14 ตุลา เบิกฟ้าประชาธิปไตย - 14 ตุลา เบิกฟ้าประชาธิปไตย นิยาย 14 ตุลา เบิกฟ้าประชาธิปไตย : Dek-D.com - Writer

    14 ตุลา เบิกฟ้าประชาธิปไตย

    พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้า ก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน พอปืนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑล ก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย (เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)

    ผู้เข้าชมรวม

    2,663

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    2.66K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  นิยายวาย
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  15 ม.ค. 51 / 10:30 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    กรุณากดลิงค์เพื่อเพิ่มอรรถรสในการชม http://www.managerradio.com/Radio/DetailRadio.asp?program_no=1026&mmsID=1026/1026-1071.wma&program_id=1849 เพลงปฏิวัติ

    วีรชนคนหนุ่มสาวเดินออกจากบ้าน ย่างก้าวสู่ดินแดนประวัติศาสตร์ แสงโคมส่องยอดโดมเป็นเครื่องชูประชาธิปไตยในเส้นทางอันมืดมิด ร่วมกันหลั่งเลือดชโลมดินเพื่อประชาธิปไตย ลูกหลานวันนี้รักประชาธิปไตยแค่ไหน!!!!!!!!!!!!
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      การลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาล เผด็จการทหารของนักศึกษาและประชาชนชาวไทยในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นับได้ว่าเป็นการแสดงพลังทางการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่

         ปรากฏการณ์ “14 ตุลา”
      เป็นการสั่งสมของความกดดันของการเมืองไทย ที่อยู่ใต้ ระบบเผด็จการ มาเป็นเวลายาวนาน มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่แล้วฉีกทิ้งทำลาย สิทธิเสรีภาพที่ประชาชนพึงมีพึงได้ถูกปฏิเสธและเหยียบย่ำ อำนาจการเมืองการปกครองก็ตกอยู่ในมือของคณาธิปไตยเพียงไม่กี่คน ทั้งนี้โดยอาศัยกลไกของรัฐ ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนเป็นเครื่องมือ

         ขณะเดียวกัน การเร่งรัด การพัฒนา ไปสู่ความทันสมัยตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกอบกับการแผ่ขยายระบบอภิสิทธิ์ของกลุ่มข้าราชการ นักการเมือง และกลุ่มธุรกิจเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ ก็ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจสังคมมากมาย เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ระหว่างชนบทกับเมือง ระหว่างภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรม

         นอกจากนี้ ในบริบทของการเมืองระหว่างประเทศ ยุคสงครามเย็น รัฐไทยยังได้ผูกมัดตัวเองอยู่กับค่ายโลกเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ยินยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศเพื่อบินไปทิ้งระเบิดในอินโดจีน การต่อต้านและปราบปรามคอมมิวนิสต์เป็นไปอย่างรุนแรง

         อย่างไรก็ตาม ในสมัยที่บ้านเมืองขาดสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ความไม่พอใจในสภาวะที่เป็นอยู่และ ขบวนการนิสิตนักศึกษา ก็ได้ก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ เครือข่ายของกลุ่มปัญญาชนคนหนุ่มสาวค่อย ๆ เกิดความตื่นตัวทางปัญญา เริ่มตั้งคำถามต่อตัวเองและสังคม ทำให้ตระหนักในบทบาทและศักยภาพของตน และกลายเป็นพลังในการตอบโต้และเผชิญหน้ากับผู้มีอำนาจในที่สุด

         16 ปีภายใต้ระบอบ สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส โครงสร้างทางการเมืองแบบเผด็จการและระบบเจ้าขุนมูลนายแบบราชการดำรงอยู่อย่างหยุดนิ่ง ในขณะที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไพศาล ส่งผลให้รัฐบาลเผด็จการเสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ

         กระทั่งเมื่อเงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ สุกงอม โดยเฉพาะการเติบโตขึ้นของเครือข่ายนักศึกษาปัญญาชนและผู้ที่ไม่พอใจในระบอบเผด็จการทหาร จนมีการรณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามมาด้วยการจับกุม “๑๓กบฏ” การหลอมรวมพลังทางการเมืองครั้งสำคัญของสังคมไทยจึงเกิดขึ้น ระเบิดเป็นเหตุการณ์ “๑๔ ตุลา” ที่จะต้องจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ประชาชนไทยตลอดไป 

      ลำดับเหตุการณ์ 14 ตุลา
      เวลาประมาณ 00.05 น. หลังจากที่นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล หัวหน้าฝ่ายควบคุมการเดินขบวน สั่งให้เคลื่อนขบวนไปสวนจิตรลดาฯ เพื่อขอพึงพระบารมี ก็มีการจัดขบวนใหม่ ขบวนของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนได้เคลื่อนไปตามถนนศรีอยุธยาแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระราม 5

           ทางด้านคณะกรรมการบริหารศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เมื่อทราบข่าวการเคลื่อนไหว จึงได้รีบออกจากสวนรื่นฤดีพร้อมด้วยรถติดเครื่องขยายเสียงของทหาร 2 คัน เพื่อไปยับยั้งการเคลื่อนขบวนโดยเร็วที่สุด

       เวลาประมาณ 03.30 น. นายธีรยุทธ บุญมี กับนายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้ออกจากขบวนไปพบเลขาธิการและกรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เพื่อพูดถึงปัญหาความขัดแย้งและความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น จากนั้นทั้งหมดก็ได้เข้าไปในสวนจิตรลดาฯ เพื่อขอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

          จนกระทั่งเวลา 04.45 น. พ.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร นายตำรวจประจำสำนักพระราชวัง นายธีรยุทธ นายเสกสรรค์ เลขาธิการและกรรมการศูนย์ฯ ก็ออกจากพระราชวังสวนจิตรลดาฯ ตรงไปยังรถบัญชาการแล้วช่วยกันประกาศให้ผู้ชุมนุมได้เข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและความสำเร็จในการเจรจากับรัฐบาล รวมทั้งชี้แจงความไม่เข้าใจกันที่เกิดขึ้นระหว่างคณะกรรมการศูนย์ฯ กับฝ่ายควบคุมขบวน

          ต่อมาเวลา 05.30 น. พ.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชรได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ่านให้ที่ชุมนุมฟัง และเมื่ออ่านเสร็จ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุลรวมทั้งกรรมการศูนย์ฯ ก็ได้ขึ้นพูดให้ทุกคนพอใจและขอให้สลายตัว จากนั้นฝูงชนก็เริ่มแยกย้ายกันออกจากที่ชุมนุมในเวลาประมาณ 06.00 น.

      ขณะที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนกำลังแยกย้ายกันกลับนั้น ส่วนหนึ่งก็มุ่งไปตามถนนพระราม 5 เพื่อออกไปทางสี่แยกดุสิต แต่แล้วกลับถูกกั้นโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 250 คน ซึ่งไม่ยอมให้เดินผ่านไปโดยสะดวก ทำให้ฝูงชนเกิดความไม่พอใจกระทั่งเริ่มมีการขว้างปาสิ่งของต่าง ๆ ใส่ตำรวจ

           จนเมื่อเวลาประมาณ 06.30 น. เกิดการขว้างปาและประจันหน้ารุนแรงขึ้น ในที่สุดตำรวจหน่วยปราบปรามภายใต้การบัญชาการของ พล.ต.ท. มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ก็ได้ใช้ไม้กระบองกับโล่เข้าตีและดันผู้เดินขบวนให้ถอยร่นไป ขณะเดียวกันตำรวจกองปราบในแนวหลังก็ได้รับคำสั่งให้ยิงแก๊สน้ำตาจนฝูงชนแตกหนี ผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมากถูกดัน ถูกตี และสำลักแก๊สน้ำตาจนตกน้ำ ต่างคนก็วิ่งหนีเอาชีวิตรอด บางคนต่อสู้โดยใช้มือเปล่า ไม้ ก้อนหิน และขวดเท่าที่จะหยิบฉวยได้ตามพื้นถนน ชายหญิงและเด็กหลายคนถูกตีจนแขนหัก ศีรษะแตก บ้างถูกเหยียบซ้ำเนื่องจากการถอยร่นของผู้ร่วมชุมนุม บางคนถูกไล่ตีตกน้ำทั้ง ๆ ที่ยังสำลักแก๊สน้ำตา บางส่วนหนีไปฝั่งสวนจิตรฯ และฝั่งสวนสัตว์ดุสิต

           ด้านเลขาธิการและกรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยจำนวนหนึ่งได้ติดกลุ่มไปกับฝูงชนที่ถอยร่นไปอยู่ในสวนจิตรลดาฯ จำนวนพันคนเศษ ขณะที่นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล หัวหน้าผู้ควบคุมขบวน ได้เดินออกไปจากขบวนแล้ว


      เวลาประมาณ 08.00 น. นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ทราบข่าวการปะทะที่สวนจิตรลดาฯ ได้เริ่มทยอยเข้าไปรวมกันในธรรมศาสตร์จำนวนมาก คนที่หนีมาจากสวนจิตรฯ ได้นำข่าวเกี่ยวกับความทารุณของตำรวจมาเล่าให้เพื่อนฟัง บางคนมีอารมณ์แค้นพุ่งสูงขึ้น ต่างฉวยไม้ขึ้นรถพากันออกไป ส่วนที่เหลือช่วยกันทำระเบิดเพลิงอย่างเร่งรีบ ขณะเดียวกันก็มีการตั้งศูนย์พยาบาลสนามขึ้นในธรรมศาสตร์ด้วย

           สถานการณ์ลุกลามขึ้นเรื่อย ๆ เวลาประมาณ 08.30 น. นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนราว 5,000 คน ได้เคลื่อนจากลานพระบรมรูปทรงม้า ตรงไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ มีการขว้างปาไม้และก้อนหินเข้าไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาล และมีรถกระจายเสียงของนักศึกษาประกาศให้ไปรวมตัวกันที่ธรรมศาสตร์

           ส่วนที่บริเวณหน้ากรมประชาสัมพันธ์ก็มีนักศึกษาประชาชนชุมนุมกันหลายพันคน โดยผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งได้เข้ายึดกรมประชาสัมพันธ์และสำนักงานคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ (ก.ต.ป.) เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น.


      เหตุการณ์ได้บานปลายลุกลามออกไปอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดไว้ ทหารและตำรวจออกปราบฝูงชนโดยใช้ทั้งอาวุธปืน รถถัง และเฮลิคอปเตอร์ มีการต่อสู้ปะทะกันตลอดสายถนนราชดำเนินตั้งแต่ผ่านฟ้าถึงสนามหลวง โดยเฉพาะที่หน้ากรมประชาสัมพันธ์ กรมสรรพากร กองสลากกินแบ่ง โรงแรมรัตนโกสินทร์ ตึก ก.ต.ป. กองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า รวมทั้งบริเวณสถานีตำรวจชนะสงครามและย่านบางลำภู

           นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ก็เริ่มตอบโต้กลับรุนแรงมากขึ้น มีการยิงและปาระเบิดขวดตอบโต้ทหารตำรวจเป็นบางจุด มีการบุกเข้ายึดและทำลายสถานที่บางแห่งที่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจเผด็จการคณาธิปไตย สำนักงานกองสลากกินแบ่งรัฐบาล ตึก ก.ต.ป. และป้อมยามถูกเผา บางคนได้ขับรถเมล์ รถขยะ และรถบรรทุกน้ำของเทศบาลวิ่งเข้าชนรถถัง ศพวีรชนที่สละชีวิตหลายคนถูกแห่เพื่อเป็นการประจานความทารุณของทหารตำรวจและชักชวนให้ประชาชนไปร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ส่วนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นักศึกษาก็ลำเลียงผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาลศิริราชทางเรือตลอดเวลา

           ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ได้ออกแถลงการณ์โจมตีนักศึกษาประชาชนผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีคำสั่งให้ปิดสถาบันการศึกษาของรัฐในกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการทุกแห่ง และประกาศไม่ให้ประชาชนออกนอกบ้านในเวลากลางคืน
      พอถึงเวลา 18.30 น. สถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์และสถานีโทรทัศน์ทุกสถานีจึงได้ถ่ายทอดแถลงการณ์การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งขณะนั้นฝ่ายนักศึกษาประชาชนได้ถอยมาชุมนุมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยราว 3 หมื่นคน

           เวลา 18.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี และในเวลา 19.15 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชดำรัสทางวิทยุและโทรทัศน์ ขอให้ทุกฝ่ายระงับเหตุแห่งความรุนแรง

           อย่างไรก็ตาม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็ยังคงมีประชาชนมาชุมนุมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และยังคงมีตำรวจทหารยิงทำร้ายประชาชนอยู่ในบางบริเวณ

           ท่ามกลางความสับสน คณะกรรมการศูนย์ปวงชนชาวไทยก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นชั่วคราวเมื่อเวลา 20.45 น. ท่ามกลางประชาชนประมาณ 5 หมื่นคนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อประสานงานและคลี่คลายสถานการณ์

           และเมื่อถึงเวลา 23.30 น. นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ได้ปราศรัยทางโทรทัศน์ ขอให้ทุกฝ่ายคืนสู่ความสงบ และ


        
      ประกาศจะใช้รัฐธรรมนูญภายใน ตลอดคืนนั้นยังคงมีเสียงปืนดังขึ้นประปราย ท้องฟ้าแถบถนนราชดำเนินเป็นสีแดง ควันพวยพุ่งอยู่เป็นหย่อม ๆ การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยดำเนินไปตลอดคืน

      เสียงร่ำหวีดร้องร่ำให้               วีรชนหญิงชายทั้งหลายทั่ว
      เสียงปืนกลแผดก้องกราดรัว    ทั่วทั้งตัวชโลมเลือดลงแผ่นดิน
      ร่างลงซบแผ่นดินอันหม่นเศร้า นัยตาเศร้าเรียกร้องเฝ้ามองหา
      ประชาธิปไตยไทยในอุรา        ด้วยหวังว่าสักวันคงเป็นจริง
      แด่วีรชน 14 ตุลา 2516 
      เนื้อหาอ้างอิงจาก www.14tula.com 


          

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×