THE ONENESS
ในวันที่เขาจากโลกนี้ไป ก็เป็นวันเดียวกับที่มนุษย์ค้นพบ The oneness และ อุปกรณ์ที่ทำให้คนเรามี หน้าต่างสถานะ เหมือนในเกมออนไลน์ เมื่อเขากลับมา 5 ปีให้หลังโลกก็เข้าสู่ยุค The oneness
ผู้เข้าชมรวม
49,343
ผู้เข้าชมเดือนนี้
313
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
บทนำ และ ทฤษฎี The oneness
ทฤษฎี The oneness หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า ทฤษฎีสรรพสิ่ง เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยความเข้าใจจักรวาล ว่าพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง อันเป็นต้นตอของจักรวาลคืออะไร นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่าง เฝ้าหาคำตอบของคำถามนี้มาตลอดเป็นเวลาหลายพันปี ไม่สิมันอาจจะนานกว่านั้นมาก ตั้งแต่มีมนุษย์อุบัติขึ้นบนโลกเลยก็ว่าได้
ในปัจจุบัน มนุษย์เข้าใกล้มันมากที่สุด ด้วยทฤษฎี สัมพันธภาพของไอซสไตน์ และ ทฤษฎีควอนตัม ซึ่งทั้งสองทฤษฎีสามารถอธิบายจักรวาลได้ ในสเกลที่ต่างกัน ถ้าเป็นวัตถุชิ้นใหญ่ จะอธิบายด้วยทฤษฎีสัมพันธภาพ แต่ถ้ามีขนาดเล็กมากๆ จะใช้ไม่ได้ ต้องใช้ทฤษฎีควอนตัมมาอธิบาย ทำให้ทั้งสองทฤษฎีมีความขัดแย้งกันเอง ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้คนบอกว่า ผู้ที่สามารถรวมทั้งสอง ทฤษฎีเข้าด้วยกันได้ จะสามารถอธิบายจักรวาลได้
ซึ่ง นะวะ เด็กหนุ่มอายุ 20 ต้นๆ ก็สนใจเรื่องนี้เช่นกัน และด้วยสกิลการมองโลก แบบพุทธ ทำให้เขาค้นพบจุดเชื่อมโยงของ ทั้งสองทฤษฎี และหล่อหลอมมันมาเป็น ทฤษฎีเดียวที่ใช้อธิบายทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ชื่อว่า The oneness อันเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลงโลกไปอย่างก้าวกระโดด อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
รายละเอียดของทฤษฎี The oneness
1. จักรวาลอยู่ภายในสนามกาลอวกาศ ถามว่าสนามกาลอวกาศคืออะไร ให้เรานึกถึง สระน้ำ หรือลูกบอลน้ำขนาด มโหราฬ ซึ่งตัวที่เป็นน้ำ ก็คือ ความสัมพันธ์ของกระแสเวลาและพื้นที่
2. แสง คือ สิ่งที่ถูกพัดพาไปในสนามกาลอวกาศ ไม่ได้มีความเร็วเป็นของตนเอง นี่คือเหตุผลที่ไม่ว่าจะไกลขนาดไหน หรือ กินเวลายาวนานเท่าใด แสงจึงยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเดิม
3. จากเหตุผลในข้อ 2 ทำให้ความเร็วแสง ไม่สัมพันกับแหล่งกำเนิดแสง สิ่งนี้ขัดต่อสามัญสำนึกของคนทั่วไป ปกติ ถ้าเราอยู่บนรถที่วิ่งด้วยความเร็ว แล้วเราปาลูกบอลออกไปจากรถ ความเร็วลูกบอล จะเท่ากับ ความเร็วรถบวกกับความเร็วในการปาด้วยเสมอ แต่แสงไม่ได้ทำอย่างนั้น ต่อให้รถจะวิ่งด้วยความเร็วเท่าใด แสง ก็จะมีความเร็วเท่าเดิมในทุกทิศทาง
อุปมาเหมือนคุณปาก้อนหินลงน้ำ ไม่ว่าก้อนหินจะเร็วหรือช้าขนาดไหน หรือ ปาในทิศทางไหน คลื่นน้ำที่เกิดขึ้นตกจุดที่หินตกกระทบ จะกระจายออกไปด้วยความเร็วเท่ากันหมดในทุกทิศทาง นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ยีนยันว่าแสงคือ คลื่นถูกพัดพาด้วย คลื่นของสนามกาลอวกาศ
4. อะตอม คือ สนามกาลอวกาศขนาดเล็ก แทนค่า ด้วย MC ( มวลของแสง )
5. พลังงานที่จะทำให้ มวลของแสงกลายเป็นแสง จพได้ตามสูตรของไอนสไตน์ E = MC.C
6. แรงดึงดูด คือ ความต่างศักย์ของกระแสเวลา เมื่อมีมวล อยู่ในบริเวณที่กระแสเวลาไหลเร็วกับไหลช้า มวลจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไปยังทิศทางที่กระแสเวลาไหลช้ากว่าเสมอ จนมันกลายเป็นความเร่ง นี่คือที่มาของแรงดึงดูด
7. เมื่อมวลเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว มวลจะจมลึกลงไปในสนามกาลอวกาศ ปรากฎการณ์นี้ ส่งผลให้มวลของวัตถุนั้นมากขึ้น และ กระแสเวลาของมวลไหลช้าลง และเมื่อนั้นแรงดึงดูดที่ทำให้วัตถุตกลงสู่พื้นโลกก็จะน้อยลง เพราะความต่างศักษ์ของกระแสเวลาน้อยลง
8. อุณหภูมิ คือ เครื่องบ่งชี้กระแสเวลา อุณหภูมิสูง ก็คือ กระแสเวลาในพื้นที่นั้นกำลังไหลเร็ว อุณหภูมิต่ำ กระแสเวลาจะไหลช้า มันเป็นเหตุผล ของทฤษฎีเทอร์โมไดนามิก ของไหลที่มีอุณภูมิสูง จะไหลไปยังของไหลที่มีอุณหภูมิต่ำ ด้วยหลักการแบบเดียว ของแรงโน้มถ่วง ด้วยเหตุนี้ถ้าเรา สามารถควบคุม อุณหภูมิ ของวัตถุให้เท่ากับกระแสเวลาที่อยู่รอบๆตัว วัตถุนั้นมันจะไม่ได้รับผลของแรงดึงดูด
นะวะ ไม่ได้คิดทฤษฎีนี้ขึ้นมา ลอยๆ เพียงแค่ใช้จินตนาการ แต่เขาทดลองมันด้วยตนเอง ซึ่งผลการทดลอง มันสอดคล้องกับ ทฤษฎี แบบ 100% นอกจากผลการทดลองเป็นอะไรที่น่าตกตะลึงแล้ว วิธีการทดลองยังน่าตกตะลึงยิ่งกว่า เพราะว่ามันใช้งบประมาณในการทดลองไปไม่ถึง 10 บาท
นะวะได้ขึ้นไปบนตึกสูง และ ได้ทิ้งของสองอย่างให้ตกลงมา อย่างที่ทุกคนรู้ตามกฎของนิวตัน ไม่ว่าของจะมีน้ำหนักต่างกันเท่าไร มันจะตกถึงพื้น พร้อมกันเสมอ ด้วยแรงดึงดูดของโลก
แต่ด้วยทฤษฎีที่นะวะค้นพบ น้ำแข็งที่มีอุณภูมิเย็นกว่ามีการไหลของเวลาช้ากว่าก้อนหิน จะต้องตกถึงพื้นช้ากว่า เนื่องจากความต่างศักย์ของกระแสเวลามีน้อยกว่าก้อนหิน
จากผลการทดลองนับสิบนับร้อยครั้งน้ำแข็งจะถึงพื้นช้ากว่าก้อนหินเสมอ การค้นพบง่ายๆแบบนี้ เป็นสิ่งที่โลกไม่เคยรู้ ไม่มีใครเคยสังเกตุและตั้งสมมุติฐาน แต่มันจะเป็นสิ่งที่นำไปสู่การปฎิวัติ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ของโลกอย่างสิ้นเชิง ยิ่งกว่าครั้งที่นิวตันมองผลแอปเปิ้ล
เพราะ ด้วยทฤษฎีอันนี้ สามารถนำไปใช้สร้าง อากาศยานความเร็วเหนือแสง สร้างสนามแรงดึงดูดเทียม หรือแม้กระทั่ง ไทม์แมชชีน แต่จนใจที่นะวะ นั้นเป็นแค่ นักศึกษาในสถาบันธรรมดา ที่ยังไม่จบปริญญาตรีด้วยซ้ำ แถมเขายังเกิดในประเทศที่คนมักจะไม่ค่อยให้ค่า คนธรรมดา จึงไม่มีใครสนใจสิ่งที่เขาค้นพบ ต่างมองว่าเขาเพ้อเจ้อ โดยที่ไม่เข้าใจถึงสิ่งนั้นแม้แต่น้อย
นะวะจึงไม่ได้ทุนที่จะทำการทดลองต่อ เขาทำได้เพียงแค่บันทึกทฤษฎีของตนเองในรูปแบบนิยายเล่มหนึ่ง ที่ชื่อ The oneness แล้วมันทึกมันไว้ในโลกออนไลน์ รอวันที่จะมีผู้เข้าใจมันและสนับสนุนเขาในการทดลองทฤษฎีนี้ต่อไป
แต่ชีวิตจริงไม่ง่ายแบบนั้น เวลาผ่านไปแม้จะมีคนอ่านนิยายของนะวะมากขึ้น แต่มันก็ยังไปไม่ถึงคนที่เห็นคุณค่า แต่นะวะยังไม่ละความพยายาม เขาทำงานเก็บเงินเพื่อจะมาทำการทดลองอีกอย่างหนึ่ง นั้นคือ การฝ่ากำแพงความเป็นไปได้ที่ไม่เคยมีใครไปถึง นั้นคือ การทำให้วัตถุมีความเร็วเหนือแสง
ตามทฤษฎีของนะวะ ยิ่งวัตถุมีความเร็วสูงมวลของวัตถุจะจมลงไปในสามกาลอวกาศ ส่งผลให้มวลของวัตถุนั้นเพิ่มขึ้น และกระแสเวลาของวัตถุนั้นช้าลง ด้วยสิ่งนี้ พลังงานที่จะทำให้วัตถุมีความเร็วเหนือแสงจึงใกล้เคียงกับความเป็นอนันต์ ซึ่งนะวะแก้ปัญหานี้ด้วยการ ให้พลังงานกับวัตถุโดยตรงทำให้วัตถุนั้นมีอุณภูมิสูงขึ้นไปด้วย ในขณะที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว
ตามทฤษฎีของนะวะ การทำแบบนี้ จะทำให้ วัตถุนั้นไม่จมลงไปในสนามกาลอวกาศ เมื่อวัตถุนั้นมีความเร็วสูง และพลังที่จะทำให้ วัตถุมีความเร็วเหนือแสง ก็จะไม่ใช่อินฟินิตี๊อีกต่อไป ผต่ผลจากการทดลองครั้งนี้ มันยิ่งกว่าที่นะวะจินตนาการ นอกจากวัตถุจะทะลุความเร็วแสงแล้ว มันยังได้ส่งนะวะ ไปยังอีกมิติหนึ่งที่ไม่ใช่โลกที่เขารู้จัก โลกที่เต็มไปด้วย สัตว์ประหลาด โลกที่เป็นที่อยู่ของตัวตนในตำนานอย่างเทพเจ้า
โชคยังดีที่ผลการทดลองของเขานอกจากจะส่งเข้าไปยังโลกต่างมิติ มันยังทำให้พลังจิตของเขาตื่นขึ้น นะวะได้ต่อสู้และฝ่าฟันอันตรายนานัปการ จนในที่สุดเขาก็หาทางกลับมายังโลกที่เขาเคยอยู่ได้ แต่เมื่อเขากลับมา เขาก็พบว่า เวลามันได้ล่วงเลยไป 5 ปีแล้ว และโลกก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เขาเองไม่มีวันนึกถึง โลกได้เข้าสู่ยุคของ The oneness
( เรื่องราว ที่เป็นภาคขยาย อยู่ในเรื่อง The oneness ภาค ปฐมบท)
ผลงานอื่นๆ ของ Connerseen ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Connerseen
ความคิดเห็น