ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #61 : รู้หรือไม่ "เครื่องทำลายเอกสารมีที่มาอย่างไร"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.74K
      4
      11 ก.ย. 51



             ปัจจุบันเครื่องทำลายเอกสารเป็นเครื่องใช้สำนักงานอย่างหนึ่งที่ถือว่ามีความสำคัญ ใช้เพื่อการรักษาความลับขององค์กร ไม่ให้รั่วไหลสู่บุคคลภายนอก ว่ากันว่าเครื่องทำลายเอกสารเป็นที่รู้จักทั่วโลกนับตั้งแต่เกิดคดีวอเตอร์เกตอันอื้อฉาวในปี 1972 เป็นต้นมา

             ผู้ประดิษฐ์เครื่องทำลายเอกสารคนแรกคือ นายเอเอ โลว์ ชาวอเมริกัน นักประดิษฐ์มือฉมังซึ่งเป็นรองแค่โทมัส เอดิสัน สร้างเครื่องทำลายเอกสารขึ้นในปี 1908 ประกอบด้วย ช่องใส่กระดาษที่จะทำลายและใบมีดบนลูกกลิ้งซึ่งมีทั้งระบบที่ใช้มือหมุนข้อเหวี่ยงและมอเตอร์ไฟฟ้า

             อย่างไรก็ตาม เครื่องทำลายเอกสารของนายเอเอไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากไม่มีการทำการตลาด จึงไม่เป็นที่รู้จัก ทำให้นายเอเอไม่ได้เครดิตว่าเป็นเจ้าของงานประดิษฐ์ชิ้นนี้ กระทั่งเอเอ โลว์ เสียชีวิตในปี 1912 เครื่องทำลายเอกสารของเขาก็ถูกประมูลและเลือนหายไปกระทั่ง 
    อดอล์ฟ เอฮิงเกอร์ ชาวเยอรมนี เป็นผู้จดสิทธิบัตรเครื่องทำลายเอกสารที่เขาประดิษฐ์ขึ้นในปี 1936 โดยมีแรงบันดาลใจมาจากเครื่องทำพาสต้าในครัว ที่ใช้มือหมุนข้อเหวี่ยง ทำให้ตัดแผ่นแป้งออกเป็นทางยาว นอกจากนี้ เขายังเป็นคนเขียนบทความต่อต้านนาซีด้วย จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เขาคิดค้นเครื่องทำลายเอกสารขึ้นมาเพื่อทำลายหลักฐานไม่ให้ตำรวจลับนาซีมาเห็นเข้า

              เดิมที เครื่องทำลายเอกสารของเขาทำขึ้นมาอย่างง่ายๆ มีขนาดใหญ่พอที่จะใส่กระดาษที่จะทำลายด้วยระบบแรงมือ ต่อมาก็พัฒนามาเป็นระบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ตอนแรกเขาถูกหัวเราะเยาะว่าประดิษฐ์อะไรไร้สาระ แต่ปรากฏว่าเอฮิงเกอร์ขายเครื่องทำลายเอกสารของเขาได้มากมายในทศวรรษที่ 1940 แม้แต่ในช่วงภาวะของสงครามเย็นระว่างทศวรรษ 1950 จนกระทั่งสามารถเปิดบริษัทจำหน่ายเครื่องทำลายเอกสาร โดยใช้ชื่อว่า บริษัท EBA Maschinenfabrik และในปี 1956 มีลูกค้าเพิ่มขึ้นมากมายจนขยายไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐบาลต่างๆ ตลอดจนสถาบันทางการเงิน   ปี 1959 เขาพัฒนาเครื่องทำลายเอกสารให้ตัดกระดาษได้ในหลายรูปแบบ หลายวัตถุประสงค์ มาเป็นเศษกระดาษสีสันที่โปรยขว้างในงานรื่นเริงด้วย ธุรกิจของเอฮิงเกอร์รุ่งเรืองจนกระทั่งลูกชายสืบทอดกิจการต่อภายหลังก็ถูกขายให้กับบริษัทคู่แข่ง ครักแอนด์ไพรส์เตอร์ ในปี 1998 

              เอฮิงเกอร์มีอายุถึง 86 ปี และเสียชีวิตในปี 1984 ซึ่งเขามีชีวิตอยู่ทันเห็นความก้าวหน้าของเครื่องทำลายเอกสาร โดยเฉพาะในช่วงคดีวอเตอร์เกต และมีการอัพเกรดให้ไฮเทคขึ้นหลังจากที่เกิดคดีนักการทูตอเมริกันในกรุงเตหะรานถูกทหารอิหร่านจับกุม หลังนำเอกสารที่ถูกทำลายในสถานทูตที่ตัดเป็นเส้นยาวมาเรียงต่อกันใหม่ ทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องเข้มงวดสเป๊กของเครื่องทำลายเอกสารประจำหน่วยงานต่างๆ  ประมาณกันว่าเครื่องทำลายเอกสารถูกจำหน่ายมากกว่า 7.5 ล้านเครื่อง ช่วงระหว่างปี 1990-2000 ปัจจุบันเครื่องทำลายเอกสารขยายไลน์ไม่เฉพาะแค่ทำลายกระดาษเท่านั้น ยังมีชนิดที่ทำลายแผ่นดิสก์ ดีวีดี และซีวีดี ด้วย


    ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×