ปิโตรเลียมเเละโพลิเมอร์
เอาไว้ทามงานน่ะ แบบว่าหาดิสไม่เจอ
ผู้เข้าชมรวม
10,541
ผู้เข้าชมเดือนนี้
1
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
กำเนิดปิโตรเลียม
เมื่อหลายล้านปี ทะเลเต็มไปด้วยสัตว์ และพืชเล็ก ๆ
จำพวกจุลินทรีย์ เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงจำนวนมหาศาล ก็จะตกลงสู่ก้นทะเล และถูกทับถมด้วยโคลน และทราย
แม่น้ำจะพัดพากรวดทราย และโคลนสู่ทะเล ปีละหลายแสนตัน ซึ่งกรวด ทราย และโคลน จะทับถมสัตว์ และพืชสลับทับซ้อนกัน เป็นชั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา นับเป็นล้านปี
การทับถมของชั้นตะกอนต่าง ๆ มากขึ้น จะหนานับร้อยฟุต ทำให้เพิ่มน้ำหนักความกดและบีบอัด จนทำให้ทราย และชั้นโคลน กลายเป็นหินทราย และหินดินดาน ตลอดจนเกิดกลั่นสลายตัว ของสัตว์ และพืชทะเล เป็นน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ
น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ มีความเบา จะเคลื่อนย้าย ไปกักเก็บอยู่ในชั้นหินเนื้อพรุน เฉพาะบริเวณที่สูงของโครงสร้างแต่ละแห่ง และจะถูกกักไว้ด้วยชั้นหินเนื้อแน่น ที่ปิดทับอยู่
ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียม
น้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม มีส่วนประกอบเป็นธาตุคาร์บอน และไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอื่นๆปะปนอยู่ด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำมันดิบแต่ละที่จะมีองค์ประกอบ แตกต่างกัน การนำน้ำมันดิบมาใช้ประโยชน์ ต้องผ่านกระบวนการกลั่นแยก ซึ่งเรียกว่า การกลั่นลำดับส่วน เพื่อแยกน้ำมันดิบออกเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจำนวนมาก ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ จะมีองค์ประกอบชนิดใดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำมันดิบ เช่น บางแหล่งกลั่นได้น้ำมันดีเซลมาก หรือบางแห่งอาจจะได้น้ำมันเบนซินมาก เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เรียกว่า สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และคาร์บอน จำนวนแตกต่างกัน มีตั้งแต่โมเลกุลที่มีคาร์บอน 1 อะตอม ขึ้นไปจนถึงกว่า 50 อะตอม ถ้าโมเลกุลที่มีจำนวน 1 - 4 อะตอม จะมีสถานะเป็นแก๊ส เมื่อจำนวนคาร์บอนเพิ่มขึ้น สถานะจะเป็นของเหลว และมีความข้นเหนียวมากขึ้นตามจำนวนคาร์บอน ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้ นำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะแตกต่างกันดังข้อมูลในตารางนี้
จำนวนคาร์บอนอะตอม |
สถานะ |
จุดเดือด (เซลเซียส) |
ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ | ||||||||||
1 - 4 |
แก๊ส |
น้อยกว่า 30 |
แก๊สหุงต้ม | ||||||||||
5 - 7 |
ของเหลว |
30 - 110 |
ตัวทำละลายในอุตสาหกรรม | ||||||||||
6 - 12 |
ของเหลว |
65 - 170 |
น้ำมันเบนซิน | ||||||||||
10 - 14 |
ของเหลว |
170 - 250 |
น้ำมันก๊าด เครื่องบินไอพ่น | ||||||||||
14 - 19 |
ของเหลว |
250 - 340 |
น้ำมันดีเซล | ||||||||||
19 - 35 |
ของเหลวข้น |
มากกว่า 350 |
น้ำมันหล่อลื่น | ||||||||||
35 - 40 |
เหลวหนืด |
มากกว่า 400 |
น้ำมันเตา | ||||||||||
40 - 50 |
กึ่งเหลวกึ่งแข็ง |
มากกว่า 400 |
เทียนไข จารบี แว็กซ์ | ||||||||||
มากกว่า 50 |
กึ่งแข็งจนถึงแข็ง |
พอลิเมอร์ คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วย หน่วยเล็ก ๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมี เรียกว่าพันธะโคเวเลนต์ (Covalent bond) หน่วยเล็กๆของพอลิเมอร์คือโมเลกุลเล็กๆ เรียกว่า มอนอเมอร์ (Monomer)
พอลิเมอร์ แบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ
ก. โฮมอลิเมอร์ เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น แป้ง พอลิเอทิลีน PVC
ข. โคพอลิเมอร์ เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน เช่น โปรตีน พอลิเอสเทอร์
โครงสร้างของพอลิเมอร์
ก. พอลิเมอร์แบบเส้น
ข. พอลิเมอร์แบบกิ่ง
ค. พอลิเมอร์แบบร่างแห
ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชัน พอลิเมอร์ไรเซชัน (Polymerization) คือกระบวนการเกิดสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ (พอลิเมอร์) จากสารที่มีโมเลกุลเล็ก (มอนอเมอร์) ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชัน ก. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบเติม ข. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบควบแน่น หมายเหตุ พอลิเมอร์บางชนิดเป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากสารอนินทรีย์ เช่น ฟอสฟาซีน ซิลิโคน
ส่วนกลางแบ่งพอลิเมอร์ในทางกายภาพนั้น โพลีเมอร์ที่เรามีการใช้งานในชีวิตประจำวันนั้น สามารถแบ่งออกตามลักษณะทางกายภาพได้ออกมากว้าง ๆ ได้ 4 แบบ ก็คือ 1.เส้นใย เป็นโพลีเมอร์กลุ่มที่แข็งแรงที่สุด เนื่องจากพื้นที่หน้าตัดของเส้นใยนั้นมีขนาดที่เล็กมาก ตัวโพลีเมอร์เองจึงจำเป็นต้องรับแรงในแนวแกนเส้นใยให้ได้สูงสุด เส้นใยจึงมีลักษณะทางกายภาพที่ดูเบาบาง แต่มีความแข็งแรงสูง 2.พลาสติก มีความแข็งแรงรองจากเส้นใย แม้ว่าการใช้งานพลาสติกนั้น จะมีมิติความกว้าง ยาว สูง มากกว่าเส้นใยหลายเท่า ทำให้ดูเหมือนว่าแข็งแรงกว่าเส้นใย แต่ถ้าลองนำพลาสติกไปฉีดให้มีความบางเท่าเส้นใย จะพบว่ามันแข็งแรงน้อยกว่ามาก 3.ยาง มีจุดเด่นคือความยืดหยุ่นสูง เราจึงไม่เปรียบเทียบเรื่องความแข็งแรง แต่มักจะคำนึงถึงค่าเปอร์เซ็นต์การยืดตัวก่อนขาด (elongation at break) และแรงดึงที่จุดขาด (load at break) แทน นอกจากนี้โพลีเมอร์ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีการคืนตัวกลับได้ดีด้วย (recovery property) จึงต้องมีการเพิ่งแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโซ่โมเลกุลด้วยการเชื่อมขวาง (crosslink) ซึ่งจุดที่เชื่อมขวางนี้ควรจะอยู่ห่างกันในระยะที่เหมาะสม เนื่องจากหากถี่เกินไป ยางที่ได้จะมีลักษณะแข็งไม่ยืดหยุ่น ในขณะที่ถ้าห่างเกินไป ก็จะได้ยางที่มีลักษณะนิ่มเกินไป 4.สารละลายและลาเทกซ์ ใช้งานในรูปของโพลิเมอร์ที่กระจายตัวในของเหลวอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวทำละลายของโพลีเมอร์เอง หรือกระจายตัวเป็นอิมัลชันในน้ำ ลักษณะการใช้งานคือเป็น กาว สีทาบ้าน เชลแล็ค หรือ สารเคลือบผิวอื่น ๆ โพลีเมอร์ในกลุ่มนี้ควรจะกระจายตัวได้ดี และมีความสามารถในการเชื่อมขวางได้ในสภาวะที่มีแสง หรือแก๊ซออกซิเจนได้ หรือไม่ก็สามารถที่จะนำตัวเองไปเกี่ยวพัน (entanglement) กับวัสดุอื่น ๆ ได้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพอลิเมอร์ พลาสติก (Plastic) คือ สารที่สามารถทำให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้ด้วยความร้อน พลาสติกเป็นพอลิเมอร์ ขนาดใหญ่ มวลโมเลกุลมาก สมบัติ เสถียร สลายตัวยาก มีมวลน้อย เบา เป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้าที่ดี ส่วนมากอ่อนตัวและหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน จึง เปลี่ยนเป็นรูปต่าง ๆ ได้ตามประสงค์ ประเภทพลาสติก ก. เทอร์มอพลาสติก เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่ออุณหภูมิลดลงจะแข็งตัว ถ้าให้ความร้อนอีกก็จะอ่อนตัว สามารถทำให้ กลับเป็นรูปเดิมหรือเปลี่ยนเป็นรูปอื่นได้ โดยสมบัติของพลาสติกเหมือนเดิม พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุล เป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อ ระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากๆ โดยจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน ข. พลาสติกเทอร์มอเซต คงรูปภายหลังจากการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งตัวมีความแข็งแรงมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงพอก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะ เชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ ตัวอย่าง เมลามีน พอลิยูรีเทน เส้นใย (Fibers) คือ พอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างของโมเลกุลสามารถนำมาเป็นเส้นด้าย เส้นใยจำแนกตามลักษณะการเกิดได้ดังนี้
ยาง (Rubber) คือ สารที่มีสมบัติยืดหยุ่นได้ ทำให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ เป็นสารประกอบพอลิเมอร์ ประเภทยาง ก. ยางธรรมชาติ ได้จากต้นยางพารา น้ำยางที่ได้เป็นของเหลวสีขาว ชื่อพอลิไอโซปริน สมบัติ มีความ ยืดหยุ่น เพราะโครงสร้างโมเลกุลของยางมีลักษณะม้วนงอขดไปมาปิดเป็นเกลียว ได้ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล เป็นแรงแวนเดอร์วาลส์ สมบัติเปลี่ยนง่ายคือเมื่อร้อนจะอ่อนตัวเหนียว แต่เย็นจะแข็งและเปราะ
ข. ยางสังเคราะห์ เป็นพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น
กระบวนการวัลคาไนเซชัน (Vulcanization process) คือ กระบวนการที่ใช้ในการเพิ่มคุณภาพของยางธรรมชาติ (ยางดิบ) ให้มีความยืดหยุ่นได้ดีขึ้น มีความคงตัวสูง ไม่สึกกร่อนง่าย และไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ สมบัติ เหล่านี้จะยังคงอยู่ ถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม มากกว่า 400 400 |
ยางมะตอย |
ผลงานอื่นๆ ของ SaKaSaNae ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ SaKaSaNae
ความคิดเห็น