ปัญหาเรื่องการไม่รับประทานเนื้อสัตว์
อิอิ การกล่าวถึงปัญหาเรื่องมังสวิรัติ ที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงห้ามการรับประทานเนื้อสัตว์หรือไม่ จะถือแนวที่ทรงแนะไว้ คือจะสอบกับพระสูตรจะเทียบกับพระวินัยเพื่อเป็นแนวทางวินิจฉัยปัญหานี้ อิอิ
ผู้เข้าชมรวม
292
ผู้เข้าชมเดือนนี้
0
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ แห่งสภาการศึกษามหามุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ข้อเขียนของท่านมีดังนี้
“ปัญหาเรื่องการไม่รับประทานเนื้อสัตว์”
ข้าพเจ้าเห็นว่า เรื่องนี้ ถ้าจะว่าสำคัญก็สำคัญมาก เพราะพระภิกษุสามเณรทั่วประเทศไทยฉันอาหารตามแต่ชาวบ้านจะจัดถวาย เมื่อชาวบ้านรับประทานเนื้อสัตว์ ก็จัดอาหารที่มีเนื้อสัตว์ถวาย จึงเป็นการที่ดีที่ควรจะได้หาหลักบานทางพุทธศาสนา เกี่ยวกับการรับประทานเนื้อสัตว์ว่ามีข้อห้ามหรือข้ออนุญาตไว้อย่างไรหรือไม่ ที่กล่าวมาเป็นการดีที่ควรจะหาหลักฐาน ก็เพราะว่าถ้าพูดกันไปเรื่อย ๆ ตามความคิดเห็นส่วนบุคคลแล้ว จะพูดอย่างไรก็ได้ แต่จะรับฟังได้แค่ไหนเพียงไร เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเมื่อพูดอะไรตามแนวของพระพุทธศาสนา ก็ควรจะได้ตรวจสอบดูก่อนว่า พระพุทธเจ้าทรงสั่งหรือทรงสอนในเรื่องนี้ไว้อย่างไร ไม่ควรเอาแต่ความเห็นส่วนตัวเป็นประมาณเพราะจะกลายเป็นเกางกว่าพระพุทธเจ้า คือพูดไปเห็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้
แม้พระพุทธเจ้าเองก็ทรงทราบว่า ในอนาคตกาลอาจมีปัญหาเกิดขึ้นว่า เรื่องนั้น ๆ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้หรือมิได้กล่าวไว้อย่างไร ก็ทรงแนะให้ใช้วิธีสอบกับพระสูตรเทียบกับพระวินัย คือให้สอบแนวคำสอนและคำสั่งของพระองค์ ว่าเรื่องที่เกิดปัญหานั้นจะสมคล้อยกับคำสอนของส่วนรวมของพระพุทธองค์หรือไม่ ถ้าสมคล้อยทั้งทางพระสูตรและวินัยก็ให้ถือว่าถูกต้องตามหลักฐานที่ปรากฏนั้น ๆ
เพราะฉะนั้น การกล่าวถึงปัญหาเรื่องมังสวิรัติ ที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงห้ามการรับประทานเนื้อสัตว์หรือไม่ ข้าพเจ้าจะถือแนวที่ทรงแนะไว้ คือจะสอบกับพระสูตรจะเทียบกับพระวินัยเพื่อเป็นแนวทางวินิจฉัยปัญหานี้ แต่โดยเหตุที่ปัญหานี่เป็นเรื่องทางวินัย จึงจะเสนอหลักฐานทางวินัยก่อน แล้วจึงจะเสนอหลักฐานทางพระสูตรพร้อมทั้งคำชี้แจงสั้น ๆ เป็นข้อ ๆ ไป
1. ในวินัยปิฏก มีเรื่องเล่าว่า พระเทวทัตเคยเสนอขอให้พระพุทธเจ้าทรงวางหลัก การกวดขันแก่ภิกษุสงฆ์ 5 ข้อนั้น มีข้อห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์รวมอยู่ด้วย พระเทวทัตเสนอให้ปรับอาบัติแก่ภิกษุที่ฉันเนื้อ พระพุทธเจ้าทรงปกิบัติเสธหมดทั้ง 5 ข้อ โดยเฉพาะข้อฉันเนื้อสัตว์ ทรงอนุญาตให้ฉันเนื้อสัตว์ได้โดยเงื่อนไข 3 ประการ คือ มิได้เห็น มิได้ฟัง มิได้นึกรังเกียจ (ว่าเขาฆ่าเจาะจงมาให้ฉัน) ซึ่งถ้าจะกล่าวอีกอย่างก็คือทรงห้ามเนื้อสัตว์ที่เขาเจาะจงฆ่ามาถวายพระ เกี่ยวกับข้อเสนอของพระเทวทัตนี้ จะกล่าวดังข้างหน้าให้เห็นว่า มิได้เสนอให้เจตนาดีอะไร เพียงแต่ต้องการจะถือเอาเป็นข้อเด่นสำหรับอวดคนอื่นว่าเคร่งครัดเท่านั้น
2. ในวินัยปิฎก นอกจากทรงห้ามฉันเนื้อสัตว์ที่เขาเจาะจงฆ่าเอามาถวายพระแล้ว ยังมีข้อห้ามฉันเนื้อสัตว์อีก 10 อย่างที่สังคมรังเกียจบ้าง ที่ไม่เหมาะสมบ้าง เช่น เนื้อมนุษย์ เนื้อสุนัข เนื้องู เป็นต้น และเนื้อสัตว์ดิบทุกชนิด
3. ในสุตตันตปิฎก อามคันธสูตร สุตตนิบาต มีเรื่องเล่าว่า เคยมีคณะนักบวช นอกจากพระพุทธศาสนาผู้ถือไม่ฉันเนื้อสัตว์ ได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก จึงถามชาวบ้านว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันเนื้อสัตว์หรือไม่ ชาวบ้านตอบว่าฉัน นักบวชเหล่านั้นกล่าวว่า ถ้าฉันเนื้อสัตว์ก็คงไม่ใช่พระพุทธเจ้าเป็นแน่ ชาวบ้านจึงไปเชิญให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อซักไซร์ไต่ถามด้วยตัวเอง นักบวชเหล่านั้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถามว่า ทรงฉันของมีคาว (อามคันธะ) หรือไม่ ตรัสถามว่าหมายถึงอะไรนักบวชเหล่านั้นกราบทูลว่า หมายถึงปลาและเนื้อ พระพุทธเจ้าตอบว่า ทรงถือว่า การห่าสัตว์ การตัดช่องย่องเบา การลักขโมย การพูดปด เป็นต้น นั้นแหละเป็นกลิ่นคาว การบริโภคเนื้อสัตว์หาใช่มีกลิ่นคาวไม่ แล้วทรงแสดงความชั่วทางกาย วาจา ใจ อีกหลาย ๆ อย่างว่าเป็นของมีกลิ่นคาว เป็นการยกระดับความเข้าใจของนักบวชเหล่านั้นให้สูงกว่า ความติดอยู่แต่เพียงการกินอาหาร แต่ให้เข้าใจไปถึงพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ที่ไม่ดีงานต่างหากว่าเป็นของมีกลิ่นคาว นักบวชเหล่านั้นได้กราบทูลขอบวชในพุทธศาสนาในที่สุดเรื่องนี้น่าอัศจรรย์ในพระดำรัสตอบ ที่ทรงนำให้เข้าถึงความประพฤติได้ดีจริง ๆ เพราะฉะนั้น ถ้าผิดเพียงอาหาร มนุษย์เรามักสู้ช้าง ม้า โค กระบือ ซึ่งเป็นนักมังสวิรัติอยู่แล้วไม่ได้ หลักฐานจากพระวินัยและพระสูตร เพียงที่ปรากฏในข้อ 1 และข้อ 3 ย่อมชัดเจนเพียงพอแล้ว แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการพิจารณาเรื่องนี้จากหลายแง่หลายมุม จึงจะกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ต่อไป
4. ในสุตตันปิฎก มหานิทเทส พระสารีบุตรเถรเจ้า ผู้เป็นอัครสาวก ได้อธิบายพระพุทธภาษิตในปรมัฏฐกสูตร สุตตนิบาตไว้ อันนับเป็นอรรถาธิบายคำว่า สีลัพพตปรามาส ลูบคลำหรือยึดถือศีลหรือพรตไว้ได้อย่างชัดเจน และน่าสนใจมาก พอจะเก็บใจความได้ว่า พระพุทธศาสนามิได้ติด ให้ยึดเพียงแต่ศีล (การงอเว้นความชั่วทางกาย วาจา) หรือพรต (การปฏิบัติเป็นประจำ) อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยความเข้าใจว่านี่ยอดเยี่ยมแล้วนี่ทำให้บริสุทธิ์พ้นทุกข์ได้ การติดอยู่เพียงแต่ศีล เช่น ศีล 5 ศีล 8 การติดอยู่แต่พรตหรือปฏิบัติเป็นประจำ เช่น ธุดงควัตร (รวมทั้งการถือการไม่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นประจำด้วย) จัดว่าเป็น สีลัพพตปรามาส ที่แปลว่า การลูบคลำ หรือ การยึดถือ ศีลและพรต พระพุทธภาษิตสั้น ๆ ที่สารีบุตรอธิบายในที่มีอยู่ว่า “สีลพฺพตํ ภิกขุ นนิสสเยยย” ภิกษุไม่พึงอาศัย หรือติดศีลและพรต
5. ถ้าจะลำดับกิเลสเครื่องผูกมัดจิต ที่เรียกว่า สังโยชน์ ตามที่ปรากฏในพระสูตรต่าง ๆ เช่น มหาวิสูตรทีฆนิกาย เป็นต้น ก็พอจะมองเห็นได้ว่า นี่แหละเป็นยอด หรือเป็นของประเสริฐวิเศษแล้วนับว่าเป็นเครื่องผู้มัดจิตใจ ซึ่งจะต้องแก้ไขหรือทำลายให้หมดไปมีลำดับจากคุณธรรมต่ำหาคุณธรรมสูงดังนี้
-การติด การยึด เพียงแค่ศีล คือการงดเว้นความชั้วทางกาย วาจา หรือ พรต คือข้อปฏิบัติประจำบางอย่าง เป็นเครื่องผูกมัดจิต เรียกว่า สีสัพพตปรามาส
-การติด หรือ ยึดในรูปฌาณ คือ สมาธิชั้นสูงที่มีนามเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องผูกมัดจิต เรียกว่า รูปราคะ
-การติด หรือ ยึดในอรูปฌาณ คือ สมาธิชั้นสูงที่มีนามเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องผูกมัดจิต เรียกว่า อรูปราคะ
6. ในจูฬสาโรปมสูตร มัชฌิมนิกาย พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมิให้ติด หรือยึดเพียงขั้นใดขั้นหนึ่ง ซึ่งยังมิใช่ความหลุดพ้นแล้วหลงทะนงตนในความประพฤติเพียงแค่นั้น หรือยกตนข่มผู้อื่น เพราะความประพฤตินั้น โดยมีชื่อเปรียบเทียบดังนี้
6.1 ติดอยู่เพียงลาภสักการะ ชื่อเสียง แล้วภูมิใจว่าคนอื่นสู้ตนไม่ได้ เปรียบเหมือนสำคัญใบไม้ กิ่งไม้ ว่าเป็นแก่นไม้
6.2 ติดอยู่เพียงแต่ศีล หรือความประพฤติเรียบร้อยทางกาย วาจา แล้วพอใจอยู่เพียงเท่านั้น ยกตนข่มผู้อื่นเพียงเพราะศีลนั้น เปรียบเหมือนสำคัญสะเก็ดไม้ ว่าเป็นแก่นไม้
6.3 ติดอยู่เพียงแค่สมาธิ คือ มีจิตมั่น แล้วยกตนข่มผู้อื่นเพราะสมาธินั้น เปรียบเหมือนสำคัญเปลือกไม้ ว่าเป็นแก่น
6.4 ติดอยู่เพียงแค่ปัญญา หรือญาณทัสสะ คือ ความรู้เห็นความจริงอันยังไม่ถึงที่สุดเปรียบเหมือนสำคัญกะพี้ไม้ ว่าเป็นแก่นไม้
6.5 ต่อเมื่อบรรลุความหลุดพ้นอันจะไม่กำเริบอีกแล้ว จึงเปรียบเสมือนต้องการแก่นไม้ ก็นำแก่นไม้ไปใช้ประโยชน์ได้ตามประสงค์
ข้อความในพระสูตรนี้ให้หลักการไว้ดีมาก เป็นหลักการเตือนใจมิให้ทะนง หรือติดอยู่ในความดีขั้นต่าง ๆ ที่ยังไม่ถึงที่สุด แล้วไม่คิดก้าวหน้าต่อไปจากนั้น หรือบางครั้งก็ยกตนข่มผู้อื่นเพียงเท่าที่ความดีขั้นต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ถึงขั้นหลุดพ้นจากทุกข์ อันเปรียบเหมือนเข้าใจผิดว่าใบไม้ สะเก็ดไม้ เปลือกไม้ หรือกะพี้ไม้ ว่าเป็นแก่นไม้นั่นเอง
7. เป็นอันว่า การเว้นอาหารประเภทเนื้อสัตว์นั้น พระพุทธเจ้ามิได้ทรงห้ามหรือทรงคัดค้าน เป็นเรื่องสุดแต่งความพอใจ หรือความสะดวงกว่าใคร ถ้าใครมีความพอใจหรือความสะดวกที่จะรับประทานมังสวิรัติเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่พึ่งจะปฏิบัติได้ และยิ่งปฏิบัติคุณธรรมข้ออื่น ๆ ให้ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็ยิ่งดีขึ้น มีหวังจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางได้ แต่ที่สอนให้งอเว้นคือ ตัวทิฏฐิ มานะ ตัวความติดความยึด ดังที่ลำดับไว้แล้วว่า เป็นเครื่องมัดจิตใจแต่ละอย่างในข้อ 5
8. เหตุผลที่สนับสนุนให้เห็นว่า ไม่ควรติดควรยึดในข้อปฏิบัติ เพียงขั้นใดขั้นหนึ่งที่ยังไม่ถึงที่สุดก็คือ จะทำให้ไม่ก้าวหน้า เปรียบเหมือนมีขั้นบันไดอยู่หลายขั้นซึ่งจะส่งให้ถึงที่หมาย บุคคลขึ้นบันไดเพียงขั้นเดียว หรือสองขั้น แล้วนั้นนอนอยู่ที่บันไดขั้นนั้นไม่ก้าวต่อไปอีกพอใจในภูมิใจอยู่เพียงเท่านั้น ก็แน่นอนว่าผู้นั้นไม่สามารถก้าวหน้าต่อไปได้ เพราะความหลงผิดเป็นเค้ามูล
9. ที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า จะพูดถึงข้อเสมอ 5 ข้อ ของพระเทวทัตด้วยนั้น ข้อเสนอมีอยู่ว่า
9.1 ภิกษุต้องอยู่ในป่าตลอดชีวิต ถ้ามาพักท้ายเขตบ้าน (คามันคะ) ต้องอาบัติ
9.2 ภิกษุต้องถือบิณฑบาต (ออกเดินถือบาตรรับอาหารที่เขามาถวาย) ตลอดชีวิตถ้ารับนิมนต์ (ไปฉันตามบ้าน) ต้องอาบัติ
9.3 ภิกษุต้องถือผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น คือเศษผ้าหรือผ้าทั้งผืนที่เขาทิ้งไว้ในที่ต่าง ๆ เก็บเอามาปะติดปะต่อทำเป็นผ้านุ่งห่ม) ตลอดชีวิต ถ้ารับผ้าที่ชาวบ้านถวายต้องอาบัติ
9.4 ภิกษุต้องอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ถ้าอยู่ที่มุงที่บังต้องอาบัติ
9.5 ภิกษุต้องไม่ฉันปลา เนื้อ ตลอดชีวิต ถ้าฉันต้องอาบัติ
เมื่ออ่านข้อเสนอนี้จบแล้ว ท่านผู้อ่านซึ่งอ่านเรื่องนี้มาแต่ต้นคงเข้าใจดีว่า ข้อเสนอทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นเพียงพรตหรือวัตร คือเสนอให้เป็นข้อปฏิบัติประจำ ยังต่ำกว่าศีลไม่มีข้อไหนจะเป็นศีลได้เลย พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธทั้งหมด โดยตรัสตอบว่า
“อย่าเลย เทวทัต ภิกษุปรารถนาจะอยู่ป่า ก็จงอยู่ ปรารถนาอยู่ท้ายเขตบ้าน ก็จงอยู่ปรารถนาจะถือบิณฑบาต ก็จงถือ ปรารถนาจะรับนิมนต์ ก็จงรับนิมนต์ ปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุล ก็จงถือ ปรารถนาจะรับผ้าที่ชาวบ้านถวาย ก็จงรับ การใช้โคนต้นไม่เป็นที่นั้งนอนเราอนุญาตเพียง 8 เดือน (ที่มิใช่ฤดูฝน) เราอนุญาตเนื้อสัตว์ที่บริสุทธิ์โดยเงื่อนไข 3 ประการ คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง ไม่ได้นึกรังเกียจ (ว่าเขาเจาะจงเอามาให้ฉัน)
ข้าพเจ้าอดนึกไม่ได้ว่า ถ้าพุทธเจ้าทรงอนุญาตตามข้อเสนอข้อพระเทวทัต เมืองไทยคงจะไม่มีพระอยู่ในกรุงเทพฯ หรือหัวเมือง เพราะจะต้องอยู่ป่าหมด ศาสนาอื่นจะมาครอบครองประเทศไทยหมด เพราะพระออกจากป่าไม่ได้ ป่ามีน้อยเข้าทุกวันใครจะบวช จะทำบุญใส่บาตรต้องเดินทางไกลไปหาป่า เช่น ที่จังหวัดชลบุรี สระบุรี นครนายก พระราชพิธีต่าง ๆ ที่มีการเลี้ยงพระก็ทำไม่ได้ ซึ่งหมายความว่าคนกรุงเทพฯ จะไม่มีโอกาสพบพระและใครที่ออกบวชจะอยู่ที่มุงที่บังไม่ได้ อาศัยได้เพียงโคนไม้ต้องเปียกฝนตลอดฤดูฝน คงเป็นหวัดเป็นไข้ไปตาม ๆ กัน และคนไทยในเมืองหลวงหรือที่อยู่ไกลป่า ก็คงไม่มีใครบวชได้ง่าย ๆ เพราะหาป่าไปอยู่ยาก นึก ๆ ดูแล้วก็น่าตกใจถ้าปลอดตามพระเทวทัต พวกเราคงห่างไกลพระพุทธศาสนา และไม่มีโอกาสได้รู้เรื่องพระพุทธศาสนา แต่เพราะพระพุทธเจ้าทรงเห็นการณ์ไกล จึงทรงปฏิเสธ เพราะข้อเสนอเหล่านี้ไม่ได้ทำให้พระเป็นผู้หลุดพ้นแต่อย่างไร ยังไม่ถึงขั้นศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยซ้ำ ยังมีเรื่องที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติอีกมาก เหตุไฉนจึงมาติดอยู่แค่สะเก็ด หรือเปลือกโดยไม่คำนึงถึงแก่นบ้างเลย ยิ่งพิจารณาเรื่องนี้ ก็ยิ่งเห็นพระพุทธคุณว่า สูงเด่นควรแก่การเลื่อมใส กราบไหว้อย่างแท้จริง
ส่วนข้อที่ว่าพระเทวทัต มิได้เสนอด้วยเจตนาดีนั้น ก็เพระเป็นการเสนอเพื่อจะได้อวดใคร ๆ ว่า ตนต้องการจะให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น และเพราะในระยะนั้น พระเทวทัตกำลังอยากรับตำแหน่งพระพุทธเจ้าเสียเอง ถึงกับทูลขอรับตำแหน่งแทน โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าทรงชราแล้ว ขอให้ทรงมอบการปกครองคณะสงฆ์แก่ตน (พระเทวทัต) เสียเถิด
ท่านมหาตมะ คานธี มหาบุรุษแห่งอินเดีย ได้กล่าวไว้ดังนี้
“การรับประทานอาหารเจ หรือ อาหารมังสวิรัติ เป็นเรื่องที่อยู่ในหลักการของอหิงสาก็จริงอยู่ แต่ขอท่านอย่าได้มีความภูมิใจว่า อาหารมังสวิรัติเพียงอย่างเดียวจะช่วยให้ท่านเป็น “นักอหิงสา” ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มีสิ่งใดที่น่าเสียใจมากไปกว่าความเข้าใจผิดเช่นนี้ อหิงสา มิใช่เป็นเรื่องขอการรับประทานหรือไม่รับประทานมังสวิรัติเพียงอย่างเดียว อหิงสามีความหมายมากกว่านี้ มนุษย์จะบริโภคสิ่งใดหรือไม่นั้นไม่สำคัญเท่ากับการปฏิเสธและการยับยั้งตนเอง ขอให้ท่านมีความยับยั้งชั่งใจในการอุปโภคบริโภคด้วยประการทั้งปวงเถิด เพราะการยับยั้งชั่งใจเป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญและจำเป็น อย่างไรก็ตาม หากคนเรามีจิตที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม เห็นอกเห็นใจความทุกข์อยากของคนอื่นและไม่เป็นทาสของกิเลสตัณหา แม้จะรับประท่านอาหารมากชนิด เขาผู้นั้นก็เป็นนักอหิงสาอย่างแท้จริง และสมควรที่เราจะให้ความเคารพแก่เขา ตรงกันข้ามกับผู้ที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เป็นทาสของกิเลส ไม่มีใจเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น แม้จะเป็นผู้เคร่งครัดในเรื่องอาหาร บุคคลเช่นนี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในหลักการของอหิงสาเลย และเป็นบุคลที่น่าเวทนาเป็นอย่างยิ่ง
ผลงานอื่นๆ ของ เซซากุ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ เซซากุ
ความคิดเห็น