The Curse Of The Caster And Pollux ตำนานรัก คำสาปแห่งสายเลือด (เล่ม 1)
คำสาปรักตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น
ผู้เข้าชมรวม
4,249
ผู้เข้าชมเดือนนี้
11
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
*นิยายเรื่องนี้มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับความรักและความสัมพันธ์ของบุคคลร่วมสายเลือด โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
และเนื้อหาทั้งหมดในนวนิยายเป็นจินตนาการของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคล เหตุการณ์ หรือสถานที่จริงแต่อย่างใด
................................................................................
**ประกาศจ้า**สวัสดีค่ะ นักอ่านทุกท่าน ไรท์หายหน้าหายตาไปนานเลย กลับมาคราวนี้ ไรท์จะมาอัปเดตการทำอีบุ๊คนิยายภาคแรก หลังจากไปแอบซุ่มทำอยู่นานมาก (ไรท์เป็นคนขี้อายมากจริงๆ แต่ว่า...) ตอนนี้ก็สมควรแก่เวลาที่จะแจ้งให้ทุกคนทราบแล้วค่ะ เพราะฉะนั้น เลยต้องออกมาแสดงตัวเสียหน่อย ^^
ตอนนี้ผลงานของไรท์มีวางขายใน MEB แล้วนะคะ นักอ่านท่านใดที่สนใจ สามารถหาซื้อผลงานของไรท์เก็บไว้ได้ ผ่าน MEB Market ค่ะ
สามารถกดติดตามข่าวสารและการอัพนิยาย (Official) ได้ที่ Facebook Page: Evan Piaz อีวาน เพียส
มีหน้าปกเต็มๆของอีบุ๊คมาให้ดูกันด้วยค่ะ
อดัม อาร์เมอร์รี่ – หัวหน้านักล่าปีศาจ, คนสวนแห่งโรงเลี้ยงเด็กกำพร้าเซนต์
แมร์รี่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (Adam Armerry)
กษัตริย์นิโคลัส คาสเตอร์ แห่งโรมาเนีย(King Nicholas Caster of Romania)
เจ้าชายเอนธัส คาสเตอร์ – รัชทายาทอันดับหนึ่งแห่งโรมาเนีย (Prince Enthus Caster)
เจ้าชายอาเธอร์ คาสเตอร์ – รัชทายาทอันดับสองแห่งโรมาเนีย (Prince Ather Caster)
แมทธิว วูล์ฟ (Mathew Wolf)
เควิน ดัสมัส – รักษาการตำแหน่งหัวหน้านักล่าปีศาจแห่งวาติกัน (Kevin Dusmus)
กาเบรียล เลออง – มือขวาของเควิน ดัสมัส (Gabriel Leon)
ผลงานอื่นๆ ของ อีวาน เพียส ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ อีวาน เพียส
"นิยายแฟนตาซีที่ไม่ได้มีดีแค่หมาป่ากับแวมไพร์"
(แจ้งลบ)ส่วนตัวเป็นคนที่อ่านนิยายแนวแฟนตาซีมาแล้วหลายเรื่อง การเข้ามาอ่านนิยายเรื่องนี้ บ่อยครั้งที่ถ้อยคำของผู้เขียนพาเราย้อนวัยไปยังสมัยที่ติดอ่านนิทานปรัมปราและเทพนิยายตะวันออก ซึ่งไรท์เตอร์บรรยายและใช้ภาษาได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะสำหรับนักเขียนมือใหม่ที่เริ่มเขียนนิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก จุดเด่นของ ‘The Curse of The Caster and Pollux คำสาปราชวง ... อ่านเพิ่มเติม
ส่วนตัวเป็นคนที่อ่านนิยายแนวแฟนตาซีมาแล้วหลายเรื่อง การเข้ามาอ่านนิยายเรื่องนี้ บ่อยครั้งที่ถ้อยคำของผู้เขียนพาเราย้อนวัยไปยังสมัยที่ติดอ่านนิทานปรัมปราและเทพนิยายตะวันออก ซึ่งไรท์เตอร์บรรยายและใช้ภาษาได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะสำหรับนักเขียนมือใหม่ที่เริ่มเขียนนิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก จุดเด่นของ ‘The Curse of The Caster and Pollux คำสาปราชวงศ์คาสเตอร์ พอลลักซ์’ อาจไม่ใช่การดำเนินเรื่องราวที่หวือหวาฟู่ฟ่า หากแต่เป็นการที่ผู้เขียนซ่อนปมได้อย่างน่าสนใจ วางจิ๊กซอว์ไว้ในแต่ละบท ชวนให้ผู้อ่านเก็บสะสมเพื่อต่อเป็นภาพที่สมบูรณ์ มิหนำซ้ำปริศนาและคำถามที่ไรท์เตอร์ทิ้งไว้ยังเป็นตัวกระตุ้นให้นักอ่านได้สนุกไปกับการคาดเดาและทายคำตอบ ซึ่งก็ทายถูกบ้าง ทายผิดบ้าง ต้องขอชื่นชมคนแต่งนิยายเรื่องนี้ แม้จะเป็นฉากสงครามที่บรรยากาศหนักหน่วงและตึงเครียด หรือฉากที่นางเอกถูกจับเป็นตัวประกันในต่างแดน ผู้เขียนก็มีวิธีสอดแทรกฉากอื่นๆ เช่น มุกตลก บทน่ารักกุ๊กกิ๊กของพระนาง และเหล่าตัวละครจอมแย่งซีนทั้งหลายที่ชอบโผล่มาขโมยหัวใจนักอ่าน สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มสีสันให้เนื้อเรื่องไม่ได้มีแต่ดราม่าเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังกลมกลืนไปกับเนื้อหาในบทหลักได้อย่างเป็นธรรมชาติ นอกเหนือจากนั้น บทโรแมนติก โมเม้นท์หวานๆ ระหว่างพระนาง ไรท์เตอร์ก็สามารถบรรยายได้อย่างกลมกล่อม ภาษาที่ใช้สละสลวย พาให้คนอ่านชุ่มชื่นหัวใจเป็นที่สุด จนนึกอยากหาหมอนสักใบมากอดแก้เขินกันเลยเชียว จะมีติดขัดอยู่บ้างตรงชื่อของตัวละครที่จะเน้นไปที่อักษรตัว A หรือ ‘อ’ เสียส่วนมาก โดยในช่วงแรกที่เริ่มอ่าน อาจจะสร้างความสับสนได้ว่าไรท์เตอร์กำลังกล่าวถึงตัวละครตัวไหน ยกตัวอย่างเช่น เอลิซา กับ เอลิซาเบธ ยามที่ตัวละครพูดคำว่า “เอลิ” ทำให้คนอ่านหลงทางจนต้องย้อนกลับไปดูบริบทด้านบน เนื่องจากไม่มั่นใจว่า ‘เอลิ’ ที่ว่านี้คือ เอลิซา หรือ เอลิซาเบธ กันแน่ ชื่อที่คล้ายคลึงกันยังมีส่วนทำให้จำตัวละครสลับกันอีกด้วย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นจุดด้อยจุดเดียวของนิยายเรื่องนี้ (ถ้าอ่านต่อไปเรื่อยๆ จนเริ่มคุ้นชินแล้ว ก็จะไม่สับสนกับชื่อของตัวละคร) อย่างไรก็ตาม เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของ ‘คำสาปราชวงศ์คาสเตอร์ พอลลักซ์’ คือตัวละครทุกตัวมีบทบาท คาแรกเตอร์ รวมถึงเป้าหมายที่ชัดเจน ตัวละครของผู้เขียนเข้าถึงได้ไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายร้าย หรือฝ่ายดี ผู้อ่านสามารถมองเห็นเหตุผลของการกระทำและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของตัวละครแต่ละตัว ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกขัดแย้งหรือตั้งข้อสงสัยเวลาอ่าน และมีตัวละครจำนวนไม่น้อยที่ทำให้เรารู้สึกผูกพัน จนถึงขั้นหลงรักในบุคลิกของตัวละครตัวนั้นๆ หากว่าใครกำลังมองหานิยายแฟนตาซีที่อ่านง่าย ซ่อนความโรแมนติก และเนื้อหาที่ชวนติดตามแล้วล่ะก็ ‘The Curse of The Caster and Pollux’ นับว่าเป็นตัวเลือกที่ไม่เลวเลย เพียงลองหามุมเงียบสงบสักที่ กับกาแฟหรือชาร้อนสักแก้ว แล้วเดินทางไปพร้อมสาวน้อยเอลิซาเบธในคำสาปราชวงศ์คาสเตอร์พอลลักซ์ เชื่อเถอะว่าผู้อ่านทุกคนจะสามารถอมยิ้มไปกับความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของนางเอก และความรักที่พระเอกมีให้นางเอกได้อย่างแน่นอน อ่านน้อยลง
chubbylittlecat | 26 ก.ย. 61
2
0
"นิยายแฟนตาซีที่ไม่ได้มีดีแค่หมาป่ากับแวมไพร์"
(แจ้งลบ)ส่วนตัวเป็นคนที่อ่านนิยายแนวแฟนตาซีมาแล้วหลายเรื่อง การเข้ามาอ่านนิยายเรื่องนี้ บ่อยครั้งที่ถ้อยคำของผู้เขียนพาเราย้อนวัยไปยังสมัยที่ติดอ่านนิทานปรัมปราและเทพนิยายตะวันออก ซึ่งไรท์เตอร์บรรยายและใช้ภาษาได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะสำหรับนักเขียนมือใหม่ที่เริ่มเขียนนิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก จุดเด่นของ ‘The Curse of The Caster and Pollux คำสาปราชวง ... อ่านเพิ่มเติม
ส่วนตัวเป็นคนที่อ่านนิยายแนวแฟนตาซีมาแล้วหลายเรื่อง การเข้ามาอ่านนิยายเรื่องนี้ บ่อยครั้งที่ถ้อยคำของผู้เขียนพาเราย้อนวัยไปยังสมัยที่ติดอ่านนิทานปรัมปราและเทพนิยายตะวันออก ซึ่งไรท์เตอร์บรรยายและใช้ภาษาได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะสำหรับนักเขียนมือใหม่ที่เริ่มเขียนนิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก จุดเด่นของ ‘The Curse of The Caster and Pollux คำสาปราชวงศ์คาสเตอร์ พอลลักซ์’ อาจไม่ใช่การดำเนินเรื่องราวที่หวือหวาฟู่ฟ่า หากแต่เป็นการที่ผู้เขียนซ่อนปมได้อย่างน่าสนใจ วางจิ๊กซอว์ไว้ในแต่ละบท ชวนให้ผู้อ่านเก็บสะสมเพื่อต่อเป็นภาพที่สมบูรณ์ มิหนำซ้ำปริศนาและคำถามที่ไรท์เตอร์ทิ้งไว้ยังเป็นตัวกระตุ้นให้นักอ่านได้สนุกไปกับการคาดเดาและทายคำตอบ ซึ่งก็ทายถูกบ้าง ทายผิดบ้าง ต้องขอชื่นชมคนแต่งนิยายเรื่องนี้ แม้จะเป็นฉากสงครามที่บรรยากาศหนักหน่วงและตึงเครียด หรือฉากที่นางเอกถูกจับเป็นตัวประกันในต่างแดน ผู้เขียนก็มีวิธีสอดแทรกฉากอื่นๆ เช่น มุกตลก บทน่ารักกุ๊กกิ๊กของพระนาง และเหล่าตัวละครจอมแย่งซีนทั้งหลายที่ชอบโผล่มาขโมยหัวใจนักอ่าน สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มสีสันให้เนื้อเรื่องไม่ได้มีแต่ดราม่าเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังกลมกลืนไปกับเนื้อหาในบทหลักได้อย่างเป็นธรรมชาติ นอกเหนือจากนั้น บทโรแมนติก โมเม้นท์หวานๆ ระหว่างพระนาง ไรท์เตอร์ก็สามารถบรรยายได้อย่างกลมกล่อม ภาษาที่ใช้สละสลวย พาให้คนอ่านชุ่มชื่นหัวใจเป็นที่สุด จนนึกอยากหาหมอนสักใบมากอดแก้เขินกันเลยเชียว จะมีติดขัดอยู่บ้างตรงชื่อของตัวละครที่จะเน้นไปที่อักษรตัว A หรือ ‘อ’ เสียส่วนมาก โดยในช่วงแรกที่เริ่มอ่าน อาจจะสร้างความสับสนได้ว่าไรท์เตอร์กำลังกล่าวถึงตัวละครตัวไหน ยกตัวอย่างเช่น เอลิซา กับ เอลิซาเบธ ยามที่ตัวละครพูดคำว่า “เอลิ” ทำให้คนอ่านหลงทางจนต้องย้อนกลับไปดูบริบทด้านบน เนื่องจากไม่มั่นใจว่า ‘เอลิ’ ที่ว่านี้คือ เอลิซา หรือ เอลิซาเบธ กันแน่ ชื่อที่คล้ายคลึงกันยังมีส่วนทำให้จำตัวละครสลับกันอีกด้วย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นจุดด้อยจุดเดียวของนิยายเรื่องนี้ (ถ้าอ่านต่อไปเรื่อยๆ จนเริ่มคุ้นชินแล้ว ก็จะไม่สับสนกับชื่อของตัวละคร) อย่างไรก็ตาม เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของ ‘คำสาปราชวงศ์คาสเตอร์ พอลลักซ์’ คือตัวละครทุกตัวมีบทบาท คาแรกเตอร์ รวมถึงเป้าหมายที่ชัดเจน ตัวละครของผู้เขียนเข้าถึงได้ไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายร้าย หรือฝ่ายดี ผู้อ่านสามารถมองเห็นเหตุผลของการกระทำและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของตัวละครแต่ละตัว ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกขัดแย้งหรือตั้งข้อสงสัยเวลาอ่าน และมีตัวละครจำนวนไม่น้อยที่ทำให้เรารู้สึกผูกพัน จนถึงขั้นหลงรักในบุคลิกของตัวละครตัวนั้นๆ หากว่าใครกำลังมองหานิยายแฟนตาซีที่อ่านง่าย ซ่อนความโรแมนติก และเนื้อหาที่ชวนติดตามแล้วล่ะก็ ‘The Curse of The Caster and Pollux’ นับว่าเป็นตัวเลือกที่ไม่เลวเลย เพียงลองหามุมเงียบสงบสักที่ กับกาแฟหรือชาร้อนสักแก้ว แล้วเดินทางไปพร้อมสาวน้อยเอลิซาเบธในคำสาปราชวงศ์คาสเตอร์พอลลักซ์ เชื่อเถอะว่าผู้อ่านทุกคนจะสามารถอมยิ้มไปกับความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของนางเอก และความรักที่พระเอกมีให้นางเอกได้อย่างแน่นอน อ่านน้อยลง
chubbylittlecat | 26 ก.ย. 61
2
0
ความคิดเห็น