ปะหล่อง ( Palaung )
ผู้เข้าชมรวม
1,047
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ปะหล่อง ( Palaung )
ชาวปะหล่องเรียกตัวเองว่า Ta-ang ส่วนคำว่า ปะหล่อง มาจากภาษาไทใหญ่ ไทใหญ่บางกลุ่มเรียก "คุณลอย" หมายถึง คนดอย ส่วนชาวพม่าเรียก “ปะลวง” ชาวปะหล่องส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของ รัฐชาน รัฐคะฉิ่นในพม่า และยูนนานในประเทศ จีน ชาวปะหล่องในประเทศไทยอพยพมาจากพม่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.2527 เรียกตัวเองว่า "ดาระอั้ง" (Da-ang, ra-rang, ta-ang) เอกสารประวัติศาสตร์ ์หลายฉบับกล่าวว่า ชาวปะหล่องเป็นพลเมืองกลุ่มหนึ่งใต้ ้การปกครองของนครรัฐแสนหวี ชาวปะหล่องที่อพยพเข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณดอยอ่างขาง อำเภอฝาง ถือเป็นบุคคลที่อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
นักภาษาศาสตร์จัดให้ภาษาปะหล่องอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ปะหล่องจัดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 4 กลุ่มคือ กลุ่มปาเล(เงิน) กลุ่มชเว(ทอง) กลุ่มรูไม และกลุ่มเรียง
การแต่งกายของหญิงชาวปะหล่องถือเป็นเอกลักษณ์ของเผ่า กล่าวคือ การสวมห่วงหวายลงรักแกะลาย หรือใช้เส้นหวายเล็กๆ ย้อมสีถักเป็น ลาย บางคนก็ใช้โลหะสีเงินลักษณะเหมือนแผ่นสังกะสีนำมาตัดเป็นแถบยาวตอกลาย และขดเป็นวงสวมใส่ปนกัน ชาวปะหล่องจะเรียกห่วง ที่สวมเอวนี้ว่า "หน่องว่อง" หญิงชาวปะหล่องจะสวม "หน่องว่อง" ตลอดเวลา ด้วยความเชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์ ของการเป็นลูกหลานนางฟ้า โดยมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่ามีนางฟ้าชื่อ "หรอยเงิน" ได้ลงมายังโลกมนุษย์ แต่โชคร้ายไปติดเร้ว ของพวกมูเซอ ทำให้กลับสวรรค์ไม่ได้ ต้องอยู่ในโลกมนุษย์และเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์หลายกลุ่ม ชาวปะหล่องเชื่อกันว่าพวกตนก็ เป็นลูกหลานของนางหรอยเงิน ดังนั้นจึงต้อง สวม "หน่องว่อง" ซึ่งเปรียบเสมือนเร้วดักสัตว์ไว้เป็นสัญลักษณ์ เพื่อระลึกถึงนางฟ้า หรอยเงินตลอดเวลา ชาวปะหล่องเชื่อกันว่า การสวม "หน่องว่อง" จะทำให้เกิดความสุข เมื่อตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์ หากถอดออกจะทำให้สิ่งไม่เป็นมงคลเข้าครอบงำ หญิงชาวปะหล่องมักจะสวม ติดตัวตลอดเวลาแม้แต่ในเวลานอนก็ตาม หญิงชายชาว ปะหล่องมักจะแสดงฐานะของตนด้วยการเลี่ยมฟันด้วยโลหะคล้ายทองทั้งปากและประดับด้วยพลอยหลากสี การแต่งงานของชาวปะหล่องหนุ่มสาวชาวปะหล่องไม่นิยมแต่งงานกับคนต่างเผ่าการพบปะกันจะเกิดในงานพิธีทำบุญต่างๆ เมื่อชายหนุ่มถูกใจสาวคนใดก็จะหาโอกาสไปเที่ยวบ้านในตอนกลางคืนโดยจะเป่าปี่หรือดีดซึงเป็นเพลงบอกกล่าวให้สาวมาเปิดประตูรับ หากสาวไม่ ่รังเกียจก็จะมาเปิดประตูรับแล้วพากันไปคุยหน้าเตาไฟ เมื่อตกลงแต่งงานกันได้ก็จะบอกให้พ่อแม่ฝ่ายชายเป็นฝ่ายไปสู่ขอ พิธีแต่งงานจะมีการ เลี้ยงผีเรือน ผีปู่ย่าตายายในวันมัดมือ หลังจากนั้นคู่บ่าวสาวจะพากันไปทำบุญที่วัดหลังแต่งงานแล้วผู้หญิงจะต้อง ย้ายไปอยู่กับบ้านฝ่ายชาย
ชาวปะหล่องมีความเชื่อเรื่องวิญญาณควบคู่ไปกับการนับถือพุทธศาสนา โดยเชื่อว่า วิญญาณมีอยู่ 2 ระดับคือ ระดับหนึ่งเรียกว่า "กาบู" เป็นวิญญาณของสิ่งมีชีวิต และ "กานำ" เป็นวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ในสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ ภูเขา และเชื่อว่าแต่ละคนจะมี ีวิญญาณ 2 ระดับ นี้ให้ความคุ้มครองอยู่ ในหมู่บ้านปะหล่อง จะมี ศาลเจ้าที่ "ดะมูเมิ้ง" เป็นที่สิงสถิตของวิญญาณที่คุ้มครองหมู่บ้าน บริเวณศาล เจ้าที่จะอยู่เหนือ หมู่บ้าน มีรั้วล้อมรอบ จะมีพิธีทำบุญบูชาเจ้าที่ ปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงก่อนเข้าพรรษาและช่วงก่อนออก ออกพรรษา พิธีบูชาผีเจ้าที่ก่อนเข้าพรรษา เรียกว่า "เฮี้ยงกะน่ำ" เพื่อเป็นการบอกกล่าวแก่ผีเจ้าที่ว่าในช่วงเข้าพรรษา ชาวบ้าน จะไม่มีการ ล่วงประเวณีกัน หรือมีการแต่งงานกัน จากนั้นจึงทำพิธีปิดประตูศาลผี หรือ "กะปิ๊ สะเมิง" เมื่อใกล้จะออกพรรษาก็จะทำ พิธีเปิดประตู ูศาลผีเจ้าที่ หรือ "วะ สะเมิง" เพื่อเป็นบอกกล่าวว่า ช่วงฤดูแห่งการแต่งงานใกล้จะมาถึงแล้ว ชาวบ้านทุกครัวเรือนจะ มาร่วมในพิธี โดยการนำไก่ต้มสับมาเป็นชิ้นๆ เอาไปรวมกันที่ศาลผีเจ้าที่ จากนั้นจะมีผู้ประกอบพิธีกรรมเรียกว่า "ด่าย่าน" เป็นผู้ทำการบอกกล่าว แก่ผีเจ้าที่ต่อไป
อาชีพของชาวปะหล่องคือ เกษตรกรรม แบบทำไร่เลื่อนลอย พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าว ถั่ว ข้าวโพด ยาสูบ พริก อ้อย มัน สัตว์เลี้ยงได้แก่ แพะ แกะ เป็ด ไก่ ม้า เป็นต้น ชาวปะหล่องชอบสูบฝิ่นทั้งชายหญิง ส่วนอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์ เช่น ม้า เสือ หมีและปลา
ผลงานอื่นๆ ของ ~ดOกไม้สาEรุ้J~ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ~ดOกไม้สาEรุ้J~
ความคิดเห็น