| |
อาจดูไม่เหมาะสมนัก หากหญิงไทยจะนั่งล้อมวงกับเพื่อนเพื่อพูดคุยกันด้วยเรื่องเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในสังคมบ้านเราที่ยังรู้สึกว่าการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ นับเป็นสิ่งต้องห้ามและไม่ควรพูดถึง ทำให้หลายครั้งเมื่อเกิดความผิดปกติ หรือเกิดข้อสงสัย ผู้หญิงหลายคนจึงลังเลที่จะปรึกษา และได้แต่เก็บความกังวลใจเอาไว้
แพทย์หญิงจิราภรณ์ ครุพานิช สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัว กล่าวว่า การตอบสนองทางเพศของผู้หญิงนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ อายุของทั้งสองฝ่าย ช่วงระยะเวลาของการมีเพศสัมพันธ์ ตลอดจนพฤติกรรมทางเพศที่เกิดขึ้น อารมณ์ ความรู้สึกของแต่ละบุคคลที่ก่อกำเนิดจากพฤติกรรมความสัมพันธ์ของตนเองที่ได้รับจากบิดามารดา และค่านิยมทางเพศนานาประการอันเป็นผลมาจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมในแต่ละประเทศ ภาพฝังใจในอดีต เช่น เคยได้รับบาลแผลทางอวัยวะสืบพันธ์มาก่อน ภาวะเจ็บป่วยทางกาย ที่มีการใช้ยารักษาเป็นประจำบางชนิด และการใช้สิ่งเสพติด สุราต่าง ๆ ทั้งที่สม่ำเสมอและเป็นครั้งคราว
ภาวะการขาดอารมณ์ร่วมในทางที่ดีนั้น แพทย์หญิงจิราภรณ์ กล่าวว่าถือเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะเพศสัมพันธ์ที่ผิดปกติ จากการศึกษาในตอนเหนือของอเมริกา ในปี ค.ศ. 1993 พบว่าการตอบสนองทางเพศในสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมและรับการรักษาครบถ้วนขบวนการแล้ว ติดตามผลเป็นเวลา 10 ปี พบว่าภาวะทางจิตใจเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้ความต้องการทางเพศของสตรีเหล่านี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
|
|
|
การศึกษาในปี ค.ศ. 1999 ยังพบอีกว่าความเกี่ยวพันอย่างชัดเจนระหว่างการทดสอบ พบว่าสตรีเหล่านี้มีปฏิกิริยาทางลบต่ออารมณ์และความรู้สึก รวมถึงการขาดความมั่นใจในตนเอง, รู้สึกถึงภาวะไม่มั่นคงในการมีเพศสัมพันธ์ และสูญเสียความเป็นเพศหญิง
การขาดความรู้สึกในการมีเพศสัมพันธ์พบมากในภาวะซึมเศร้าของสตรี ผู้หญิงที่มีความรู้สึกซึมเศร้านั้นจะทำการช่วยตัวเองมากกว่าในผู้หญิงปกติอย่างชัดเจน โดยไม่คำนึงถึงการเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และความยากลำบากในการปลุกเร้าอารมณ์ต่าง ๆ นานา
ขณะที่ “วัย” ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ สตรีเมื่อมีอายุมากขึ้นจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะฮอร์โมนในรังไข่ ทำให้เกิดการหมดประจำเดือน ซึ่งจากการศึกษาในปี ค.ศ. 2000 ในอเมริกา พบว่าราว 40 % สตรีวัยหมดประจำเดือนมีการลดลงต่อการปลุกเร้าอารมณ์ของเพศสัมพันธ์อย่างชัดเจน การลดลงของความต้องการมีเพศสัมพันธ์นั้นเกิดก่อนภาวะหมดประจำเดือน 22 % และหลังภาวะหมดประจำเดือนแล้ว 32 % ความรู้สึกทางเพศที่ลดลงเกิดจากความยากลำบากในการปลุกเร้าอารมณ์ที่ใช้เวลานานมากขึ้น ระยะเวลาการศึกษาเริ่มจากก่อนหมดประจำเดือนตลอดจนหลังหมดประจำเดือนแล้วนั้นใช้เวลา 10 ปีในการศึกษาที่พบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
|
|
|
แพทย์หญิงจิราภรณ์ ยังบอกอีกว่าสตรีที่อายุมากกว่า 45 ปี ไม่ถือว่าการลดความต้องการทางเพศเป็นเรื่องสำคัญที่ถือว่าผิดปกติ เพราะการมีเพศสัมพันธ์ที่สุขสมบูรณ์ต้องอาศัยทั้ง 2 ฝ่ายในการกระทำให้เกิดขึ้น ในบางคู่มีเพศสัมพันธ์ตามปกติ เช่นเดียวกับภาวะก่อนอายุ 45 ปีก็พบได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นกับสุขภาพทางกาย และจิตใจของคู่ครองด้วยเช่นกัน
และเนื่องจากสรีระร่างกายของสตรีวัยหมดประจำเดือนที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้มีความเจ็บปวดแสบร้อนบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ทำให้ชีวิตคู่ไม่สามารถดำเนินไปตามปกติ อันมีผลต่ออารมณ์ และพฤติกรรมที่ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายต่อบุคคลใกล้ชิดสืบไป นอกจากนี้ภาวะโรคของความเสื่อมตามวัยที่เกิดในบุรุษ อาทิเช่น ความดันสูง , ภาวะไขมันในเลือดสูง , เบาหวาน และโรคทางหลอดเลือดหัวใจ ล้วนแต่มีส่วนทำให้ความรู้สึกทางเพศสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมลดถอยลงเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ยาต่าง ๆ รวมทั้งแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มมึนเมาก็ส่งผลต่อการลดความต้องการทางเพศได้เช่นกัน อาทิ ยาลดความดันบางชนิด, ยาลดการซึมเศร้าบางชนิด, ยาแก้แพ้ผื่นคัน, ยานอนหลับ, ยาคุมกำเนิดรับประทาน, ยาเสริมฮอร์โมนเอสโตรเจน, ยากันชัก, สารเสพติดโคเคน
(ข้อมูลจากโรงพยาบาลเวชธานี)
|
เครดิต www.teenee.com |
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น