รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยกับสังคมไทย (Democratic Constitution and Thai Society) - รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยกับสังคมไทย (Democratic Constitution and Thai Society) นิยาย รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยกับสังคมไทย (Democratic Constitution and Thai Society) : Dek-D.com - Writer

    รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยกับสังคมไทย (Democratic Constitution and Thai Society)

    บทวิจารณ์สังคมไทย ตามทรรศนะของ ธ.ปริทัศน์ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย กับสังคมไทย

    ผู้เข้าชมรวม

    36

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    36

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  อื่นๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ธ.ค. 66 / 23:14 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

    รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย กับ สังคมไทย

    “10 ธันวาคม 2566 91 ปี รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยในไทย”


    แสดงทรรศนะโดย : ธ.ปริทัศน์

                   ในวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกๆปี เราชาวไทยย่อมรู้กันดีว่า เป็นวันรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นวันสำคัญซึ่งแสดงถึง การมีรัฐธรรมนูญภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับแรก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 จวบจนปัจจุบันนี้เป็นเวลา 91 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นเวลาที่ยาวนานพอสมควร

              แต่หากเราทั้งหลายลองพิจารณาดูดีๆ จะเห็นได้ว่า “รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย” นี้ กระปกกระเปลี้ยเหลือเกิน เพราะถูกระบบการเมืองแบบ “เผด็จการ” เข้าทำลายอย่าย่อยยับ ด้วยการ “รัฐประหาร” ซึ่งตามที่มีการบันทึกไว้ ปรากฏถึง 13 ครั้ง ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าตกใจมาก และนอกจากการรัฐประหารอำนาจรัฐแล้ว ยังมีการฉีกรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งรัฐธรรมนูญที่ใช้กันอยู่ในฉบับปัจจุบัน คือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560”  เป็นฉบับที่ 16 ซึ่งนั้นทำให้เราต้องหันกลับมาคิดว่า เพราะเหตุใดรัฐธรรมนูญในระบอบการปกครองนี้ จึงไม่มีความแน่นหนาถาวร หรือศักดิ์สิทธิ์สมเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ แม้ต้นพันธุ์ประชาธิปไตยจะถูกนำมาปลูกในดินแดนแห่งนี้ถึง 90 ปี 

              นับตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ที่คณะราษฎรได้นำอำนาจอธิปไตยมาแผ่กระจายให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งในส่วนของพระบาทสมเด็จพระปกกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯนั้น ทรงสสละพระราชอำนาจอธิปไตยพระราชทานให้แก่ประชาชนด้วยความเต็มพระทัย และทรงพยากรณ์คาดการณ์ไว้อย่างแม่นยำแน่ว่า พระราชอำนาจที่พระราชทานมานั้น จะถูกนำไปใช้ก่อนจะถึงมือประชาชน ดังประกาศสละราชสมบัติด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เอง ขณะที่ทรงประทับอยู่ต่างประเทศความว่า

    “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป  แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด    คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของ    ประชาราษฎร”

    ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477

              ซึ่งถือว่าทรงคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำแน่ชัด เพราะในช่วงหลังมานั้น คณะราษฎรก็มีการขัดแย้งกันเองภายใน ผนวกด้วยปัญหาการทุจริตต่างๆ ทำให้เกิดความระหองระแหงและรอยแยกขึ้นแก่คณะราษฎร จนในที่สุดในปี พ.ศ.2490 นำโดย จอมพลผิน ชุณหะวัณ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาล หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งถือเป็นการทำลายล้างรากฐานทางประชาธิปไตยที่คณะราษฎร ใช้เวลาวางมามากกว่า 15 ปี และเป็นช่วงที่ก้าวสู่ “ยุคมืดของเผด็จการ” โดยเราตกอยู่ในสภาวะเช่นนี้เรื่อยมา จะมีรัฐธรรมนูญประกาศใช้ก็ตาม แต่ตามทรรศนะของผู้เขียนนั้นยังมองว่า “รัฐธรรมนูญอันมีที่มาจากเผด็จการนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อรักษาอำนาจของเผด็จการ ไม่ได้เป็นไปเพื่อสิทธิ เสรีภาพ และภารดรภาพของประชาชนโดยแท้จริง” 

              แต่หลังจากการปกครองโดยอำนาจอันอยุติธรรม ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ประชาชนในสังคมก็เริ่มที่จะศึกษานอกกระแสหลักซึ่งมอมเมาให้ตกเป็นทาสของเผด็จการ แม้ในระยะแรกนั้นจะมาจากการการประชุมเสวนาสำหรับกลุ่มคนจำนวนไม่มาก เช่นกลุ่มปริทัศน์เสวนา แต่การเริ่มจากจุดเล็กๆ ก็นำมาสู่อุดมการณ์ทางประชาธิปไตยอันยิ่งใหญ่ ละแรงกล้าของคณะนิสิตนักศึกษาและประชาชน ในการเรียนร้องประชาธิปไตยในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ 2516 ซึ่งผู้เขียนถือเป็นก้าวแรกที่คนในสังคมไทยส่วนใหญ่นั้น เริ่มตระหนักรู้ถึงความเป็นประชาธิปไตยที่แก่นสารเพื่อต่อต้านอำนาจอันอยุติธรรมของเผด็จการ

              จนในชั้นหลังนั้นผู้เขียนกลับมองว่า อุดมการณ์ทางประชาธิปไตยของคนไทย นั้น อาจจะมีการตีความที่คลาดเคลื่อนจนตกอยู่ภายใต้การรุกรานของกระแสทุนนิยมบริโภคนิยม จนทำให้แก่นสารของประชาธิปไตยที่ควรจะเป็นนั้นขาดหายไป แม้จนปัจจุบันเอง ความเป็นประชาธิปไตยกับสังคมไทยนั้นดูจะเป็นสิ่งที่หาคำนิยามไม่ได้เลย ว่าประชาธิปไตยในบริบทของเมืองไทยนั้นเป็นอย่างไร เพราะที่ผู้เขียนสังเกตเห็นนั้น ดูจะเป็นการแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายโดยยึดอุดมการณ์ของตนเป็นหลัก ซึ่งขาดพื้นฐานทางประชาธิปไตย คือความใจกว้าง การรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง และการดำเนินการด้วยสันติวิธี หรือสันติประชาธรรม ที่ อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ท่านได้กล่าวไว้ โดยบางครั้ง ฝ่ายซ้าย และ ฝ่ายขวา ก็สุดโต่งกันจนเกินไป  ซึ่งบางครั้งก็กลายเป็นการปิดกั้นความคิดเห็นที่แตกต่าง และกลายเป็นการตั้งยี่ห้อให้กับผู้เห็นต่างว่าเป็นคนละฝ่ายไปเสียหมด ซึ่งหากมคนเหล่านี้จำนวนมากขึ้น ผู้เขียนเกรงว่าจะก่อให้เกิดปัญหามากกว่าจะเกิดประชาธิปไตย เพราะการเห็นต่างที่รุนแรงทำให้เกิดปัญหาความขัดแยงอันนำมาสู้การแทรงแซงของทหาร และนายทุน ซึ่งก่อให้เกิดการสืบทอดอำนาจโดยการใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ เพื่อการสร้างราชวงศ์ของตนเอง โดยไม่เห็นหัวของประชาชน และประชาชนบางกลุ่มก็ถูกครอบงำอย่างชนิดที่เรียกว่าคลั่งหรือฝักใฝ่จนเกินสมควร

              และท้ายที่สุดในชั้นหลังมานี้ ผู้เขียนมองว่า ประชาธิปไตยนั้นเริ่มที่จะมีความชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากที่สังคมไทย ใช้เวลาตามหาประชาธิปไตยในแบบของตนมาเป็นเวลาเกือบศตวรรษ ด้วยการที่ภาคประชาชนมองมุมการเมืองเป็นเรื่องของตนเอง และเริ่มมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมทางการเมือง โดยยึดถือว่าเป็นวาระแห่งชาติ อันพึงกระทำได้ตามสิทธิของประชาชน ในระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรมของเผด็จการทหารและเผด็จการทุนนิยม ซึ่งครอบงำประเทศชาตินี้มาในระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร ซึ่งตามทรรศนะของผู้เขียนนั้นเห็นว่า หากเรามีระบอบการปกครองที่เข้มแข็ง มีประชาธิปไตยที่เต็มใบ ย่อมส่งผลสู่การมีรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งคาดการณ์ว่าเราทั้งหลายที่เป็นคนไทยร่วมสมัยนี้คงจะได้เห็นในอนาคตอันใกล้ที่จะถึงนี้

              โดยการจะเป็นไปได้ ดังกล่าวมาแล้วในข้างต้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น การปรับปรุงระบอบประชาธิปไตยไทยนี้ให้มีความเข้มแข็งทางจริยธรรม การแก้ไขโครงสร้างอันเป็นช่องโหว่ของการเกิดรัฐประหาร รวมถึงการสร้างความยุติธรรมทางสังคมขึ้นด้วยการเสริมสร้างจริยธรรมทางการเมืองให้กับผู้มีอำนาจ และท้ายที่สุดคือการเสริมสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกประชาธิปไตยให้กับคนไทยทุกๆคนอย่างเท่าเทียม ให้ประชาชนมีความเข้าใจในหลักการของประชาธิปไตยที่แท้จริง เพื่อก่อให้เกิด สังคมพหุนิยม ที่สมามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุขภายใต้กรอบกติกาทางสังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียม

     

     

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×