บันทึกที่17 : อดัมไม่เคยเจออิฟ
============================
ปัจจุบัน ดีเอ็นเอถูกนำมาใช้คลี่คลายปมปริศนาหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะในคดีอาชญากรรม เมื่อเป็นเช่นนั้น ดีเอ็นเอสามารถนำมาใช้ไขความจริง เกี่ยวกับกำเนิดของอดัมกับอีฟ บรรพบุรุษของมนุษย์ได้หรือไม่
หากถามนักชาติพันธุ์วิทยาว่า มนุษย์มาจากไหน คำตอบที่ค่อนข้างเป็นข้อสรุปตรงกันแล้วว่า !ตระกูล ไพรเมทสายพันธุ์มนุษย์มีถิ่นกำเนิดจากแอฟริกา เนื่องจากมีการขุดพบโครงกระดูกและกะโหลก กราม ของมนุษย์ยุคก่อน ในแอฟริกา โดยอายุของฟอสซิล กระดูกที่พบมีระยะเวลาเก่าแก่กว่าฟอสซิลกระดูกในพื้นที่อื่นๆ ของโลก
แต่หากไปถามชาวคริสเตียน คำตอบที่ได้ ซึ่งไม่น่าประหลาดใจเลยคือ พระเจ้าเป็นผู้สร้าง ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ พบวิธีใหม่ที่จะใช้สืบหา บรรพบุรุษของมนุษย์ย้อนไปตั้งแต่สมัยพระเจ้าสร้างโลก
ขณะที่ศาสตราจารย์ สตีฟ โจนส์ นักวิทยาศาสตร์ด้านพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน มีคำตอบ ที่น่าพิศวงกว่านั้น เขาได้สืบสวนร่องรอยของ อดัม และ อีฟ มนุษย์คู่แรกที่ปรากฏในพระคัมภีร์เก่า (Old Testament) และตั้งข้อสังเกตบางอย่างในคัมภีร์โบราณที่ระบุถึงอดัม พบกับอีฟ เป็นครั้งแรกในสวนอีเดนเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 4004 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 6,000 ปีก่อน
ถ้าไม่นับฟอสซิลกระดูกมนุษย์ที่พบในแอฟริกาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีหลายชิ้นบ่งชี้ถึงการดำรงอยู่ของ อารยธรรมมนุษย์มาหลายพันปีแล้ว ไม่ต้องดูอื่นไกล เอาแค่หม้อชามรามไหที่บ้านเชียง หรือลายเขียน บนผนังเขาที่ผาแต้มของไทยก็พอ มิพักต้องเอ่ยถึงทฤษฎีว่าด้วยวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วิน บิดาแห่งพันธุศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 19
ในปี 1871 ดาร์วินได้เขียนหนังสือชื่อ Origin of Species ซึ่งเขากล้าพูดอย่างเต็มปาก เต็มคำเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ ต่อมาในปี 1871 เขาได้เขียนหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ชื่อ The Descent of Man ระบุว่ามนุษย์มีการวิวัฒนาการเหมือนกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด แต่สิ่งที่เขาไม่รู้ก็คือ วิวัฒนาการดังกล่าวผ่านมานานแค่ไหนแล้ว
ในงานฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งการค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอโดยเจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก ศาสตราจารย์โจนส์ ซึ่งบอกว่าชื่อของเขาโหลมาก หากใครลอง ค้น ข้อมูลดูในเวบ ไม่ได้แค่พาผู้ฟังย้อนเวลากลับ ณ สวนอีเดน ที่ซึ่งระบุว่าอดัมพบกับอีฟเท่านั้น แต่ยังได้พลิกฟื้นความรู้ด้านชีววิทยาสมัยยังเรียนอยู่มัธยมปลายว่าด้วยโครโมโซมเอ็กซ์ โครโมโซมวาย และไมโตคอนเดียมาฟื้นฝอยหาตะเข็บอีกด้วย
การฉลองครบรอบครั้งนี้ เป็นความร่วมกันหลายฝ่ายได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือสวทช. บริทิช เคาน์ซิล ประเทศไทย หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการจัดงานเชิงวิชาการ
ย้อนกลับไปดูเรื่องของอดัมกับอีฟกันอีกที ในสวนแห่งอีเดน มนุษย์คนแรกที่พระเจ้าสร้างคือ อดัม ซึ่งกลไกในการกำเนิดของอดัมไม่ได้ถูกระบุไว้ชัดเจนเท่าไร แต่ในเวลาต่อมา อีฟได้ถือกำเนิดขึ้นมาจากซี่โครงของอดัม และเป็นเพศหญิง ซึ่งพระคัมภีร์ ไม่ได้กล่าวอีกเช่นกันว่าทำไมต้องเป็นเพศหญิงและอดัมเป็นผู้ชาย แต่สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ ทั้งอดัมและอีฟ ถูก โคลน ขึ้นมาทั้งคู่ และสะท้อนให้เห็นอีกเช่นกันแม้จะในเชิง อุปมา อุปไมย ก็ตาม ว่า การให้กำเนินอีฟเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual)
หลังจากอดัมกับอีฟถูกตะเพิดออกจากสวนแห่งอีเดนเพราะฝ่าฝืนคำสั่งพระผู้เป็นเจ้า รับประทานผลไม้ต้องห้าม ทั้งคู่ได้กลายเป็นต้นตระ***ลของมนุษย์ทั้งปวง
ถึงแม้เรื่องราวของมนุษย์คู่แรกจะดูปรัมปรา และออกไปในทางอุทาหรณ์เปรียบเปรยเสียมากกว่า แต่มีข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์อยู่บางประการที่อาจช่วยให้มนุษย์บางคนสามารถสืบสาวราวเรื่องเพื่อหาต้นตระกูลของตนเองได้
ในเชิงชีววิทยา ผู้ชายและผู้หญิงอาจจะแตกต่างกัน เพราะผู้ชายมีโครโมโซมวาย ขณะที่ผู้หญิงจะมีโครโมโซมเอ็กซ์ เท่ากับว่าอดัมมีโครโมโซมวาย แต่อีฟไม่มี ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอนกล่าว และได้อธิบายต่อมาด้วยความรวดเร็วว่า มันไม่ได้เป็นหลักการแบ่งแยกที่ใช้อธิบายได้ครอบจักรวาล
โจนส์ยกตัวอย่างปลาวราสครีบฟ้า ที่เลี้ยงอยู่ในบ่อปลาในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในบ่อมีปลา 30 ตัว และมีตัวผู้เพียงตัวเดียว วันๆ ไม่ทำอะไรนอกจากผสมพันธุ์อย่างเดียว แต่พอเอาปลาตัวผู้ออกไปจากบ่อ ทำเอาปลาตัวเมียแทบคลั่งอยู่พักใหญ่ และไม่รู้จะทำอย่างไรดี ต่อมามีปลาตัวเมียตัวหนึ่งเล่นเล่ห์ และเปลี่ยนตัวเองเป็นตัวผู้เฉยเลย
เขาได้ชี้ให้เห็นว่า เรื่องเพศแท้จริงแล้วเป็นเรื่องของแรงกดดันทางสังคมมากกว่า เป็นสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ และผู้หญิงเป็นรอง โจนส์ได้ยกตัวอย่างความกดดันทางสังคมหลายอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ อาทิ เรื่องของการแต่งงานที่ผู้หญิงจะต้องย้ายไปอยู่กับผู้ชาย และใช้นามสกุลผู้ชาย
แรงกดดันดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เรื่องของเพศไม่เกี่ยวอะไรกับยีน แม้แต่นักพันธุศาสตร์เองก็ยอมรับว่าเพศเป็นเพียงแค่กระบวนการหนึ่ง เป็นกระบวนการที่เด็กคนหนึ่งเกิดจากพ่อและแม่ และในทางชีววิทยาอีกเช่นกันที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ทุกคนได้รับโครโมโซมชุดหนึ่งมาจากพ่อ และอีกชุดหนึ่งมาจากแม่
การสืบทอดทายาทและเผ่าพันธุ์มนุษย์นี่เองที่ทำให้ยีนของมนุษย์ผสมปนเปไปหมด แต่มีรหัสชีวิตอย่างหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ โครโมโซมวายของพ่อ และไมโตคอนเดียที่ได้รับมาจากแม่
ภายในเซลล์จะมีโครงสร้างต่างๆ มากมายอยู่ข้างใน รวมทั้งวัตถุขนาดจิ๋วนับร้อยที่เป็นแหล่งพลังงานให้กับเซลล์ที่เรียกว่า ไมโตคอนเดีย เจ้าสิ่งนี้ครั้งหนึ่งมันเคยเป็นแบคทีเรีย และเคยมียีนพิเศษจากตัวอื่นในร่างกาย ยีนเหล่านี้สามารถรับถ่ายทอดจากแม่เท่านั้น ขณะที่ผู้ชายไม่สามารถถ่ายทอดยีนผ่านไมโตคอนเดียได้ แต่จะถ่ายทอดผ่านโครโมโซมวายแทน
เท่ากับว่าเราสามารถสืบย้อนจากไมโตคอนเดียของมนุษย์เพื่อหาต้นตระ***ลที่เป็นผู้หญิงได้ เช่นเดียวกัน เราสามารถสืบย้อนหาต้นตระ***ลบรรพบุรุษที่เป็นผู้ชายได้
ในอังกฤษได้มีการศึกษาเพื่อสืบย้อนหาบรรพบุรุษโดยการศึกษาดีเอ็นเอของคนชาติต่างๆ ซึ่งผลที่ได้คือความหลากหลาย และแตกต่างกันของชนหลายๆ เชื้อชาติ แต่มีข้อสังเกตอยู่ประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เพศชายจะมีความหลากหลายกว่าเพศหญิง เท่ากับว่าเพศชายมีการย้ายถิ่นน้อยกว่า ขณะที่ผู้หญิงจะเดินทางเคลื่อนย้ายถิ่นฐานมากกว่าทำให้มีการถ่ายทอดไมโตคอนเดียแพร่กระจายมากกว่า
ถ้าถามผมว่า แล้วอดัมได้พบกับอีฟหรือเปล่า ผมตอบได้เต็มปากเลยว่า ไม่ เพราะเพศชายประสบความสำเร็จในการส่งต่อชุดยีนในโครโมโซมวายน้อยกว่า หรือบางคนไม่สามารถส่งต่อโครโมโซมวายไปได้เลย แต่ผู้หญิงสามารถถ่ายทอดผ่านไมโตคอนเดียได้เกือบหมด
ในประชากรมนุษย์ทั่วไป ถ้ามีผู้ชายบางคนสามารถมีบุตรได้จำนวนมาก และบางคนมีทายาทไม่กี่คน หรือไม่มีเลย เราอาจย้อนกลับไปหาอดัม บรรพบุรุษของเราได้เร็วว่า แต่สำหรับผู้หญิงซึ่งถ่ายทอดไมโตคอนเดียให้กับลูกทุกคน อาจต้องใช้เวลาย้อนกลับไปไกลกว่าถึงจะเจอกับอีฟ ดังนั้น ผมจึงมั่นใจว่า อดัมไม่ได้เจอกับอีฟแน่นอน โจนส์กล่าว
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น