3ขั้นตอน ในการทำจิตบำบัด - 3ขั้นตอน ในการทำจิตบำบัด นิยาย 3ขั้นตอน ในการทำจิตบำบัด : Dek-D.com - Writer

    3ขั้นตอน ในการทำจิตบำบัด

    ก็เป็นภาคต่อจากเรื่องใหญ่ จิตบำบัด

    ผู้เข้าชมรวม

    1,384

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    1.38K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ก.ย. 49 / 15:51 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

     

    กระบวนการ ในการทำจิตบำบัด โดยสังเขป

     

    จิตบำบัด เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คือเป็น เทคนิคทางวิทยาศาสตร์

    ด้านจิตวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ แต่ในขณะเดียวกัน การนำเอาจิตบำบัดไปใช้ก็ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับว่า นักบำบัดจะเลือกใช้เทคนิคต่างๆอย่างไร

    ที่ไหน และเมื่อไหร่ จึ่งเรียกว่า จิตบำบัดเป็นศิลป์ด้วย

     

    การทำจิตบำบัด เป็นการทำงานร่วมกัน (co ordinate)ของนักบำบัดและคนไข้ หมายความว่า คนไข้ จะต้องมีส่วนในการแก้ปัญหาของตน

    ไม่ใช่โยนปัญหา ให้นักบำบัดรับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียว เพราะถึงแม้

    การช่วยเหลือทางจิต เป็นงานของนักจิตบำบัด แต่ ตัวปัญหาเป็นของคนไข้

     

    ในขั้นตอนแรก นักจิตบำบัด จะใช้การสัมภาษณ์เพื่อได้มาซึ่งข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อนำมาประเมินและวินิจฉัยว่าผู้ป่วยนั้น

    ควรต้องแก้ไขอะไรบ้าง  จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่นักบำบัดต้องมีความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยให้เกิดความไว้วางใจ จะได้เล่าทุกอย่าง

    โดยไม่ปิดบังนักบำบัด นอกจากนี้ ท่าทีที่ยอมรับและเป็นมิตร พร้อมจะรับฟัง

    ของนักจิตวิทยา จะช่วยให้ คนไข้ ลดการปกป้องตนเองลง  เพื่อการสัมผัสกับความรู้สึกที่แท้จริงของตนเองที่มีต่อ เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

    ในขั้นถัดมา นักจิตวิทยาจะวางแผนในการรักษา เป็นต้นว่า ควรจะให้คำปรึกษาในลักษณะใด และควรนำปัญหาใดมาแก้ไขก่อน ตามหลักเราจะนำปัญหาที่วิกฤติมาแก้ก่อน เช่น เคส อายุ 15 ติดยาเสพย์ติด และหนีเรียน ปัญหาที่ต้องจัดการเป็นอันดับแรกคือ เรื่องยาเสพย์ติด  

    การวางแผนจะต้องควบคู่กับการติดตามผล ถ้าการรักษาไม่คืบหน้า นักจิตวิทยาอาจต้องวางแผนใหม่  

    ขั้นที่สาม ขั้นการให้คำปรึกษาและทำจิตบำบัด

    เป็นการปรับเปลี่ยน ทัศนคติที่ผิดๆของผู้ป่วยเสียใหม่ สะท้อนความรู้สึกแท้จริงกลับไปยังผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยมองปัญหาได้รอบด้านขึ้น และสนับสนุนผู้ป่วยให้มีกำลังใจที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัยที่ไม่ดีของตนเอง 

    การยุติการทำจิตบำบัดจะทำเมื่อ ผู้ป่วยมีความสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้และควบคุมปัญหาของตนเองได้แล้ว

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

       

      กระบวนการ ในการทำจิตบำบัด โดยสังเขป

       

      จิตบำบัด เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คือเป็น เทคนิคทางวิทยาศาสตร์

      ด้านจิตวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ แต่ในขณะเดียวกัน การนำเอาจิตบำบัดไปใช้ก็ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับว่า นักบำบัดจะเลือกใช้เทคนิคต่างๆอย่างไร

      ที่ไหน และเมื่อไหร่ จึ่งเรียกว่า จิตบำบัดเป็นศิลป์ด้วย

       

      การทำจิตบำบัด เป็นการทำงานร่วมกัน (co ordinate)ของนักบำบัดและคนไข้ หมายความว่า คนไข้ จะต้องมีส่วนในการแก้ปัญหาของตน

      ไม่ใช่โยนปัญหา ให้นักบำบัดรับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียว เพราะถึงแม้

      การช่วยเหลือทางจิต เป็นงานของนักจิตบำบัด แต่ ตัวปัญหาเป็นของคนไข้

       

      ในขั้นตอนแรก นักจิตบำบัด จะใช้การสัมภาษณ์เพื่อได้มาซึ่งข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อนำมาประเมินและวินิจฉัยว่าผู้ป่วยนั้น

      ควรต้องแก้ไขอะไรบ้าง  จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่นักบำบัดต้องมีความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยให้เกิดความไว้วางใจ จะได้เล่าทุกอย่าง

      โดยไม่ปิดบังนักบำบัด นอกจากนี้ ท่าทีที่ยอมรับและเป็นมิตร พร้อมจะรับฟัง

      ของนักจิตวิทยา จะช่วยให้ คนไข้ ลดการปกป้องตนเองลง  เพื่อการสัมผัสกับความรู้สึกที่แท้จริงของตนเองที่มีต่อ เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

      ในขั้นถัดมา นักจิตวิทยาจะวางแผนในการรักษา เป็นต้นว่า ควรจะให้คำปรึกษาในลักษณะใด และควรนำปัญหาใดมาแก้ไขก่อน ตามหลักเราจะนำปัญหาที่วิกฤติมาแก้ก่อน เช่น เคส อายุ 15 ติดยาเสพย์ติด และหนีเรียน ปัญหาที่ต้องจัดการเป็นอันดับแรกคือ เรื่องยาเสพย์ติด  

      การวางแผนจะต้องควบคู่กับการติดตามผล ถ้าการรักษาไม่คืบหน้า นักจิตวิทยาอาจต้องวางแผนใหม่  

      ขั้นที่สาม ขั้นการให้คำปรึกษาและทำจิตบำบัด

      เป็นการปรับเปลี่ยน ทัศนคติที่ผิดๆของผู้ป่วยเสียใหม่ สะท้อนความรู้สึกแท้จริงกลับไปยังผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยมองปัญหาได้รอบด้านขึ้น และสนับสนุนผู้ป่วยให้มีกำลังใจที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัยที่ไม่ดีของตนเอง 

      การยุติการทำจิตบำบัดจะทำเมื่อ ผู้ป่วยมีความสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้และควบคุมปัญหาของตนเองได้แล้ว

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×