ไทยวน หรือ ไทยล้านนา หรือ โยนก - ไทยวน หรือ ไทยล้านนา หรือ โยนก นิยาย ไทยวน หรือ ไทยล้านนา หรือ โยนก : Dek-D.com - Writer

    ไทยวน หรือ ไทยล้านนา หรือ โยนก

    ผู้เข้าชมรวม

    3,879

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    3.87K

    ความคิดเห็น


    4

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  20 ต.ค. 49 / 20:20 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ




      ไทยวน หรือ ไทยล้านนา หรือ โยนก ( Lanatai, Lao, Youanne, Youon, Yun )

       

         เป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนามาเป็นเวลานาน มักเรียกตนเองว่า คนเมือง
      ชาวไทยวนอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน  และแพร่ รู้จักในนามไทยล้านนามีภาษาพูดใกล้เคียงกับ พวกไทลื้อและไทเขินปัจจุบันชาวไทยวนรับอิทธิพลของไทยภาคกลาง
          ชาวไทยวนมีภาษาพูดภาษาเขียนเป็นเอกลักษณ์ของตน อักษรของชาวไทยวนมีใช้มาเป็นเวลานานแล้ว เมื่อได้อพยพมาอยู่ที่สระบุรีก็นำเอาอักษรเหล่านั้นมาใช้ด้วย ใช้เขียนลงในสมุดข่อยหรือจารบนใบลาน ชาวไทยวนเรียกอักษรนี้ว่า หนังสือยวน เรื่องที่บันทึกลงใบข่อยหรือสมุดไทยมักจะเป็นตำราหมอดู ตำราสมุนไพร เวทมนต์คาถาต่างๆ ส่วนเรื่องที่จารลงใบลานจะเป็นพระธรรมเทศนาเป็นส่วนใหญ่ ชาวไทยวนมักนิยมถวายคัมภีร์เทศน์ เพราะเชื่อว่าได้บุญมากส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องเวสสันดรชาดก ยอดพระไตรปิฎกคัมภีร์ยวนฉบับต่างๆได้รับต้นฉบับมาจากฝ่ายเหนือ เมื่อได้มาก็คัดลอกจารต่อๆ กันมา ชาวไทยวนมีการร้องเพลง เรียกว่า จ๊อย เป็นการร้องด้วยสำนวนโวหาร อาจจะเป็นการจ๊อยคนเดียวหรือจ๊อยโต้ตอบกันก็ได้ การจ๊อยนี้จะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ เนื้อหาในการจ๊อยอาจจะเกี่ยวกับนิทานชาดก คำสอน ประวัติตลอดจนการเกี้ยวพาราสี
          ไทยวนนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะเรียกว่า เรือนเชียงแสนหรือเรือนกาแล กล่าวคือจะมีไม้ไขว้อยู่บนหลังคาเหนือจั่ว เรือนส่วนบนจะผายออก ที่เรียกว่า เรือน อกโตเอวคอด เมื่อชาวเชียงแสนได้อพยพมาอยู่ที่สระบุรีในตอนต้นนั้น มีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง ดังที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดจันทรบุรี จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนบ้านเสาไห้ก็พบว่า แต่เดิมนั้นมีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง
          ชาวไทยวนมีความเชื่อในเรื่องผีซึ่งอาจให้คุณหรือโทษได้ ผีที่ชาวไทยวนให้ความสำคัญได้แก่

      ผีเรือน หรือ ผีประจำตระกูล หรือ ผีบรรพบุรุษ คนยวนเรียก ผีปู่ย่า คนยวน 1 ตระกูลจะมีศาลผีหรือหิ้งผีอยู่ที่บ้านของคนใดคนหนึ่ง เมื่อลูกหลานในตระกูลนี้ เมื่อลูกหลานคนใดแต่งงานก็จะพากันมาไหว้ผีปู่ย่าที่บ้านนี้ หรือในช่วงเทศกาลสงกรานต์ก็จะพากันมาไหว้ผีปู่ย่าเช่นกัน

      ผีประจำหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านจะมีศาลผีประจำอยู่ บางหมู่บ้านอาจจะมีมากกว่าหนึ่งศาล เช่นที่ บ้านไผ่ล้อม อำเภอเสาไห้ มีศาลเจ้าชื่อ ปู่เจ้าเขาเขียวโปร่งฟ้า มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า เดิมปู่เจ้าอยู่ที่เชียงดาว เชียงใหม่ ในครั้งที่มีการอพยพได้มีคนเชิญให้ร่วมทางมาด้วย เพื่อคุ้มครองลูกหลานญวนที่เดินทางมาในครั้งนั้น และได้ปลูกศาลให้ท่านอยู่ เชื่อกันว่า เจ้าปู่นี้มักจะกลับไปอยู่ที่เชียงดาว เมื่อถึงวันสงกรานต์ก็จะมาเยี่ยมลูกหลานของท่านทุกๆ ปี

      ผีประจำวัด เรียกว่า เสื้อวัด ทุกวัดจะมีศาลเสื้อวัดประจำอยู่ทุกๆ วัด บางวัดมีมากกว่า 2 ศาลเวลามีงานวัดจะต้องจุดธูปบอกเสื้อวัดเสียก่อน

      ผีประจำนา เรียกว่า เสื้อนา ความเชื่อเรื่องเสื้อนามีมานานดังที่ปรากฏในหนังสือกฎหมายมังรายศาสตร์ ฉบับวัดเสาไห้ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ ผู้ใดขี้ใส่นาแรกท่าน ตั้งแต่ตอนหว่านกล้าไปจนถึงตอนจะย้ายปลูก จะเก็บเกี่ยวให้มันหาเหล้า 2 ไห ไก่ 2 คู่ เทียน 2 เล่ม ข้าวตอกดอกไม้ มาบูชาขวัญข้าวและเสื้อนาผิดเพียงแต่เยี่ยว ไม่ได้ขี้ ให้ มันหาไก่คู่หนึ่ง เหล้าขวดหนึ่งเทียนคู่หนึ่ง ข้าวตอกดอกไม้บูชาเสื้อนา……” ความเชื่อเรื่องเสื้อนานี้เมื่อถึงเดือนหก แม่บ้านจะทำขนมบัวลอยไปวางเซ่นที่นาเพื่อเลี้ยงเสื้อนาของตนทุกปี

      ประเพณีขึ้นท้าวทั้ง 4 ชาวไทยวนเรียก “ต๊าวตังสี่” หมายถึงท้าวจตุโลกบาล ซึ่งเป็นเทวดาประจำทิศทั้งสี่ ก่อนที่จะมีงานใดๆ จะทำการเลือกสถานที่ๆ เหมาะสม เอาไม้ 5 ท่อนมาปักเป็นเสา 4 มุม เสาต้นกลางสูงกว่าเสาสี่มุม บนเสานี้จะวางเครื่องเซ่น เช่น หมาก บุหรี่ ดอกไม้ธูปเทียน กระทงอันกลางเป็นของพระอินทร์ ผู้รู้พิธีจะเป็นคนกล่าวเชิญเทพทั้ง 4 มารับเครื่องเซ่นและมาช่วนปกป้องคุ้มครองงานของตนให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย


      ++++++++++++++
      ภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทยวนกั๊บ >>> Namcoke

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×