คงเคยสังเกตนะครับว่า กุ้งสดจะมีสีฟ้าครามหรือสีน้ำเงินดำ แต่เมื่อสุกแล้ว จะกลายเป็นสีส้มอมแดงสดใส นักวิทยาศาสตร์พยายามอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ครับ
นักวิจัยพบว่าสารสี (pigment)ที่ทำให้เกิดสีในกุ้ง มีชื่อว่า แอสตาแซนทิน (astaxanthin) ซึ่งเป็นสารสีประเภทแคโรทีนอยด์ ซึ่งให้สีแดงสดใส สารแอสตาแซนทินยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสีแดงในพืชและสัตว์อื่นๆ อีก เช่น ส้ม มะเขือเทศ และสีของขนนก เมื่อสารนี้เข้าไปอยู่ในตัวกุ้ง จะเกาะติดกับโปรตีนที่ชื่อว่า ครัสตาไซยานิน (crustacyanin) ถ้าหากกุ้งถูกต้มให้สุก ความร้อนจะทำให้โปรตีนคลายตัว ทำให้สารแอสตาแซนทินหลุดออกมาเป็นอิสระ สารสีที่เป็นอิสระนี้จะให้สีแดง
การเปลี่ยนสีของกุ้งเมื่อสุกนี้ นักวิจัยเข้าใจได้ดีดังกล่าวข้างต้น แต่กลไกที่ทำให้สารสีนี้กลายเป็นสีน้ำเงินดำ เมื่อติดอยู่กับโปรตีนในกุ้งที่มีชีวิต ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
เป็น เวลาหลายปีมาแล้วที่เชื่อกันว่า โปรตีนที่หุ้มสารสีนี้ ทำให้สารสีมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการดูดกลืนแสงในช่วงสเปกตรัม อื่นด้วย แต่ทีมวิจัยของคุณ ฟรานเซสโก บูดา แห่งมหาวิทยาลัยไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้วัดสถานะพลังงานควอนตัม (quantum energy state) ของสารแอสตาแซนทิน พบว่า ด้วยการเปลี่ยนรูปร่างของสารสีเพียงอย่างเดียว สามารถทำให้เกิดการดูดกลืนแสงในช่วงสเปกตรัม อื่นได้เพียงหนึ่งในสามของทั้งหมดเท่านั้น จึงไม่อาจเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนสีจากสีแดงมาเป็นสีน้ำเงินดำได้
ทีม วิจัยเชื่อว่า คำอธิบายที่น่าจะถูกต้องกว่า ควรจะเป็นของการค้นพบในปี 2545 ที่อธิบายว่า โมเลกุลของสารแอสตาแซนทินที่อยู่ในโปรตีน จะจับกลุ่มกันเป็นคู่ และเกิดการไขว้กันของโมเลกุล ในลักษณะของตัวอักษรเอกซ์ ซึ่งการที่โมเลกุลไขว้กันนี้ ทำให้เกิดการแทรกแซงกันเอง คล้ายกับการเกิดสัญญาณซ้อนกันในสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งผลต่อสถานะพลังงานควอนตัมของสาร และทำให้สามารถดูดกลืนแสงในช่วงสเปกตรัมอื่นได้ด้วย ทำให้สีที่ปรากฏค่อนไปทางสีดำ
ความดีในเรื่องนี้ ต้องยกให้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ครับ เพราะคุณฟรานเซสโกบอกว่า คอมพิวเตอร์เพิ่งจะสามารถคำนวณเชิงกลศาสตร์ควอนตัมที่ซับซ้อนเช่นนี้ได้ ในช่วง 5-10 ปีมานี้เอง
ไม่รู้การคำนวณสถานะพลังงานควอนตัม จะช่วยให้ข้อมูล สนับสนุนต่อไปได้หรือไม่นะครับว่า ครั้นเมื่อกินกุ้งสุกเข้าไปแล้ว ถึงคราวที่มันออกมาจากตัวเรา ทำไมสีจึงเปลี่ยนไปเป็นอีกสีหนึ่งน่ะ .. ไอ้หย๋า!!
นักวิจัยพบว่าสารสี (pigment)ที่ทำให้เกิดสีในกุ้ง มีชื่อว่า แอสตาแซนทิน (astaxanthin) ซึ่งเป็นสารสีประเภทแคโรทีนอยด์ ซึ่งให้สีแดงสดใส สารแอสตาแซนทินยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสีแดงในพืชและสัตว์อื่นๆ อีก เช่น ส้ม มะเขือเทศ และสีของขนนก เมื่อสารนี้เข้าไปอยู่ในตัวกุ้ง จะเกาะติดกับโปรตีนที่ชื่อว่า ครัสตาไซยานิน (crustacyanin) ถ้าหากกุ้งถูกต้มให้สุก ความร้อนจะทำให้โปรตีนคลายตัว ทำให้สารแอสตาแซนทินหลุดออกมาเป็นอิสระ สารสีที่เป็นอิสระนี้จะให้สีแดง
การเปลี่ยนสีของกุ้งเมื่อสุกนี้ นักวิจัยเข้าใจได้ดีดังกล่าวข้างต้น แต่กลไกที่ทำให้สารสีนี้กลายเป็นสีน้ำเงินดำ เมื่อติดอยู่กับโปรตีนในกุ้งที่มีชีวิต ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
เป็น เวลาหลายปีมาแล้วที่เชื่อกันว่า โปรตีนที่หุ้มสารสีนี้ ทำให้สารสีมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการดูดกลืนแสงในช่วงสเปกตรัม อื่นด้วย แต่ทีมวิจัยของคุณ ฟรานเซสโก บูดา แห่งมหาวิทยาลัยไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้วัดสถานะพลังงานควอนตัม (quantum energy state) ของสารแอสตาแซนทิน พบว่า ด้วยการเปลี่ยนรูปร่างของสารสีเพียงอย่างเดียว สามารถทำให้เกิดการดูดกลืนแสงในช่วงสเปกตรัม อื่นได้เพียงหนึ่งในสามของทั้งหมดเท่านั้น จึงไม่อาจเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนสีจากสีแดงมาเป็นสีน้ำเงินดำได้
ทีม วิจัยเชื่อว่า คำอธิบายที่น่าจะถูกต้องกว่า ควรจะเป็นของการค้นพบในปี 2545 ที่อธิบายว่า โมเลกุลของสารแอสตาแซนทินที่อยู่ในโปรตีน จะจับกลุ่มกันเป็นคู่ และเกิดการไขว้กันของโมเลกุล ในลักษณะของตัวอักษรเอกซ์ ซึ่งการที่โมเลกุลไขว้กันนี้ ทำให้เกิดการแทรกแซงกันเอง คล้ายกับการเกิดสัญญาณซ้อนกันในสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งผลต่อสถานะพลังงานควอนตัมของสาร และทำให้สามารถดูดกลืนแสงในช่วงสเปกตรัมอื่นได้ด้วย ทำให้สีที่ปรากฏค่อนไปทางสีดำ
ความดีในเรื่องนี้ ต้องยกให้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ครับ เพราะคุณฟรานเซสโกบอกว่า คอมพิวเตอร์เพิ่งจะสามารถคำนวณเชิงกลศาสตร์ควอนตัมที่ซับซ้อนเช่นนี้ได้ ในช่วง 5-10 ปีมานี้เอง
ไม่รู้การคำนวณสถานะพลังงานควอนตัม จะช่วยให้ข้อมูล สนับสนุนต่อไปได้หรือไม่นะครับว่า ครั้นเมื่อกินกุ้งสุกเข้าไปแล้ว ถึงคราวที่มันออกมาจากตัวเรา ทำไมสีจึงเปลี่ยนไปเป็นอีกสีหนึ่งน่ะ .. ไอ้หย๋า!!
ความคิดเห็น