"จิ้งจก (บ้าน)" (Hemidactylus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ๆ ที่มักหลบอยู่ตามซอกมุมที่ลับตาตามต้นไม่ใหญ่และสถานที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ซึ่งหลายคนมักจะไม่ค่อยถูกชะตานักกับเจ้าสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กนี้แม้ว่ามันจะไม่ได้น่ากลัวสักเท่าใดนักเมื่อเทียบกับตุ๊กแก แต่หลายความรู้สึกก็บอกว่ามันน่าขยะแขยงโดยเฉพาะมูลขับถ่ายของมันที่ทำให้เกิดความสกปรกและเป็นที่น่ารังเกียจ อีกทั้งยังเจอกลิ่นเหม็นเน่าจากจิ้งจกที่เข้าไปตายอยู่ตามซอกหลืบซอกประตูหรือตามจุดอับต่าง ๆ ภายในบ้าน แม้จะไม่ใช่ปัญหาที่ร้ายแรงแต่ก็สร้างความรำคาญได้พอสมควร จนทำให้หลาย ๆ คนไม่อยากให้มีจิ้งจกอยู่ในบ้านเลยแม้แต่ตัวเดียว เพราะบางทีมักเจอมันตกอยู่ในหม้อหุงข้าวหรือจานอาหารต่าง ๆ ทำให้ต้องทิ้งไปแบบเสียไม่ได้อย่างน่าเสียดายจึงค่อนข้างที่จะมองว่าจิ้งจกนั้นเป็นตัวปัญหาที่น่ากวนใจ โดยเฉพาะเวลาที่มันส่งเสียงร้อง จุ๊! ๆ ๆ ๆ ๆ! ซึ่งเป็นอะไรที่น่ารำคาญหูเป็นอย่างมาก บางครั้งก็มองไม่เห็นประโยชน์อื่นใดนอกจากช่วยกินแมลงในระบบนิเวศน์ แต่! หลังจากที่มีการประกาศรับซื้อจิ้งจกในเฟซบุ๊คเพื่อนำมาตากแดดริเริ่มทำเป็นจิ้งจกอบแห้งแล้วส่งออกไปขายยังตลาดรับซื้อต่างประเทศจนกลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจในโลกออนไลน์และถูกพูดถึงเป็นอย่างมากกับช่องทางหารายได้แบบใหม่ในยุคโควิดสิบเก้าแบบนี้!

Food          1. หนึ่งในอาหารตามธรรมชาติของมนุษย์ (Food)

              เนื่องจากโดยปกติแล้วไม่มีใครที่จะนำจิ้งจกมาประกอบอาหารเพื่อรับประทานในชีวิตประจำวันแต่อย่างใด แม้แต่พบเจอเป็นส่วนหนึ่งในอาหารก็ต้องรีบจัดการเอาทิ้งทั้งหมดด้วยความรังเกียจอย่างไว แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์โดยส่วนมากมักจะสามารถรับประทานได้หมดขึ้นอยู่กับว่าจะนำมาประกอบอาหารแบบใดให้ปลอดภัยไม่ว่าพืชหรือสัตว์นั้นจะมีพิษหรือไม่ รวมถึงสัตว์มีพิษอย่างงูเห่า แมงป่อง แมงมุม ตะขาบ แม้กระทั่งสุนัขคนก็สรรหามากินทั้งสมองลิง ทั้งดีหมี ไส้เดือน ปลิง ตุ๊กแกหรืออะไรต่อมิอะไรที่สรรหามาบำรุงกำลังในลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เพราะฉะนั้นก็จะถือว่าไม่แปลกแต่อย่างใดหากจะมีใครนิยมกินจิ้งจกขึ้นมาไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดใดก็ตาม ทั้งนี้ยังมีความเชื่อบางอย่างว่าการกินจิ้งจกสามารถรักษาโรคบางชนิดได้ แม้กระทั่งความเชื่อที่ว่าสามารถเพิ่มกำลังวังชาและเพิ่มพลังทางเพศอะไรแบบนี้ได้ด้วย นอกจากนี้ก็ยังได้ประโยชน์โปรตีนจากตัวของมันที่เป็นสัตว์กินได้ชนิดหนึ่งอีกด้วยซึ่งก็แล้วแต่ว่าใครจะมีความเชื่อแบบใด

 

Dangerous

         2. อันตรายด้วยพิษร้ายที่ซ่อนอยู่ภายในตัว (Salmonella)

             แต่ทว่าในตัวจิ้งจกนั้นยังมีอันตรายที่คาดไม่ถึงด้วยเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่มีฤทธิ์ก่อให้เกิดอาการอาเจียนท้องร่วงจนถึงอาการรุนแรงอย่างโลหิตเป็นพิษหรือติดเชื้ออย่างรุนแรงในกระแสเลือดหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นมาจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเชื่อว่าต้องกินจิ้งจกตัวเป็น ๆ เท่านั้นถึงจะสามารถรักษาโรคอย่างได้ผลชะงัด ซึ่งนั่นก็จะทำให้มีความเสี่ยงสูงอย่างมากที่จะเกิดอาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ จนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากความอันตรายในตัวจิ้งจกขึ้นมาได้อย่างคาดไม่ถึงจากการที่มิได้ทำการปรุงให้สุกอย่าถูุกสุขอนามัย เพราะมีกรณีที่สัตว์กัดจิ้งจกเล่นแล้วเสียชีวิตมาแล้วจากพิษร้ายในตัวของมัน

Earning          3. ช่องทางหารายได้ในยุค COVID-19 (Earning)

              แน่นอนว่าเมื่อมีการแจ้งข่าวสารอัพเดทปัจจุบันว่าสามารถหารายได้จากตัวจิ้งจกได้แล้วก็ทำให้หลาย ๆ คนเริ่มหันเหเปลี่ยนอาชีพหรือทำเป็นงานอดิเรกหรือหารายได้พิเศษเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันกันแล้ว ซึ่งจากเรทราคาซื้อขายที่เสนอให้มาก็ถือได้ว่าสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำกันเลยทีเดียว ทำให้หลายครอบครัวเริ่มมีความหวังในการสู้ชีวิตต่อไปในยุคโรคภัยระบาดแบบนี้ซึ่งก็เป็นกำลังใจที่ดีไม่น้อย แต่อาจจะมีปัญหากระทบตามมาหากมีการจับจิ้งจกส่งขายมากเกินไปจนทำให้เสียความสมดุลในระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ

              แม้ว่าอาจมีหลายความเห็นที่ต่อต้านด้วยเหตุผลนานาประการอันเนื่องมาจากเพราะความคิดที่แตกต่างกันตามหลักนานาจิตตัง แต่หากไม่โลกสวยหรือคิดต่อต้านจนเกินไปนักก็จะเห็นได้ว่าสัตว์ชนิดนี้มีมากมายทั่วทุกหนแห่งสามารถจับได้อย่างเสรีโดยไม่ผิดกฏหมาย อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้มาเลี้ยงครอบครัวได้อีกทางหนึ่งในยุควิกฤติ COVID-19 แบบนี้ ทั้งนี้คงจะไม่เกิดปัญหาใดใดหากปรุงให้สุกอย่างถูกสุขอนามัยก็น่าจะปลอดภัยในระดับหนึ่งหากพิษในตัวจิ้งจกไม่ตกค้างหรือผู้ที่รับประทานเข้าไปนั้นไม่มีโรคประจำตัวหรือมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอเกินไปก็คงไม่เกิดอันตรายใดใดขึ้นมา เพราะบางทีการบริโภคลาบเลือดหรือหลู้เลือดหมูดิบที่หาได้ง่ายตามร้านขายอาหารทั่วไปนั้น อาจจะเกิดอันตรายกว่าการรับประทานจิ้งจกเสียด้วยซ้ำไป แต่ถ้าเลือกได้คุณจะเลือกบริโภคอาหารชนิดไหนกัน!?!

              เรื่องโดย  นรชนไท

              เครดิตภาพ

              ภาพปก  โดย Min An จาก Pixabay

              ภาพที่ 1  โดย StockSnap จาก Pixabay

              ภาพที่ 2  โดย derneuemann จาก Pixabay 

              ภาพที่ 3  โดย nattanan23 จาก Pixabay