ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #370 : กล้องดูดาว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 393
      0
      25 ธ.ค. 48



                                            

                                                    กล้องดูดาว





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





    เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการดูดาวเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เรามองเห็นดวงดาวที่อยู่ไกลเป็นอย่างดี เเบ่งออกเป็น 3 ชนิด

    ดังนี้







    กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflect telescope)







    กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflect telescope)

    เป็นอุปกรณ์ที่สามารถขยายวัตถุที่อยู่ในระยะไกล เซอร์ ไอเซค นิวตัน เป็นผู้ประดิษซ์กล้องชนิดนี้ เป็นบุคคลแรก บางที่เราก็เรียก กล้องแบบนี้ว่า กล้องแบบนิวโทเนียน ประกอบด้วยกระจกเว้า กระจกระนาบ และ เลนซ์นูน



    หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดสะท้อนแสง

    กล้องจะรับแสงที่เข้ามากระทบกับกระจกเว้าที่อยู่ท้ายกล้องที่เราเรียกว่า Primary Mirror แล้วรวมแสง สะท้อนกับกระจกระนาบหรือ ปริซึม เราเรียกว่า Secondary Mirror ที่อยู่กลางลำกล้อง เข้าสู่เลนซ์ตาขยายภาพอีกทีหนึ่ง



    อัตราขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสของกระจกเว้า / ความโฟกัสของเลนซ์ตา





    โครงสร้างภายในของกล้องแบบนิวโทเนียน หรือ กล้องแบบสะท้อนแสง



    ข้อดีของกล้องชนิดนี้

    1. ใช้กระจกเว้าเป็นตัวรวมแสง ทำให้สามารถสร้างขนาดใหญ่มากๆได้ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าเลนซ์ที่มีขนาดเท่ากัน

    2. โดยทั้วไปกล้องชนิดนี้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 นิ้วขึ้นไป ทำให้มีการรวมแสงได้มากเหมาะที่จะใช้สังเกตวัตถุระยะไกลๆ เช่น กาแลกซี เนบิวล่า เพราะมีความเข้มแสงน้อยมาก

    3. ภาพที่ได้จากกล้องแบบสะท้อนแสง จะไม่กลับภาพซ้ายขวาเหมือนกล้องแบบหักเหแสง แต่การมองภาพอาจจะ หัวกลับบ้าง ขึ้นอยู่กับลักษณะการมองจากกล้องเพราะเป็นการมองที่หัวกล้อง ไม่ใช่ที่ท้ายกล้อง เหมือนกล้องแบบหักเหแสง

    ข้อเสียของกล้องชนิดนี้

    1. การสร้างนั้นยุ่งยากซับซ้อนมาก

    2. มีกระจกบานที่สองสะท้อนภาพอยู่กลางลำกล้อง ทำให้กีดขวางทางเดินของแสง หากเส้นผ่านศูนย์กลาง กล้องเล็กมากๆ ดังนั้นกล้องแบบสะท้อนแสงนี้จะมักมีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 4.5 นิ้วขึ้นไป







    กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง (Refract telescope)



        







    เป็นอุปกรณ์ที่สามารถขยายวัตถุที่อยู่ในระยะไกล กาลิเลโอ เป็นบุคคลแรกที่ประดิษฐกล้องชนิดนี้ขึ้น ประกอบด้วยเลนซ์นูนอย่างน้อยสองชิ้น คือ เลนซ์วัตถุ (Object Lens)เป็นเลนซ์ด้านรับแสงจากวัตถุ ซึ่งจะมีความยาวโฟกัสยาว (Fo) และเลนซ์ตา (Eyepieces) เป็นเลนซ์ที่ติดตาเราเวลามอง ซึ่งมีความยาวโฟกัสสั้น (Fe) กว่าเลนซ์วัตถุมากๆ





    อัตราการขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสเลนซ์วัตถุ Fo /ความยาวโฟกัสเลนซ์ตา Fe



    หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดหักเหแสง

    เลนซ์วัตถุจะรับแสงจากวัตถุที่ระยะไกลๆแล้วจะเกิดภาพที่ตำแหน่งโฟกัส(Fo) เสมอ แล้ว เลนซ์ตัวที่สอง หรือ เลนซ์ตา (Fe) จะขยายภาพจากเลนซ์วัตถุอีกครั้ง ซึ่งต้องปรับระยะของเลนซ์ตา เพื่อให้ภาพจากเลนซ์วัตถุที่ตำแหน่ง Fo อยู่ใกล้กับ โฟกัสของเลนซ์ตา Fe และทำให้เกิดภาพชัดที่สุด ดังรูป





        











    โครงสร้างภายในของกล้องแบบหักเหแสง ที่เลนซ์วัตถุมักจะให้เลนซ์สองแบบที่ทำมาจากวัสดุคนละประเภท เพื่อลดอาการคลาดสี



    ข้อดีของกล้องแบบหักเหแสง

    1. เป็นกล้องพื้นฐานที่สร้างได้ไม่ยากนัก

    2. โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยๆจึงมีน้ำหนักเบา

    ข้อเสียของกล้องแบบหักเหแสง

    1. เนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อย ทำให้ปริมาณการรับแสงน้อยไม่เหมาะใช้ดูวัตถุไกลๆอย่าง กาแลกซีและเนบิวล่า

    2. ใช้เลนซ์เป็นตัวหักเหแสง ทำให้เกิดการคลาดสีได้หากใช้เลนซ์คุณภาพไม่ดีพอ จึงต้องมีการใช้เลนซ์ หลายชิ้นประกอบกันทำให้มีราคาสูง

    3. ภาพที่ได้จากกล้องแบบหักเหแสงจะให้ภาพหัวกลับและกลับซ้ายขวา คืออ่านตัวหนังสือไม่ได้นั่นเอง ดังนั้นกล้องแบบนี้จะต้องมี diagonal prism เพื่อช่วยแก้ไขภาพ (ดูเรื่องอุปกรณ์กล้องโทรทรรศน์







    กล้องโทรทรรศน์แบบผสม (Catadioptic telescope)





        



    เป็นกล้องโทรทรรศน์คุณภาพสูงที่ถูกออกแบบมาให้ใช้หลักของการหักเหและสะท้อนแสงร่วมกัน โดยหลักการโดยรวมแล้ว จะใช้กระจก 2 ชุด สะท้อนแสงกลับ ไป-มา ช่วยให้ลำกล้องสั้น เเละส่วนมากจะสามารถควบคุมระบบได้เเบบดิจิตอล เราจะพบว่า กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มี ความยาวโฟกัสมาก ดังเช่น กล้องโทรทรรศน์บนหอดูดาวต่างๆๆ มักจะเป็นกล้องชนิดนี้





    หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดผสม

    กล้องจะรับแสงจากวัตถุที่ระยะไกลๆ ผ่านกระจกด้านหน้า ที่เราเรียกว่า Correcting Plated หรือกระจกสะสมแสง มีลักษณะเป็นเลนซ์เบื้องต้น มากระทบกระจกบานแรกที่ท้ายกล้อง ที่เราเรียกว่า เลนส์หลัก แล้วสะท้อนกลับไปที่กระจกสะสมแสง ซึ่งตรงกลางจะมี เลนส์รอง สะท้อนกลับมาที่ท้ายกล้องเข้าสู่เลนซ์ตาขยายภาพอีกทีหนึ่ง หลักการคล้ายกับกล้องแบบนิวโทเนี่ยน แต่กล้องแบบผสม จะดูภาพจากท้ายกล้อง ไม่ใช่ข้างกล้อง และภาพที่ได้ยังมีการกลับหัวและกลับซ้ายขวา ซึ่งต้องอาศัย diagonal prism ช่วยแก้ไขภาพเหมือนกับกล้องแบบหักเหแสง





    เข้าไปดูภาพได้ที่นี่ค่ะ



    http://www.prc.ac.th/Astronomy/telescope.htm





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





    เพิ่มเติมให้ค่ะ







                                               กล้องดูดาวและวิวัฒนาการของกล้องดูดาวแบบต่างๆ





    การที่นักดาราศาสตร์ ให้ความสนใจกับสิ่งที่เห็นบนท้องฟ้า ไม่ว่าจะเป็นดาวฤกษ์, ดาวเคราะห์, เนบิวลา, แกแล็กซี่ หรือกระทั่งหลุมดำก็ตาม ก็เพื่อศึกษาให้เข้าใจถึง จักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ที่เราอาศัยอยู่ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นนั้น ไม่เพียงแต่อาศัยเฉพาะแสง ที่เรามองเห็นด้วยตาเท่านั้น ที่เราใช้มองดู และศึกษาไปยังในอวกาศ แต่ยังมีอีกหลายรูปแบบ ที่เรามองด้วยตาไม่เห็น ซึ่งรูปข้างล่าง เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ และแสดงให้เห็นถึงกาแล็กซี่ทางช้างเผือก (The Milky Way) ของเรา ที่มองเห็นได้ด้วยกล้องดูดาว แบบคลื่นวิทยุ, คลื่นอินฟราเรด, คลื่นแสงปกติที่ตาเรามองเห็น, คลื่นรังสีเอ็กซ์ และคลื่นรังสีแกมมา

    กาแล็กซี่ทางช้างเผือก (The Milky Way Galaxy)



    คลื่นวิทยุ (Radio)



    คลื่นอินฟราเรด (Infrared)



    คลื่นแสงปกติ (visual)



    คลื่นแสงปกติ (visual)



    คลื่นรังสีแกมมา (Gamma ray)







    รูปแสดงให้เห็นว่า คลื่นรังสีแกมมา มีความยาวคลื่นน้อย แต่มีพลังงานสูง ในขณะที่ คลื่นวิทยุ มีความยาวคลื่นมาก แต่มีพลังงานต่ำ เมื่อเทียบกับคลื่นแสงที่เรามองเห็น (Visible)      แสงที่เราเห็นด้วยตา เป็นพลังงานในรูปแบบของ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (The Electomagnetic Wave) ที่เกิดจากการแผ่รังสีของวัตถุในอวกาศเหล่านั้น และเป็นเพียงรูปแบบเดียว ที่ตาของมนุษย์เรามองเห็น แต่ยังมีอีกหลายรูปแบบ ที่ตาเรามองไม่เห็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่น้อย จะมีพลังงานต่ำ เช่น คลื่นวิทยุ หรือคลื่นอินฟราเรด ส่วนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง ก็จะมีพลังงานมาก ได้แก่ คลื่นรังสีเอ็กซ์ หรือคลื่นรังสีแกมมา เป็นต้น



    --------------------------------------------------------------------------------



    วิวัฒนาการของกล้องดูดาวแบบต่างๆ



         นับตั้งแต่โบราณกาล ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักเพียงว่า เราสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่บนฟากฟ้าได้ ก็ต้องอาศัยแสง (ในช่วงคลื่นที่เรามองเห็น) เป็นตัวกลางเท่านั้น





           ดังนั้น อุปกรณ์ช่วยในการดูดาวยุคแรกๆ จึงเป็นกล้องที่อาศัยหลักการหักเหของแสง ที่เรียกว่า \"กล้องโทรทรรศน์ แบบหักเหแสง\" (The Reflacting Telescope) ซึ่งถูกสร้างขึ้น ตั้งแต่ยุค 1570s โดยให้แสงหักเห ผ่านเลนส์วัตถุ (Object lens) ชนิดเลนส์นูน (Corvex lens) แล้วรวมแสงเข้าหาเลนส์ตา (Eye lens) ชนิดเลนส์เว้า (Concave lens) แล้วหักเหผ่านเลนส์ตาอีกครั้ง ทำให้ภาพที่ปรากฏ ขยายใหญ่ขึ้น 3-4 เท่า  









    กาลิเลโอ

    (Galileo Galilei, 1564-1642)       ต่อมา กาลิเลโอ (Galileo Galilei, 1564-1642) นักดาราศาสตร์, นักคณิตศาสตร์ และนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี ได้พัฒนาให้มีกำลังขยายเพิ่มขึ้น เป็นประมาณ 20 เท่า ซึ่งทำให้กาลิเลโอมีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเขานำกล้องโทรทรรศน์ที่สร้างขึ้น ไปสำรวจดวลจันทร์, ดาวพฤหัส และค้นพบดาวบริวารทั้งสี่ ของดาวพฤหัส และเสนอว่า โลกกลม กล้องดูดาวแบบหักเหแสง จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า \"กล้องดูดาวแบบกาลิเลโอ\" (Galileo\'s Telescope)

         การเพิ่มกำลังขยาย ของกล้องโทรทรรศน์ แบบหักเหแสงนี้ แปรตามระยะโฟกัสของเลนส์วัตถุ นั่นคือ การทำให้กำลังขยาย ของกล้องดูดาวเพิ่มขึ้น ระยะโฟกัสจะต้องมากขึ้น เลนส์ก็ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น และความยาวของกล้อง ก็ต้องมากตามไปด้วย ทำให้มีข้อจำกัดของกล้องประเภทนี้ อยู่ที่ความยาวของตัวมันเอง เนื่องจาก เมื่อของเส้นผ่านศูนย์กลางเลนส์ เกิน 1 เมตรแล้ว มันจะรับน้ำหนักของตัวมันเองไม่ไหวนั่นเอง







    ไอแซค นิวตัน

    (Isaac Newton,

    1642-1727)  

         ในปี ค.ศ. 1671 (พ.ศ. 2214) ไอแซค นิวตัน (Isaac Newton,1642-1727) ได้ออกแบบกล้องดูดาวขึ้นใหม่ โดยอาศัยกระจกเงาโค้ง แบบพาราโบล่า (Parabola) ที่สะท้อนแสง แล้วโฟกัสให้ตกลงบนเลนส์ตา (Eye lens) ชนิดเลนส์นูนอีกครั้ง ซึ่งมีข้อดีคือ นอกจากลดระยะความยาวของกล้องแล้ว ยังแก้ปัญหาของกล้องโทรทรรศน์ แบบหักเหแสง ที่ทำให้แสงที่หักเหนั้น แตกออกเป็นแถบแสงของสเปกตรัมได้อีกด้วย กล้องที่อาศัยหลักการสะท้อนแสงนี้ มีชื่อเรียกว่า \"กล้องโทรทรรศน์ แบบสะท้อนแสง\" (The Reflecting Telescope) หรือมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า \"กล้องดูดาวแบบนิวตัน\" (Newtonian\'s Telescope)









         นอกจากนี้ นิวตันยังสามารถอธิบายปรากฏการณ์สเปกตรัม (Spectrum) ว่า แสงสีขาวที่เรามองเห็น ประกอบด้วย แสงสีต่างๆ ที่มีมุมหรือองศาการหักเหไม่เท่ากัน ทำให้ เมื่อแสงหักเหผ่านเลนส์ หรือปริซึมแล้ว จะแตกออกเป็นแถบสีที่เรียกว่า สเปกตรัม และทำให้ วัตถุที่มองผ่านกล้องโทรทรรศน์ แบบหักเหแสง จะมองเห็นวัตถุมีวงแหวนคล้ายกับรุ้งกินน้ำอยู่รอบๆ







    กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิ้ล

    (The Hubble Space Telescope)        กระทั่งทุกวันนี้ กล้องดูดาวขนาดใหญ่ที่ใช้อยู่ ก็อาศัยกลักการพื้นฐานการสะท้อนของแสง แบบกล้องโทรทรรศน์ แบบสะท้อนแสง เป็นส่วนใหญ่ แม้กระทั่งมีการส่ง กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ ออกไปโคจรอยู่นอกโลกอย่าง กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิ้ล (The Hubble Space Telescope) เพื่อเลี่ยงการรบกวนแสง ที่เกิดจากชั้นบรรยากาศโลกก็ตาม

    รูปซ้ายมือ: กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิ้ล (The Hubble Space Telescope) ขึ้นไปโคจรรอบโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990(พ.ศ. 2533)



         หลังจากนั้น จึงมีการศึกษาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างจริงจัง นอกจากคลื่นแสงที่มองเห็นเท่านั้น ซึ่งต่อมา Karl Jansky ได้ค้นพบคลื่นความถี่ต่ำ ที่ออกมาจากใจกลางกาแล็กซี่ของเรา ในปี ค.ศ.1933 (พ.ศ.2476) และได้ออกแบบเสาของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ แบบหมุนได้ เพื่อศึกษาคลื่นวิทยุที่ส่งได้รับ







         หลักการของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ต้องใช้หลักการ ของการสะท้อนคลื่นวิทยุที่ได้รับ ซึ่งก็ต้องมีตัวสะท้อนและตัวรับคลื่น เช่นเดียวกับกล้องโทรทรรศน์ แบบใช้แสง เพียงแต่คลื่นวิทยุ มีขนาดของความยาวคลื่นมากกว่า มีความถี่ต่ำกว่า และมีพลังงานต่ำกว่า จึงต้องอาศัยขนาดของจานสะท้อน ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่



          ภาพซ้ายมือแสดงกล้องโทรทรรศน์วิทยุ VLR (The Very Large Radio Telescope) ในประเทศแม็กซิโก ซึ่งประกอบด้วยจานรับคลื่นวิทยุ จำนวน 27 จาน ประกอบกันเสาวิทยุเสมือน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 36 กิโลเมตร





          ทั้งกล้องโทรทรรศน์แบบที่ใช้แสง และกล้องโทรทรรศน์คลื่นวิทยุ ต่างก็มีข้อจำกัด อันเนื่องมาจากบรรยากาศของโลก เนื่องจากชั้นบรรยากาศจะดูดซับรังสี หรือคลื่นหลังงานบางช่วงคลื่นไว้ โดยเฉพาะช่วงคลื่นที่มีความถี่ หรือพลังงานสูง เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก นอกจากนี้ กล้องโทรทรรศน์วิทยุบนโลก ยังถูกรบกวนโดยคลื่นวิทยุ หรือโทรทัศน์ที่ใช้กันบนโลก จึงเป็นที่มาของโครงการ ที่จะส่งกล้องโทรทรรศน์เหล่านี้ ออกไปอยู่นอกโลก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว







    The NASA Infrared Telescope Facility 3.0 meter telescope ที่ the summit of Mauna Kea ในฮาวาย      กล้องโทรทรรศน์ที่อาศัยช่วงคลื่นอินฟราเรด (IR) และอัลตราไวโอเลต (UV) ก็มีปัญหานี้เช่นเดียวกัน จึงเป็นเหตุผลให้ กล้องโทรทรรศน์แบบอินฟราเรด ตั้งอยู่บนที่สูง เพื่อลดอัตราของไอน้ำในอากาศ ที่จะมีผลรบกวนคลื่นอินฟราเรด เช่น กล้องโทรทรรศน์ Mauna Kea ในฮาวาย เป็นต้น

         ส่วนกล้องโทรทรรศน์อัลตราไวโอเลต ก็จะตั้งอยู่บนที่สูงกว่านั้นอีก โดยจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปกติ 20-40 กิโลเมตรเลยทีเดียว เพื่อให้สูงกว่าชั้นโอโซน ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันคลื่นอัลตราไวโอเลตนั่นเอง





          การศึกษาวัตถุบนท้องฟ้า โดยอาศัยช่วงคลื่นที่มีพลังงานสูง อย่างรังสีเอ็กซ์ (X-ray), และรังสีแกมมา (Gamma ray) เริ่มต้นราวปี ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) เนื่องจากรังสีเอ็กซ์ มีพลังงานสูงกว่าคลื่นแสงมาก จึงไม่สามารถ สะท้อนกระจกได้เหมือนแสง จึงต้องให้สะท้อนอยู่ในมุมที่เหมาะสม เสมือนยิงกระสุน (ของโฟตอน) แฉลบกระจก ที่เคลือบด้วยโลหะหนัก ทะลุเข้าหาผนังนั่นเอง กล้องโทรทรรศน์แบบรังสีเอ็กซ์ มีหน้าตาเป็นทรงกระบอก คล้ายกล้องโทรทรรศน์แบบทั่วไป

         โดยอาศัยกล้องที่ติดตั้งบนบอลลูน หรือจรวด ซึ่งองค์การนาซ่า (NASA) ได้จัดส่งกล้องโทรทรรศน์รังสีเอ็กซ์ครั้งแรก ในปี ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) ในโอกาสครบรอบ 7 ปีที่ประเทศเคนยา เป็นอิสรภาพ โดยมีชื่อดาวเทียมว่า Uhuru หมายถึง \"อิสรภาพ\" (freedom) ส่วนกล้องโทรทรรศน์รังสีเอ็กซ์อื่นๆ ได้แก่ สกายแล็ป (Skylab) ในปี ค.ศ.1973 (พ.ศ.2516), จันทรา (Chandra X-ray Observatory) ในปี ค.ศ.1999 (พ.ศ.2542) เป็นต้น







           ส่วนรังสีแกมมา มีความยาวคลื่นน้อยกว่ารังสีเอ็กซ์ และพลังงานสูงกว่ามาก และไม่สามารถป้องกันการทะลุของรังสีแกมมาได้ จึงไม่สามารถอาศัยหลักการโฟกัส ของรังสีได้เหมือนกล้องแบบอื่นๆ จึงต้องอาศัยหลักการตรวจจับ (detect) รังสีแกมมาแทน โดย Arthur Holly Compton เป็นผู้สามารถออกแบบเครื่องมือ ที่สามารถตรวจจับการแตกตัวของอิเลคตรอน เมื่อรังสีแกมมาผ่านเข้ามาได้ ทำให้ Compton ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) สาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ.1927 (พ.ศ.2470) โดยกล้องโทรทรรศน์รังสีแกมมา ชื่อ Explorer X1 ถูกส่งออกไปโคจรนอกโลก เป็นครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ.1961 (พ.ศ.2504)

          หรือกล้องโทรทรรศน์ Compton Gamma Ray Observatory ถูกส่งออกไปโคจรนอกโลก ในปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ.2534) โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Arthur Holly Compton (1892-1962)





        



          จะเห็นว่า กล้องโทรทรรศน์ที่ใช้สำหรับการสำรวจ และศึกษาสิ่งที่อยู่นอกโลก มีได้มากมายหลายแบบ ไม่เฉพาะเพียงแต่ช่วงคลื่นแสง ที่มนุษย์เรามองเห็นเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การสร้างกล้องโทรทรรศน์ แบบหลายๆช่วงคลื่น (Milti-wave Telescope) ในตัวเดียวกัน ก็ยังมีข้อจำกัดทั้งด้านเทคโนโลยี และงบประมาณ รวมถึงบุคลากรที่จะใช้งานอีกด้วย จึงทำให้การสำรวจ หรือศึกษาด้วยกล้องโทรทรรศน์ โดยอาศัยที่แต่ละแบบแยกอิสระจากกัน ยังคงเป็นที่นิยมต่อไป









    เข้าไปดูภาพได้ที่นี่ค่ะ

    http://web1.dara.ac.th/daraspace/explorespace/hubble/SkyTelescope.htm



    ส่วนเวบนี้สำหรับกล้องดูดาวแบบต่าง ๆ พร้อมราคาด้วยนะคะ



    http://www.doodaw.com/accessories/telescope.php









    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++







    จากข้อความที่คุณ แมงป่องจัง โพสถามมาค่ะ













    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×