การนอนกรน... ภัยใกล้ตัวที่อาจถึงตายได้
คุณเคยนอนกรนไหม ... ถ้าเคยลองอ่านการวิจัยนี้ดู
ผู้เข้าชมรวม
450
ผู้เข้าชมเดือนนี้
5
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
การนอนกรนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ภาวะนอนกรนธรรมดา สาเหตุมาจากกล่องเสียงหย่อนยาน จนกระทั่งไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่สะดวก และมีเสียงดังเวลานอนหลับ ภาวะดังกล่าวจะไม่มีอาการบ่งชี้ใดๆ แต่จะมีผลกระทบต่อคนข้างเคียง เกิดความรำคาญใจ ไม่อยากอยู่ใกล้ และ
2.ภาวะนอนกรนอันตราย เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณลำคอหย่อนตัวระหว่างช่วงการหลับจึงไปอุดทางเดินอากาศ กล้ามเนื้อที่มีการหย่อนตัวนี้ ได้แก่ กล้ามเนื้อของเพดานอ่อน โคนลิ้น และลิ้นไก่ ซึ่งเมื่อไปอุดกั้นทางเดินอากาศจะทำให้การหายใจต้องใช้แรงเอาชนะมาก เกิดเสียงดัง และนำไปสู่การหยุดหายใจในที่สุด ในบางรายภาวะนอนกรนยังทำให้เกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือด ฯลฯ
ผศ.นพ.ปารยะยังให้ความรู้ถึงสถานการณ์ผู้ประสบปัญหาการนอนกรนว่า ปัจจุบันพบบ่อยขึ้น ในต่างประเทศมีรายงานว่า ร้อยละ 5-10 ของประชากรทั่วไปมีปัญหาการนอนกรน พบมากในอายุตั้งแต่ 30-35 ปี โดยเพศชายสูงถึงร้อยละ 4 และเพศหญิงร้อยละ 2 สำหรับประเทศไทยแม้จะสามารถให้การวินิจฉัยผู้ป่วยได้มากขึ้น
แต่ก็ยังไม่มีตัวเลขความชุกที่แน่นอน สำหรับอาการทั่วไป ในผู้ที่ประสบปัญหานอนกรนทั่วไป จะไม่แสดงอาการใดๆ แต่ในผู้ที่ประสบปัญหานอนกรนอันตราย อาการทั่วไปจะง่วงมากผิดปกติในช่วงกลางวัน อ่อนเพลีย และสมรรถภาพทางเพศลดลง กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ คนที่มีน้ำหนักเกิน เนื่องจากไขมันจะสะสมมากบริเวณรอบคอทำให้หายใจลำบาก
สำหรับการรักษาในปัจจุบันมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละราย อาทิ หากอาการไม่มาก แพทย์จะให้ทำการปรับปรุงพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การลดน้ำหนักตัว รวมถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยานอนหลับก่อนเข้านอน รวมทั้งยาที่ทำให้มีอาการง่วง พยายามนอนตะแคงหรือท่าที่ทำให้อาการลดลง งดสูบบุหรี่ หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะให้ใช้เครื่องช่วยสร้างแรงดันบวกในทางเดินอากาศ และหากอาการยังไม่ดีก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
"ในอดีตมีความเชื่อว่าคนที่ป่วยด้วยโรคใหลตายอาจมีความสัมพันธ์กับภาวะนอนกรน" ผศ.นพ.ปารยะกล่าว
สำหรับโรคใหลตาย เคยโด่งดังเมื่อหลายปีก่อน เพราะเคยปรากฏว่ามีคนงานไทยในสิงคโปร์ป่วยด้วยโรคใหลตายจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ความเชื่อดังกล่าวจะสัมพันธ์กับภาวะนอนกรนหรือไม่ ยังต้องรอพิสูจน์ทางการแพทย์ต่อไป
ผลงานอื่นๆ ของ คุณ_นู๋เLK ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ คุณ_นู๋เLK
ความคิดเห็น