บั้งไฟพญานาคกับพลุ - บั้งไฟพญานาคกับพลุ นิยาย บั้งไฟพญานาคกับพลุ : Dek-D.com - Writer

    บั้งไฟพญานาคกับพลุ

    เราเอามาให้เพื่นอได้ดูกันน้าว่าบั้งไฟพญานาคกับพลุแตกต่างกันอย่างไรหว่างๆว่าเพื่อนๆจะชอบกันนะจ๊ะ

    ผู้เข้าชมรวม

    372

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    372

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  27 เม.ย. 50 / 20:59 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    อะจร้าหวังว่าเพื่อนๆคงจะชอบกันนะจ๊ะ

    พักนี้ใกล้จะเปิดเทอมก็รักษาสุขภาพกันด้วยน้า

    ***ขอบคุณนะจ๊ะที่เข้ามาในไดของเรา***


    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ




      ข้อ

      จุดสังเกต

      ลักษณะลูกบั้งไฟพญานาค

      ลักษณะลูกไฟที่จุดจากพลุ

      1.

      สีแดง

      แดงอมชมพูออกสีบานเย็น (สีพลอยทับทิมที่มีราคาแพงประดับหัวแหวน)

      แดงผสมหลายแบบ บางครั้งออกส้ม บางครั้งออกเหลือง

      2.

      ความกลมกลืนของสีดวงไฟ

      สีเรียบสม่ำเสมอกลมกลืนกันทั้งลูกไฟ

      ลูกไฟสีจะไม่เรียบกลมกลืนกัน ใจกลางอาจจะออกสีน้ำเงินอ่อน ถัดมาสีส้มมักจะออกแดงเรื่อๆ

      3.

      ความสว่าง

      ไม่ส่องแสงสว่างเท่าใดนัก คือไม่ให้เกิดความสว่างอย่างแสงไฟฟืนที่กำลังลุกโชน แต่จะสว่างเท่ากันตลอดเวลาจนกระทั้งดับ

      ส่องแสงสว่างจ้า ในขาขึ้น

      4

      แรงดันให้ลอย

      ไม่มีการพ้นเปลวไฟลงด้านล่าง เพื่อขับผลักตัวเองให้ลอย

      มีเปลวพ่นลงด้านล่างเพื่อผลักดันลูกไฟให้ลอยขึ้น แตกต่างกันชัดเจน

      5

      เห็นลูกไฟได้ที่ความสูงใด

      ถ้าลูกไฟลอยขึ้นด้วยความเร็วต่ำๆ จะเกิดลูกไฟที่ความสูงจากพื้นน้ำไม่เกิน 1 เมตร แล้วลอยขึ้นไป ลูกไฟจะเล็กลง ถ้าพุ่งขึ้นด้วยความเร็วสูงมากจะเกิดที่ความสูง  30-40 เมตร และจะเป็นดวงไฟที่ลูกโตตามมาก พุ่งไปเร็วมาก และสูงมาก เช่น ปี 2542

      ลูกไฟพุ่งออกจากที่สำหรับบรรจุพลุ ทันทีที่พ้นปากกระบอกภาชนะ

      6.

      การเห็นสีลูกบั้งไฟบางลูกสีแปรเปลี่ยนไปจากสีแดงบานเย็นได้

      บั้งไฟบางลูกพุ่งขึ้นจากน้ำอย่างรวดเร็วมากจนมีน้ำกระจาย ละอองน้ำบางส่วนเกาะติดกลุ่มบั้งไฟขึ้นไปด้วยถ้าเกิดการลุกไหม้ตั้งแต่ระยะต่ำ ที่ความสูงประมาณ  1 เมตร ขณะที่มีน้ำเกาะติด จะเกิดแสงเป็นสีฟ้าสุกใส  เมื่อลูกไฟพุ่งขึ้นสูงไประยะหนึ่งละอองน้ำที่เกาะจะหลุดจากบั้งไฟหมด สีของลูกไฟจะกลับคืนสู่สีปกติ  คือ สีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น ซึ่งปี  2542 เกิดบั้งไฟสีลักษณะนี้ ที่เขตเทศบาล อ. โพนพิสัย    จำนวน 40-50 ลูก  แต่ถ้าเกิดการลุกไหม้ที่ระยะสูงประมาร  15 เมตรขึ้นไปที่ไม่มีน้ำเกาะติด จะเกิดแสงสีแดงทับทิม

      ลูกไฟพลุจะมีการเปลี่ยนสีได้เนื่องจาก

      1. ส่วนผสมของดินปืน
      2. การอักดินปืน  และ
      3. และการใส่สีของช่างทำพลุ

      7.

      การลอย

      จะลอยขึ้นในแนวดิ่งตั้งฉากกับพื้นโลก บางลูกลอยขึ้นในแนวเฉียง แต่ต้องเฉียงเป็นแนวเส้นตรง

      จะพุ่งขึ้นหลายแนว แล้วแต่ผู้จุดจะถือพลุชี้ไปทางใด แนวดิ่งก็ได้ หรือแนวเอียงแต่จะเฉียงเป็นเส้นโค้งไม่เป็นเส้นตรง

      8.

      เปลวไฟหมุนได้

      ถ้าสังเกตให้ชัดๆ การลุกไหม้ของเปลวไฟ เปลวไฟจะหมุน คล้ายกงจักรของพระนารายณ์  และต้องไม่มีควัน

      พลุตะไลจะหมุนได้ แต่จะหมุนในลักษณะไม่เหมือนบั้งไฟพญานาค และจะเกิดควันขึ้นมาก

      9.

      การตก

      เมื่อลอยขึ้นแนวดิ่งแล้วจะดับกลางอากาศไม่มีการตกลงมา

      พุ่งขึ้นเมื่อหมดพลังแรงขับพ่น แล้วจะเลี้ยวตกลงมาเอง เห็นการตกได้ชัดเจน

      10.

      พุ่งขึ้นฟ้าสูงเท่าใด

      ลูกไฟจะลอยตัวสูงประมาณ  50-150  เมตรแล้วจะดับ

      จะลอยตัวสูงเท่าไหร่แล้วแต่การอัดดินปืนเมื่อหมดแรงขับจะเลี้ยวตกลงมาลูกไฟก็จะยังติดไฟก็จะยังติดไฟอยู่จนกว่าเศษดินปืนหมดก็จะดับ บางลูกตกลงมาถึงพื้นยังติดไฟอยู่เลย

      11.

      ขนาดดวงไฟ

      เคยเห็นในระยะห่าง  5 เมตร  โตประมาณเท่าไข่ห่าน ถ้ามองเห็นไกลๆลูกไฟจะโตขนาดเท่าก้นบุหรี่ สีแดงกร่ำ

      เข้มมาก

      ขาดเท่ากันที่เราเคยเห็นกันทั่วไป

      12.

      จำนวนลูกบั้งไฟแต่ละชุด

      ไม่แน่นอน บางครั้งมีลูกเดียว บางครั้ง 2-3 ลูก บางครั้ง 5-7 ลูก บางครั้งมากถึง 19 ลูก

      แล้วแต่ผู้สร้าง

      13.

      จุดที่ลูกไฟจะลอยขึ้น

      ไม่ได้ขึ้นจากพื้นที่จุด จุดเดียว และจะขึ้นที่ จุดใดก็ได้ไม่แน่นอน

      ในวันชมบั้งไฟพญานาคจะมีคนจุดพลุนับพันลูกตกอยู่ตลอดเวลา จะเห็นพลุขึ้นทั่ว

      14.

      เสียง/ควัน

      เงียบไม่มีเสียง ไม่มีควัน

      อยู่ใกล้จะได้ยินเสียงดินปืน ลุกไหม้และมีควัน

      15.

      สิ่งทีทำให้ลูกไฟลุกไหม้

      คาดว่าเป็นก๊าซ  เพราะเห็นเป็นไฟดวงใสไม่มีควัน

      เป็นดินปืน ที่มีส่วนผสมของดินประสิว กำมะถัน ถ่าน และอื่นๆมีควัน


      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×