พาไปชมถนนคนเดิน (Walking Street) จังหวัดเชียงใหม่ - พาไปชมถนนคนเดิน (Walking Street) จังหวัดเชียงใหม่ นิยาย พาไปชมถนนคนเดิน (Walking Street) จังหวัดเชียงใหม่ : Dek-D.com - Writer

    พาไปชมถนนคนเดิน (Walking Street) จังหวัดเชียงใหม่

    ถนนคนเดิน" ถนนแห่งวัฒนธรรมชาวเชียงใหม่ "

    ผู้เข้าชมรวม

    912

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    912

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  นิยายวาย
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  17 ม.ค. 50 / 18:15 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      พาไปชมถนนคนเดิน (Walking Street) จังหวัดเชียงใหม่
      ถนนคนเดิน (Walking Street) เป็นหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเมืองและการกำหนดใช้พื้นที่เมืองให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน
      ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาและการใช้ประโยชน์พื้นที่ในเมือง ในหลายประเทศก็ได้กลายเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งรวมงานศิลปะ วรรณศิลป์ จิตรกรรม ฯลฯ ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยงต่างชาติจะต้องแวะมาเยี่ยมเยือน



      ถนนคนเดินในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นครั้งแรก โดยรัฐบาล ภายใต้การนำของ พตท.ดร.ทักษิน ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เริ่มต้นใช้ถนนสีลม เป็นต้นแบบของ "โครงการถนนคนเดินในประเทศไทย" เป็นเวลา 7 สัปดาห์



      จากการตอบรับถนนคนเดินที่สีลม ทำให้รัฐบาลเห็นว่ารูปแบบกิจกรรม "ถนนคนเดิน" นอกเหนือจากจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเมือง โดยเฉพาะเมืองใหญ่ในภูมิภาค ดังเช่น จังหวัดเชียงใหม่ ยังสามารถปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมใน "ถนนคนเดิน" ให้สอดรับกับความต้องการท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมทั้งในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว การกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับคนในเมืองใหญ่นั้นๆ



      จังหวัดเชียงใหม่ ในนาม "เชียงใหม่ นพบุรีศรีนครพิงค์" นครแห่งความรุ่งเรืองด้านศิลปกรรม โบราณวัตถุ ตลอดจนวัฒนธรรมล้านนาที่เปี่ยมมนต์เสน่ห์ ซึ่งเป็นความรุ่งเรืองที่ก้าวไปพร้อมๆกับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ



      โดยเชียงใหม่ได้กำหนดกรอบวิสัยทัศน์ และแนวทางการพัฒนาจังหวัด ซึ่งหนึ่งในแนวทางการดำเนินงานก็คือ การกำหนดให้มีการใช้ที่ดินในจังหวัดอย่างเหมาะสม เพื่อให้เชียงใหม่เป็นเมืองน่าอยู่ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีไปพร้อมๆกับการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เปี่ยมศักยภาพและกิจกรรม



      "ถนนคนเดิน" ก็คืออีกหนึ่งกิจกรรมที่จะมีการนำมาดำเนินการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดให้พื้นที่ดำเนินการคือ "ถนนท่าแพ" อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นถนนสายเศรษฐกิจเส้นแรกของจังหวัด มีประวัติความเป็นมายาวนาน



      นับเป็นการปลุกวัฒนธรรมของพื้นที่ให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง เป็นการ "คืนชีวิตให้ชุมชน คืนถนนให้คนเดิน" โดยปิดถนนตั้งแต่แยกอุปคุตถึงประตูท่าแพ ความยาวประมาณ 950 เมตร โดยนำขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของล้านนามาเป็นหัวใจในการนำเสนอ ขณะเดียวกันก็สอดแทรกการรณรงค์ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การลดมลพิษ และส่งเสริมการท่องเที่ยวไปในกิจกรรมพื้นฐานของ "ถนนคนเดิน"



      โครงการนี้ นอกจากจะดำเนินเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังจะเป็นการก่อประโยชน์ให้ชุมชน ทั้งในแง่ของสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิต เพราะการปิดถนน จะทำให้สามารถนำพื้นที่มาสร้างเป็นลานกิจกรรมทางสังคม กลายเป็นที่สาธารณะกลางเมืองให้ชุมชน



      และนอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ให้มีรายได้จากการนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเองได้ในครัวเรือนมาจำหน่าย ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาของชาวบ้านได้อีกทางหนึ่ง พร้อมทั้งให้โอกาสถนนและพื้นที่ได้ฟื้นตัวจากมลพิษ ปรับปรุงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมของเมือง และสุขภาพจิตของประชาชน



      ระยะแรก กิจกรรมถูกกำหนดให้จัดทุกๆวันอาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ – วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2545 รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง โดยใช้ชื่อว่า "10 มหัศจรรย์ล้านนาที่ท่าแพ" ดำเนินการโดยบริษัทเจ เอส แอล



      หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้มอบหมายให้เทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดกิจกรรมถนนคนเดินต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โดยเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2545 เวลา 13.00 – 22.00 น.



      ต่อมา เทศบาลฯ จะทำการย้ายสายสาธารณูปโภคบนถนนท่าแพลงใต้ดิน จึงได้ย้ายการจัดกิจกรรมถนนคนเดินจากถนนท่าแพ ไปจัดที่ถนนราชดำเนิน ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2547 เป็นต้นมา ระยะทางประมาณ 1.50 กิโลเมตร และจัดกิจกรรมการแสดง บริเวณลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และได้เปลี่ยนเวลาเป็น 15.00 – 22.00 น. เพื่อความเหมาะสม



      ถนนคนเดิน จึงจัดได้ว่าเป็นโครงการที่ดีมากของจังหวัดเชียงใหม่ที่ทุกฝ่ายสมควรจะสนับสนุนส่งเสริมให้คงอยู่ตลอดไป ทั้งนี้ เพื่ออำนวยประโยชน์มหาศาลแก่ทั้งคนท้องถิ่น ที่สามารถใช้เป็นแหล่งจัดจำหน่ายหัตถกรรมพื้นเมือง และนักท่องเที่ยว ก็มีโอกาสซื้อสินค้าจากผู้ผลิตท้องถิ่น เป็นสิ่งที่น่าประทับใจอีกประการหนึ่งของการท่องเที่ยวที่จะนำเชียงใหม่ให้มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศ และมีเสน่ห์ในการมาเยี่ยมเยือนอยู่ตลอดไป

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×