** หมายเหตุ **
กระทู้นี้...เล่าจากประสบการณ์ส่วนตัว
เพราะฉะนั้น อาจไม่ตรงกับคนอื่นๆนะจ๊ะ ;D
************* ก็รู้ทั้งรู้นะ ว่าตอนนี้ยังไม่ถึงเวลาแอดมิชชั่น...
แต่อยากให้ทุกคนรีบคิด ก่อนจะต้องมาเสียเวลาฟรี ๆ ไปหนึ่งปี (เหมือนอย่างพี่ไงล่ะ!!!)
แนะนำตัวก่อนละกัน พี่ชื่อเดต้าจ้า เรียกว่าต้าก็ได้ ง่ายดี
ปัจจุบันนี้เรียนอยู่ นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น เป็นมหาลัยเปิดใหม่ปีแรก สถิตย์อยู่ที่อาคารเนชั่นทาวเวอร์ บางนา
อีกที่ ที่กำลังเรียนควบคู่กันไปคือ รัฐศาสตร์ การระหว่างประเทศ (Plan B) ม.รามคำแหงเจ้าค่ะ
เรื่องที่จะมาพูด (พล่าม!) ก็คือเรื่องของ "การค้นหาตัวเอง" กับ "การทำในสิ่งที่เราต้องการ"
พี่เจอสิ่งที่พี่อยากเรียนมาตั้งแต่อยู่ ป.6 ค่ะ ซึ่งตรงนี้รู้ว่ามีน้อยมาก ที่จะหาเป้าหมายในชีวิตได้เจอตั้งแต่เด็ก (สังเกตุได้จากเพื่อนๆ หลายๆคนเพิ่งจะรู้ว่าอยากเรียนอะไร ก็ตอนที่แอดติดไปแล้ว เสียเวลาซิ่วอีก)
ตัวพี่ ที่พี่อยากจะเรียนคือ "คณะรัฐศาสตร์ การระหว่างประเทศ" เรียกง่ายๆว่ารัดสาดการทูตนั่นแลฯ
ความใฝ่ฝัน...แน่นอน อยากเป็นทูต (ขำล่ะสิ! หัวเราะได้เลย! แต่มันคือความฝันของพี่ ซึ่งก็รู้ตัวหรอกว่าเป็นไปไม่ได้)
พี่อยากให้น้องๆทุกคน วางอนาคตของตัวเองให้แน่นอน แล้วความสับสนตอนเลือกคณะจะไม่บังเกิดค่ะ
คำถามพื้นๆที่ได้ยินมาตั้งแต่อนุบาล...
"อยากเป็นอะไร"
แหม...ตอนเด็กนี่ตอบง่ายนะ "หนูอยากเปนหมออออ" "หนูจาเปนพยาบาลลลล"
ตอนม.หกนี่สิ...ตอบตัวเองได้รึยัง?
ลองถามตัวเองดูซิ?
"นี่ตรูอยากทำงานอะไรฟระ?" ถ้าคิดไม่ออก ลองคิดสภาพตัวเองในอนาคตค่ะ
ไม่ก็
หากระดาษเอสี่สองแผ่น แผ่นนึง "ชอบ" แผ่นนึง "ไม่ชอบ" (วิธีนี้จะเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้มากกว่า)
"ชอบอะไร?" อย่างของพี่
ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอังกฤษ
นิยาย
ได้คุยกับคนเยอะๆ
คุยกับฝรั่ง
เจอคนแปลกๆใหม่ๆ
เที่ยว
ประวัติศาสตร์ด้านการเมือง
การเมืองต่างประเทศ (เพราะไม่น้ำเน่าเท่าไทยแลนด์ ฮาาาา)
ฯลฯ
"ไม่ชอบอะไร?" ตอกบัตรเข้างาน (เข้าแปดโมง เลิกหกโมง..) <<< ข้อนี้วัดกันยากหน่อย บางคนคิดว่าตัวเองไม่ชอบ แต่เอาเข้าจริงกลับสบายใจเวลาทำแบบนี้ก็มีนะคะ
อันนี้ลองวัดจากตัวเองดูก็ได้ การเข้าเรียนแปดโมงเช้า เลิกสี่โมงเย็นเป็นเรื่องลำบากสำหรับน้องรึเปล่า?
หรือถ้าใครเคยทำงานพาร์ทไทม์ที่ต้องตอกบัตรเข้างาน (พี่คือหนึ่งในนั้น) จะสามารถรู้ตัวเองได้เลยว่าไหวไหม? xD
(พี่วิ่งเปี้ยวตอกบัตรทุกวันค่าาาาาาา ฮาาาาาา)
เป็นลูกน้อง
ข้าราชการ ต้องฟังเฉพาะผู้อาวุโสกว่า
ฯลฯ
ว่ากันไป
ทีนี้ น้องอาจจะพอเห็นอนาคตตัวเองรางๆแล้วล่ะ ว่าน่าจะเหมาะกับงานอะไร หรือเหมาะกับเรียนอะไร เนอะ
หาตัวเองให้เจอค่ะ แล้วการตามหาคณะ เพื่อตั้งเป้าหมายในอนาตคตให้ตัวเอง จะได้ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินความสามารถเจ้าค่ะ!
ทีนี้ เรามาเข้าเรื่องเรียนกัน...
ขอไล่เลียงความพลิกผันนของชีวิต ที่ทำให้ต้องมาเรียนนิเทศฯก่อนละกัน
เรื่องของเรื่องคือ พี่สอบติด มศว มนุษย์ฯ เอกวรรณกรรมเด็ก
(อาห์....แน่นอน...ความชอบในเรื่องนิยายข้าพเจ้าไม่เป็นรองใคร)
แล้วถ้าใครรู้เหตุการณ์ "เลื่อวันสอบ" ของธรรมศาสตร์ ปีที่แล้วได้...
(เชื่อว่าหลายๆคนที่เป็นรุ่นเดียวกันก็ประสบเหตุเดียวกันเนอะ)
นั่นล่ะ....จุดพลิกผันชีวิตครั้งยิ่งใหญ่
กำหนดการสอบข้อเขียน IR เลื่อนมาตรงกับวันสอบสัมภาษณ์ วรรณฯเด็ก!!!!
พี่นั่งเครียดอยู่ราวๆสามวัน ก่อนจะตัดสินใจทำในสิ่งที่คิดว่า
"เราจะไม่เสียใจในภายหลัง" นั่นล่ะค่ะ อยากให้น้องๆหลายๆคน ที่อาจจะต้องเจอเหตุเดียวกันเก็บไว้คิดนะ
"ทำยังไง เราถึงจะเสียใจน้อยที่สุด"
"ทำยังไง เราจะรู้สึกไม่เสียดาย"
พี่ไม่ได้เสียใจเลย ที่สอบไม่ติด IR มธ.
ไม่เสียใจที่สละสิทธิ์สอบสัมภาษณ์วรรณกรรมฯ ในวันนั้น
เพราะอะไร?
เพราะพี่รู้ว่า สิ่งที่พี่ทำ มันคือการไล่ตามความฝันอันดับหนึ่งของตัวเอง
พี่ลองถามตัวเองเป็นพันๆครั้งว่า "ถ้าวันนั้นเราไปสอบสัมภาษณ์แทน เราจะรู้สึกยังไงนะ?"
ตอบได้เลย
"เสียดาย...ที่ไม่ได้ลอง"
พี่ยอมเสี่ยง เสี่ยงจนวินาทีสุดท้าย
พี่สละสิทธิโควต้ามช. เพื่อสิ่งเดียว
"ความฝัน"
แต่แน่นอนค่ะ!!! หากคิดจะทำแบบพี่ ขอแนะนำให้เตรียมใจไว้ให้พร้อม
แนะนำให้น้อง "ทุ่มเท" อย่างเต็มกำลัง
อ่านหนังสือให้เต็มที่
ฝึกทำข้อสอบย้อนหลังยี่สิบปี
อ่านจนตัวอักษรซึมทะลุเข้าหัว
เอาให้ตัวเองไปนั่งทำข้อสอบแล้วไม่รู้สึกว่า
"ทำไมเราไม่อ่านหนังสือให้มากกว่านี้นะ"
เท่านั้นล่ะค่ะ น้องจะมีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ
องค์ประกอบอีกอย่างคือ "ไม่แคร์สื่อ"
ใครจะว่าเราโง่ ที่สละสิทธิ์
จะว่าเราบ้า หรือจะว่าเราเห็นแก่ตัว
อย่าเลย...อย่าสนใจ
เพราะถ้าเราสนใจเค้า เราไปเซ็นสละสิทธิ์แอดมิชชั่น เข้าเรียนคณะที่ตัวเองไม่ได้อยากเรียนจริงๆ เพียงเพราะว่า
"กลัวจะโดนมองว่าเห็นแก่ตัว"
น้องจะนั่งเสียใจอีกเป็นปี...
สุดท้าย...น้องก็ต้องซิ่ว เพราะมันไม่ใช่คณะที่เราอยากจะเรียนเป็นอันดับหนึ่งจริงๆ
(อาห์...ถึงตรงนี้ อาจโดนถามแล้วล่ะ ว่า "งั้นจะสอบไปทำสเลดเป็ดอะไร?"
น้องจ๋า....พี่ตอบไปแบบหน้าด้านมาก "ก็กรูไม่รู้ว่าจะติดนี่หว่า!!!!")
เอาง่ายๆคือ...ไม่ได้อ่านง่ะ...แต่ดันฟลุคติด =_=!
(เชื่อเถอะน้องเอ๋ย...พี่ไม่ได้อวดด้วย...ข้อสอบโควต้ามช.อ่ะ พี่ทิ้งดิ่งสามวิชารวดว่ะค่ะ...)
ส่วนวรรณกรรมเด็ก ทีแรก ตามแผนของพี่คือ
สอบข้อเขียนวรรณเด็ก >>> สอบข้อเขียน มธ. >>>
ทำมธ.ได้ = สละสิทธิ์ วรรณฯเด็ก, ทำไม่ได้ = สอบสัมภาษณ์ วรรณฯเด็ก
ทีนี้พอเห็นข้อสอบมธ. พี่ก็พอรู้มือตัวเองแล้ว ว่าจะมีปัญญาติดไหม
ตามแผนคือ ถ้าสอบข้อเขียนมธ.แล้วโง่ไปเลย พี่ก็จะได้สอบสัมภาษณ์...
ถ้าทำแล้วรู้สึกว่า "อ้าว ทำได้นี่นา มีหวังๆ" จะได้สละสิทธฺ์ วรรณฯเด็ก แล้วรอลุ้นผลอีกที
(เสี่ยงป่ะล่ะ? 55555)
ผลสุดท้าย สอบข้อเขียนมธ. เลื่อนสองอาทิตย์ วันเดียวกับวรรณกรรมเด็กพอดี...
คุณน้องขา...
อย่าว่าพี่เลยนะ...แต่พี่เลือกอะไรก็ตามที่มันจะทำให้พี่สามารถตามควารมฝันได้อย่างถึงที่สุดล่ะ...
=w=b!
(ส่วนโควต้ามช. บอกไปแล้วนี่เนอะ T^T!!! แถมคณะที่เลืิอก พี่ก็เลือกผิดด้วยล่ะ... แต่ในหัวคือไม่มีมช.อยู่แล้ว...เนื่องจากไม่มีบ้านที่เชียงใหม่ + พ่อแม่อยากให้มาอยู่กทม. ดูแลยายมากกว่าเจ้าค่าาาาา)
เอาล่ะ...จบเถอะเรื่องนี้....
สรุปง่ายๆคือ
"จงทำตามความฝันของตัวเองให้เต็มที่...และจงทำในสิ่งที่ จะไม่เสียใจในภายหลัง "
อีกเรื่องที่อยากจะบอกมากๆคือ "ตามใจพ่อแม่"
ตัวพี่ไม่ได้ชอบนิเทศฯ แต่ตอนมาสอบที่นี่ พ่อพี่อยากให้พี่มาเรียน
เพราะอะไร?
เพราะรามไม่เช็คเวลา
เอาง่ายๆ กลัวไม่จบนั่นล่ะ = =
ถามว่าชอบไหม? ไม่เลย...
ความคิดในหัวตอนนี้คือ อยากจะออก
สิ่งที่รั้งให้พี่อยากเรียนต่อ คือคุณสุทธิชัย หยุ่น อาจารย์ของพี่
ท่านเป็นอาจารย์ที่เปิดกว้าง...เอาง่ายๆว่าเคารพไปแล้วเต็มหัวใจ...
แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นอยู่ดี
ประเด็นคือ "เรียนเพราะพ่ออยากให้เรียน"...
น้องๆขา...
ปีแรก เป็นปีที่เรียนเฉพาะวิชาสามัญก็จริง
แต่ถ้าน้องๆมีเป้าหมายในใจ ถ้ารู้ตัวว่าอยากทำงานอะไรไว้ในอนาคต
น้องจะรู้ว่า...การเรียนในสิ่งที่เราไม่ได้ต้องการนั้น..."มันทรมาณ"
สำหรับพี่นะเจ้าคะ...
พี่ไปหาจิตแพทย์มาสองรอบ รอบแรกเพราะทำแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า (เออ อันนี้ก็แนะนำนะ อยากให้น้องๆ เพื่อนๆ ได้ลองทำดู) แล้วอาการอยู่ในขั้นเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เลยไปหาคุณหมอซะหน่อย
ผลออกมาก็คือ...พี่เป็นโรคซึมเศร้าชนิดอ่อนๆ เป็นผลมาจากความเครียด ความผิดหวัง บลาบลาบลา นั่นล่ะ แต่เป็นเรื่องธรรมดาของคนผิดหวัง ให้รออีกสามเดือน ถ้ายังมีอาการอยู่ ก็อาจเป็นโรคซึมเศร้าจริงๆ
หมอแบ่งให้ฟังง่ายๆว่ามี 3 ขั้น
1.ไม่ต้องรักษาเดี๋ยวมันก็หายเอง (อ่อนๆ)
2. ถ้าไม่รักษา มันจะไม่หาย (ขั้นกลาง)
3. ขั้นรุนแรง (ง่ายๆว่าโรคจิตไปแล้ว) จะรักษา หรือไม่รักษา ก็ไม่หายอยู่ดี
อันนี้สำรวจตัวเองกันหน่อยนะ ใครที่ชอบเอาเรื่องเดิมๆเมื่อปีก่อนมานั่งคิดแล้วร้องไห้เสียใจเหมือน เหตุการณ์เพิ่งเกิดเมื่อวาน...นั่นล่ะ...น่ากลัวแล้ว...
ส่วนรอบสอง หลังจากผ่านไปสามเดือน ยังซึมอยู่ ไปหาคุณหมออีกรอบ...
โชคดีค่ะ ไม่เป็นไรมาก แต่ยังคงเป็นโรคซึมเศร้าขั้นต้นอยู่ดี
หมอแนะนำว่าอย่าคิดมาก แล้วก็ "ทำในสิ่งที่ต้องการจริงๆ" ไม่งั้นจะกลายเป็นอาการติดตัว แล้วพัฒนาไปเป็นขั้นกลางได้นะ...
อืม...
นั่นล่ะ ที่พี่อยากจะสื่อ...
พี่ทำอย่างที่พ่อพี่ต้องการ...ผลคือทุกวันนี้ ถ้าหากพี่เริ่มคิดย้อนอดีต คิดถึงตอนที่ได้เข้าคลาสเรียนของราม คิดถึงอาชีพ คิดถึงอนาคตเมื่อไหร่ พี่จะเริ่มมีอาการน้ำตาไหล...เสียใจ ปวดเฮด ปวดคอ บลาบลาบลา
อาห์์....
ไม่สนุกเลย น้องเอ๋ย....
กระทู้นี้...ยาวมากๆ...ก็ไม่ได้คิดว่าจะมีใครมาอ่านมากมายนัก...แต่พี่อยากฝากไว้ให้น้องๆได้รับรู้นะคะ
สรุปเอาสาระง่ายๆ จากความยาวมหากาพย์แล้วล่ะก็
ขอให้น้องๆ
"หาคณะที่อยากเรียนจริงๆ"
ไม่ใช่แค่ เพราะว่าคนแห่ไปเรียนกันเยอะ หรือเพราะเพื่อนสนิทเรียนที่นั่น หรือเพราะแฟนเรียนที่นั่น
น้องจ๋า คิดถึงอนาคตด้วยนะ...ถ้าเพื่อนน้องเค้าเรียนเพราะมีความฝัน ส่วนน้องเคว้งคว้างไร้จุดหมาย...
น้องจะรู้ตัวว่ามันทรมาณมากขนาดไหน...
กับการที่เห็นเพื่อนๆทำสิ่งต่างๆ และได้สนุกกับมัน
อย่างเพื่อนพี่ เค้ามีความสุขกับการไปมอ แบกกล้องวีดีโอ ลงสนามทำข่าว ฯลฯ
ส่วนตัวพี่ พี่สนุกกับการลุยก็จริง...
แต่ในใจ...พี่ทรมาณนะ...เพราะสิ่งที่พี่จะทำ แล้วสนุกกับมัน พร้อมๆกับการไล่ตามความฝันของตัวเองนั้น...
ไม่มีเลย...
"หาอาชีพในฝัน" คงไม่พูดอะไรมาก...ตรงๆตัวเลย...อยากทำงานอะไรหนอ? ลองคิดดู
ว่าอีกสิบปี ถ้าเราทำงานแบบนี้ เราจะมีความสุขกับมันไหม?
จะภูมิใจกับมันรึเปล่า?
อืม....
"หาเป้าหมายของตัวเองให้เจอ" แล้วโฟกัสไปที่เป้าหมายนั้น
นี่คือสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการหาที่เรียน หาคณะ เลยล่ะ
ถ้าน้องไม่มีเป้าหมาย...น้องจะเอื่อยเฉื่อย
ถึงเวลามาโยเยว่า "เรียนไหนดี" ก็ไม่ทันแล้วนะ...
เพราะมันทำให้น้องไม่รู้ว่าจะต้องทำคะแนนเท่าไหร่ ต้องอ่านหนังสือแค่ไหน บลาบลาบลา
เอาง่ายๆว่าโคตรจะเสียเปรียบนั่นล่ะ
สุดท้าย"ทำสิ่งที่จะไม่เสียใจภายหลังอย่างแน่นอน"ตอนนี้อาจเหมือนยากเนอะ
เอาง่ายๆ แค่คิดว่า ตอนนี้เราทำลงไป เราตัดสินใจดีแน่นอนแล้วรึยัง
เรามั่นใจ ว่าเราจะสามารถรับผลตอบแทนของสิ่งที่เราจะทำ 100% ไหม?
และ "อย่าลังเลแม้แต่นิดเดียว"
การลังเล มันทำให้ความมั่นใจสั่นคลอน
ความมั่นใจที่สั่นคลอนระหว่างลงมือกระทำ...ถ้าผลออกมาดี น้องก็โล่งใจ
ถ้าผลออกมาไม่ได้ดั่งใจ น้องจะเริ่มคิดว่า "ตอนนั้นไม่น่าเลย..."
เป็นสิ่งที่ไม่ดีค่ะ
"อย่าลังเลเด็ดขาด เมื่อตัดสินใจแล้ว"
หรือถ้าตัดสินใจแล้วเริ่มลังเล นั่งสมาธิซะ...ถามตัวเองหลายๆครั้ง
ถามเพื่อนๆหลายๆคน
ที่แนะนำให้ถามเพื่อน ก็เพราะว่า...
ถ้าหากเพื่อนตอบ แล้วมันไม่ตรงใจเรา เราจะมีอาการ
"จะดีเร้อ? อีกอันดีกว่ามั้ง?" ขึ้นมา
ส่วนถ้ามันตรงใจเราจริงๆ
เราจะมีอาการ "อืมมม ก็เข้าท่าแฮะ...แต่อันนั้นก็ดูดีนี่นะ...แต่อันนี้ก็เข้าท่า..."
เอาง่ายๆคือ อันไหนที่ตรงใจเรา พอได้ยินจากปากคนอื่น มันจะทำให้รู้สึกตัวขึ้นมานั่นแลฯ
เอาล่ะ...กระทู้นี้ก็ยาวพอแล้วแฮะ...
จริงๆที่ตั้งกระทู้ก็ไม่ใช่อะไรหรอก
แค่อยากฝากให้น้องๆได้เก็บไปคิดเล่นๆละกัน
เลือกให้ดี สี่อันดับ มั่นใจว่าเลือกแต่ที่ๆเราอยากจะเรียนจริงๆ
อย่าเลือกเพราะ "กลัวไม่มีที่เรียน"
เพราะถ้าเลือกแบบนั้น แล้่วไม่ได้ต้องการจริงๆล่ะก็ สุดท้ายก็ไม่พ้นซิ่วอีกนั่นล่ะ
เสียใจไม่เท่าไหร่ แต่เสียเวลาน่ะ ใช่เลย
อาจได้ความรู้ในสาขาอื่นๆมาประดับหัว
แต่สุดท้าย ถ้าเราไม่ได้ต้องการมันจริงๆ...ความรู้ก็จะเลือนหายไปเองแบบไม่รู้ตัวนั่นล่ะ....
เพราะงั้น...เลือกให้ดีนะเออ
ก่อนจะต้องมานั่งเสียใจ...จนไม่เป็นอันทำอะไร แถมยังต้องไปหาจิตแพทย์เพราะโรคซึมเศร้าอย่างพี่
เกร็ดเล็กๆสำหรับน้องๆ (ภาคเหนือ) ที่อยากได้โควต้ามช.สำหรับสายวิทย์ พี่ไม่รู้นะ
แต่สำหรับสายศิลป์ พี่แนะนำให้น้องลงสอบวิชาภาษาไว้ด้วย
เพราะคะแนนที่ใช้ สมมุติ พี่สอบ สามัญ 6 วิชา ก็เต็ม 600 คะแนน + ฝรั่งเศส 100 คะแนน เท่ากับ คะแนนเต็มของพี่มี 700 คะแนน
ส่วนอีกคน มาแข่งกับพี่ เค้าไม่ได้ลงฝรั่งเศส จะด้วยเหตุผลอะไรก็ช่างเค้า แต่ก็เท่ากับคะแนนเต็มของเค้ามีแค่ 600 คะแนน
ส่วนคะแนนที่ใช้ในการตัด สมมุติขั้นต่ำ (ที่พี่ติดอ่ะนะ) 350 คะแนน
เท่ากับของคนๆนั้น ที่มีอยู่ 600 คะแนน ต้องให้ได้ราวๆ 55 เปอร์เซ็นต์
ส่วนของพี่ ก็แค่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
อืม...
เอาง่ายๆ ขั้นต่ำเท่ากัน...โดยไม่สนว่าคะแนนเต็มของเราจะมีเท่าไหร่
ซึ่งก็คือ พี่ที่ลงเจ็ดวิชามีโอกาสมั่วข้อสอบได้มากกว่ามัน 5 % (ฮาาาา)
อันนี้จริงเท็จรึเปล่าไม่รู้นะ แต่พี่คนนึงจาก CATZ เขาบอกมายังงี้
ปล.แล้ว ก็สำหรับคนที่อยากเรียนจริงๆ รู้ตัวว่าเกรดไม่ถึง พี่ก็แนะนำโควต้าเหมือนกัน เพราะโควต้าจะไม่สนใจเกรด สนแค่ว่า ถ้าเราติดแล้ว เรามีใบจบม.หกให้เค้ารึเปล่า แค่นั้นแลฯ
ส่วน สำหรับใครที่สนใจวรรณกรรมเด็ก มศว แนะนำให้ฝึกเขียน ฝึกอ่าน แล้วก็ฝึกแปลเยอะๆ เพราะมีการแปลนิทานจากอังกฤษเป็นไทยด้วยล่ะ xD (สนุกนะ พี่ชอบข้อสอบมศว มากเลยแหละ)
ส่วนรัฐศาสตร์ มธ เน้นให้อ่านข่าวความรู้รอบตัวในปัจจุบัน
ปวศ.การเมืองเล็กน้อยเป็นเกร็ดขำๆ
ที่แน่ๆคือ อัดข่าวเข้าไปเยอะๆ เสพย์ข่าวอ่ะ เดี๋ยวก็สอบติดเอง
(ฮั่นแน่...ไม่เชื่อล่ะสิ? แต่เชื่อเถอะ พี่ผ่านมันมาแล้ว ฮ่าๆ)
สำหรับข้อสอบโอเน็ต จริงๆไม่จำเป็นต้องไปติวอ่ะนะ พี่แนะนำให้น้องซื้อหนังสือเล่มนี้ค่ะ
<<< หารูปใหญ่ไม่ได้
พี่ใช้เล่มนี้อ่าน เสียดายมากๆ คือได้มาก่อนสอบโอเน็ตวันเดียว อ่านไม่ทันจริงๆ
แต่ตรงมากๆ บอกได้เลยว่าพี่ได้ความรู้จากเล่มนี้มากกว่าหนังสือกวดวิชา(ที่รุ่นพี่ให้มา) เสียอีก
คือโอเน็ตจะเป็นความรู้พื้นฐานตั้งแต่ม.สี่เป็นต้นมาค่ะ ใครทำอาจจะโวยว่า "ไม่เห็นตรงเลย"
โถ...คุณน้องค้าาาา
ไม่ใช่ไม่ตรงค่าาาา แต่คุณน้องลืมไปหมดแล้วต่างหาก!!!
เพราะงั้นแนะนำเล่มนี้เลย
ส่วนทริค ถ้าหากอยากจะได้คะแนนสอบดีๆ...
ย้อนทำข้อสอบสัก 10 พ.ศ. ค่ะน้อง...
น้องจะเห็นว่า จริงๆแล้วข้อสอบมันก็มีอยู่แค่นั้นล่ะ ทำมากๆเข้าก็รู้เอง
อ่านๆมาถึงนี่ (ถ้ามีคนอ่าน) น้องอาจจะ "เออเนอะ"
อย่ามัวแต่พยักหน้า อย่ามัวแต่หาวิธีค่าาาา
"อ่านเลย" แล้วจะดีเอง
เชื่อพี่เหอะ!!!
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น