ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #351 : ดาวเทียมไทยคม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 261
      0
      6 ธ.ค. 48





                                                   ดาวเทียมไทยคม





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



    ปัจจุบันนี้มีดาวเทียมสื่อสารที่เป็นของประเทศไทยดวงแรกชื่อ ไทยคม (Thaicom)

    ของบริษัทชินวัตร แซทเทิลไลท์แอนด์คอมมิวนิเคชัน มีลักษณะ เป็นรูปทรงกระบอกรุ่น HS- 376

    ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ชนิด นิเกิลไฮโดรเจน มีอุปกรณ์ทรานสปอร์ต 12ช่องสัญญาณ

    มีการประกันอายุการใช้งาน 15 ปี สร้างขึ้นโดยบริษัทฮิวจ์แอร์คราฟท์ประเทศสหรัฐอเมริกาถูกส่งขึ้นวงโคจร

    โดยบริษัทแอเรียนสเปซ ประเทศฝรั่งเศสโดยถูกยิงขึ้นจากฐานยิงจรวดแอเรียนสเปซ เมืองคูรู ประเทศเฟรนซ์กีอานา

    เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เข้าสู่วงโคจรเหนือเส้นศูนย์สูตรในระดับความสูง

    35,786 กิโลเมตร ที่ 78.5 องศาตะวันออก โดยมีสถานีควบคุมภาคพื้นดินที่จังหวัดนนทบุรี

    ดาวเทียมดวงนี้ของไทยสามารถให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม

    ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยประเทศในอินโดจีนทุกประเทศ บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจีน

    ญี่ปุ่น และเกาหลี





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





                                                           ย้อนสำรวจไทยคมเบอร์ 1 ถึง 3





          

           เมื่อประมาณ 12 ปีที่ผ่านมาคนไทยได้ตื่นเต้นกับความรู้สึกได้เป็นเจ้าของดาวเทียมดวงแรกที่ชื่อ “ไทยคม” (THAI COM) ซึ่งเป็นดาวเทียมสื่อสารที่ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาจากคำว่า \"ไทยคมนาคม\" ยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 17 ธันวาคม 2536

          

           การส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศใช้หลักการยิงขึ้นไปสู่ท้องฟ้าด้วยกำลังแรง เดิมใช้จรวดพลังสูงเป็นตัวนำดาวเทียมขึ้นไป แต่โดยวิธีนี้ จรวดจะถูกทำลายไปในระหว่างการขึ้นสู่อวกาศ ในปัจจุบันจึงเริ่มมีการนำดาวเทียมขึ้นไปกับยานขนส่งอวกาศแล้วปล่อยเข้าในวงโคจรแทนการยิง แต่ไทยคม 1 ขณะนั้นยังคงใช้การยิงอยู่

          

           นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีความเร็วระดับหนึ่งซึ่งกระสุนหรือวัตถุจะไม่ตกลงมาสู่พื้นโลกเลย คือความ เร็ว 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แนวกระสุนก็จะตกย้อนกลับมาสู่โลกจะโค้งเท่ากันพอดีกับความโค้งของ ผิวโลก และจะเข้าสู่วงโคจรรอบโลกไป ดาวเทียม \"ไทยคม 1\" ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรในระดับความสูงจากพื้นดินเหนือเส้นศูนย์สูตร 35,786 กิโลเมตร และโคจรไปทิศทางเดียวกับที่โลกหมุนรอบตัวเอง จะโคจรรอบโลกภายในเวลา 24 ชั่วโมง

          

           ดาวเทียมไทยคม 1 ไทยคม 2 และไทยคม 3 เข้าสู่วงโคจรในปี 2536, 2537, และ 2540 ตามลำดับ โดยดาวเทียมไทยคม 1A และ ไทยคม 2 ซึ่งเป็นดาวเทียมทรงกระบอกรุ่น HS-376 ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ชนิดนิเกิลไฮโดรเจน สามารถให้บริการของช่องสัญญาณ จำนวน 28 ทรานสพอนเดอร์ แบ่งเป็นย่านความถี่ C-Band 22 ทรานสพอนเดอร์ และ Ku-Band 6 ทรานสพอนเดอร์ ทั้งถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสาร โทรศัพท์สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูลภาพและเสียง

          

           ดาวเทียมไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่นสเปซบัส-3000 เอ ซึ่งมีขนาดใหญ่ และกำลังส่งสูงมาก ประกอบด้วยช่องสัญญาณย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ช่องสัญญาณ มีพื้นที่บริการครอบคลุมสี่ทวีป คือเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา นอกจากนี้ยังมีช่องสัญญาณย่านความถี่ Ku-Band 15 ช่องสัญญาณ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ให้บริการเฉพาะจุด (Fix Spot Beam) ซึ่งมีพื้นที่บริการครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน และแบบ Steerable Spot Beam ครอบคลุมพื้นที่ประเทศอินเดีย

          

           ดาวเทียมไทยคมนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทยก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้า และได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนองพระราชดำริในเรื่องของการศึกษา โดยมีการนำเอาดาวเทียมไทยคมเข้าไปใช้ในกิจการด้านการเรียนการสอน เจตนารมณ์ดังกล่าวเป็นการสนองตอบความต้องการของประชาชน และเป็นการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการจัดการศึกษาใต้ร่มพระบารมีอย่างแท้จริง และที่สำคัญเพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบายทางการศึกษา ในอันที่จะทำให้โรงเรียนไกลกังวลเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาทางไกล

          

           อย่างไรก็ดี ดาวเทียมไทยคม 3 มีปัญหาเรื่องระบบควบคุมเชื้อเพลิงบางอย่างขัดข้อง ในช่วงวันที่ 12-14 ก.ย.47 ที่ผ่านมานั้น ทำให้ทางชินแซทต้องปรับแผนการบริหาร-จัดการดาวเทียมใหม่ เนื่องจากอายุขัยของไทยคม 3 จะสั้นลง เหลือเพียง 3 ปีจากนี้ หรือจะสิ้นสุดการใช้งานในราวปี 2550 จากเดิมที่จะยังเหลืออายุการใช้งานถึง 7 ปี ขณะที่ดาวเทียมไทยคม 1 และ 2 ซึ่งถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรก่อนช่วงปี 2536 และ 2537 ตามลำดับนั้น จะหมดอายุการใช้งานที่ไล่เลี่ยกัน คือในอีก 5 ปีนับจากนี้ หรือประมาณปี 2552

          

           ทั้งนี้ ตามสเปกของดาวเทียมมีอายุการใช้งานที่ 14 ปี แต่เนื่องจากปัญหาขัดข้องที่เกิดขึ้น ชินแซทเทลไลท์จึงร่นระยะเวลาใช้งานไทยคม 3 เหลือเพียง 10 ปี สิ้นสุดในปี 2550 ที่จะถึงนี้ ขณะที่ดาวเทียมไทยคม 1 และ 2 นั้น มีอายุการใช้งานที่ 15 ปีทั้งสองดวง

          

           อย่างไรก็ดี ปัจจุบันดาวเทียมที่ได้ชื่อว่ามีสัญชาติไทยก็มี 6 ดวงแล้วคือดาวเทียมไทยคมทั้ง 4 ดวงของ “ชินแซต” และดาวเทียมอีก 2 ดวงคือ ไทยพัฒ 1 และ 2 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครอีก โดยมีเพียง “ไทยพัฒ 2” เท่านั้นที่เป็นดาวเทียมที่พัฒนาขึ้นโดยฝีมือของคนไทยอย่างแท้จริง







    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++]







    \"ไทยคม 4 - ไอพีสตาร์\" ดาวเทียมบรอดแบรนด์ที่ดีที่สุดในโลก





          

           ไอพีสตาร์ที่สร้างขึ้นโดยบริษัทสเปซ ซิสเต็มส์ ลอเรล (Space System / Loral - SS/L) จะถูกขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดแอเรียน 5 (Ariane 5) ของบริษัทแอเรียนสเปซ (Arianespace) ซึ่งการทำหน้าที่ในการส่งดาวเทียมน้ำหนัก 14,300 ปอนด์หรือ 6,486.48 กิโลกรัมขึ้นสู่วงโคจรนั้นนับเป็นการขนส่งดาวเทียมเชิงพาณิชย์ที่หนักที่สุดเท่าที่เคยมี และเมื่อไอพีสตาร์ถูกส่งขึ้นไปแล้วจะโคจรที่ความสูง 22,300 ไมล์หรือ 35,880.7 กิโลเมตรเหนือเส้นสูตรศูนย์ และอยู่ในวงโคจรที่ 120 องศาตะวันออก

          

           นายชาญชัย เพียรวิจารณ์พงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการส่งดาวเทียมว่าในการจะส่งดาวเทียมแต่ละครั้งจะต้องขอจองวงโคจรและขอใช้ความถี่จากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ซึ่งประเทศไทยมีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เป็นผู้ดูแลในการขอใช้วงโคจรและความถี่ดังกล่าว

          

           นายชาญชัยซึ่งเป็นผู้อำนวยการโครงการดาวเทียมธีออสดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของไทยให้ความเห็นเกี่ยวกับไอพีสตาร์หรือไทยคม 4 ว่าดาวเทียมดวงนี้มีความแตกต่างจากไทยคม 1-3 ดาวเทียม 3 ดวงแรกของชินแซทว่าไอพีสตาร์สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าเนื่องจากมีหลายความถี่โดยจะใช้เพื่อการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อมูล ส่งสัญญาณโทรศัพท์ ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์หรือสัญญาณเสียง เป็นต้น ซึ่งไทยคมรุ่นก่อนๆ ไม่สามารถทำได้

          

           ส่วนลักษณะการส่งสัญญาณนั้น นายชาญชัยอธิบายว่าการส่งสัญญาณลักษณะ “สปอต บีม” (Spot beam) หรือการส่งสัญญาณคล้ายๆ การส่องไฟฉาย ซึ่งจะทำให้ส่งสัญญาณได้ตรงจุดมากขึ้นและใช้จานรับสัญญาณที่เล็กลง และขนาดของดาวเทียมที่ใหญ่จะทำให้ส่งสัญญาณได้กว้างเปรียบเหมือนกับการมีเส้นทางจราจรที่กว้างทำให้มีการสัญจรได้มาก และสำหรับดาวเทียมบรอดแบนด์อย่างไอพีสตาร์นี้หลายประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่นหรืออินเดียก็มีใช้แล้ว แต่ดาวเทียมดวงล่าสุดของ “ชินแซต” เป็นดาวที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุด

          

           นายชาญชัยให้ข้อมูลต่อว่า “ชินแซต” เป็นเอกชนรายเดียวที่ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารจากกระทรวงคมนาคมเป็นเวลา 30 ปี (ระหว่างปี 2534-2564) โดยมีระยะเวลาคุ้มครองสิทธิ์ 8 ปีแรกที่เอกชนรายอื่นไม่สามารถแข่งขัน ซึ่งได้ครบกำหนดการคุ้มครองสิทธิ์แล้ว ดังนั้นเอกชนรายอื่นก็สามารถทำการส่งดาวเทียมได้แต่น่าจะเป็นลักษณะร่วมทุนมากกว่าเนื่องจากเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง

          

           อย่างไรก็ดีทาง “ชินแซต” ยังเดินหน้าที่จะสร้างดาวเทียมสื่อสารดวงที่ 5 หรือดาวเทียมไทยคม 5 ต่อไป โดยได้เลือกบริษัทอัลคาเทล (Alcatel) ของฝรั่งเศสสร้างดาวเทียมราคา 100 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 4,120 ล้านบาทเพื่อส่งขึ้นไปโคจรในเดือน เม.ย.2549 ซึ่งไทยคม 5 จะให้บริการส่งสัญญาณโทรทัศน์ตรงจากดาวเทียมถึงบ้านให้กับลูกค้าในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน และยังจะทำหน้าที่ทดแทนส่วนที่บกพร่องของไทย 3 ด้วย ทั้งนี้ดาวเทียมดวงต่อไปสามารถแจกจ่ายความถี่ได้ 38 ช่องสัญญาณ (transponder) และมีอายุการใช้งานนาน 12 ปีเช่นเดียวกับไอพีสตาร์

          





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





    จากข้อความที่คุณ มิ้นท์ ปภาวรินท์   โพสถามมาค่ะ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×