ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #352 : ภูมิประเทศและ ภูมิอากาศทวีปเอเชีย ( และภูมิอากาศทั่วโลก )เพิ่มเติม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 12.68K
      2
      9 ธ.ค. 48





                                               ภูมิประเทศและ ภูมิอากาศทวีปเอเชีย



    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



    ทวีปที่ใหญ่ที่สุด คือ ทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 17,139,455 ตารางไมล์ (44,391,162 ตารางกิโลเมตร) ระยะทางจากเหนือสุดที่แหลมชิลยูสกิน ถึงใต้สุดที่แหลมปิโอ2 ประเทศมาเลเซีย มีความยาวประมาณ 6,500 กิโลเมตร และตะวันออกสุดที่แหลมเดสเนฟหรืออีสต์เคป ถึงตะวันตกสุดที่แหลมบาบา3 ประเทศตรุกี มีความยาวประมาณ 9,600 กิโลเมตร

    ทวีปเอเชีย ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 10 15/ เหนือ ถึง 770 41/ เหนือ และลองจิจูดที่ 260 4/ ตะวันออก ถึง 690 41/ ตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือจดมหาสมุทรอาร์กติก ทิศใต้จดมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกอ่าวเบงกอล อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเอเดนทะเลอาหรับ ทิศตะวันออกจดมหาสมุทรแปซิฟิก ช่องแคบเบริง4 ทะเลเบริง ทะเลโอคอตสก์ ทะเลญี่ปุ่น ทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก ทะเลจีนใต้ ทิศตะวันตกจดเทือกเขาอูราล ทะเลสาบแคสเปียน5 เทือกเขาคอเคซัส ทะเลดำ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน6 ทะเลแดง





    ลักษณะภูมิประเทศ



    1.เขตเทือกเขาสูงตอนกลางทวีป

    เขตเทือกเขาสูงตอนกลางทวีปเป็นเทือกเขาเกิดใหม่ เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลก มีความสูงมาก มีหลายเทือกเขา ซึ่งจุดรวมเรียกว่า ปามีร์นอต (Pamir Knot) ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “บามี ดุนยา” (Bami Dunya) หมายถึง หลังคาโลก (The Roof of the world) เทือกเขาทางตะวันออกคือ เทือกเขาหิมาลัย ยาวประมาณ 2,500 กิโลเมตร มียอดเอเวอรเรอสต์ (เนปาล – จีน) สูงที่สุดในโลก 8,848 เมตร (29,028 ฟุต) เทือกเขานี้วกลงมาทางใต้เป็นแนวเทือกเขาอาระกันโยมา ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของพม่าต่อเนื่องลงมาทางใต้ บางส่วนจมหายไปในทะเล บางส่วนโผล่ขึ้นเป็นหมู่เกาะรูปโค้ง จุดรวมเทือกเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า ยูนนาน นอต (Yuanan Knot) อยู่ในมณฑลยูนนาน ทางใต้ของประเทศจีน ตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย คือ เทือกเขาคุนลุน อัลตินตัก ทางตะวันออกเฉียงเหนือคือ เทือกเขาเทียนซาน อัลไต คินแกน ยาโมลโนวอย สตาโนวอย ทางตะวันตกของปามีร์ นอต คือเทือกเขาฮินดูกูซ เอลบรูซ แนวใต้คือ เทือกเขาสุไลมาน ซากรอส ทั้งสองแนวมารวมกันที่ อาร์มีเนียน นอต (Amenian Knot) จากจุดรวมนี้แยกเป็น 2 แนว คือ แนวเหนือ เทือกเขาบอนติก แนวใต้คือ เทือกเขาเตารัส



    2.เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป

    เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป อยู่ระหว่างเทือกเขาที่เกิดใหม่ ได้แก่ ที่ราบสูงตากลามากัน มีลักษณะเหมือนแอ่ง (ทาริม) อยู่ระหว่างเทือกเขาเทียนซานและคุนลุน ทางตอนเหนือมีที่ราบสูงยูนนานและที่ราบสูงทิเบตเป็นที่ราบสูงมีขนาดใหญ่และสูงที่สุดในโลก สูงตั้งแต่ 14,000 - 17,000 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล



    3.เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ

    เขตที่ราบต่ำตอนเหนือเป็นที่ราบดินตะกอน ที่เกิดจากแม่น้ำอ๊อบ เยนิเซ และลีนา ไหลผ่าน เรียกว่า ที่ราบไซบีเรีย มีอาณาเขตกว้างขวาง แต่มีคนอาศัยอยู่น้อย เพราะอยู่ในเขตภูมิอากาศหนาวมาก ทำการเพาะปลูกไม่ได้และในฤดูหนาวน้ำในแม่น้ำจะเป็นน้ำแข็ง



    4.เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ

    เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นที่ราบต่ำเกิดจากตะกอน มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก นับเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ยิ่งใหญ่ของทวีปเอเชีย เช่น ในเอเชียตะวันออก มีแม่น้ำฮวงโห แม่น้ำแยงซีเกียง (ฉางเจียง ยาวที่สุด 6,300 กิโลเมตร) แม่น้ำแยงซีเกียง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแม่น้ำแดง แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำอิระวดี ในเอเชียใต้ มีแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีแม่น้ำไทกรีส - ยูเฟรตีส



    5.เขตที่ราบสูงตอนใต้และเตะวันตกเฉียงใต้

    เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ เช่น ที่ราบสูงเดคคาน ในประเทศอินเดีย ที่ราบสูง

    อิหร่านในประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอาหรับ ในประเทศซาอุดิอาระเบีย ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในประเทศตรุกี



    6.เขตหมู่เกาะรูปโค้ง หรือเขตหมู่เกาะภูเขาไฟ

    เขตหมู่เกาะรูปโค้ง หรือเขตหมู่เกาะภูเขาไฟ เป็นแนวต่อมาจากปลายตะวันออกสุดของเทือกเขาหิมาลัยที่โค้งลงมาทางใต้ เป็นเทือกเขาอาระกันโยมาแล้วหายลงไปในทะเล บางส่วนโผล่ขึ้นมาเป็นหมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ จนถึงหมู่เกาะญี่ปุ่น เป็นแนวภูเขารุ่นใหม่ จึงเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ





    ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ



    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศ





    1.ที่ตั้งของทวีป (ละติจูด)

    ที่ตั้งของทวีป (ละติจูด) มีพื้นที่ตั้งแต่ในเขตละติจูดต่ำ บริเวณศูนย์สูตรจนถึงเขตละติจูดสูง บริเวณใกล้ขั้วโลกทำให้ทวีปเอเชียมีภูมิอากาศร้อน อบอุ่น และหนาวเย็น



    2.ขนาดของทวีป

    ทวีปเอเชียมีขนาดกว้างใหญ่มาก ทำให้มีการแบ่งเขตเวลาออกเป็น 11 เขต แต่ละเขตคือ ทุก 150 องศาลองจิจูด (3600 + 24 ชม. = 150) เวลาจะต่างกัน 1 ชั่วโมง เช่น ประเทศไทยเวลา 19.00 น. ประเทศฟิลิปปินส์เวลา 20.00 น.



    3.ความใกล้ไกลทะเล

    เนื่องจากเป็นทวีปที่กว้างใหญ่ทำให้อิทธิพลจากทะเลและมหาสมุทรไม่สามารถเข้าไปถึงทำให้อากาศแห้งแล้ง โดยเฉพาะภาคตะวันตกและตอนกลางของทวีป มีอากาศแห้งแล้งเป็นบริเวณกว้าง ประมาณ ของทวีปเพราะไม่มีอาณาเขตติดต่อกับมหาสมุทรเลย



    4.ความสูงต่ำของพื้นที่

    ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ ที่ราบสูง และภูเขาที่สูงมาก ทำให้ภูมิอากาศแตกต่างกันทั้งๆ ที่อยู่ในเขตละติจูดเดียวกัน ความสูงของภูเขายังขวางกั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่จะนำฝนเข้าสู่ภายในทวีปและขวางกั้นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่จะนำความหนาวเย็นสู่เอเชียใต้



    5.อิทธิพลของลมประจำที่พัดผ่าน



    5.1ลมประจำฤดู คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นลมที่พัดจากทะเลและมหาสมุทร ทำให้ฝนตกในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก บริเวณลึกเข้าไปไม่ได้รับอิทธิพลจากลมนี้ ทำให้อากาศแห้งแล้ง ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมที่พัดจากภายในทวีปจึงนำความหนาวเย็นและแห้งแล้งสู่แผ่นดินที่พัดผ่าน



    5.2ลมพายุหมุนเขตร้อน ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่า พายุใต้ฝุ่น ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า พายุไซโคลน พายุหมุนเขตร้อนนี้จะนำฝนและความเสียหายมาสู่ประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา พม่า บังคลาเทศ



    6.กระแสน้ำ

    กระแสน้ำเย็นโอยาชิโว ทำให้ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชียมีอากาศเย็น กระแสน้ำอุ่นกุโรชิโว ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นมีอากาศอบอุ่นกว่าชายฝั่งตะวันตก





    เขตภูมิอากาศและพืชธรรมชาติ



    1.เขตศูนย์สูตร

    เขตศูนย์สูตร อยู่ระหว่างละติจูด 100 ใต้ ได้แก่ บริเวณภาคใต้ของไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านเกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และเกาะซีลีเบสของประเทศอินโดนีเซีย เขตนี้มีภูมิอากาศร้อนชื้นตลอดปี ฝนตกชุก เฉลี่ยทั้งปีอย่างน้อย 60 นื้ว ไม่มีฤดูแล้ง พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ







    2.มรสุมเขตร้อน

    มรสุมเขตร้อนอยู่เหนือละติจูด 100 เหนือขึ้นไป ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อนหรือเขตทรอปิก มีฤดูที่ชุ่มชื้นและฤดูที่แห้งแล้งเห็นเด่นชัด ฝนจะตกหนักในฤดูร้อน อากาศจะเย็นและแห้งแล้งในฤดูหนาว ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรอินเดีย และคาบสมุทรอินโดจีน ได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่ามรสุมหรือป่าไม้ผลัดใบในเขตร้อน ลักษณะปาจะโปร่งกว่าป่าเขตศูนย์สูตร มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมพื้นดินชั้นล่าง บางแห่งมีป่าไผ่หรือหญ้าขึ้นปะปน ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจคือ ไม้สัก ไม้จันทน์ ไม้ประดู่



    3.มรสุมเขตอบอุ่น

    มรสุมเขตอบอุ่น มีลักษณะคล้ายมรสุมเขตร้อน แต่อยู่ในเขตอบอุ่น ฤดูหนาวจึงมีอากาศเย็นกว่า ได้แก่ ภาคตะวันออกของจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง ตอนเหนือของอินเดีย ลาว เวียดนาม พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ใบกว้างผลัดใบในฤดูหนาวหรือป่าไม้ผสม ซึ่งมีทั้งไม้ใบใหญ่ผลัดใบและไม้สนผลัดใบ เช่น ต้นโอ๊ก ต้นเมเปิล



    4.เขตอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป

    เขตอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป อยู่ในเขตอบอุ่นที่อยู่ลึกเข้าไปในทวีป ในฤดูร้อนอากาศร้อน และมีฝนตก ฤดูหนาวอากาศหนาว ได้แก่ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ภาคเหนือของญี่ปุ่น ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไซบีเรีย เกาหลี พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าผสมระหว่างป่าสนและป่าผลัดใบ



    5.เขตภาคพื้นทวีปละติจูดกลาง

    เขตภาคพื้นทวีปละติจูดกลาง (ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น) ฤดูร้อน อากาศร้อนมาก ฤดูหนาวหนาวจัด มีฝนตกบ้างในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ได้แก่ ตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับ ตะวันตกเฉียงเหนือของจีน อิหร่าน มองโกเลีย พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้น หรือทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) ถ้ามีการชลประทานดีจะใช้เป็นที่เพาะปลูกข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ฝ้าย เลี้ยงสัตว์



    6.ภูมิอากาศแบบทะเลทราย

    ภูมิอากาศแบบทะเลทรายมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากทั้งกลางวันกลางคืน ฤดูร้อน – ฤดูหนาว ภูมิอากาศแบบทะเลทราย มีทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อน เช่น ทะเลทรายโกบี ทะเลทรายธาร์ ทะเลทรายในคาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงอิหร่าน พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้น หรือไม่มีพืชพรรณขึ้นเลย ส่วนบริเวณที่มีแหล่งน้ำใต้ดินหรือโอเอซีส ( Oasis ) มีต้นอินทผลัม ตะบองเพชร และไม้ประเภทมีหนาม



    7.เขตภูเขาสูงและที่ราบ

    เขตภูเขาสูงและที่ราบสูงอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง 180 เมตร ต่อ 1 องศาเซลเซียสหรือ1,000 ฟุต ต่อ 3.5 องศาฟาเรนไฮต์ พืชพรรณธรรมชาติเปลี่ยนไปตามระดับความสูงของพื้นที่



    8.เขตเมดิเตอร์เรเนียน

    เขตเมดิเตอร์เรเนียน ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง มีฝนตกในฤดูหนาว ได้แก่ ประเทศที่อยู่ใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ เช่น ตรุกี เลบานอน ซีเรีย อิสราเอล ตอนเหนือของอิรัก พืชพรรณธรรมชาติเป็นไม้ขนาดเล็ก ไม้พุ่ม ผลไม้มีรสเปรี้ยว เช่น องุ่น ส้ม มะกอก



    9.เขตกึ่งขั้วโลกหรือเขตป่าสน

    เขตกึ่งขั้วโลกหรือเขตป่าสน ฤดูร้อนมีระยะสั้น ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ฝนตกเป็นหิมะ ได้แก่ บริเวณไซบีเรีย พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าสน ในเขตไซบีเรียมีป่าสนเป็นแนวยาว เรียกว่า ป่าสนไทกา



    10.เขตทุนดราหรือเขตขั้วโลก

    เขตทุนดราหรือเขตขั้วโลก มีฤดูหนาวที่ยาวนานมาก อากาศหนาวจัดมีหิมะปกคลุมตลอดปี ไม่มีฤดูร้อน เดือนที่ร้อนจัดไม่เกิน 101 องศาเซลเซียส ได้แก่ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ พวกตะไคร่น้ำและหญ้ามอส





    เรามารู้จักทวีปของเรา



    1.จำนวนประชากรในทวีปเอเชีย

    เอเชียเป็นทวีปที่มีประชากรมากที่สุด เกินครึ่งหนึ่งของประชากรโลกอาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย

    จากสถิติเมื่อกลางปี ค. ส. 1993 (พ.ศ. 2536) ประชากรโลกมีจำนวนประมาณ 5,507 ล้านคน จำนวนประชากรในทวีปเอเชียมีประมาณ 3,255 ล้านคน ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอยู่ในทวีปเอเชีย คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประมาณ 1,179 ล้านคน รองลงมาอินเดียมีประมาณ 898 ล้านคน อัตราการเพิ่มประชากรโลกร้อยละ 1.6 ต่อปี ทวีปเอเชียเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 1.7 จำแนกเป็นภูมิภาคเอเชียตะวันออก เพิ่มร้อยละ 1.1 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มร้อยละ 1.9 เอเชียใต้เพิ่มร้อยละ 2.3 และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เพิ่มร้อยละ 2.8 ปัจจัยที่ทำให้อัตราการเพิ่มประชากรต่างกันคือ อายุ สตรีที่สมรสมีอายุน้อย จะมีโอกาสกำเนิดบุตรได้มากกว่าสตรีที่สมรสเมื่ออายุมาก การศึกษา ปัจจุบันพบว่าสตรีที่มีการศึกษาจะแต่งงานช้าหรือไม่แต่งงานเลย เช่น ประเทศสิงคโปร์รัฐบาลประกาศเชิญชวนให้สตรีที่มีการศึกษาสูงแต่งงาน การสนับสนุนของรัฐ ปัจจุบันหลายประเทศรัฐบาลสนับสนุนให้มีการวางแผนครอบครัว ยกเว้นภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ไม่นิยมการวางแผนครอบครัว เพราะเป็นข้อห้ามทางศาสนา

    ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีผลกระทบหลายด้าน เช่น รัฐไม่สามารถจัดบริการต่าง ๆ ได้เพียงพอ ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเรื่องสาธารณสุข สาธารณูปโภค การศึกษา ที่อยู่อาศัย อาหาร การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนทรัพยากร ปัญหามลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน



    2.การกระจายตัวของประชากร

    พื้นที่ในทวีปเอเชียมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และความเจริญทางด้านวิชาการ

    ความหนาแน่นของประชากรคิดจากจำนวนเฉลี่ยของประชากรต่อเนื้อที่หนึ่งหน่วยทวีปเอเชียมีประชากรประมาณ 3,255 ล้านคน มีเนื้อที่ประมาณ 44 ล้านตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย ประมาณ 73 คน ต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร







    ลักษณะการกระจายของประชากรในทวีปเอเชีย แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ



    1.เขตหนาแน่นมาก

    เขตหนาแน่นมาก ได้แก่ ภาคใต้ของเกาะฮอนชู กิวชู และชิโกกุในญี่ปุ่น ตอนใต้และตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลี ที่ราบแมนจูเรีย ที่ราบลุ่มน้ำฮวงโห แยงซีเกียง ชายฝั่งตะวันออกของอจีน เกาะไต้หวัน ที่ราบปากแม่น้ำแดงในเวียดนาม ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในเวียดนามตอนใต้ ตอนใต้และตะวันตกของเกาะลูซอนประเทศฟิลิปปินส์ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันตกประเทศมาเลเซีย เกาะชวาในอินโดนีเซีย ลุ่มน้ำคงคา พรหมบุตร ชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกของประเทศอินเดีย ตอนใต้ของประเทศศรีลังกา



    2.เขตหนาแน่นปานกลาง

    เขตหนาแน่นปานกลาง ได้แก่ ด้านตะวันตกของเกาหลี ไทย มาเลเซีย ลุ่มน้ำอิระวดีในพม่า ตอนเหนือของเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย คาบสมุทรเดคคานในอินเดีย ลุ่มน้ำไทกรีส – ยูเฟรตีสในอิรัก ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน



    3.เขตเบาบาง

    เขตเบาบาง มีประชากรอาศัยอยู่น้อย เนื่องจากภูมิประเทศและภูมิอากาศไม่อำนวยต่อการตั้งถิ่นฐาน คือ มีอากาศหนาว เช่น ไซบีเรีย เป็นเขตทะเลทราย มีสภาพแห้งแล้ง กันดาร เช่น ทะเลทรายโกบีในมองโกเลีย ทะเลทรายในคาบสมุทรอาหรับ ทะเลทรายในอิหร่าน ทะเลทรายธาร์ในอินเดียและปากีสถาน เป็นที่ราบสูงและเทือกเขา เช่น ที่ราบสูงทิเบต เทือกเขาสูงทางเหนือของอินเดีย ไทย พม่า ลาว และเวียดนาม เป็นเขตป่าดงดิบ เช่น ตอนกลางของเกาะสุมาตรา บริเวณส่วนใหญ่ของเกาะเบอร์เนียว เกะซีลีเบสในอินโดนีเซีย





    3. สภาพสังคมและวัฒนธรรมของทวีปเอเชีย



    3.1เชื้อชาติและเผ่าพันธุ์

    3.1.1พวกมองโกลอยด์

    พวกมองโกลอยด์เป็นพวกผิวเหลือง ผมสีดำเหยียดตรง มีขนบ้างตามตัว หน้าค่อนข้างแบน โหนกแก้มแลเห็นชัด ส่วนหนึ่งของเปลือกตาจะพับเข้า (ตาชั้นเดียว) จมูกทรงแบน ไม่โด่ง ริมฝีปากไม่บางอย่างชาติพันธุ์คอเคซอยด์ แต่ไม่หนาอย่างชาติพันธุ์นิกรอยด์ คางมักจะยื่นออกมา ขากรรไกรบนเป็นรูปโค้งยื่นออกมามาก ศีรษะค่อนข้างกลม สมองมีขนาดใหญ่มาก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มมองโกลอยด์เหนือ อาศัยอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของเอเชีย ได้แก่ชาวทิเบต จีน ญี่ปุ่น เกาหลี กลุ่มมองโกลอยด์ใต้อาศัยอยู่ทางตอนใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และชนกลุ่มน้อยในหมู่เกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พวกดยัก (Dyak)



    3.1.2พวกคอเคซอยด์

    พวกคอเคซอยด์เป็นพวกผิวขาว หน้าตารูปร่างสูงใหญ่อย่างชาวยุโรป แต่ผมและตามีสีดำ อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียและทางตอนเหนือของอินเดีย ได้แก่ ชาวอาหรับ ชาวปากีสถาน ชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือ ชาวเนปาล ชาวภูฐาน และชาวอัฟกานิสถาน



    3.1.3พวกนิกรอยด์

    พวกนิกรอยด์เป็นพวกผิวดำหรือน้ำตาลเข้ม ผมหยิกและมีสีดำ กะโหลกศีรษะค่อนข้างยาว รูปร่างสูงปานกลาง ได้แก่ พวกทมิฬ พวกดราวิเดียน ชนพื้นเมืองในอินเดีย พวกอาอิตา ชนพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ แต่พวกพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเอเชีย ได้แก่ พวกเงาะซาไก เซมัง ปาปวน มีเชื้อสายนิกรอยด์ ที่มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก ผมหยิก มักจะอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของอินเดีย ศรีลังกา คาบสมุทรมาเลย์ และหมู่เกาะต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



    3.2ศาสนา

    ทวีปเอเชียเป็นแหล่งกำเนิดทุกศาสนา เอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นแหล่งกำเนิดศาสนายูดาห์ คริสต์ และอิสลาม เอเชียใต้ เป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาพราหมณ์ พุทธ ฮินดู และเชน เอเชียตะวันออก เป็นแหล่งกำเนิดของลัทธิขงจื๊อ เต๋า และชินโต

    ศาสนาพราหมณ์ ถือเป็นศาสนาเก่าแก่ที่สุดของโลก กำเนิดเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ต่อมาเปลี่ยนแปลงให้พิธีการต่าง ๆ ลดน้อยลง กลายเป็นศาสนาฮินดู ซึ่งชาวอินเดียได้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ ในปัจจุบันนับว่ามีผู้นับถือมากที่สุดในทวีปเอเชีย ศาสนาพุทธเกิดก่อนศาสนาคริสต์ประมาณ 500 ปี มีผู้นับถือมากในทิเบต ภูฎาน ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชาเวียดนาม ประชากรส่วนใหญ่ของจีนและญี่ปุ่น ศาสนาคริสต์ ชาวฟิลิปปินส์นับถือมาก ศาสนาอิสลามเกิดภายหลังศาสนาคริสต์ ประมาณ 600 ปี มีผู้นับถือมากในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ปากีสถาน ภาคเหนือของอินเดีย บังคลาเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และมีบ้างในศรีลังกา อินเดีย พม่า ไทย ฟิลิปปินส์ นับว่ามีผู้นับถือมากเป็นอันดับสอง ส่วนลัทธิเต๋าและขงจื๊อ แพร่หลายในจีน ลัทธิชินโต แพร่หลายในญี่ปุ่น



    3.3ภาษา

    ภาษาที่ใช้ในทวีปเอเชียมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนมากมายนับพันภาษา ซึ่งแบ่งได้

    8 กลุ่ม ภาษา คือ กลุ่มภาษาตุรคิก ใช้ทางภาคใต้ของเครือจักรภพและรัฐอิสระ กลุ่มภาษา

    สลาวิก เป็นกลุ่มภาษาของชาวรัสเซีย ภาคกลางและตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่มภาษาตุงตูสิก ใช้พูดกันแถบตะวันออกเฉียงเหนือของจีน กลุ่มภาษาจีนใช้ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม กลุ่มภาษาอินโด – อารยัน นิยมใช้กันในเอเชียใต้ กลุ่มภาษาอิเรเนียนใช้พูดกันในประเทศอัฟกานิสถานและอิหร่าน กลุ่มภาษาทิเบต – พม่า ใช้ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มภาษามองโกล ใช้พูดกันในไซบีเรีย

    ปัจจุบันภาษาที่ใช้มากที่สุดในทวีปเอเชียคือ ภาษาจีน โดยเฉพาะประเทศจีนและ

    สิงคโปร์ใช้มากจำแนกเป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว ไหหลำ จีนกลาง (แมนดาริน) ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง เป็นต้น รองลงมาอันดับสองคือ ภาษาฮินดี ใช้ในอินเดียและปากีสถาน ลำดับที่สามคือ ภาษาอาหรับใช้มากในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้หรือดินแดนที่นับยถือศาสนาอิสลาม ลำดับที่สี่คือ ภาษารัสเซีย ใช้ในรัสเซียและเครือจักรภพแห่งรัฐอิสระ นอกจากนี้ยังมีภาษาที่ใช้กันเฉพาะภายในประเทศ หรือเรียกว่า ภาษาประจำชาติ เช่น ภาษาสิงหลในศรีลังกา ภาษาไทยในไทย ภาษาเขมรในกัมพูชา ภาษาลาวในลาว และภาษาตากาล็อกในฟิลิปปินส์ เป็นต้น และยังมีภาษาของชนกลุ่มน้อยในแต่ละประเทศเนื่องจากปัจจุบันมีการไปมาติดต่อทุกภูมิภาคในโลก ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นอีกภาษาหนึ่งในทวีปเอเชีย



    4.สภาพสังคม



    4.1สังคมของชาวเอเชียตะวันออก

    ด้านศาสนา

    ชาวจีน นับถือลัทธิขงจื๊อมา 200 - 300 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาได้รับเอาศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าไปผสมกลมกลืนกับสังคมจีน จนกระทั่งจีนเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ บทบาทของศาสนาต่าง ๆ ถูกจำกัด ประชาชนยึดถือผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์แทน ชาวญี่ปุ่นนับถือทั้งลัทธิชินโต ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ ซึ่งสามารถผสมกลมกลืนเป็นวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น แต่กลุ่มชนที่มีอิทธิพลและมีบทบาทสูงในสังคมญี่ปุ่น เป็นกลุ่มชนที่นับถือศาสนาคริสต์

    ด้านเศรษฐกิจ

    ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน เป็นสังคมที่มีเศรษฐกิจดี เป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรม มีการ ผลิตเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปใช้ด้านการเกษตร การศึกษา ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และมีผู้รู้หนังสือเป็นเปอร์เซนต์สูงที่สุด ในทวีปเอเชีย จีนเป็นประเทศที่กำลังส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมและการค้าขายกับชาวต่างชาติ ฮ่องกงเป็นดินแดนที่มีตลาดการค้าเสรี ปลอดภาษี ทำให้คนทั่วโลกนิยมไปซื้อของ เพราะสินค้าราคาถูก



    4.2สังคมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ด้านศาสนา

    เป็นสังคมที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงน้อย เป็นดินแดนที่ผสมผสานทั้งวัฒนธรรม จีน อินเดีย ได้ดี และแม้ว่าประชากรในเขตนี้นับถือศาสนาต่างกัน คือ มีทั้งศาสนาพุทธ อิสลาม ฮินดู คริสต์ ขงจื๊อ แต่ก็อยู่ร่วมกัน ได้ด้วยความสงบสุข

    ด้านเศรษฐกิจ

    ประชาชนส่วนใหญ่ยึดอาชีพการเกษตร เป็นสังคมชนบท มีฐานะยากจน (โดยเฉพาะประเทศลาว มีความยากจนติดอันดับโลก) อ่านหนังสือไม่ออก ขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง สวัสดิการต่าง ๆ รัฐจัดให้ไม่เพียงพอ ยกเว้นประเทศสิงคโปร์เป็นผู้นำทางการค้า เป็นเขตปลอดภาษี ประชาชนมีการศึกษาดี รายได้ต่อหัวต่อปีสูง ประเทศบรูไน มีรายได้จากการค้าน้ำมัน รัฐจัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้ประชาชนอย่างดีและทั่วถึง เช่น ให้เรียนฟรีทุกระดับชั้น ส่วนประเทศไทย มาเลเซีย และอิโดนีเซีย กำลังเร่งพัฒนาประเทศให้เป็นผู้นำทางอุตสาหกรรม



    4.3สังคมของชาวเอเชียใต้

    วัฒนธรรมของชาวเอเชียใต้มีรากฐานมาจากพวกอารยันชาวผิวขาวที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสต์กาล ทำให้ศาสนาฮิดู และกำหนดโครงสร้างของสังคมชาวเอเชียใต้ โดยใช้สีผิวเป็นเครื่องแบ่ง เกิดระบบวรรณะ คือ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ พวกชาวพื้นเมือง ผิวดำ ยากจน เป็นกรรมกร อยู่ในวรรณะศูทร ถ้าพวกวรรณะศูทรแต่งงานกับต่างวรรณะ ลูกที่ออกมาเป็นจัณฑาล เป็นที่รังเกียจของคนทุกวรรณะ การมีระบบวรรณะทำให้คบค้าสมาคมเฉพาะพวกตน คนที่มีความสามารถไม่มีโอกาสเลื่อนชั้นทางสังคมได้ และทำให้มีอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้ออกกฎหมายให้ระบบวรรณะ เป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่สังคมยังถือระบบวรรณะเช่นเดิม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเอเชียใต้อีกกรณีหนึ่งคือ เรื่องศาสนา ซึ่งเป็นความขัดแย้งภายในประเทศ เช่น ระหว่างชาวฮินดูกับมุสลิมในอินเดีย และระหว่างชาวซิกข์กับฮินดูในอินเดีย กับความขัดแย้งระหว่างประเทศ เช่น ระหว่างชาวฮินดูในอินเดียกับชาวมุสลิมในปากีสถาน

    ด้านเศรษฐกิจ

    ประชาชนมีอาชีพด้านเกษตร ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน โดยเฉพาะประเทศเนปาลและบังคลาเทศ เป็นประเทศที่ยากจนติดอันดับโลก เนื่องจากทำเลที่ตั้งประเทศเนปาลมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและที่ราบสูง ส่วนบังคลาเทศได้รับความเสียหายจากพายุไซโคลนเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ระบบวรรณะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนมีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน



    4.4สังคมของชาวเอเชียตะวันตกเฉียงใต้หรือตะวันออกกลาง

    สังคมของชาวเอเชียตะวันตกเฉียงใต้หรือตะวันออกกลางเป็นดินแดนแห่งความขัดแย้ง เพราะมีวัฒนธรรมและความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เช่น กรณีสงครามอิหร่านกับอิรั เกิดจากความขัดแย้งระหว่างมุสลิมสองนิกาย คือ ชีอะห์และสุหนี่ กรณีต่างเชื้อชาติกัน เช่น ชาวยิว (อิสราเอล) ขัดแย้งกับพวกอาหรับเรื่องดินแดนที่อยู่อาศัย กรณีต่างศาสนากัน เช่น พวกยิวนับถือศาสนายูดาห์ และพวกนับถือศาสนาคริสต์ในซีเรียและเลบานอนการดำเนินชีวิตในสังคมยึดถือคัมภีร์กุรอานหรือโกหร่านเป็นหลัก ซึ่งมีส่วนทำให้สิทธิสตรีมีน้อย เช่น เมื่อจะออกจากบ้านต้องใช้ผ้าปิดหน้าไม่ให้ผู้อื่นเห็น



    4.5สังคมของชาวเอเชียที่อยู่ตอนกลางหรือตอนในทวีป

    สังคมของชาวเอเชียที่อยู่ตอนกลางหรือตอนในทวีป ได้แก่ บริเวณมองโกเลีย ทิเบต บางส่วนของจีนและรัฐมุสลิมที่แยกตัวมาเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ ส่วนมองโกเลียและทิเบต นับถือศาสนาพุทธ นิกายลามะ แต่ประเทศทิเบตตกอยู่ใต้อิทธิพลของจีน ซึ่งจีนนับถือผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์

    ด้านเศรษฐกิจ

    เนื่องจากภูมิประเทศเป็นทะเลทรายและที่ราบสูง ทำให้ภูมิอากาศแห้งแล้ง ผลิตผลการเกษตรไม่เพียงพอที่จะส่งเป็นสินค้าออกได้ จึงทำให้ประชาชนมีฐานะยากจน ดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิม



    5.สภาพเศรษฐกิจของทวีปเอเชีย



    5.1ด้านเกษตรกรรม



    5.1.1การเพาะปลูก แตกต่างกันตามลักษณะภูมิอากาศ

    ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน พืชที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง อ้อย ยาสูบ ชา พืชผักผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ปอ ฝ้าย กาแฟ มะพร้าว ป่านมะนิลา

    ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตอบอุ่น พืชที่สำคัญได้แก่ ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย

    ภูมิอากาศแบบทะเลทราย การเพาะปลูกทำกันเฉพาะในเขตโอเอซีสและที่ราบริมฝั่งแม่น้ำที่มีการชลประทานเท่านั้น พืชที่ปลูกได้แก่ ต้นอินทผลัม ฝ้าย ข้าวฟ่าง

    ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น ปลูกขาวสาลี ข้าวฟ่าง ฝ้าย

    ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ปลูกผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม องุ่น มะนาว มะกอก

    ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ปลูกข้าวโพด ข้าวสาลี



    5.1.2การเลี้ยงสัตว์

    ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนและมรสุมเขตอบอุ่น มีการเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งาน เพื่อบริโภค และส่งเป็นสินค้าออก ได้แก่ หมู ไก่ เป็ด ปลา โค กระบือ ม้า

    ภูมิอากาศแบบทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย มีอาชีพเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน เพื่อใช้งาน ใช้นมและเนื้อเป็นอาหาร เช่น อูฐ แพะ แกะ โค ม้า จามรี

    ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป นิยมเลี้ยงโคนม



    5.1.3การทำป่าไม้

    เขตร้อน เช่น ประเทศไทย พม่า อินเดีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ส่วนมากเป็นไม้เนื้อแข็ง นำไปใช้ในการก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์

    เขตหนาว ส่วนมากเป็นป่าสน นำไปทำกระดาษ



    5.1.4การทำเหมืองแร่

    แร่สำคัญที่ขุดมาใช้เป็นเวลานานแล้ว และสามารถทำรายได้ให้ประเทศ เช่น

    คาบสมุทรอินโดจีนและแหลมมลายู มีแร่ดีบุก ทำรายได้ให้กับประเทศไทยและมาเลเซีย

    คาบสมุทรอาหรับรอบ ๆ อ่าวเปอร์เซีย เทือกเขาคอเคซัส เกาะเบอร์เนียว เกาะสุมาตรา และบรูไน มีน้ำมันเป็นสินค้าออก

    ไซบีเรีย อืนเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า ส่งเพชรพลอยเป็นสินค้าออก

    ฟิลิปปินส์ มีโครไมต์ แร่ทองแดงและนิกเกิลมาก

    อินเดีย มีแร่มังกานีสมาก

    อินโดนีเซีย มีแร่นิกเกิลมาก



    5.1.5การประมง

    แหล่งประมงที่สำคัญคือ น่านน้ำชายฝั่งตะวันออกจากอ่าวไทยถึงช่องแคบเบริง โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่า คูริลแบงค์ มีปลาชุกชุม เพราะกระแน้ำเย็นโอยาชิโวไหลมาบรรจบกับกระแสน้ำอุ่นกุโรชิโว ประเทศที่จับปลาได้มาก คือ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์



    5.2ด้านอุตสาหกรรม แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ



    5.2.1อุตสาหกรรมในครัวเรือน

    อุตสาหกรรมในครัวเรือน ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ใช้แรงงานในครอบครัว ผลผลิตใช้บริโภคภายในครอบครัวหรือส่งขายตลาดในท้องถิ่น เช่น การทำร่ม ทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า การจักสาน การทำเครื่องเขิน เครื่องเงิน และสินค้าพื้นเมืองของทุกประเทศในทวีปเอเชีย



    5.2.2อุตสาหกรรมโรงงานขนาดเล็ก

    อุตสาหกรรมโรงงานขนาดเล็กเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัว วัตถุดิบอาจสั่งซื้อจากที่อื่น ใช้ทั้งแรงงานคนและเครื่องจักร หรือเครื่องทุ่นแรงขนาดเล็กเข้ามาช่วยบ้าง เช่น การผลิตอาหารกระป๋อง สิ่งพิมพ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์



    5.2.3อุตสาหกรรมขนาดใหญ่

    อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการลงทุนสูงในการซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่ ทันสมัย ระบบอัตโนมัติ สามารถผลิตสินค้าครั้งละเป็นจำนวนมาก ส่วนแรงงานคนต้องเป็นที่มีฝีมือและมีความเชี่ยวชาญการใช้เครื่องจักรนั้น ๆ เช่น การผลิตปูนซิเมนต์ ผลิตรถยนต์ ผลิตเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้า ประเทศที่มีความก้าวหน้า ด้านเทคโนโลยีมาก คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ส่วนไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พยามที่จะพัฒนาไปสูการเป็นประเทศ อุตสาหกรรมใหม่ หรือนิกส์ (Newly Industrialized = NICs)



    5.3การค้า

    ปัจจุบันทวีปเอเชียมีการติดต่อค้าขายทั่วโลก สินค้าจากทวีปเอเชียกำลังเป็นที่นิยมของตลาดในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ เพราะราคาถูกและได้มาตรฐาน มีทั้งสินค้าด้านเกษตร สิ่งทอ เครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล มีบางประเทศที่เน้นการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศมากกว่าการส่งออก คือ พม่า ลาว ศรีลังกา อัฟกานิสถาน เนปาล เป็นต้น



    5.4การคมนาคมขนส่ง

    การคมนาคมขนส่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและความเจริญของประเทศ การขนส่งจะนำวัตถุดิบจากแหล่งผลิตไปสู่โรงงาน และนำวัตถุสำเร็จรูปไปสู่ตลาด เส้นทางคมนาคมของทวีปเอเชียแบ่งเป็นเส้นทางภายในทวีปเอเชียกับทวีปอื่น ๆ



    5.4.1เส้นทางคมนาคมภายในทวีป

    เส้นทางคมนาคมภายในทวีป ได้แก่ เส้นทางคาราวาน ทางถนน ทางน้ำ ทางรถไฟ และทางอากาศ

    เส้นทางคาราวานและทางเกวียน เขตภูมิประเทศที่เป็นทะเลทราย นิยมใช้อูฐ ม้า และลา ในการขนส่ง ในบริเวณที่สูงและป่าเขาใช้สัตว์บรรทุกสิ่งของ เช่น จามรี (yak รูปร่างคล้ายกระบือ แต่มีขนยาว นิยมเลี้ยงบนที่ราบสูงทิเบต) ช้าง ม้า ลา และล่อ ในเขตอากาศหนาวจัด ใช้กวางเรนเดียร์ สุนัขลากเลื่อนไปตามพื้นดิน ที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง เป็นต้นส่วนตามชนบทของหลายประเทศในทวีปเอเชียยังมีการใช้เกวียนในการบรรทุกสิ่งของและเดนทางไปมาหาสู่กัน เส้นทางคาราวานที่สำคัญ คือ จากเมืองปักกิ่งของจีนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือผ่านทะเลทรายโกบีไปเชื่อมเมืองอูลานบาเอตร์ เมืองหลวงของมองโกเลียและทะเลสาบไบคาล (ทะเลสาบนำจืดที่ลึกที่สุดในโลก 1731.3 เมตร หรือ 5,771 ฟุต อยู่ในเขตรัสเซีย) อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากจีนไปทางตะวันตกเชื่อมเมืองเชวต เมืองหลวงของมณฑล เสฉวนกับลาซาลเมืองหลวงของทิเบต

    เส้นทางถนน ในทวีเอเชียส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา มีฐานะยากจนจึงทำให้การพัฒนาถนนให้ได้มาตรฐานมีน้อย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ถนนสายสำคัญซึ่งเชื่อมการติดต่อระหว่างประเทศในเอเชียและเข้าไปถึงทวีปยุโรปและแอฟริกาได้ คือ ทางหลวงสายเอเชีย (Asian Highway) ประกอบด้วย 2 สายหลัก คือ A – 1 เริ่มต้นจากโฮจิมินห์ซิตี้ (ในเวียดนาม) ปราจีนบุรี อยุธยา ตาก (ไทย) ย่างกุ้ง (พม่า) ธากา (บังคลาเทศ) กัลกัตตา นิวเดลี (อินเดีย) ละฮอร์ ราวัลปินดี อิสลามาบัด (ปากีสถาน) คาบูล (อัฟกานิสถาน) เตหะราน (อิหร่าน) ไปสิ้นสุดที่อังการา (ตุรกี) สาย A - 2 เริ่มต้นจากอินโนีเซีย ผ่านสิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย) สงขลา กรุงเทพมหานคร เชียงราย (ไทย) มัณฑะเลย์ (พม่า) รากา (บังคลาเทศ) พาราณสี นิวเดลี (อินเดีย) ละฮอร์ (ปากีสถาน) ซาฮิถาน เตหะราน ทาบริช (อิหร่าน) ไปสิ้นสุดที่ แบกแดด (อิรัก)



    เส้นทางรถไฟ ประเทศในทวีปเอเชียที่มีทางรถไฟที่มีทางรถไฟอย่างทั่วถึงคือ ญี่ปุ่น อินเดีย และปากีสถานส่วนจีนมีทางรถไฟหนาแน่นทางชายฝั่งตะวันออก โดยมีเมืองปักกิ่งเป็นศูนย์กลาง ส่วนประเทศอื่น ๆ ยังมีน้อย โดยเฉพาะลาวไม่มีทางรถไฟเลย ในคาบสมุทรอินโดจีนมีทางรถไฟเชื่อมกรุงเทพมหานครกับสิงคโปร์ ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้มีทางรถไฟติดต่อระหว่างเมืองสเมอร์นาในตุรกี – อาเลโป – ดามัสกัส ในซีเรียและเมดินาในซาอุดิอาระเบีย



    เส้นทางน้ำ ประเทศที่อยู่ในเขตมรสุมจะมีอาชีพทางการเกษตรและนิยมอาศัยตามฝั่งแม่น้ำ ฉะนั้น การเดินทางติดต่อและขนส่งสินค้ายังใช้เส้นทางน้ำอยู่ แม่น้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำแยงซีเกียง ฮวงโห ซีเกียง ในจีน แม่น้ำอาร์มูในแมนจูเรีย แม่น้ำสินธุในปากีสถาน แม่น้ำคงคาและพรหมบุตรในอินเดีย ส่วนในคาบสมุทรอินโดจีน เมืองหลวงของประเทศในเขตส่วนนี้ส่วนมากจะตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำที่ควบคุมเส้นทางคมนาคม เช่น กรุงเทพมหานคร ย่างกุ้ง พนมเปญ ฮานอย เป็นต้น

    เส้นทางอากาศ ปัจจุบันประชาชนนิยมเดนทางด้วยเครื่องบิน เพราะสะดวกรวดเร็ว และมีเส้นทางสายการบินระหว่างเมืองสำคัญ ๆ ติดต่อกันได้ทั่วทวีปเอเชีย



    5.4.2เส้นทางคมนาคมระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปอื่น ๆ

    เส้นทางรถไฟ ทวีปเอเชียมีเส้นทางรถไฟติดต่อได้เฉพาะทวีปยุโรปเท่านั้น มี 3 สายคือ สายทรานส์ไซบีเรียน เป็นทางรถไฟที่ยาวที่สุดในโลก เชื่อมระหว่างกรุงมอสโก ทวีปยุโรปกับเมืองวลาดิวอสต็อก ทวีปเอเชียมีทางแยกเข้าไปในประเทศมองโกเลีย จีน และเกาหลี สายทรานส์ แคสเปียน เป็นทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงมอสโกไปยังเมืองบากู ฝั่งตะวันตกของทะเลสาบแคสเบียน แล้วมีทางรถไฟเชื่อมต่อกับทางรถไฟในอัฟกานิสถาน สายทรานส์ คอเคซัส ออกจากกรุงมอสโก อ้อมเทือกเขาคอเคซัส ไปยังเมืองบาตูริมฝั่งทะเลดำ

    เส้นทางน้ำ มีเส้นทางเดินเรือติดต่อทั่วทุกทวีป คือ ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป แอฟริกา อเมริกา และออสเตรเลีย โดยมีเส้นทางลัดที่สำคัญ คือ คลองสุเอ9 และช่องแคบมะละกา

    เส้นทางอากาศ ประชาชนในทวีปเอเชียสามารถติดต่อกับทวีปต่าง ๆ ได้ทุกทวีป เมืองที่มีทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์กลางและมีบริการด้านต่าง ๆ สะดวกสบาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จะมีสายการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศผ่านมาก เช่น กรุงเทพมหานคร สิงคโปร์ ฮ่องกง โตเกียว การาจี กัลกัตตา เตหะราน เป็นต้น







    ภูมิภาคเอเชียตะวันออก



    1.ที่ตั้งและอาณาเขต

    เอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 180 - 540 เหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 740 - 1540 ตะวันออก มีเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ลากผ่านภาคใต้ของจีนและเกาะไต้หวัน ประกอบด้วยประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย และอีก 3 ดินแดนคือ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า รวมพื้นที่ประมาณ 11.7 ล้านตารางกิโลเมตร

    ทิศเหนือ ติดต่อเครือจักรภพรัสเซียและสาธารณรัฐอิสระ

    ทิศตะวันตก ติดต่อเครือจักรภพรัสเซียและสาธารณรัฐอิสระ ปากีสถาน อินเดีย

    ทิศตะวันออก ติดต่อมหาสมุทรแปซิฟิก

    ทิศใต้ ติดต่ออินเดีย เนปาล ภูฎาน พม่า ลาว เวียดนาม ทะเลจีนใต้



    2.ลักษณะภูมิประเทศ

    ลักษณะภูมิประเทศ ประกอบด้วย 2 บริเวณ ได้แก่

    บริเวณภาคพื้นทวีป ได้แก่ เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ มองโกเลีย จีน

    บริเวณหมู่เกาะ ได้แก่ มาเก๊า ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น

    ลักษณะภูมิประเทศทั้ง 2 บริเวณ จำแนกได้ดังนี้

    1.เขตเทือกเขา เทือกเขาในเอเชียตะวันออก ส่วนมากแยกออกจากปามีร์นอต (Pamir Knot)เช่น เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาคาราโครัม เทือกเขาคุนลุน เทือกเขาอัลตินตัก เทือกเขาเทียนชาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขาชิงลาน เทือกเขาลิงชาน

    2.เขตที่ราบสูง เช่น ที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงดินเลิสส์ ที่ราบสูงแมนจูเลีย ที่ราบสูงยูนนาน ที่

    ราบสูงมองโกเลีย ที่ราบสูงทาริม ที่ราบสูงซุงกาเรีย

    3. แอ่งแผ่นดิน เป็นดินแดนที่มีน้ำไหลลงสู่ทะเลภายใน เช่น แอ่งทาริม แอ่งซุงกาเรียน แอ่งเทอร์ฟาน แอ่งเสฉวน

    4.ที่ราบลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำแยงซีเกียง ลุ่มน้ำแยงซีเกียง ลุ่มน้ำฮวงโหในจีน ลุ่มน้ำเลียว และลุ่มน้ำซุงการี ในแมนจูเลีย

    5.หมู่เกาะ ได้แก่ มาเก๊า ฮ่องกง ไต้หวัน เกาะไหหลำ หมู่เกาะญี่ปุ่น (เกาะฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู) ทั้งหมู่เกาะญี่ปุ่นและเกาะไต้หวันอยู่ในเขตภูเขาไฟที่ยังทรงพลังอยู่เป็นจำนวนมาก





    3.ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ

    3.1ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศ

    3.1.1ที่ตั้ง

    ที่ตั้ง (ละติจูด) เอเชียตะวันออกตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 180 - 540 เกหนือ บริเวณส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น

    3.1.2ความใกล้ไกลทะเล

    ความใกล้ไกลทะเล บริเวณที่อยู่ชายฝั่งตะวันออกอยู่ใกล้พื้นน้ำ จึงได้รับฝนมากกว่าบริเวณ ที่อยู่ลึกเข้ไปในแผ่นดิน

    3.1.3ลักษณะภูมิประเทศ

    ลักษณะภูมิประเทศทางตะวันตกมีเทือกเขาสูง ทางตอนใต้ของจีนมีเทือกเขาหิมาลัยขวางกั้นลมจากมหาสมุทรอินเดีย จึงทำให้เอเชียตอนกลางอากาศร้อนและแห้งแล้งมาก

    3.1.4ลมประจำที่พัดผ่าน



    ลมประจำที่พัดผ่าน คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ (ฤดูร้อน พฤษภาคม – ตุลาคม) พัดจากมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าสู่แผ่นดินใหญ่ ทำให้ฝนตกหนักบริเวณตอนใต้ของจีน ตะวันออกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น และลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ (ฤดูหนาว พฤศจิกายน – เมษายน) พัดจากในทวีปเอเชียกลาง ทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้งไม่มีฝนตกแต่ทางตะวันตกของญี่ปุ่นและทางเหนือของไต้หวันมีฝนตกชุกเพราะลมนี้พัดผ่านบริเวณน่านน้ำก่อน

    3.1.5พายุหมุนเขตร้อน

    พายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทะเลจีน ระหว่างเดือนกรกฎาคม – ตุลาคมทุกปี ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งเอเชียตะวันออกได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน



    3.2เขตภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ

    3.2.1มรสุมเขตร้อน

    มรสุมเขตร้อน ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีนและไต้หวัน ในฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดเพราะอยู่ใกล้ทะเล ฤดูหนาวอากาศอบอุ่นได้รับฝนเกิน 60 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติเป็นไม้ใบกว้าง ไม่ผลัดใบ เป็นไม้เนื้อแข็งเมืองร้อนหลายชนิด ไม่สำคัญคือ ต้นการบูร ซึ่งไต้หวันเป็นแหล่งผลิตสำคัญ

    3.2.2มรสุมเขตอบอุ่น

    มรสุมเขตอบอุ่น ได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดจากเขตแรกขึ้นไปถึงแม่น้ำฮวงโห บริเวณทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลีและส่วนใหญ่ของหมู่เกาะญี่ปุ่น ช่วงมรสุมฤดูร้อนบริเวณนี้จะอบอุ่นและชุ่มชื้น ช่วงมรสุมฤดูหนาวอากาศจะหนาวและแห้งแล้ง พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ใบกว้าง ผลัดใบ เช่น ไม้สปรูซ เฮมล็อค ลอเรล รวมทั้งไม้ไผ่นานาชนิด

    3.2.3มรสุมอบอุ่นค่อนข้างหนาว

    มรสุมอบอุ่นค่อนข้างหนาว ได้แก่ บริเวณทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทาง

    เหนือของคาบสมุทรเกาหลี เกาะฮอกไกโดของญี่ปุ่น ในฤดูร้อนอากาศอบอุ่นค่อนข้างร้อน ได้รับฝนบ้าง ในฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นมาก มีทั้งหิมะตก พืชพรรณธรรมชาติเป็นพวกต้นสนสลับไม้ผลัดใบ เช่น ต้นโอ๊ก ต้นไพน์ ต้นเฟอร์ เป็นต้น



    3.2.4ทะเลทรายเขตอบอุ่น

    ทะเลทรายเขตอบอุ่น ได้แก่ บริเวณตั้งแต่ทะเลทรายตากลามากัน อยู่ทางภาคตะวันตกของจีนจนถึงทะเลทรายโกบีในมองโกเลีย มีลักษณะอากาศรุนแรง คือ ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ฝนมีน้อยมาก พืชพรรณธรรมชาติเป็นพวกไม้หนามเล็ก ๆ เช่น ต้นตะบองเพชร และทุ่งหญ้าขึ้นแซมบ้างประปราย



    3.2.5เขตภูเขา

    เขตภูเขา ได้แก่ ทางตะวันตกของเอเชียตะวันออก เป็นเขตที่สูงและมีภูเขาต่อเนื่องกันอย่าง

    กว้างขวาง เช่น ที่ราบสูงทิเบต เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาคุนลุน เป็นบริเวณที่มีฝนประจำปีน้อย เพราะเป็นเทือกเขาหิมาลัยขวางกั้นลมจากมหาสมุทรอินเดีย จึงมีความหนาวเย็นและแห้งแล้งตามความสูงของพื้นที่ พืชพรรณธรรมชาติมีหลายลักษณะหลายชนิด เปลี่ยนไปตามระดับความสูง บริเวณที่ความสูงเกิน 4,000 เมตร จะมีหิมะปกคลุมตลอดปี ไม่มีพืชพรรณธรรมชาติเจริญเติบโตได้เลย บริเวณที่ราบสูงทิเบตจะมีทุ่งหญ้าสั้น ๆ ใบเรียวเล็กกระจัดกระจายเป็นหย่อม ๆ ไม่มีแผ่ติดกันเป็นปีกกว้าง





    4.ลักษณะทางเศรษฐกิจ

    4.1การเกษตร



    4.1.1การเพาะปลูก

    พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ปลูกได้ในบริเวณที่ฝนตกชุก เช่น ชายฝั่งตะวันออกของจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ในเขตหนาว แห้งแล้ง เช่นแมนจูเรีย ภาคเหนือของจีน – ญี่ปุ่น – มองโกเลีย ปลูกข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เลย์ เกาเหลียง ถั่วเหลือง มันฝรั่ง ส่วนพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง ยาสูบ อ้อย ป่าน ปอ พืชผัก ผลไม้เมืองหนาวและเมืองร้อน เช่น ส้ม กล้วย สับปะรด แอปเปิ้ล แพร์ ปลูกได้ทั่วไปตามสภาพภูมิอากาศของประเทศ นั้น ๆ เช่น จีน ปลูกพืช ผัก ผลไม้ หลายชนิดปะปนกันส่วนญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน จะมีการเพาะปลูกพืชหมุนเวียนไปตามฤดูกาลและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางการเกษตรมาใช้ทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นส่วนชา นิยมปลูกทุกประเทศเพราะประชากรในเอเชียตะวันออกนิยมดื่มชา ปลูกกันมากตามไหล่เขาที่มีความชุ่มชื้นสูงจนทำให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสามารถส่งไปจำหน่ายทั่วโลกได้



    4.1.2การเลี้ยงสัตว์

    เขตทุ่งหญ้าทางภาคตะวันตกและภาคเหนือของจีนเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน ได้แก่ วัว ม้า แกะ แพะ ลา ในทิเบตเลี้ยงจามรี อูฐเลี้ยงมากในจีนและมองโกเลีย ทางตะวันออกของจีนที่มีการเพาะปลูก นิยมเลี้ยงเป็ด ไก่ ห่าน สุกร ควบคู่ไปด้วย ส่วนเกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น นิยมเลี้ยงเพื่อการค้า ทำเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ เช่น ญี่ปุ่นทำฟาร์มโคนมที่เกาะฮอกไกโด เป็นฟาร์มขนาดใหญ่ที่สุดในเขตหนาว และทำฟาร์มโคเนื้อในเขต ที่ราบกวานโต







    4.1.3การทำป่าไม้

    ปัจจุบันทุกประเทศมีป่าไม้ลดน้อยลง ทำให้อาชีพการทำป่าไม้ลดความสำคัญลงไปด้วย รัฐบาลเน้นให้มีการปลูกป่าทดแทนมากกว่า เช่น ญี่ปุ่น ส่งเสริมการปลูกป่าและอนุรักษ์ป่าเป็นอย่างดี เกาหลีเหนือและไต้หวันทำอุตสาหกรรมขนาดเล็กเกี่ยวกับไม้สนและไม้ไผ่ที่ปลูกเอง จีนอาชีพป่าไม้มีบ้างในเขตแมนจูเรียและมณฑลเสฉวน

    4.1.4การประมง

    เป็นอาชีพสำคัญของชาวเอเชียตะวันออก มีทั้งประมงน้ำจืดและน้ำเค็ม ญี่ปุ่นมีการทำประมงน้ำเค็มมากที่สุดในโลก เพราะมีแหล่งปลาชุกชุมที่คูริลแบงค์ และได้ร่วมลงทุนทำประมงกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกด้วย ประเทศในเอเชียตะวันออกที่จับปลาได้มากรองลงมาคือ จีน เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และไต้หวัน นอกจากนี้ญี่ปุ่นมีเทคนิคการทำฟาร์มปลา เลี้ยงหอยมุก ปลูกสาหร่ายทะเลเพื่อนำมาบริโภค นับว่าญี่ปุ่นเป็นผู้นำทางการประมง ที่ทั่วโลกยอมรับ

    4.1.5การทำเหมืองแร่

    จีน มีแร่ที่สำคัญคือ ถ่านหิน น้ำมัน เหล็ก ถ่านหินมีมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหภาพโซเวียต (เดิม) และสหรัฐอเมริกา น้ำมันสามารถผลิตเป็นสินค้าออกให้แก่ญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เหล็กมีกระจายทั่วไปแต่มีคุณภาพต่ำ นอกจากนี้จีนยังเป็นแหล่งผลิตแอนติโมนี (พลวง) และทังสเตนที่สำคัญของโลก ตะกั่ว สังกะสี เงิน ปรอทและทองคำมีบ้าง

    ญี่ปุ่น แร่ธาตุที่สำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ถ่านหิน น้ำมัน เหล็ก มีน้อย ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ส่วนกำมะถันมีมากพอที่จะส่งเป็นสินค้าออก แร่อื่น ๆ ที่มีได้แก่ ตะกั่ว เงิน ทองคำ ทองแดง ดินเหนียวอย่างดี

    เกาหลีเหนือ แร่ธาตุที่สำคัญ คือ ถ่านหิน มีมากเป็นอันดับ 3 ของทวีปเอเชียรองจากจีนและอินเดีย

    เกาหลีใต้ แร่ธาตุที่สำคัญคือ เหล็ก ทองแดง ทังสเตน แกรไฟต์ ฟลูออไรด์ หินปูน ถ่านหิน ทองคำ และเงิน ไต้หวัน มีแร่ถ่านหิน น้ำมัน กำมะถัน เกลือ ทองแดง ทองคำ แต่ไม่มากนัก ถ่านหินและน้ำมันผลิตใช้เฉพาะภายในประเทศ มองโกเลียมีแหล่งสำรองถ่านหินใกล้เมืองอูลานบาเตอร์ และมีแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น ทองคำ พลวง ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว แกรไฟต์ ปรอท กำมะถัน และเงิน

    4.2การอุตสาหกรรม

    ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมสำคัญของโลกเพราะสินค้าทุกประเภทของประเทศเหล่านี้เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก



    ญี่ปุ่น มีเขตอุตสาหกรรม 4 เขตใหญ่ คือ เขตโตเกียว – โยโกฮามา (ที่ราบกวานโต) เป็นเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่น มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งอุตสาหกรรมหนัก ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก ผลิตเครื่องจักร รถยนต์ กลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม การต่อเรือที่เมืองโยโกฮามา มีอู่ต่อเรือขนาดใหญ่จำนวนมาก เรือบรรทุกน้ำมันที่มีอยู่ทั่วโลกขณะนี้ประมาณ 80 % เป็นเรือที่ต่อในญี่ปุ่น อุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตเครื่องโลหะ เคมีภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า แก้ว กระดาษ การผลิตอาหารสำเร็จรูป เขตนาโกยา (ที่ราบโนบิ) มีอุตสาหกรรมเคมี ทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ทำเครื่องเคลือบดินเผา ถลุงเหล็ก ส่วนเมืองโตโยตาใกล้กับเมืองนาโกยาเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตรถยนต์ ผลิตเครื่องไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เขตโกเบ – โอซากา (ที่ราบกินกิ) เป็นย่านอุตสาหกรรมสำคัญอันดับสอง โอซากาเคยมีชื่อเสียงทางด้านอุตสาหกรรมทอผ้าฝ้าย ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมถลุงเหล็กผลิตเครื่องจักรและอุตสาหกรรมเคมี โดยอาศัยความสะดวกในการขนส่งทางเรือผ่านท่าเรือของเมืองโซากาและโกเบ เขตคิตา คิวชู เป็นย่านอุตสาหกรรมในภาคเหนือของเกาะคิวชู มีชื่อเสียงในด้านอุตสาหกรรมถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้า โรงงานผลิตเหล็กกล้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นของรัฐบาลชื่อโรงงานยาวาตะ (Yawata) ตั้งอยู่ที่เมืองนี้

    เกาหลีใต้ แม้ว่าจะมีทรัพยากรที่จำเป็นในการอุตสาหกรรมน้อย แต่ก็สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมจนกลายเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของเอเชียรองจากญี่ปุ่น อุตสาหกรรมที่สำคั ได้แก่ การผลิตเครื่องไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์โทรคมนาคม เครื่องจักรต่าง ๆ เครื่องเหล็ก การต่อเรือ รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ปูนซีเมนต์ แหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ บริเวณเซอูล – อินชอน ปูซาน เตจอน เป็นต้น

    ไต้หวัน แม้จะขาดแคลนทรัพยากรถ่านหิน เหล็กและน้ำมัน ซึ่งจำนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม แต่ไต้หวันพยายามสร้างอุตสาหกรรมของตนขึ้นมาจนปัจจุบันสินค้าอุตสาหกรรมส่งไปจำหน่ายต่างประเทศประมาณ 92 % ของสินค้าออกทั้งหมด ไต้หวันมีทั้งอุตสาหกรรมแปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ การทำน้ำตาลทราย ผลิตอาหารสำเร็จรูป ทำอาหารกระป๋อง เช่น สับปะรดกระป๋อง เห็ดกระป๋อง หน่อไม้กระป๋อง และอุตสาหกรรมทั่ว ๆ ไป ได้แก่ การทอผ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องจักร ทำไม้อัด ซีเมนต์ พลาสติก กระดาษ อุปกรณ์การพิมพ์ ของเล่นเด็ก แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณไฟฟ้า อะไหล่สำหรับเครื่องจักรกลต่าง ๆ ตลอดจนการกลั่นน้ำมันและอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม เมืองอุตสาหกรรมสำคัญของไต้หวันคือ เมืองชิลุง ไตจุง และโกะเซียง

    จีน มีแร่เหล็กและถ่านหินมาก แต่การผลิตยังไม่ได้มาตรฐาน จึงทำให้อุตสาหกรรมของจีนไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร รัฐจึงเน้นการอุตสาหกรรมเพื่อสนองความต้องการภายในประเทศมากกว่าเพื่อจำหน่ายต่างประเทศ เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า ยานพาหนะทุกประเภท เคมีภัณฑ์ การทอผ้า โดยเฉพาะผลิตฝ้ายได้มากที่สุดในโลก โรงงานอุตสาหกรรมหนักของจีน ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตแมนจูเรีย ปักกิ่ง เทียนสิน เซี่ยงไฮ้ กุงจิ ตาเหลียน เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมเบา เช่น อุตสาหกรรมเครื่องหนัง กระดาษ ถ้วยชาม การบรรจุอาหาร จะตั้งกระจายไปทั่วภูมิภาค



    เกาหลีเหนือ มีแร่ถ่านหินและเหล็กมาก แต่การอุตสาหกรรมถูกควบคุมโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ แหล่งอุตสาหกรรมอยู่ที่เมืองเปียงยาง วอนซาน ฮุงนำ และซองจิน มีโรงงานถลุงเหล็ก ผลิตเครื่องจักรกสิกรรม ทำปุ๋ย ปูนซิเมนต์ ทอผ้าฝ้ายและผ้าไหม

    ฮ่องกง เนื่องจากมีเนื้อที่เพาะปลูกน้อย จึงพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้แรงงานมาก เช่น การทอผ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ของเล่นเด็ก พลาสติก อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมาก คือ การต่อเรือและซ่อมแซมเรือ มีโรงงานที่ซื้อเรือเก่าเพื่อเอาเศษเหล็กมาหลอมใหม่

    มาเก๊า มีอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการประมง สิ่งทอ รองเท้า เครื่องลายคราม การทำไม้อัด เป็นต้น



    4.3การค้า

    ประเทศญี่ปุ่นและฮ่องกง เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในโลก ไต้หวันและเกาหลีใต้มีความสำคัญรองลงมา ประเทศเหล่านี้จะส่งสินค้าอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ไปจำหน่ายทั่วโลก ส่วนสินค้าเข้าเป็นวัตถุดิบหรือผลิตผลทางเกษตร จึงทำให้ประเทศเหล่านี้ได้เปรียบดุลการค้า



    จีน เนื่องจากปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ รัฐต้องควบคุมดูแลการดำเนินงานทุกอย่าง จึงทำให้การค้าระหว่างจีนกับประเทศอื่น ๆ มีน้อยและค่อนข้างจำกัด รัฐเน้นผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ปัจจุบันจีนต้องสั่งสินค้าจากต่างประเทศหลายอย่าง โดยเฉพาะเครื่องจักร เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อโทรคมนาคม อาหาร ฝ้าย น้ำตาล ยางพารา ไม้ เมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของจีน คือ เซี่ยงไฮ้ รองลงมาได้แก่ เมืองเทียนสิน กวางตุ้ง และตาเหลียน



    เกาหลีเหนือและมองโกเลีย การค้าระหว่างประเทศมีน้อย เพราะต้องอยู่ในความดูแลของรัฐ เน้นการค้าภายในประเทศติดต่อการค้าขายในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์เป็นส่วนมาก

    มาเก๊า รายได้ส่วนใหญ่ได้มาจากแหล่งการพนัน ค้าทองคำ และกิจการท่องเที่ยว

    ฮ่องกง เป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญของทวีปเอเชีย เป็นที่รวมของสินค้าทั่วโลก ฮ่องกงเป็นเมืองท่าที่ปลอดภาษี จึงทำให้สินค้าราคาถูกเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ทำรายได้ให้ฮ่องกงเป็นจำนวนมาก ท่าเรือฮ่องกงมีเรือมาจอดแวะมากเป็นที่สองของเอเชียรองจากสิงคโปร์ ทางอากาศ สนามบินไคตั๊ก ของ

    ฮ่องกงมีเครื่องบินขึ้นลงมากกว่าสนามบินประเทศอื่น ๆ ในเอเชียทั้งหมด



    5.การคมนาคมขนส่ง

    จีน การคมนาคมทางบก คือ ทางรถยนต์และทางรถไฟ เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อที่ของประเทศแล้วนับว่ามีน้อยมาก จีนกำลังก่อสร้างถนนเพื่อเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ของประเทศให้มีการติดต่อถึงกันได้สะดวก แต่อย่างไรก็ตามประชาชนยังนิยมใช้จักรยานทั้งในเมืองและชนบท รถยนต์ยังมีใช้กันน้อยมาก รถไฟส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เขตแมนจูเรียและเชื่อมติดต่อเมืองสำคัญในเขตที่ราบทางตะวันออก นอกจากนี้มีรถไฟใต้ดินด้วย ทางน้ำเป็นเส้นทางสำคัญของการเดินทางไปมาติดต่อและขนส่งสินค้า เพราะมีแม่น้ำหลายสายและมีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำ ทางอากาศ ประชาชนจำนวนน้อยที่ใช้การเดินทางภายในประเทศโดยเครื่องบิน ผู้ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจหรือนักท่องเที่ยว สายการบินระหว่างประเทศ คือ China Airlines (ไชน่า แอร์ไลน์)

    ญี่ปุ่น มีการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เจริญก้าวหน้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ทางบก : ทางรถไฟมีโครงข่ายเชื่อมทุกเมืองของประเทศ ระหว่างเกาะสำคัญทั้ง 4 ก็มีการขุดอุโมงค์ใต้ทะเลเชื่อมติดต่อกัน มีรถไฟใต้ดิน รถไฟลอยฟ้า รถไฟด่วนพิเศษที่มีความเร็วมากที่สุด ดีที่สุดในทวีปเอเชีย : ทางรถยนต์ มีถนนแบบซุปเปอร์ไฮเวย์ ระบบทางด่วนกระจายอยู่ทุกมุมเมือง และมีถนนที่ติดต่อถึงกันทุกเกาะ : ทางน้ำ ญี่ปุ่นมีทะเลล้อมรอบ ดังนั้น กิจการเดินเรือทั้งเรือเดินชายฝั่งและเรือเดินสมุทรมีความสำคัญมาก ญี่ปุ่นมีท่าเรือเหมาะสมกว่า 700 แห่ง มีอ่าวกำบังลมดี และชาวญี่ปุ่นมีความชำนาญในการเดินเรืออย่างมาก : ทางอากาศ ญี่ปุ่นเป็นศูนย์กลางการบินของเอเชียตะวันออก เครื่องบินที่บินระหว่างยุโรป อเมริกาและเอเชีย ต้องผ่านโตเกียวเสมอ มีเครื่องบินไอพ่นทันสมัย สายการบินระหว่างประเทศคือ แจแปนแอร์ไลน์ (JAL) สายการบินภายในประเทศ คือ แจแปนแอร์ไลน์ ออลนิปปอน (ANA) และสายการบินโทอะ – โอเมสติคแอไลน์ (TDA)



    ฮ่องกง เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการค้าและธุรกิจการเงินที่สำคัญของโลก ระบบการคมนาคมขนส่งจึงต้องพัฒนาให้สะดวก รวดเร็ว เช่นทางน้ำ เป็นเมืองท่าที่ขนถ่ายสินค้าได้สะดวก ทำเลดี ทางบก มีถนนชั้นดีรอบเกาะฮ่องกง ทางอากาศ มีสายการบินทั่วโลก แวะจอดที่ฮ่องกง และยังมีอุโมงค์ลอดข้ามทะเลระหว่างฮ่องกง – เกาลูนด้วย



    เกาหลีเหนือและมองโกเลีย ถ้าเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน การคมนาคมยังล้าหลังมาก

    เกาหลีเหนือ ทั้งถนนและทางรถไฟที่ได้มาตรฐาน มีเฉพาะระหว่างเมืองสำคัญ ถนนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ลาดยาง สายการบินยังมีจำกัด

    มองโกเลีย มีเส้นทางรถไฟสายเดียวที่ผ่านเมืองหลวง ส่วนเมืองอื่น ๆ ติดต่อกับเมืองหลวงโดยทางรถยนต์ และยังใช้ม้าและอูฐเป็นพาหนะใน

    การเดินทางและขนส่งสินค้า





    6.ลักษณะประชากรและวัฒนธรรม



    ประวัติความเป็นมา



    เมื่อ พ.ศ. 2470 ได้มีการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณใกล้กรุงปักกิ่ง เป็นหลักฐานยืนยันว่ามนุษย์ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ในเอเชียตะวันออกเป็นเวลากว่า 350,000 ปีมาแล้ว ต่อมาได้มีการขุดพบเครื่องปั้นดินเผาตอนกลางลุ่มน้ำฮวงโห เป็นการยืนยันว่าชาวจีนได้อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว และรู้จักทำการเพาะปลูกหาปลาเป็นอาหาร ประดิษฐ์และค้าขายสิ่งของต่าง ๆ เช่น หยก ทองสัมฤทธิ์และผ้าไหม นับได้ว่าลุ่มน้ำฮวงโหเป็นอารยธรรมแห่งแรกในเอเชียตะวันออก ในยุคทองสัมฤทธิ์อารยธรรมนี้ได้แพร่หลายไปถึงมองโกเลีย ภาคใต้และภาคตะวันออแกของจีน ดังนั้น เกาหลีและญี่ปุ่นจึงได้รับอารยธรรมจากจีนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

    ในพุทธศตวรรษที่ 24 ชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อ ประเทศในภูมิภาคนี้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากชาวตะวันตกจนทำให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศ และเมื่อเกิดสงครามโลกประเทศในภูมิภาคนี้ได้เข้าร่วมสงครามด้วย โดยเฉพาะญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามครั้งที่ 2 ต้องชดใช้ค่าปฏิมากรรมสงครามมากมาย ทำให้ปิดประเทศไม่ติดต่อกับโลกภายนอก จนสหรัฐอเมริกาบังคับให้เปิดประเทศ ญี่ปุ่นหันมาพัฒนาด้านเศรษฐกิจจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่วนประเทศอื่น ๆ ได้รับเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังเหลือมาเก๊า (อาณานิคมโปรตุเกส) ฮ่องกง (อาณานิคมของอังกฤษจะได้รับเอกราช พ.ศ. 2540)



    สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม



    1.ประชากร

    เอเชียตะวันออกมีประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชียและในโลกด้วย จำนวนประมาณ 1,400 ล้านคน โดยเฉพาะประเทศจีนมีมากที่สุดในโลกประมาณ 1,178 ล้านคน ประชากรกระจายอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ดังนี้ บริเวณที่ราบลุ่มน้ำชายฝั่งตะวันออกของจีน ที่ราบแมนจูเรีย ภาคใต้ของเกาะฮอนชู ชิโกกุ และคิวชูในญี่ปุ่น ที่ราบทางตะวันตกของไต้หวันและฮ่องกง เป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นมาก บริเวณที่มีประชากรหนาแน่นปานกลางคือ ทางตะวันออกคาบสมุทรเกาหลีและทางตะวันตกของจีน ส่วนบริเวณที่ลึกเข้าไปในทวีปอากาศแห้งแล้ง หนาวจัด ภูมิประเทศเป็นทะเลทราย เทือกเขาสูง มีประชากรน้อยมาก : โดยภาพรวมประชากรในเอเชียตะวันออก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตชนบท นอกจากชาวญี่ปุ่นนิยมอาศัยอยู่ในเมือง เพราะหางานง่าย รายได้ดี ส่วนในเขตชนบทมีพื้นที่ทำการเกษตรน้อย ประชาชนประมาณ 7 – 8 % มีอาชีพทางการเกษตร แต่ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีสูง จึงทำให้ผลผลิตมากเพียงพอบริโภคภายในประเทศ บางชนิดส่งเป็นสินค้าออก



    2.ลักษณะทางวัฒนธรรม

    2.1เชื้อชาติ ส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายมองโกลอยด์ มี 3 เผ่าพันธุ์ คือ เผ่าฮั่นในจีน เผ่าเกาหลีในคาบสมุทรเกาหลี เผ่ายามาโตในญี่ปุ่น

    2.2ภาษา มีหลายเผ่าพันธุ์ จึงมีภาษาพูดหลายภาษา แบ่งได้เป็น 3 ตระกูล คือ

    2.2.1กลุ่มภาษาจีน – ทิเบต เป็นกลุ่มภาษาที่มีคนพูดเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 ล้านคนเป็นภาษากลุ่มที่อยู่บนที่ราบสูงทิเบตและมีสาขาคือ ภาษาทิเบต – พม่าและภาษาจีน ซึ่งมีภาษาท้องถิ่นมากมาย เช่น ภาษาแมนดาริน เป็นภาษาถิ่นของคนจีนภาคเหนือ ภาษาวู่และกวางตุ้งเป็นภาษาถิ่นของคนภาคใต้ แต่ทางรัฐบาลจีนและไต้หวันประกาศให้ภาษาแมนดารินเป็นภาษาราชการ

    2.2.2กลุ่มภาษาญี่ปุ่นและเกาหลี ใช้พูดในญี่ปุ่นและเกาหลี

    2.2.3กลุ่มภาษาอูราล – อัลไต ได้แก่ตระกูลภาษาแถบภูเขา ที่ราบสูงตอนเหนือและทางตะวันตก

    2.3ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ลัทธิเต๋าและขงจื๊อ ชาวญี่ปุ่นนับถือศาสนาชินโต เกาหลีใต้นับถือศาสนาคริสต์ รัฐบาลจีน มองโกเลีย เกาหลีเหนือ ไม่สนับสนุนให้ประชาชนนับถือศาสนา ให้นับถือผู้นำของประเทศ แต่ประชากรจำนวนไม่น้อยนับถือศาสนาพุทธ ขงจื๊อ และเต๋า ส่วนประชากรที่อาศัยบริเวณเส้นทางสายไหม ซึ่งชาวมุสลิมเคยตั้งอาณาจักรในอดีต จึงทำให้ประชาชนแถบนี้นับถือศาสนาอิสลาม ชาวทิเบตนับถือศาสนาพุทธนิกายลามะ





    ภูมิภาคเอเชียใต้



    1.ที่ตั้งและอาณาเขต

    เอเชียใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 50 - 360 เหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 610 - 970 ตะวันออก มีเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ (23 เหนือ) ลากผ่านประเทศอินเดียและบังคลาเทศ ประกอบด้วยประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล ภูฎาน บังคลาเทศ ศรีลังกาและมัลดีฟส์

    ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศจีน

    ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อัฟกานิสถาน อิหร่าน

    ทิศตะวันออก ติดต่อกับ พม่า อ่าวเบงกอล

    ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาสมุทรอินเดีย

    2.ลักษณะภูมิประเทศ

    2.1เขตเทือกเขาทางเหนือ

    เขตเทือกเขาทางเหนือคือ เทือกเขาหิมาลัย ยาวประมาณ 2,400 กิโลเมตร มียอดเขาสูงที่สุดชื่อ เอเวอร์เรสต์ อยู่ในเขตประเ?สเนปาล – ทิเบต แนวเทือกเขานี้ยาวไปทางด้านตะวันออกแล้ววกลงทางใต้ กลายเป็นแนวเทือกเขากั้นพรมแดนไทย – พม่า เป็นเทือกเขาสูงยุคใหม่ ทำให้เกิดแผ่นดินไหวเสมอ เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำ 3 สาย คือ แม่น้ำคงคา สินธุ และพรหมบุตร

    2.2ที่ราบลุ่มแม่น้ำคง - สินธุ

    ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา – สินธุเป็นที่ราบกว้างขวางมากครอบคลุม 3 ประเทศ คือ ปากีสถาน (แม่น้ำสินธุ) อินเดีย (แม่น้ำคงคา) จีน อินเดีย บังคลาเทศ (แม่น้ำพรหมบุตร)

    2.3ที่ราบสูงทางใต้

    ที่ราบสูงทางใต้อยู่ถัดจากที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคาลงมา คือ ที่ราบสูงเดคคาน เป็นหินเก่าที่แข็งแกร่งที่สุด ดินบริเวณนี้เหมาะแก่การเพาะปลูก มีแร่ธาตุหลายชนิด เพราะเกิดจากการทับถมของลาวา ที่ราบสูงนี้มีเทือกเขาเตี้ย ๆ กั้นเป็นแนวทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเหนือเทือกเขาวินธัย ด้านตะวันออก เทือกเขากาตตะวันออก ด้านตะวันตก เทือกเขากาตตะวันตก ทั้งเทือกเขากาตตะวันออกและตะวันตกวางตัวขนานกับชายฝั่งทั้ง 2 ด้าน และมาบรรจบทางตอนใต้ของคาบสมุทรอินเดีย แม่น้ำในเขตนี้ยาวไม่มากนัก ส่วนใหญ่ไหลจากตะวันตกมาตะวันออกจะไหลลงสู่อ่าวเบงกอล ได้แก่ แม่น้ำมหานที แม่น้ำโคธาวารี แม่น้ำกฤษณา ส่วนแม่น้ำนัมทา แม่น้ำทาปตี ไหลลงสู่ทะเลอาหรับ สองชายฝั่งคาบสมุทรมีที่ราบแคบ ๆ เกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่คลื่นทะเลและแม่น้ำนำมาทับถม ที่ราบชายฝั่งตะวันออก เรียกว่า คาราเมนเดล มีความกว้างกว่าที่ราบชายฝั่งตะวันตก ซึ่งมีชื่อว่า มะละบาร์

    2.4เกาะและหมู่เกาะ

    เกาะและหมู่เกาะคือ เกาะลังกา (ประเทศศรีลังกา) ห่างจากแผ่นดินใหญ่ประมาณ 430 กิโลเมตร กั้นโดยช่องแคบพอล์ก ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกคลื่นมีภูเขาสูงอยู่ทางตอนใต้ ที่ราบอยู่ทางตอนเหนือและชายฝั่งรอบเกาะประเทศมัลดิฟส์ ประกอบด้วยหลาย ๆ เกาะ อยู่ทางด้านตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย

    3.ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ

    3.1ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศ

    3.1.1ทำเลที่ตั้ง

    ทำเลที่ตั้ง (ละติจูด) เอเชียใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 50 - 360 เหนือ ทำให้มีภูมิอากาศเขตร้อนและเขตอบอุ่น

    3.1.2ลมประจำที่พัดผ่าน

    ลมประจำที่พัดผ่าน คือ ลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่แผ่นดินใหญ่ในช่วงฤดูร้อนประมาณเดือนมิถุนายน – กันยายน ทำให้ฝนตกทั่วไปบริเวณที่ได้รับฝนเกิน 75 นิ้วต่อปี ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรเดคคาน ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา – พรหมบุตร ที่เมืองเชอราปุนจิ ตั้งอยู่ที่ราบสูงชิลลอง รัฐอัสสัม มีฝนตกมากที่สุดในโลก ประมาณ 426 นิ้วต่อปี ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากภายในทวีป นำความเย็นและแห้งแล้งสู่บริเวณที่พัดผ่านในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนตุลาคม – พฤษภาคม บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียและชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา ได้รับฝนบ้างเล็กน้อย เนื่องจากลมพัดผ่านอ่าวเบงกอลช่วงต่อระหว่างลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออเฉียงเหนือมักจะเกิดพายุหมุนเขตร้อนหรือไซโคลน ก่อตัวขึ้นในอ่าวเบงกอลพัดเข้าสู่ฝั่งจากมัทราสจนถึงบังคลาเทศ ทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมอย่างรุนแรง

    3.1.3ลักษณะภูมิประเทศ

    ลักษณะภูมิประเทศ บริเวณที่อยู่หลังเขาเป็นเขตอับฝน เช่น ที่ราบสูงเดคคาน ได้รับฝน

    จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้น้อย และบริเวณที่ได้รับฝนน้อยที่สุดประมาณ 2.5 นิ้ว อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือมีสภาพแห้งแล้งเป็นทะเลทราย และส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปในทวีปตลอดจนพื้นที่ที่อยู่หลังเทือกเขาหิมาลัย มีอากาศแห้งแล้ง ส่วนบนยอดเขาสูง เช่น ยอดเขาเอเวอร์เรสต์หิมะปกคลุมตลอดปี

    3.2 เขตภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ

    3.2.1ภูมิอากาศแบบทะเลทราย

    ภูมิอากาศแบบทะเลทราย ได้แก่ บริเวณทะเลทรายธาร์ หรือทะเลทรายเกรตอินเดีย พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าที่ขึ้นอย่างเบาบางมากเป็นหย่อม ๆ และมีต้นไม้เล็ก ๆ ที่ทนความแห้งแล้งได้ เช่น ต้นตะบองเพชร

    3.2.2ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe)

    ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ได้แก่ บริเวณรอบ ๆ เขตทะเลทรายที่ราบลุ่มน้ำสินธุ บริเวณที่ราบสูงเดคคานด้านอับลมของภูเขากาตตะวันตกและตะวันออก พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าที่ขึ้นเบาบาง ใช้เลี้ยงสัตว์เร่ร่อน







    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++







    จากข้อความที่คุณ ต้องสอบเรื่อ  โพสถามมาค่ะ หาข้อมูลพร้อมแบ่งให้ด้วยค่ะ







    เนื่องจากคุณ 000 โพสถามมาเหมือนกันกับตอนนี้ซึ่งหัวข้อคล้าย ๆ กัน จึงรวมกันไว้ที่ตอนนี้เลยนะคะ

    ถ้าต้องการหาข้อมูลภูมิอากาศทั่วโลกตามลิงก์เข้าไปได้ค่ะ





    ลิงค์ภฺมิอากาศทั่วโลกเข้าไปอ่านได้ที่นี่ค่ะ



    http://www.chy3.com/e-social/grography3.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×