เกมไขว้อักษรไทย - เกมไขว้อักษรไทย นิยาย เกมไขว้อักษรไทย : Dek-D.com - Writer

    เกมไขว้อักษรไทย

    โดย FioRaNo

    ประวัติอักษรไขว้ กฎกติกาการเล่น มีสาระมากมาย

    ผู้เข้าชมรวม

    8,565

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    8.56K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  20 ธ.ค. 49 / 19:42 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ประวัติความเป็นมา
      เรารู้จักปริศนาอักษรไขว้มานานแล้ว เช่นเดียวกับชาวต่างประเทศที่เขามี
      Crossword Puzzle เพียงแต่ไทยเราไม่มี Scrabble(สะแคร็บเบิ้ล หรือ สะแคร็บเบิล)
      อย่างฝรั่ง แต่ภายหลังจากที่ นายบุญเกิด ธรรมวาสี วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร
      ผู้พิสมัยการเล่นเกมอักษรทุกชนิด ได้เข้าแข่งขันชิงแชมป์ครอสเวิร์ดเกม
      (Scrabble) ที่ชมรมโลจิกเป็นผู้จัด และได้ตำแหน่งผู้ชนะเลิศของประเทศไทยเมื่อปี
        พ.ศ.2531 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการสรรหาตัวแทนไปชิงแชมป์ระดับโลก
      ที่สหรัฐอเมริกา โดยมีผู้อุปถัมภ์รายใหญ่คือบริษัทการบินไทย
      ที่มอบตั๋วเครื่องบินไป - กลับให้แก่ผู้ชนะเลิศ โดยมีนายบุญเกิด
      เป็นผู้ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนไปแข่งขันในปีนั้น
      นับแต่นั้นมานายบุญเกิดจึงได้เกิดแรงบันดาลใจในการริเริ่มคิดประดิษฐ์เกมไขว้อักษรไทย
      (Thai scrabble)
      โดยได้ทำการศึกษาคิดค้นและพัฒนาการประดิษฐ์เกมที่จะเล่นมาโดยตลอดเป็นลำดับ
      จนทำได้สำเร็จในปลายปี 2533 และได้เข้าขอจดสิทธิบัตรเมื่อเดือนมกราคม 2534
      ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ได้ออกสิทธิบัตรหมายเลข 9843 ภายใต้ชื่อ
      "เกมไขว้อักษรไทย" ให้แก่นายบุญเกิด เมื่อเดือนสิงหาคม 2543  
      ต่อมานายบุญเกิดได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา นาคสกุล
      ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยและเป็นเจ้าของรายการ "ภาษาไทยวันละคำ
      "ที่โด่งดังในอดีต ให้ลดจำนวนตัวเล่นลงให้มากที่สุด
      เพื่อให้เยาวชนไทยสามารถเล่นเกมนี้ได้ โดยใช้เวลาไม่นานจนเกินไป นายบุญเกิด
      จึงได้ทำการพัฒนารายละเอียดเพิ่มเติมจากต้นแบบที่ประดิษฐ์ไว้แ ล้ว
      จนในที่สุดก็สามารถลดจำนวนตัวเล่นได้สำเร็จเป็นชุด "เกมไขว้อักษรไทย "
      ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งสามารถลดจำนวนตัวเล่นจากประมาณ 100 ตัวเหลือเพียง 70 ตัว
      ดังที่ท่านสามารถเห็นได้อยู่ในปัจจุบันนี้
      เสน่ห์ของเกมไขว้อักษรไทยคือความสนุกสนานในการเลือกใช้คำและตัวอักษรไทยจากเกมการเล่นที่ใช้ในการ
      แข่งขันตั้งแต่สองคนขึ้นไปโดยใช้เวลาภายใน 45
      นาทีซึ่งยังสนุกทั้งเล่นเป็นกลุ่มและเล่นกันสองคน
      การเล่นเกมไขว้อักษรผู้เล่นต้องรู้จักการวางแผนและการคิดกลยุ
      ทธ์เพื่อป้องกันมิให้คู่แข่งหาโอกาสทำคะแนนจากตัวเล่นของเรา
      ที่วางลงไปนอกจากนี้การทำคะแนนจากตัวเล่นที่เสี่ยงทายจับขึ้
      นมาได้จะต้องเน้นการวางแผนให้ดีเพื่อลงให้ตรงช่องสีที่ให้คะแน
      นมากเป็นพิเศษเช่นช่องที่มีคะแนนเป็นสองเท่าสามเท่าของเฉพาะตัวอักษรหรือของคำซึ่งจะทำให้ได้คะแนนม
      ากในระดับที่จะเฉือนหรือชนะคู่แข่งได้ผู้เล่นจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาฝึกฝนความรอบรู้ในเรื่องคำต่างๆและจะต้
      องฝึกทักษะเกี่ยวกับการใช้คำไทยและอักษรไทย 
      ทำให้ได้ทราบความหมายของคำเหล่านั้นในที่สุด การเล่น
      เกมนี้นอกจากจะช่วยสร้างความแม่นยำในการสะกดคำไทยแล้วยังช่วยฝึกสมองให้คิดคำนวณบวกลบคะแนน
      ตลอดเวลาการแข่งขันด้วย   นอกจากนี้ผู้แพ้ผู้ชนะเรียนรู้จากกันและกัน 
      มีน้ำใจรู้แพ้รู้ชนะกัน
      เกมนี้ยังให้ความตื่นเต้นสุดขีดจากการใช้ตัวเล่นทั้งเจ็ดตัวได้หมดในครั้งเดียวที่เรียกว่าการ
      ทำ "ชโย " ซึ่งมีคะแนนเพิ่มเป็นพิเศษอีก 50
      คะแนนทำให้มีโอกาสชนะคู่แข่งที่มีความรู้มากกว่า

      กฏการเล่น
      1.ล้วงตัวเล่นจากถุงฝ่ายละ 7 ตัวเล่น(เบี้ย) ไว้บนรางวางตัวเล่น
      2.ประกอบคำที่มีความยาวอย่างน้อย 3 ช่องของตาราง
      แล้ววางลงบนกระดานเล่นโดยให้ผ่านลายดาวกระจาย  จะวางตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้
      3.นับคะแนนที่กำกับบนเบี้ย รวมคะแนน 
      แล้วคูณสองเท่า(เนื่องจากการลงครั้งแรกที่ผ่านลายดาวกระจาย) จดบันทึก 
      ถ้ามีการประท้วงคำผิดต้องหยุดเล่นจนกว่ากรรมการหรือคู่แข่งขันจะตรวจสอบและอนุญาตให้เล่นต่อไปได้
        ถ้าคำที่ถูกประท้วงไม่ถูกต้อง 
      ผู้เล่นต้องยกออกและเป็นตาของคู่แข่งขันแทน(หากไม่ประท้วงจะถือว่ายอมรับแล้วจะมาประท้วงภายหลังไม่ได้)
      4.เมื่อวางคำลงไปแล้วคู่แข่งขันไม่ประท้วงหรือประท้วงแล้วไม่ผิดให้ล้วงเบี้ยขึ้นมาให้ครบจำนวนเบี้ยที่ลง
      ไป
      5.ตารางหรือช่องหนึ่งประกอบด้วยชั้น 3 ชั้น
      ชั้นกลาง(วางระหว่างสันประ)ใช้วางพยัญชนะทุกตัว(ก ข  ค....ถึง ฮ) และสระบางตัว
      คือสระไอ สระโอ สระเอ สระแอ สระอะ สระอา ไม้ยมก
      ในกรณีที่ใช้แก้วสารพัดนึกเป็นอักษรตัวใดตัวหนึ่ง 
      ผู้ใช้ต้องจดบันทึกคำที่ใช้แทนลงในกระดาษจด 
      เพื่อมิให้เป็นที่ถกเถียงกันภายหลังชั้นบนใช้วางสระอิ สระอี สระอึ สระอือ
      วรรณยุกต์(ไม้เอกไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา)ไม้หันอากาศ ไม้ไต่คู้  ไม้ทัณฑฆาต
      หยาดน้ำค้างที่ใช้ประกอบกับสระอาให้เป็นสระอำ  บนไม้หันอากาศ สระอิ สระอี สระอึ
      สระอือ และหยาดน้ำค้างมีวรรณยุกต์ให้เลือกจะใช้วรรณยุกต์นี้หรือไม่ใช้ก็ได้
      แต่เมื่อใช้ตัวใดตัวหนึ่งหรือไม่ใช้ก็ห้ามเปลี่ยนแปลงตลอดเกม
      และหากมีการเลือกวรรณยุกต์หรือเลือกอักษรตัวใดก็ตาม 
      ผู้วางคำนั้นจะต้องจดบันทึกคำนั้นลงไปในกระดาษจดคะแนนด้วย 
      เพื่อมิให้เป็นที่ถกเถียงกันในภายหลัง 
      ชั้นล่างใช้วางสระอุและสระอูในกรณีที่ใช้แก้วสารพัดนึกแทนสระอุหรือสระอู
      ผู้ใช้ต้องจดบันทึกลงในกระดาษจดคะแนนด้วยเพื่อมิให้เป็นที่ถกเถียงกันภายหลัง
      6.ผู้เล่นครั้งต่อไปประกอบคำแล้ววางลงบนกระดานเล่น
      ให้สัมผัสกับคำเดิมที่วางอยู่ก่อนแล้วนับคะแนนคำที่เกิดใหม่ทุกคำและคิดคะแนนตามช่องสีที่อักษรวางทับหรือวางผ่าน
           ช่องสีแดง  คะแนนของคำที่วางผ่านช่องนี้
      จะได้เป็นสามเท่าของคะแนนดิบของคำนั้น
           ช่องสีส้ม(หรือสีเหลือง)-คะแนนของคำที่วางผ่านช่องนี้
      จะได้เป็นสองเท่าของคะแนนดิบของคำนั้น
          
      ช่องสีแดง,สีส้ม(หรือสีเหลือง)จะคิดคะแนนให้สามเท่าหรือสองเท่าเพียงครั้งเดียว
      หากมีการเติมสระหรือวรรณยุกต์กับคำเดิมจนเป็นคำใหม่ได้ 
      ให้นับคะแนนตามจริงไม่มีการตรีคูณ(การคูณสาม)หรือทวีคูณ(การคูณสอง)อีก
          
      ช่องสีน้ำเงิน-คะแนนของตัวเบี้ยที่ตกบนช่องนี้จะได้รับการคูณให้สามเท่าจากคะแนนดิบที่กำกับบนตัวเบี้ยนั้น
          
      ช่องสีเขียว-คะแนนของตัวเบี้ยที่ตกบนช่องนี้จะได้รับการคูณให้สองเท่าจากคะแนนดิบที่กำกับบนตัวเบี้ยนั้น
      หลักในการคิดคะแนนพิเศษจากช่องสีคือช่องสีที่มีตัวเล่นปิดไปแล้วไม่สามารถนับใหม่ได้
      ได้แก่ ช่องสีส้ม(หรือสีเหลือง)และช่องสีแดง
      ส่วนช่องสีน้ำเงินและช่องสีเขียวเป็นช่องสีที่มีสีระบายทั้งสามชั้นเมื่อชั้นกลางถูกใช้ไปแล้วต้องนับตามคะแนนดิบ
      หากมีการใช้ชั้นบนหรือชั้นล่างหรือทั้งชั้นบนและชั้นล่างที่มองเห็นสีที่ระบายไว้อยู่
      ก็สามารถนับคะแนนสองเท่าหรือสามเท่าของคะแนนบนตัวอักษรที่เป็นสระบนวรรณยุกต์
      หรือสระล่างได้
      7.การนับคะแนนจากการใช้ไม้ยมก ให้นับสองเท่าของคำที่มีไม้ยมกอยู่ข้างท้าย
      คะแนนของไม้ยมกเป็น 0
      8.การลงได้หมด 7 ตัว ในครั้งเดียวถือว่าเป็นการทำ “ชโย”
      ผู้ทำได้จะได้คะแนนพิเศษอีก 50 คะแนน
      9.การวางต้องวางแนวเดียว
      ต้องเลือกว่าจะวางแนวนอนหรือแนวตั้งอย่างใดอย่างหนึ่งห้ามวางสองแนว 
      คำที่วางต้องติดต่อกัน
      10.การเปลี่ยนตัวทำได้เมื่อถึงตาของผู้เล่น
      สามารถเปลี่ยนกี่ตัวหรือผ่านโดยไม่เปลี่ยนก็ได้
      การเปลี่ยนตัวจะทำได้หากเบี้ยในถุงมีจำนวนไม่น้อยกว่า 7 ตัว 
      ผู้เปลี่ยนตัวจะต้องผ่านให้อีกฝ่ายเป็นผู้เล่นแทน
      11.การลงคำอาจซ้ำกับคำที่เคยลงแล้วก็ถือว่าไม่ผิดกติกา
      12.การเล่นดำเนินต่อไปจนหมดเบี้ยในถุงหรือไม่สามารถเล่นต่อไปได้ถ้าเล่นต่อไปไม่ได้ให้ถือว่าเกมยุติแล้ว
      13.ถ้าผ่านสามครั้งทั้งสองฝ่ายถือว่าเกมยุติเช่นกัน
      14.หากเกมยุติเนื่องจากมีผู้เล่นลงหมด(ปิดเกม)ก่อน(ไม่มีตัวเล่นเหลืออยู่ในถุง)ต้องนับคะแนนจากตัวเล่นทั้งหมดที่อยู่ในมือคูณด้วยสองแล้วนำไปบวกใ
      ห้ผู้ปิดเกมได้ก่อน(โดยนับคะแนนจากอักษรด้านที่มีคะแนนสูงกว่า)
      15.หากเกมยุติเพราะเล่นต่อไปไม่ได้ทั้งสองฝ่าย
      จะต้องนับคะแนนจากตัวอักษรด้านที่มีคะแนนสูงแล้วนำมาหักจากคะแนนรวมของตนเอง
      16.ในกรณีที่เล่นเกินเวลาที่กำหนด ฝ่ายที่เล่นเกินเวลาจะต้องถูกหักคะแนนนาทีละ
      5 คะแนน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×