อังกอร์ - อังกอร์ นิยาย อังกอร์ : Dek-D.com - Writer

    อังกอร์

    โดย Matoom516

    เสือร้ายสิ้นชีพเพื่อปกปักรักษาแผ่นดิน

    ผู้เข้าชมรวม

    74

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    74

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    หมวด :  ผจญภัย
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 พ.ย. 64 / 21:02 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้


    อังกอร์ 2

      หลังจากการกู้กรุงศรีกลับคืนมาได้ จำเป็นต้องฟื้นฟูบ้านเมืองกลับมาอีกครั้งหลังจากความเจริญรุ่งเรืองถูกบั่นทอนไป และการย้ายหัวเมืองก็เกิดขึ้นเนื่องจากกรุงศรีอยุทธยากลายเป็นซากปรักหักพังไปแล้ว การตั้งหลักเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย จนนำไปสู่การย้ายถิ่นฐานของพระเจ้าตากสินมหาราช

       การตั้งหลักเมืองในครั้งนี้จำเป็นต้องหาดวงวิณญาณดุร้าย เพื่อประกอบพิธีกรรมในการตั้งหลักเมือง การหาดวงวิณญาณนี้จำเป็นต้องเป็นเสือทีดุร้ายในป่าเขา การออกตามหาเสือตัวนี้ก็ดำเนินไปพร้อมกับการย้ายหัวเมือง โดยมีพระเจ้าตากสินเป็นผู้ออกตามหาเสือตัวนี้ด้วยตัวเองเนื่องจากการตีหัวเมืองต่างๆ ทำให้มีผู้ช่วยในการตามหาเสือตัวนี้ทั่วสารทิศ หอก เป็นอาวุธที่ถูกเลือกในการสังหารเสือตัวนั้นตามพิธีกรรม และพระเจ้าตากต้องปลิดวิณญาณเสือตัวนั้นด้วยพระองค์เอง

      เหตุการณ์ผ่านไปแรมปี จนกระทั่งมีการเจอเสือตัวนี้ที่หัวเมืองนครศรีธรรมราช ทางทิศใต้ ภายในถ้ำตากฟ้า เขาขุนพนม เสือตัวนี้ถูกต้อนเข้าไปในถ้ำเพื่อรอพระเจ้าตาก เสด็จมาถ้ำแห่งนี้ เพื่อประกอบพิธีกรรมในการปลิดชีพเสือตัวนี้ เนื่องจากไม่มีใครเจอเสือตัวนี้ในถ้ำ แต่ทางหัวเมืองนครศรีธรรมราชยืนยันว่าต้อนเสือตัวนี้เข้าไปในถ้ำ และไม่มีการออกมาของเสือตัวนี้  

        การประกอบพิธีกรรมก็เกิดขึ้นพร้อมกับอาวุธต่างๆที่จะใช้ปลิดชีพเสือตัวนี้ รวมทั้งหอก ด้ายแดงถูกโยงขึ้นไปยังปากถ้ำและรอบตัวถ้ำเพื่อไม่ให้วิณญาณของเสือตัวนี้ออกจากถ้ำหลังจากการปลิดชีพ ด้ายแดงถูกโยงห้อมล้อมภายในถ้ำแห่งนี้ รวมถึงปากปล่องถ้ำด้านบน ได้มีการโยงด้ายแปดกรเวทย์ขึ้นไปเพื่อปิดปากปล่องถ้ำ หรือยันต์แปดทิศ อาวุธแปดกรของหนุมาน  พิธีกรรมเกิดขึ้นหลังจากนั้น จนเสือตัวนี้ปรากฎขึ้นต่อหน้าทุกคนที่อยู่ภายในถ้ำ พร้อมกับหอกในมือพระเจ้าตากที่พุ่งไปยังเสือตัวนั้น จนล้มทรุดลง และการทำพิธี ต้องทำการมหาอุตม์เสือตัวนั้นก่อนสิ้นลมหายใจ หอกทุกเล่มถูกสวนเข้าร่างกายเสือตัวนั้นในทุกอวัยวะที่เป็นประตูลมปราน ก็ถูกหอกสวนเข้าไป เพื่อทำให้เสือตัวนั้นเป็นวิณญาณดุร้าย เนื่องจากตามพิธี ผิวหนังของเสือห้ามมีบาดแผลหรือรอยทะลุ ยกเว้นหน้าผากเสือ ที่หอกสามารถเข้าทะลุได้ ตามพิธีมหาอุตม์ ก็เพื่อจะนำหนังเสือไปประกอบพิธีกรรมในการตั้งหลักเมือง

      เสือตัวนั้นถูกปลิดชีพลง พร้อมกับหอกห้าเล่มที่ถูกสวนเข้าไปในร่างของเสือตัวนั้น จนพิธีกรรมเสร็จสิ้น และเป็นที่มาของการสร้างโบสถ์มหาอุตม์ขึ้นใกล้ถ้ำตากฟ้า เขาขุนพมนม จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระเจ้าตากสินเลือกที่จะใช้ชีวิตที่นี่ หลังจากการบวชให้เสือตัวนั้นภายในโบสถ์มหาอุต และหนังเสือก็ถูกนำกลับไปเพื่อประกอบพิธีสร้างหลักเมือง หลังจากการกอบกู้กรุงศรีอยุทธยาเสร็จสิ้นแล้ว

       ทามิภควัน พุทธังชยันโต เสือปราบเสือศัตรู อรหังวันทามิ การบริกรรมเกิดขึ้นดังก้องภายในถ้ำตากฟ้าเสือตัวนั้นถูกสกดไว้ เพื่อนำร่างออกจากถ้ำ เข้ากรุงศรีอโยธยา เพื่อการประกอบพิธีกรรมการเลาะหนังเสือออก ณโบสถ์มหาอุตม์แห่งกรุงศรีอโยธยา พระเจ้าตากเดินทางพร้อมคนติดตาม เข้ากรุงศรี ก่อนที่จะกลับมา บวชที่เขาขุนพนม และการกำเนิดวิชาเสือสั่งฟ้าก็เกิดขึ้นหลังจากนั้นเป็นต้นมา

       หลังจากบวชพระองค์ตัดสินใจเข้าถ้ำตากฟ้าอีกครั้ง เพื่อบำเพ็ญเพียรให้ดวงวิณญาณเสือตัวนั้น จนข่าวล่วงรู้ไปสู่ประชาชนในละแวกนั้น ต่างพากันมาร่ำเรียน วิชาต่างๆ ทั้งในการออกรบและรักษาบ้านเมือง การสืบทอดวิชาต่างๆก็เกิดขึ้นรวมถึงวิชาไสยเวทย์ เนื่องจากเพลานั้น อาวุธมีแค่คมหอกและคมดาบ การออกรบในแต่ละครั้ง นักรบพระยาตากต่างรอดจากคมหอกและคมดาบได้ด้วยวิชาเหล่านี้  และเป็นที่มาของสำนักเขาอ้อในปัจจุบัน

       กาลเวลาผ่านไปกำเนิดเป็นยุคสมัย เรื่องราวเหล่านี้ก็จางหายไปตามกาลเวลาตามช่วงอายุคน ไม่จำเป็นต้องจับหอกถือดาบมาฆ่าฟันกันอีกแล้ว ในกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่มีเเม้แต่เหตุการณ์บันทึกเรื่องราวเหล่านี้ ทุกอย่างจมหายไปในแผ่นดินอโยธยา เพื่อการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองครั้งสำคัญเข้าสู่รัตนโกสินทร์ จะหลงเหลือให้เห็นเพียงทฤษฎีสมคบคิดต่างๆที่อยู่ในประวัติศาสตร์ บ้างก็ว่าพระองค์ถูกประหารในเพลานั้น ไม่ก็กลายเป็นคนวิกลจริต ตามที่เคยได้ยินมา หรือไม่ก็กลายเป็นเรื่องเล่าของชาวบ้านในละแวกเขาขุนพนม ที่ส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น

    แด่อโยธยา

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×