ดาวเคราะห์เดือนนี้ - ดาวเคราะห์เดือนนี้ นิยาย ดาวเคราะห์เดือนนี้ : Dek-D.com - Writer

    ดาวเคราะห์เดือนนี้

    โดย Wichayut

    บอกที่ตั้งของดาวในเดือนนี้ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยมั้งลองเข้ามาดูกันนะ

    ผู้เข้าชมรวม

    412

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    412

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  15 ก.ค. 49 / 19:12 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ดาวพุธ อยู่ตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวคนคู่กับกลุ่มดาวปู อาจมองเห็นได้ในช่วงไม่กี่วันแรกของเดือนกรกฎาคม ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ดาวพุธจะผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงใน (inferior conjunction) ในวันที่ 18 กรกฎาคม ซึ่งเป็นจังหวะที่ดาวพุธเคลื่อนผ่านแนวกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หลังจากนี้จะมีโอกาสเห็นดาวพุธได้อีกครั้งในเวลาเช้ามืดตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม ซึ่งดาวพุธจะผ่านใกล้ดาวศุกร์

      ดาวศุกร์ (โชติมาตร -3.9) อยู่ในกลุ่มดาววัว ผ่านใกล้ดาวอัลเดบารันในวันที่ 2 กรกฎาคม แล้วเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ในวันที่ 20 กรกฎาคม ดาวศุกร์ขึ้นเหนือขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในเวลาประมาณตี 4 สังเกตเห็นได้ดีที่สุดในช่วงเวลาเช้ามืดของทุกวัน วันที่ 23 กรกฎาคม จะเห็นพระจันทร์เสี้ยวอยู่ทางซ้ายมือของดาวศุกร์

      ดาวอังคาร (โชติมาตร +1.8) เดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายที่จะมีโอกาสเห็นดาวอังคารได้ชัดเจนในเวลาหัวค่ำ ต้นเดือนกรกฎาคมดาวอังคารจะออกจากกลุ่มดาวปูเข้าสู่กลุ่มดาวสิงโต ผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในวันที่ 22 กรกฎาคม มองเห็นได้ในทางทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำโดยเคลื่อนเข้าใกล้ขอบฟ้ามากขึ้นในเวลาเดียวกันของแต่ละวัน กลางเดือนเวลา 19.40 น.ดาวอังคารอยู่สูงจากขอบฟ้าประมาณ 17 องศา และตกลับขอบฟ้าในเวลาประมาณ 20.50 วันที่ 27 กรกฎาคม หากท้องฟ้าโปร่งและไม่มีอะไรบดบังขอบฟ้าทิศตะวันตก อาจเห็นพระจันทร์เสี้ยวอยู่ใกล้ดาวอังคารและดาวหัวใจสิงห์


      ภาพจำลองดาวเคราะห์ในเดือนกรกฎาคม 2549 แสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ
      (ดัดแปลงจาก Solar System Simulator/NASA)

      ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.2) เวลาหัวค่ำจะเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่สูงเหนือท้องฟ้าทิศใต้ในกลุ่มดาวคันชั่ง คืนวันที่ 5 กรกฎาคม จะเห็นดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี ต้นเดือนดาวพฤหัสบดีตกลับขอบฟ้าในเวลาประมาณตี 2 และตกเร็วขึ้นทุกวัน เมื่อถึงปลายเดือนกรกฎาคมดาวพฤหัสบดีจะตกลับขอบฟ้าในเวลาเที่ยงคืน

      ดาวเสาร์ (โชติมาตร +0.4) อยู่ในกลุ่มดาวปู อาจสังเกตเห็นได้บริเวณใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ทั้งนี้ดาวเสาร์อยู่ใกล้ขอบฟ้ามากขึ้นทุกวันทำให้สังเกตได้ยากขึ้น มีโอกาสดูดาวเสาร์ได้ถึงประมาณกลางเดือนหรือหลังจากนั้นไม่กี่วัน เดือนสิงหาคมดาวเสาร์จะอยู่ตรงข้ามกับโลกโดยมีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง

      ดาวยูเรนัส (โชติมาตร +5.8) และ ดาวเนปจูน (โชติมาตร +7.8) อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำและกลุ่มดาวแพะทะเล ตามลำดับ ปรากฏบนท้องฟ้าก่อนเช้ามืด สังเกตการณ์ได้ในช่วง 10 วันแรกของเดือนและสัปดาห์สุดท้ายซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวน โดยต้องอาศัยแผนที่ดาว กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

      ดาวพลูโต อยู่ในกลุ่มดาวงู มีโชติมาตร 14 ต้องอาศัยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 8 นิ้วขึ้นไปและแผนที่ดาวแบบละเอียดช่วยในการระบุตำแหน่ง

      ดวงจันทร์ ช่วงแรกของเดือนเป็นช่วงข้างขึ้น จึงเห็นดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยวบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวงในวันที่ 3 กรกฎาคม ขณะอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว ผ่านใกล้ดาวรวงข้าวและดาวพฤหัสบดีในคืนวันที่ 4 และ 5 กรกฎาคม ตามลำดับ แล้วสว่างเต็มดวงในคืนวันเข้าพรรษา 11 กรกฎาคม

      เมื่อเข้าสู่ข้างแรม ดวงจันทร์จะมีด้านสว่างลดลงจนกระทั่งเหลือครึ่งดวงในเช้ามืดวันที่ 18 กรกฎาคม ดวงจันทร์ผ่านใกล้ดาวศุกร์ในวันที่ 23 กรกฎาคม ก่อนจะเข้าสู่วันเดือนดับในวันที่ 25 กรกฎาคม กลับมาให้เห็นในเวลาหัวค่ำเมื่อเข้าสู่ข้างขึ้นอีกครั้ง โดยอยู่ใกล้ดาวอังคารและดาวหัวใจสิงห์ในค่ำวันที่ 27 กรกฎาคม



      ดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในค่ำวันที่ 22 กรกฎาคม, ดวงจันทร์ผ่านใกล้ดาวศุกร์ในเช้ามืดวันที่ 23 กรกฎาคม และดวงจันทร์ผ่านใกล้ดาวอังคารกับดาวหัวใจสิงห์ในค่ำวันที่ 27 กรกฎาคม

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×