นพวกที่คิดทำกระดาษขึ้นโดยทำจากเยื่อต้นอ้อ (Papyrus) โดยนำต้นอ้อที่มีขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำไนล์มาลอกเอาเยื่อออกวางซ้อนกันตากให้แห้งกลายเป็นกระดาษ ก้านอ้อแข็งคืออุปกรณ์ที่ใช้เขียน ยางไม้ผสมสีใช้เป็นหมึก จากชัยชนะในการเขียนและการค้า ทำให้ศิลปการเขียนของอียิปต์แพร่หลายออกไป
6. ด้านวิทยาศาสตร์ ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ของอียิปต์โบราณที่ควรกล่าวถึงคือ
1. การทำปฏิทิน อียิปต์โบราณรู้จักการทำปฏิทินโดยยึดหลักสุริยคติกล่าวคือ 1 ปีมี 12 เดือน 30 วัน อีก 5 วันสุดท้ายถูกกำหนดเพ่ือการเฉลิมฉลองการกำหนดฤดูถือตามหลักความเป็นไปของธรรมชาติและการเพาะปลูก 1 ปีมี 3ฤดูๆละ 4 เดือน เริ่มจากฤดูน้ำท่วมหรือน้ำหลาก (The Flood of River Nite) ฤดูที่สองคือ ฤดูเพาะปลูกหรือไถหว่าน (The Period of Cultivation) ฤดูที่สามคือ ฤดูเก็บเกี่ยวพืชผล (The Period of Havesting) การที่ชาวอียิปต์โบราณรู้จักการทำปฏิทินนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ชัดความเจริญและความสามารถโดยแท้จริง
2. การแพทย์ มัมมี่มีส่วนชี้ให้เห็นถึงความสวยงามทางการแพทย์ของอียิปต์โบราณซึ่งแอ็ดวินสมิธเป็นผู้พบข้อความทั้งหมดถูกบันทึกไว้เมื่อประมาณปี 1600 ระบุแสดงความสามารถของแพทย์อียิปต์โบราณด้านการผ่าตัดกระโหลก ผ่าตัดกระดูกสันหลัง การวิจัยและรักษาโรคต่างๆ
3 คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะด้านเลขาคณิตอียิปต์โบราณเจริญมาก กล่าวคือ สามารถคำนวณหาพื้นที่ของสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมคางหมูและวงกลมได้ ตลอดจนชำนาญในการวัดที่ดิน ความสามารถในด้านคณิตศาสตร์มีส่วนช่วยอย่างมากในงานสถาปัตยกรรม
7. ด้านสถาปัตยกรรม ชาวอียิปต์โบราณเป็นหนึ่งในกลุ่มนักสร้างถาวรวัตถุผู้ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ ผลงานเกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์แขนงเรขาคณิตและคณิตศาสตร์บวกกับความสามารถและความชำนาญ ความสามารถและความเด็ดขาดของผู้นำ ผลงานเด่นทางสถาปัตยกรรมที่ควรแก่การกล่าวถึงเช่น
1. ปิรามิดยักษ์ที่เมืองกิซา เป็นปิรามิคของพระเจ้าคูฟู (Khufu or Cheops) สร้างเมื่อประมาณปี 2600 B.C. ใช้ก้อนหินประมาณ 2300,000 ก้อน แต่ละก้อนหนักกว่า 2 ตัน ใช้แรงงานคนสกัดหินทุกก้อนด้วยสิ่วและค้อนอย่างยากลำบาก ประณีตและชำนาญ ปิรามิดนี้สร้างบนเนื้อที่ประมาณ
2. วิหารคาร์นัคแห่งเมืองธีปส์วิหารนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นอาคารใหญ่สุดของอียิปต์โบราณ ยาว
8. วรรณกรรม วรรณกรรมเด่นของอียิปต์โบราณแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. วรรณกรรมเกี่ยวเนื่องกับศาสนา ได้แก่คัมภีร์ผู้ตาย คัมภีร์นี้มุ่งแสดงต่อเทพเจ้าโอซิริส เพื่อการเข้าสู่โลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์และสุขสบายเช่นอียิปต์โบราณ นอกจากนี้ยังมีบทสรรเสริญของพระเจ้าอเนโฮเต็ปที่ 4 ต่อเทพเจ้าอะตัน เป็นต้น
2. วรรณกรรมไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ได้แก่งานสลักบันทึกเหตุการณ์ตามเสาหินหรือผนังปิรามิด เป็นต้น
9. ชลประทาน อียิปต์โบราณต้องพึ่งแม่น้ำไนล์เพื่อใช้ในการเพาะปลูกประมาณเมื่อ 4200 B.C. อียิปต์โบราณค้นพบวิธีเก็บกักน้ำและส่งน้ำเข้าพื้นที่ตอนในด้วยการขุดคูคลองระบายน้ำต่างระดับและทำทำนบกั้นน้ำ วิธีการดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นการริเริ่มการชลประทาน
10. ศิลปกรรม ศิลปกรรมแรกเริ่มมุ่งเพื่อรับใช้ศาสนาโดยการวาดหรือปั้นรูปเทพเจ้า นอกจากนี้ศิลปกรรมเด่นอื่นๆ ที่ควรกล่าวถึงได้แก่
1. ภาพแกะสลัก (Sculpture) ได้แก่สฟิงซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หน้าปิรามิคของกษัตริย์คูฟู ลำตัวเป็นสิงโตหมอบมีความยาว
2. รูปปั้นหรือรูปหล่อ (Statue) นิยมปั้นหรือหล่อเฉพาะครึ่งตัวบนของจักรพรรดิ์ เช่น รูปปั้นหรือรูปหล่อครึ่งตัวบนของพระนางฮัทเซฟซุทกษัตริย์ทัสโมสที่ 2 กษัตริย์อเมนโฮเต็ปที่ 4 และมเหสี กษัตริย์รามซีสที่ 2 เป็นต้น
3. ภาพแกะสลักฝาผนัง ภาพแกะสลักฝาผนังที่มีชื่อคือภาพการต่อสู้ของพระเจ้ารามซีสที่ 2 กับฮิตไตท์ที่วิหารคาร์นัค ภาพนี้ยาว
4. ภาพวาด ภาพวาดนี้นิยมวาดตามผนังและเพดานของวิหาร พระราชวัง และปิรามิค ภาพวาดจัดเป็นศิลปกรรมประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพราะทำให้ชนรุ่นหลังได้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพสังคม การปกครอง การค้า การแต่งกาย และประเภทของเครื่องใช้เป็นต้น จากการค้นพบสุสานของกษัตริย์ตูเตงกามอนในปี 1992 ได้สร้างความประทับใจอย่างมากให้กับนักประวัติศาสตร์เพราะได้พบของมีค่ามากมายล้วนมีคุณค่าแสดงออกซึ่งความเจริญของ
อียิปต์โบราณอันมีส่วนช่วยให้นักประวัติศาสตร์สามารถกำหนดขีดแห่งอารยธรรมและสภาพสังคมของอียิปต์โบราณในช่วงนั้น
สรุปได้ว่าชาวอียิปต์โบราณเป็นผู้กำเนิดอารยธรรมอียิปต์โบราณที่เก่าแก่ขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำไนล์อารยธรรมอียิปต์โบราณที่เกิดขึ้น ได้แก่ ด้านสังคม การประกอบอาชีพ การปกครองซึ่งประกอบเป็นชาติขึ้น ศาสนาซึ่งย้ำเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ การพิพากษาระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า ศิลปการเขียน ความเจริญดังกล่าวมิใช่เฉพาะทำให้ชีวิตของชาวอียิปต์โบราณสุขสบายเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยทำให้มนุษย์ในแหล่งต่างๆ ของโลกได้ร่วมก้าวหน้าติดตามไปด้วยเพราะสืบทอดรับความเจริญ ดังที่อัธยา โกมลกาญจน และคณะกล่าวสรุปความเจริญของอียิปต์ในราชวงศ์ต่างๆ ไว้ดังต่อไปนี้
สมัยราชวงศ์ (Dynastic Period) แบ่งออกเป็น
1. สมัยราชอาณาจักรเก่า (The
การปกครองสมัยนี้เป็นแบบเทวาธิปไตย (Theocracy)ฟาโรห์มีฐานะเป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์คือสุริยเทพ เร หรือรา ทรงทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าพระเป็นการรวมศาสนจักรและอาณาจักรเข้าด้วยกัน เป็นผู้บัญชาการกองทัพและบัญชาการทางด้านพลเรือนอีกด้วย
นโยบายในการปกครองประเทศของฟาโรห์สมัยอาณาจักรเก่านี้คือรักษาสันติภาพไม่รุกรานใคร ฟาโรห์ไม่มีกองทัพของพระองค์เองแต่จะอาศัยการเกณฑ์จากแต่ละจังหวัด เนื่องจากมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง ประชาชนจึงมีความเป็นอยู่อย่างมีระเบียบและพอใจในความเป็นอยู่ของตนเองอาชีพส่วนใหญ่คือการเกษตรกรรม ชีวิตความเป็นอยู่นั้นมีอิทธิพลอย่างมากคือศิลปะของอียิปต์กล่าวคือ ศิลปะของอียิปต์จะแสดงออกในลักษณะที่มีความมั่นใจในตนเอง ศิลปะสำคัญในสมัยนี้คือการสร้างปิรามิด การสร้างปิรามิดในสมัยอาณาจักรเก่านี้ สร้างเพื่อถวายฟาโรห์โดยมีจุดประสงค์ว่าเมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์แล้วจะได้ไปเกิดในสวรรค์เมื่อเกิดแล้วจะได้ร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อประทานพรให้กับชาวอียิปต์เหมือนในชาตินี้ เพราะเชื่อว่าการที่แม่น้ำไนล์อุดมสมบูรณ์นั้นเป็นการกระทำของเทพเจ้า ชาวอียิปต์มีความเชื่อในโลกหน้าว่าถ้าทำสงครามในชาตินี้ ฟาโรห์ก็จะประทานความสุขมาให้เหมือนในชาตินี้ จึงได้สร้างปิรามิดถวายฟาโรห์ตั้งแต่เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ และจะสำเร็จลงเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ปีรามิดนี้ตกแต่งด้วยเพชรพลอย และฐานของปิรามิดแต่ละมุมก็หันไปตามทิศทั้ง 4 ทิศ
ผลงานอื่นๆ ของ CLASS ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ CLASS
ความคิดเห็น