ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    +*+*+ อาหารสำหรับแต่ละช่วงวัย และภาวะพิเศษ +*+*+

    ลำดับตอนที่ #1 : +*+ วัยทารก +*+

    • อัปเดตล่าสุด 23 พ.ค. 51



    วัยทารก



    วัยทารก

    เป็นระยะเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ถึงหนึ่งปี ซึ่ง เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นวัยที่อ่อนแอกว่าวัยอื่น และเป็นวัยที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นวัยที่มีการสร้างรากฐานของการพัฒนาบุคลิกภาพ ในระยะต่อ ๆ ไป ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

    ระยะที่ 1 วัยทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกอายุ ตั้งแต่แรกเกิด - 1 เดือน เป็นระยะที่มีความสำคัญมากทารกต้องมีการเปลี่ยนแปลงสภาพมากมาย ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ใหม่ภายนอกครรภ์ มารดา ต้องพึ่งผู้อื่นในการดำรงชีวิต นับตั้งแต่คลอด ทารกจะมีการปรับตัวเกี่ยวกับการหายใจ การดูด การขับถ่าย ทารกจะร้องไห้เมื่อหิว หรือได้รับความเจ็บปวด สายตายังมองอะไรได้ไม่ค่อยชัด ทารกจะชอบใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ แสดงอารมณ์ดี ยิ้มเมื่อพ่อแม่อุ้มหรือโอบกอด ทารกจะส่งเสียงร้องไห้เป็นสื่อ เพื่อแสดงออกให้พ่อแม่รับรู้ความรู้สึก

    ระยะที่ 2 วัยทารก หมายถึง ทารกอายุตั้งแต่ 1 เดือน - 1 ปี เป็นวัยแห่งการเจริญเติบโตที่เร็วมาก เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับโรค และสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดที่สุด ในด้านร่างกายและจิตใจ เป็นวัยที่มีการสร้างบุคลิกภาพ พัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ทารกเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นเมื่ออายุ 6 – 8 เดือน ในด้านพฤติกรรม เด็กในวัยนี้มักแสดงความอยากรู้อยากเห็น แสดงความกลัว เช่น กลัวคนแปลกหน้า กลัวเสียงดัง ๆ แสดงความพึงพอใจโดยการยิ้ม หัวเราะ ชอบจ้องมองหือนิ่งฟังเสียงต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังชอบเลียนแบบคำพูด ท่าทางของคนใกล้ชิด และสามารถที่จะเรียนรู้และแสดงออกทางภาษา ได้แก่ ส่งเสียงร้องไห้ ส่งเสียงแหลมสูง ทำเสียงดัง ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะพูด

    ความต้องการสารอาหารของวัยทารก

    ทารกควรได้รับอาหารเพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ความต้องการสารอาหารของทารกต่อหน่วยน้ำหนักกิโลกรัม มากกว่าวัยอื่นๆ เพราะมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก

    v พลังงาน ทารกต้องการพลังงานวันละ 100-120 แคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

    v โปรตีน ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของสมอง ทารกควรได้รับโปรตีนวันละ 2.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าวัยอื่นๆ

    v วิตามิน ได้แก่

    -              วิตามินเอ ช่วยในการทำงานของเยื่อบุของตา และเยื่อบุผิวหนัง ทารกควรได้รับวิตามินเอวันละ 1000 หน่วยสากล

    -              วิตามินดี จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน ควรได้รับวันละ 400 หน่วยสากล

    -              วิตามินบี1 ควรได้รับวันละ 0.3 มิลลิกรัม

    -              วิตามินบี2 ควรได้รับวันละ 0.4 มิลลิกรัม

    -              ไนอะซิน ได้รับอย่างเพียงพออยู่แล้วในน้ำนม ซึงมีปริมาณ 4 มิลลิกรัม

    -              วิตามินซี ต้องการวันละ 20 กรัม

    -              โฟลาซิน ได้จากผักใบเขียวและตับสัตว์

    v เกลือแร่ ได้แก่

    -                   แคลเซียม ต้องการวันละ 400-500 มิลลิกรัม

    -                   เหล็ก ต้องการประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดก็ต้องการ 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว

    -                   ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างฮอร์โมนไทรอคซินในระยะ6เดือนแรก ทารกจะต้องการไอโอดีนวันละ 35 ไมโครกรัม

    v น้ำ ควรได้รับวันละ 150 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

    อาหารเพิ่มเติมอื่นๆสำหรับทารก

    -                   ทารกอายุ 1 เดือน ให้น้ำส้มคั้นที่ไม่เปรี้ยวมากเกินไป 1 ช้อนชา ผสมน้ำสุกเท่าตัว ต่อมาจึงเพิ่มจำนวนส้มจนถึงประมาณ ครึ่งผลถึงหนึ่งผล

    -                   ทารกอายุ 2 เดือน เริ่มให้น้ำมันตับปลาประมาณครึ่งช้อนชา

    -                   ทารกอายุ 4 เดือน เริ่มให้ข้าวครูด หรือข้าวบด ในตอนแรกให้เพียง 1-2 ช้อนชา แล้วค่อยๆเพิ่มจนถึง 1-2 ช้อนโต๊ะผสมกับ น้ำต้มกระดูก น้ำต้มตับ น้ำต้มผัก หลังจากนั้นให้น้ำนมตาม เมื่อทารกกินข้าวกับน้ำซุบได้ดีแล้ว ก็เริ่มให้ไข่แดงต้มสุดบดละเอียด เริ่มด้วย 1 ช้อนชา และเพิ่มไปเรื่อยๆ จนถึงไข่แดงวันละ 1 ฟอง

    -                   ทารกอายุ 5 เดือน เริ่มให้เนื้อปลาบดละเอียดประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับข้าวและน้ำซุบ

    -                   ทารกอายุ 6 เดือน ให้อาหารผสมแทนน้ำนม 1 มื้อเริ่มให้ผักต้มบดละเอียดลงไปในข้าวประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ

    -                   ทารกอายุ 7 เดือน เริ่มให้เนื้อสัตว์ต้มเปื่อยบดละเอียดและตับ1-2ช้อนโต๊ะ และให้ลองกินไข่ขาว ขนมปังกรอบ

    -                   ทารกอายุ 8 เดือน เริ่มให้อาหารผสมแทนน้ำนม 2 มื้อ และเริ่มให้ของหวานหลังอาหารคาว

    -                   ทารกอายุ 9 เดือน ให้อาหารเหมือนเมื่ออายุ 8 เดือน และให้เริ่มจับช้อนป้อนข้าวเอง และดื่มน้ำจากถ้วยเอง

    -                   ทารกอายุ 10-12 เดือน ค่อยๆเพิ่มอาหารผสมแทนน้ำนมทั้ง 3 มื้อ

    ปัญหาและการแก้ปัญหาด้านการรับประทานอาหารของทารก

              ปัญหาด้านนี้เกิดกับทารกบางคน อาจจะเริ่มมีอาการชอบหรือไม่ชอบทานอาหาร  เบื่ออาหาร ไม่ยอมดื่มนม แต่ไม่ควรบังคับเด็ก เพราะจะทำให้เด็กต่อต้าน อาจปัดช้อนหรือขวดนมทิ้ง พ่นหรือคายอาหารออกจากปาก อาจทำให้เด็กแสดงกิริยาเหล่านี้เป็นปกติเพื่อเรียกร้องความสนใจ ควรแก้ปัญหาโดยให้เริ่มกินอาหารเสริม ถ้าเด็กไม่กินควรหยุด และให้ใหม่เมื่อเด็กลืมและอารมณ์ดี ไม่ควรเรียกร้องความสนใจของเด็กโดยการให้เด็กเดินเล่นและกินอาหาร และไม่ควรให้เด็กทานอาหารว่าง อาจลดการดื่มนมลงเพราะทำให้เด็กไม่หิว และเบื่ออาหาร

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×