ประวัติแพทย์แผนไทย
ประวัติแพทย์แผนไทย
ผู้เข้าชมรวม
2,705
ผู้เข้าชมเดือนนี้
6
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ประวัติการแพทย์แผนโบราณเริ่มมีการบันทึกไว้ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล มีชายผู้หนึ่งชื่อชีวกโกมารภัจจ์มีความสนใจในการศึกษาวิชาแพทย์ เป็นวิชาที่ประกอบอาชีพไม่เบียดเบียนผู้ใด เป็นผู้ปฏิบัติประกอบด้วยเมตตากรุณาเกื้อกูลแก่ความสุขของมนุษย์ จึงได้ศึกษาวิชาแพทย์ในสำนักแพทย์ผู้ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักศิลา ท่านเป็นผู้ที่ฉลาด สามารถในการศึกษา เรียนได้มาก เรียนได้เร็ว ทรงจำได้เร็ว ทรงจำได้ดี ไม่หลงลืม สามารถรักษาคนไข้หนเดียวก็หายได้ ในเวลาต่อมาพระเจ้าพิมพิสารประชวรเป็นโรคพระภคันทละ คือโรคริดสีดวงทวาร ทรงโปรดให้หมอชีวกเข้าไปถวายการรักษา หมอชีวกถวายการรักษาด้วยการทายาเพียงครั้งเดียว พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงหายโรค จึงโปรดให้เป็นแพทย์หลวงบำรุงพระองค์และฝ่ายใน กับบำรุงพระสงฆ์ นับว่าหมอชีวกเป็นแพทย์ผู้ที่มีความรู้ความสามารถมีชื่อเสียงในครั้งพุทธกาลและมีผู้เคารพยกย่องอย่างมาก
ยุคก่อนอาณาจักรสุโขทัย
การค้นพบศิลาจารึกอาณาจักรขอมประมาณปี พ.ศ. ๑๗๒๕ - ๑๗๒๙ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลโดยการสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลาขึ้น ๑๐๒ แห่ง ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ในบริเวณใกล้เคียง กำหนดผู้ทำหน้าที่รักษาพยาบาลไว้อย่างชัดเจนได้แก่ หมอ พยาบาล เภสัช ผู้จดสถิติ ผู้ปรุงยาและอาหาร รวม ๙๒ คน มีพิธีกรรมบวงสรวงพระไภสัชยคุรุไวทูรย์ประภาตามความเชื่อตามศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ด้วยการบูชา ยาและอาหารก่อนแจกจ่ายผู้ป่วย ปัจจุบันมีอโรคยศาลาที่ยังเหลือประสาทที่สมบูรณ์ที่สุดคือ กู่บ้านเขวา จังหวัดมหาสารคราม
สมัยสุโขทัย
มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวารวดีซึ่งเป็นยุคก่อนสมัยสุโขทัย และจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงได้บันทึกไว้ว่าทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวงหรือเขาสรรพยาเพื่อให้ราษฎรได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยามเจ็บป่วย ปัจจุบันผู้เขาดังกล่าวอยู่ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
ซึ่งก็ไม่ได้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงลักษณะการแพทย์ในสมัยสุโขทัย แต่มีหลักฐานเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บในสมัยนั้นที่มีข้อความตอนหนึ่งในไตรภูมิกถาของพญาลิไท ระบุว่า
หิดและเรื้อน เกลื้อน และหูด แลเปา เป็นต่อม เป็นเตา เป็นง่อย เป็นเพลีย ตาฟู หูหนวก เป็นกระจอกงอกง่อย เปื่อยเนื้อ เมื่อยตน ท้องขึ้น ท้องพอง ท้องไส้ ปวดหัว มัวตา ไข้เจ็บ เหน็ดเหนื่อย วิการดังนี้ ไซร้บ่ห่อนจะบังเกิดแก่ชาวอุตรกุกุกสักคาบหนึ่งเลย ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วย มีความเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของภูตผีปีศาจ จึงมีพิธีแสดงความนบนอบ ดังความตอนหนึ่งในไตรภูมิที่ว่า
ผิแลว่ามีผู้ใดไปไหว้นบเคารพบูชาแก่กงจักรแก้วนั้นด้วยข้าวตอกดอกไม้ แลกงจักรแก้วนั้นเพียรย่อมบำบัดเสียซึ่งความไข้ความเจ็บ
จึงพออนุมานได้ว่า มีหมอผู้ซึ่งเป็นผู้กระทำพิธีกรรมและใช้ยาสมุนไพรเพื่อบำบัดโรคภัยไข้เจ็บอยู่ในสุโขทัยอย่างแน่นอน แต่ไม่สามารถระบุในรายละเอียดได้ว่า หมอในยุคนั้นใช้องค์ความรู้และวิธีการแบบใดในการบำบัดโรค เพราะไม่มีหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับการรักษาด้วยสมุนไพร การนวด หรือการแพทย์พื้นบ้านอื่นๆปรากฏในศิลาจารึกใดๆ ในสมัยในกรุงสุโขทัยเลย
สมัยอยุธยา
การแพทย์มีลักษณะผสมผสานปรับประยุกต์องค์ความรู้จากแพทย์พื้นบ้านทั่วราชอาณาจักร ผสมกลมกลืนกับความเชื่อตามปรัชญาแนวพุทธ รวมทั้งความเชื่อทางไสยศาสตร์และโหรศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชนการแพทย์แผนไทยมีเป้าหมายที่สภาวะสมดุลของธาตุ ๔ อันเป็นองค์ประกอบของชีวิต
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยสมัยกรุงศรีอยุธยามีหลักฐานปรากฏเป็นครั้งแรกในทำเนียบศักดินาข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งตราขึ้นในปี พ.ศ.1998 กล่าวคือ มีข้าราชการในกรมแพทยา โรงพระโอสถ กรมหมอยา กรมหมอนวด กรมยาตา กรมหมอวรรณโรค
1. กรมแพทยา
พระศรีมโหสถราชแพทยยาธิบดีศรีองครักษ เจ้ากรมพระยาหน้า
ขุนราชแพทยา ปลัดทูลฉลอง
ขุนพรหมเกวี ปลัดนั่งฉลอง
พันในกรม
พระศรีศักราชแพทยาธิบดีศรีองครักษ เจ้ากรมแพทยาหลัง
ขุนรัตะแพทย ปลัดทูลฉลอง
ขุนศรีเกวี ปลัดนั่งศาล
พันในกรม
2. กรมหมอโรงพระโอสถ
ออกญาแพทยาพงษาวิสุทธาธิบดีอะไภยพิรียบรากรมพาหุ จางวางแพทยาโรงพระโอสถ
3. กรมหมอยา
ออกพระทิพจักร เจ้ากรมหมอยาขวา
ออกพระสิทธิสาร เจ้ากรมหมอยาซ้าย
หลวงราชทินนาม ปลัดทิพจักรขวา
หลวงราชพรหมา ปลัดทิพจักรซ้าย
หลวงสิทธิพรหมา ปลัดสิทธิสาร
หลวงเทวพรหมา ปลัดสิทธิสาร
ขุนในกรมหมอยา
หมื่นในกรมหมอยา
พันในกรมหมอยา
ขุนทิพโอสถ ขุนประเสริฐโอสถ พนักงานเครื่องต้น
4. กรมหมอกุมาร
หลวงราชทินนาม
ขุนกุมารเพช
ขุนกุมารแพทย
ขุนกุมารประสิทธิ
ขุนกุมารประเสริฐ
5. กรมหมอนวด
หลวงราชรักษา เจ้ากรมหมอนวดขวา
หลวงราโช เจ้ากรมหมอนวดซ้าย
ขุนภักดีองค์ ปลัดกรมขวา
ขุนองครักษา ปลัดกรมซ้าย
หมื่นแก้ววรเลือก
หมื่นวาโยวาต
หมื่นวาโยไชย
ขุนในกรม
หมื่นในกรม
พันในกรม
พันหมอ
นายพะโรง
6. กรมยาตา
ขุนราชเนตร เจ้ากรมยาตาขวา
ขุนทิพเนตร เจ้ากรมยาตาซ้าย
ขุนในกรม
หมื่นในกรม
พันในกรม
7. กรมหมอวรรณโรค
หลวงสิทธิแพทย เจ้ากรมหมอวรรณโรค
ขุนมหาแพทย ปลัดกรมขวา
ขุนสาระแพทย ปลัดกรมซ้าย
ขุนไชยแพทย
ขุนในกรม
หมื่นในกรม
พันในกรม
สมเด็จพระนารายมหาราช
ในสมัยนี้ มีการติดต่อกับประเทศตะวันตกมากกว่ารัชกาลใด ๆ ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา การแพทย์ตะวันตกได้เริ่มเข้ามาเผยแพร่อย่างจริงจังในสมัยนี้ โดยคณะมิชชันนารีฝรั่งเศสได้ใช้การแพทย์ตะวันตกเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ศาสนา โดยจัดตั้งสถานพยาบาลขนาดเล็กใกล้กับโบสถ์คาทอลิก เมื่อปี พ.ศ.2212 เสนอการรักษาและแจกยาฝรั่งฟรี จนกระทั่งปี พ.ศ.2221 ได้ขยายโรงพยาบาลจนมีตึก 2 หลังแยกคนไข้ชายหญิง สามารถรับคนไข้ได้ 20-30 คน รับคนไข้นอกได้ 200-300 คน นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯให้ มร.โปมาร์ต เป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์ด้วย (ประทีป ชุมพล 2541:48)
แม้ว่าการแพทย์ตะวันตกจะเข้ามาเผยแพร่ในหมู่ประชาชนทั่วไป แต่ก็ยังอยู่ในวงจำกัด เพราะประชาชนยังไม่ยอมรับการรักษาแบบฝรั่ง และยังเผยแพร่ได้ในระยะเวลาสั้นๆ ก็ต้องถูกขับไปพร้อมกับมิชชันนารีในสมัยสมเด็จพระเพทราชาซึ่งไม่วางพระทัยพวกฝรั่งเศส การแพทย์ตะวันตกจึงหายไปจากสยามในสมัยนั้น
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการรวบรวมตำรับยาไว้หลายขนาน ส่วนใหญ่เป็นยาที่บรรดาหมอหลวงใช้ถวายการรักษาและได้ผลดีมาแล้ว เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์
นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานจากการบันทึกของ มองสิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาในกรุงสยามเมื่อปี พ.ศ.2230-2231 และเขียนบรรยายเกี่ยวกับกรุงสยามไว้ (เรียกกันว่า จดหมายเหตุลาลูแบร์) มีข้อความที่กล่าวถึงการแพทย์แผนไทยในสมัยนั้นว่า
โอสถจะทรงคุณสมนามว่าเป็นวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ในกรุงสยาม แพทย์หลวงตัวเองของพระมหากษัตริย์ สยามก็เป็นจีนแสเจ๊ก พระองค์ทั้งหมอสยามและหมอมอญชาวพะโค และใน 2 หรือ 3 ปีมานี้ พระองค์ได้โปรดครูสอนศาสนาคริสตังฝรั่งเศสฝ่ายคฤหัสถ์ผู้หนึ่ง ชื่อมองสิเออร์ปูมาต์ ให้เข้ารับราชการฉลองพระเดชพระคุณในกรมหมอหลวงด้วย ทรงไว้วางพระราชหฤทัยหมอฝรั่งผู้นี้มากกว่าหมอหลวงทั้งปวงหมด หมอหลวงอื่นๆต้องรายงานพระอาการพระพุทธเจ้าอยู่หัว ยามทรงพระประชวรทุกเวลาต่อหมอฝรั่งผู้นั้น และต้องรับพระโอสถที่หมอฝรั่งนั้นได้ปรุงขึ้นสำหรับถวายนั้นจากมือหมอฝรั่งไปตั้งถวาย
ข้อเขลาสำคัญของหมอสยามนั้นก็ที่ไม่รู้ว่าเครื่องในร่างกายตัวมนุษย์นั้นมีอะไร เป็นอย่างไร สำหรับอะไรบ้าง จำเป็นต้องพึ่งฝรั่ง ไม่ใช่แต่บอกยา ทั้งบอกสมุฏฐานภูตรูปให้ด้วย บรรดาความยากลำบากที่จะตัดผ่าเครื่องในกายตัวคนไข้ทั้งปวง แม้แต่การง่ายๆ จะห้ามเลือดก็ไม่ถนัด วิชาผ่าตัดนั้นหมอสยามไม่หือเสียเลยทีเดียว
หมอสยามไม่พึงพยายามที่จะทราบรสของยาอย่างไหนบำบัดโรคอย่างไหนได้
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบบันทึกว่ามีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับประชาชนที่มีแห่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและนอกกำแพงเมือง มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทยเรียกว่าตำราพระโอสถพระนารายณ์ การแพทย์แผนไทยในสมัยนี้รุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะการนวดไทย การแพทย์ตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทโดยมิชชั่นนารีชาวฝรั่งเศสได้จัดตั้งโรงพยาบาลรักษาโรคแต่ก็ขาดความนิยมและล้มเลิกไป
ระหว่างเสียกรุงพม่าได้เข้าโจมตี ๒ ครั้ง บ้านเมืองถูกทำลาย ประชาชน ราชวงศ์กษัตริย์ ขุนนาง และนักโทษจำนวนมากถูกกวาดต้อนไปยังพม่า ซึ่งอาจมีหมอแผนโบราณรวมอยู่ในกลุ่มเหล่านี้ และตำรารวมถึงคัมภีร์เก่าๆ ก็อาจถูกทำลายไปด้วย
สมัยธนบุรี
เป็นช่วงเวลาที่มีการปรับเปลี่ยนและรวบรวมองค์ความรู้ด้านต่างๆที่ถูกทำลายไปในช่วงเสียกรุง ซึ่งมีแพทย์จำนวนมากถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย และประเทศประสบกับภัยสงครามอยู่เนืองๆ
สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นอารามหลวง ให้ชื่อว่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงให้รวบรวมและจารึกตำรายาฤาษีดัดตนและตำรานวดไทยไว้ตามศาลาราย สำหรับการจัดหายาของทางราชการ มีการจัดตั้งกรมหมอ
ผลงานอื่นๆ ของ Shit!!! ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Shit!!!
ความคิดเห็น