ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #42 : กำเนิด พิพิธภัณฑสถาน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 235
      0
      8 ม.ค. 48



                       กำเนิด พิพิธภัณฑสถาน



    .......การนำข้าวของมีค่า มาเก็บรวบรวมไว้ และเปิดให้ บุคคลภายนอก เข้าชม ในลักษณะ

    \"พิพิธภัณฑ์\" เกิดขึ้นมานานแล้วหรือยัง และอยากให้ตอบด้วยว่า พิพิธภัณฑสถานของไทย

    ก่อตั้งมากี่ปีแล้ว



    .......(ไม่ลงชื่อ / จ. บุรีรัมย์)



    **************



    ......พิพิธภัณฑสถาน เป็นสถาบันถาวร ที่เก็บรวบรวม และแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ ด้านวัฒนธรรม

    หรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อให้เป็นประโยชน์ ในการอนุรักษ์ โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ

    เพื่อการศึกษา ค้นคว้า และเพื่อ ประเทืองปัญญา และอารมณ์



    ......คำ museum มาจากคำว่า mousion ในภาษากรีก ซึ่งใช้เรียก สถานบูชา กลุ่มเทพธิดามิวส์ (Muses)

    ซึ่งเป็น ที่สะสม ผลงานศิลปะด้วย ต่อมาได้นำมาใช้เรียก สถานที่ศึกษาวรรณกรรม และศิลปศาสตร์ พิพิธภัณฑสถาน

    ที่มีชื่อเสียงมาก ในยุคโบราณ ได้แก่ สถาบันวรรณกรรม แห่งเมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์

    ซึ่งพระเจ้าปโตเลมีที่ ๒ ทรงก่อตั้งขึ้น ในพุทธศตวรรษที่ ๒



    ......ต่อมา เมื่อเกิดความนิยม สะสมงานศิลปกรรม โดยเฉพาะ ผลงานชิ้นเยี่ยมในอดีต คำ museum

    จึงได้นำมาใช้เรียก สถานสะสม ผลงานศิลปะ ทั้งที่เป็น จิตรกรรม ประติมากรรม อัญมณี เหรียญ พระคัมภีร์

    อักษรจารึก ฯลฯ ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้ใช้สถานที่เช่นนี้ เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า ของเหล่าบัณฑิต

    และเหล่าเจ้าครองนครรัฐต่าง ๆ



    ......ครั้นเมื่อเกิด การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖ อุดมการณ์ทางลัทธิ ประชาธิปไตย ได้มีบทบาท

    เปลี่ยนแปลง สภาพสังคม พิพิธภัณฑสถาน ซึ่งเคยเป็นสถานสะสม ผลงานศิลปกรรม ของชนชั้นสูง

    ก็ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายเป็น เพื่อสาธารณชน เช่น ในสมัย สาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้เปิด พิพิธภัณฑสถานลูฟร์

    ให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม การเปลี่ยนพิพิธภัณฑสถาน ที่เคยเป็น สถานสะสมศิลปวัตถุ ของชนชั้นสูง มาเป็นของ

    สาธารณชนนั้น ได้เกิดขึ้นทั่วไป ในทวีปยุโรป และกลายเป็น แบบอย่าง แก่การก่อตั้ง พิพิธภัณฑสถานทั่วโลกด้วย



    ......สำหรับประเทศไทย ความคิดเรื่องการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ มีมาตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระที่นั่ง ประพาสพิพิธภัณฑ์ เพื่อเก็บข้าวของ ที่ทรงรวบรวม มาจากที่ต่าง ๆ

    แต่ยังไม่ได้เปิดให้ ประชาชนเข้าชม ต่อมา พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

    ให้จัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ขึ้นที่ หอคองคอเดีย หรือศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

    ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ อัครราชทูต กงสุลต่างประเทศ เข้าชมพิพิธภัณฑ์ เป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ ๑๙ กันยายน

    พ.ศ. ๒๔๑๗ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑ์ ไปที่ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน

    พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ในสมัยรัชกาลที่ ๗ มีการปรับปรุง รวบรวมสิ่งของ จัดตั้งเป็น

    \"พิพิธภัณฑสถาน สำหรับพระนคร\" จัดระบบบริหารงาน แบบยุโรป แบ่งงานรับผิดชอบ เป็นแผนกต่าง ๆ มีภัณฑารักษ์

    และผู้ช่วยรับผิดชอบ มีการจ้างฝรั่ง มาเป็นที่ปรึกษา ดำเนินการด้วย



    ......แม้พิพิธภัณฑสถานของไทย จะมีอายุร้อยกว่าปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ในแง่การจัดแสดง

    ประชาชนคนไทย จึงไม่ค่อยนึกอยากไปเที่ยว พิพิธภัณฑ์กันเท่าไร



    ......\"ซองคำถาม\" อ่านหนังสือพบว่า ครั้งหนึ่ง เคยมีการเชิญ ครู มาอบรมเรื่อง พิพิธภัณฑ์ มุ่งหมายให้ครู

    ไปชักนำให้ ลูกศิษย์ลูกหา ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ปรากฏว่า มีครูส่วนหนึ่ง อยู่อบรมไม่จบรายการ \"โดด\"

    หนีหายไปในตอนบ่าย



    ......หรือว่าพิพิธภัณฑสถานของไทย น่าเบื่อเสียจริง ๆ ก็ไม่รู้





    --------------------------------------------------------------------------------



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×