หวามหมาย...ความรัก
ความรักเอ๋ย
ผู้เข้าชมรวม
271
ผู้เข้าชมเดือนนี้
0
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ทฤษฎีไร้ระเบียบกับทางแพร่งของหัวใจมนุษย์
ระบบของความรัก
หากมองภาพรวมของความสัมพันธ์หว่างมนุษย์และความรัก
จะพบว่ามีหลายส่วนที่ดูแล้วมีลักษณะเป็นระบบ ซึ่งมีส่วนประกอบคือ
มีความเป็นองค์รวม มีจุดมุ่งหมาย มีลักษณะของวงจร และเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
มีความเป็นองค์รวม
องค์รวมต่างจากองค์ประกอบ คือองค์รวมจะมีองค์ประกอบอยู่ภายใน
แต่ละองค์ประกอบจะมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งในทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์อย่างอ่อน
จะสนใจแต่ความสัมพันธ์เป็นหลักเท่านั้น
องค์ประกอบของความรักประกอบไปด้วยหลายระดับ คือระดับอารมณ์ตัวเอง
ถัดมาคืออารมณ์ร่วมของบุคคลสองคน ถัดมาเป็นระดับของอารมณ์บุคคลทั่วไป
โดยความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบแต่ละวงนั้น
จะมีความสัมพันธ์ทั้งภายในวงและภายนอกวง
มีจุดมุ่งหมาย
คือมีความต้องการของตนเอง ที่จะเอาชนะใจคนอื่น หรือต้องการทำให้ระดับอารมณ์ร่วม
เกิดความเสถียรในระบบที่ต้องการ คือความรัก ซึ่งในทางจิตวิทยาเรียกว่า
"ความรักและต้องการเป็นเจ้าของ" นั่นเอง
มีลักษณะเป็นวงจร
คือมีการป้อนหรือการกระทำเป็นการเติมให้ระบบวิ่งต่อไป โดยหวังว่าจะเกิดการตอบกลับ (Feedback)
โดยการตอบกลับนั้นอาจจะเป็นไปในทิศทางแบบ "แรงป้อนกลับเสริมแรง (Reinforcing Feedback)"
หรือ "แรงป้อนกลับสมดุล (Balancing Feedback)" ก็ได้ ขึ้นอยู่กับอารมณ์คนกลาง
ซึ่งในทางทฤษฎีไร้ระเบียบ เรียกว่าจุดดึงดูด
การดำเนินไปของระบบ (System Process)
ระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ โดยทั่วไปจะมี 2 สถานะสลับกันไป
คือสถานะที่สมดุล กับสถานะไร้ระเบียบ โดยเรียงดังนี้
เพื่อนกัน (สมดุล) --> ให้ความสมใจ, รัก, ใคร่ (ไร้ระเบียบ) --> ทางแพร่งของความรัก
คือ แตกหัก, เพื่อนเหมือนเดิม, คนรัก โดยแต่ละส่วนของทางแพร่งจะเป็นสมดุลใหม่ของระบบ
ในสถานการณ์ปกติที่ระบบอยู่ในความสมดุลย์นั้น อาจจะมีความรู้สึกพิเศษกับเพื่อนด้วยกันบ้าง
แต่ก็สามารถดึงกลับมาสู่ความสมดุลย์คือความเป็นเพื่อนได้
โดยจุดดึงดูดต่างๆ อาจจะเป็นเพื่อนหรือญาติพี่น้อง
แต่เมื่อระบบเดินไปเรื่อยๆ จนในที่สุด ส่วนของ Reinforcing Feedback
ซึ่งถือเป็นแรงป้อนกลับที่มีพลังสูงกว่า Balancing Feedback ได้ทำให้ขีดจำกัดทางอารมณ์
ไม่สามารถรับพลังงานของอารมณ์ได้มากพอ จนในที่สุดก็ผ่านจุดวิกฤติของระบบสมดุล
ระบบอารมณ์จึงเข้าสู่สภาพที่สับสนและเริ่มให้ความสนใจกับจุดดึงดูดทางอารมณ์
ที่ทำให้ระบบเสียความสมดุลไป แล้วมุ่งหาจุดดึงดูดนั้น เพื่อสร้างระบบใหม่ที่มีความสมดุลย์อีกครั้ง
ความไร้ระเบียบ
คือสภาพและกระบวนการของระบบที่ไร้สเถียรภาพ
อันมีความอ่อนไหวสูงยิ่งและเปราะบางเมื่อมีการกระทบเพียงเล็กน้อยในสาเหตุเบื้องต้น
เมื่อเกิดบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหตุเล็กๆ เบื้องต้นนั้น
ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบอย่างไม่เป็นเส้นตรง
เป็นเส้นคดเคี้ยวกวัดแกว่ง บางครั้งถึงก้าวกระโดดฉับพลัน ผลลัพธ์จึงทำนายได้ยาก
จากทฤษฎีไร้ระเบียบ เราสามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของคนที่เริ่มเข้าสู่ความไร้ระเบียบ
คือมีความอ่อนไหวต่อเพศตรงข้าม อารมณ์ไม่คงที่ สับสน วุ่นวาย
บางครั้งถึงขั้นขาดสติสัมปชัญญะ บางครั้งอารมณ์ก็เปลี่ยนเร็วเกินจะคาดเดาได้
อันเกิดจากการลองผิดลองถูกของบุคคล เพื่อค้นหาจุดคานงัดของอารมณ์ของเพศตรงข้าม
เพื่อให้ระบบเข้าสู่สมดุลให้เร็วที่สุด และเพื่อไม่ให้ใครเอาไปกินก่อน
Entropy, Negentropy
หากมองในส่วนของการลองผิดลองถูกของบุคคลในระบบที่ไร้เสถียรภาพ
บางครั้ง จะมีเหตุการณ์ที่หมดกำลังใจ ซึ่งในทฤษฎีอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamic)
ข้อที่สอง กล่าวว่า "ในระบบปิด พลังงานที่สูญเสียไปแล้ว ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก"
และในวิชาเคมี มีศัพท์คำว่า "Entropy" หมายถึงพลังงานที่เสียไป
ซึ่งต่อมาใช้เป็นดัชนีวัดสภาพความวุ่นวายในระบบปิด Entropy จะมีแต่สูงขึ้นเรื่อยๆ
เพราะกำลังใจมีแต่จะเสียไปเรื่อยๆ จนในที่สุดระบบจะเข้าสู่ความไร้ระเบียบสูงสุด
แต่ทำไมคนเราจึงมีแรงบันดาลใจ (ฮึด) ที่จะทำให้ความรักของตนประสบความสำเร็จ
ในขณะที่บางคนหมดกำลังใจไปเลย...
เพราะคนที่เก็บตัวอยู่คนเดียว จะเหมือนอยู่ในระบบปิด จึงมีแต่สูญเสียกำลังใจไปเรื่อยๆ
จนในที่สุดก็เข้าสู่ความไร้ระเบียบสูงสุด และไม่สามารถควบคุมตนเองได้
(เป็นผลให้เกิดการกระโดดตึก ยิงตัวตาย ฆ่าหั่นศพ)
ส่วนคนที่เพื่อนฝูงเข้าใจ หรือใช้เวลากับธรรมชาติที่สบายๆ นั้น เป็นระบบเปิด
เกิดการแลกเปลี่ยนอารมณ์ และเมื่อได้รับกำลังใจจากสิ่งแวดล้อม
จึงทำให้เกิดการสร้างกำลังใจขึ้นใหม่ จนในที่สุดเกิดเป็นพลังงานก้อนใหม่ที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ต้องการ
เรียกกระบวนการนี้ว่า Negentropy (Negative + Entropy)
จุดคานงัดของผลกระทบผีเสื้อ (Butterfly Effect)
ตามทฤษฎีอุตุนิยมวิทยา ผีเสื้อตัวใหญ่ตัวหนึ่ง กระพือปีกที่ฮ่องกง
สามารถทำให้สภาพดินฟ้าอากาศที่คาลิฟอเนียมีสภาพเป็นพายุได้ในเวลา 1 เดือน
(by Prof. Edward Lorenz, MIT)
ผลกระทบจากทฤษฎีข้างต้นเรียกว่า "ผลกระทบผีเสื้อ"
ซึ่งถูกนำมาใช่อธิบายความเป็นไปของทฤษฎีไร้ระเบียบด้วย
เนื่องจากระบบที่ไร้ระเบียบมีความอ่อนไหวสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
เรียกว่าจุดคานงัด และเมื่อนำมาเปรียบเทียบในเรื่องของอารมณ์ของมนุษย์นั้น
จะหมายถึงจุดอ่อนไหวพิเศษบางจุด ซึ่งมีความหมายต่อการตัดสินใจของเพศตรงข้ามเป็นอย่างมาก
และเป็นจุดที่สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทางแพร่งที่กำลังมุ่งเข้าหา
ในตัวมนุษย์มีจัดคานงัดต่างกันไป ขึ้นอยู่กับนิสัยและอารมณ์ของแต่ละบุคคล
ยากแก่การคาดเดาเป็นอย่างยิ่ง และจุดคานงัดแต่ละจุด ก็จะมีผลกระทบต่างกันในหลายๆ แบบ
คือเป็นตัวนำไปสู่ทางแพร่งต่างๆ ได้ เพื่อเข้าสู่ระบบที่มีความสเถียรกว่า
หรือบางครั้งก็ทำให้ระบบเกิดความวุ่นวายกว่าเดิม
จนไม่สามารถจะคงอยู่ต่อไปได้จนกลายเป็นสภาพแตกหักในที่สุด
การหาจุดคานงัดนั้น ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ (ไม่งั้นคงจีบใครติดหมด) เพราะตามปกติแล้ว
จุดคานงัดทางสังคมมักจะเป็นจุดที่มองไม่เห็น เกิดคาด
แต่เมื่อนำมาใช้ในเรื่องจิตวิทยาของมนุษย์แล้ว
จุดคานงัดที่มีพลังมากๆ อาจจะหาได้ยากกว่าเกิม
ตามทฤษฎีพลังงานที่ว่า Ek = ½ mv2 แปลงเป็น m = k/v
คือถ้าปริมาณคนมาก (สังคมหภาค) พลังงานหนึ่ง สามารถทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์
ความคิด ค่านิยม ได้เพียงเล็กน้อย แต่กับปัจเจกชน (m น้อยๆ)
พลังงานเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้อย่างมหาศาล
ผลก็คือ ไม่สมารถจับอารมณ์ของเพศตรงข้ามได้แน่นอน
ซึ่งเป็นผลให้หาจุดคานงัดได้ยากลำบาก
แต่ในทางปฏิบัติ จะพบว่าจุดคานงัดของปัจเจกชนหาได้ง่ายกว่า
อาจจะเป็นเพราะพลังงานที่เข้าไปในระบบมีน้อยเช่นกัน
เพราะอีกฝ่ายก็พยายามรักษาอารมณ์ของอีกฝ่ายไว้
โดยไม่เข้าไปจุ้นจ้านในส่วนที่ไม่เหมาะสมอันอาจจะทำให้ระบบเกิดการเปลี่ยนแปลงได้
(คนน้อย ก็จับจุดที่ทำให้อารมณ์เสียได้ง่าย)
แล้วเราจะทำยังไงกับระบบ
ข้อสำคัญในการศึกษาเรื่องนี้พบว่า หากต้องการให้เพศตรงข้ามรู้สึกดีๆ กับเรา
หรือทำให้เกิดแรงป้อนกลับ )Feedback) เราจำเป็นต้องใส่พลังงานเข้าไปในระบบ
คือ ป้อนเข้าไปก่อน เพื่อให้เกิดการป้อนกลับ ถึงแม้ว่าในช่วงแรก
จิตใจของเขาจะเป็นระบบที่เสถียร ทนต่อพลังงานที่เข้าไปรบกวนได้
แต่เชื่อว่า เมื่อเกิดการทำซ้ำไปเรื่อยๆ ระบบอารมณ์ของเขาย่อมเกิดความสับสน
และไร้เสถียรภาพ เช่นเดียวกับที่เราเป็น
หน้าที่ต่อไปของนักรัก ก็คือการหาจุดคานงัดที่จะนำเราเข้าไปสู่ทางแพร่งเป้าหมาย
คือ แฟน คนรัก หรือคู่ชึวิต ซึ่งก็ไม่ง่ายและไม่ยากเกินไป และระลึกเสมอว่า
"ความคิด ตำแหน่งที่สอดคล้อง และระบที่รอคอยสิ่งใหม่ๆ อย่างใจจดใจจ่อ
เมื่อธาตุทั้งสามมาพบกันอย่างพอดี ผลกระทบผีเสื้อก็จะกลายเป็นความจริงขึ้นมา"
(Dr. Chaiwat Thirepanh)
เราจึงต้องทำให้ระบบนั้นกลายเป็นระบบที่รอคอยสิ่งใหม่ๆ (ระบบที่ไร้เสถียรภาพ)
และนำตัวเราเข้าไปในตำแหน่งที่เหมาะสมกับเรา
ในเวลาที่พอเหมาะ (อาจจะเป็นไปได้ด้วยการสร้างสถานการณ์)
เราจะสามารถทำให้ผลกระทบผีเสื้อเป็นจริงขึ้นมา
ขอเพียงมีความพยายาม มีสมาธิ มีสติ เพราะบางครั้ง เราก็รู้สึกได้จริงๆ เมื่อเราใกล้ "จุดคานงัด"
อ้างอิงจาก
ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์.ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) กับทางแพร่งของสังคมสยาม.พิมพ์ครั้งที่4.กรุงเทพ.สถาบันเรียนรู้และพัฒนาปรชาคม (Civicnet Foundation),2542.148หน้า.ISBN 974-87048-6-6
ผลงานอื่นๆ ของ น้องห่านเรนเจอร์.............. ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ น้องห่านเรนเจอร์..............
ความคิดเห็น