พระยาพิชัยดาบหัก - พระยาพิชัยดาบหัก นิยาย พระยาพิชัยดาบหัก : Dek-D.com - Writer

    ผู้เข้าชมรวม

    7,780

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    15

    ผู้เข้าชมรวม


    7.78K

    ความคิดเห็น


    11

    คนติดตาม


    3
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  21 มี.ค. 54 / 13:34 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ประวัติพระยาพิชัยดาบหัก

       ทหารเอกคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

        พระยาพิชัยดาบหักนามเดิมชื่อจ้อยเกิดราวปี พ.ศ.2284 ณ บ้านห้วยคา เมืองพิชัยในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จ้อยเป็นเด็กฉลาดกล้าหาญ มีไหวพริบชอบการชกมวยเป็นชีวิตจิตใจ มักมีเรื่องกับเด็กเลี้ยงควายด้วยกันเสมอ บิดาจึงพาไปฝากกับท่านพระครูวัดมหาธาตุ(วัดใหญ่) จ้อยมีพี่น้อง 4 คนป่วยเป็นไข้ทรพิษตายทั้ง 3 คนบิดามารดาเป็นชาวนา เวลาว่างจ้อยมักฝึกฝนหมัดมวยที่ตนเองชอบอยู่สม่ำเสมออยู่ที่วัดจ้อยมักอยู่ช่วยงานและปรนนิบัติพระอาจารย์จนอายุ 14 ปื สมัยนั้นงานวัดกับการชกมวยเป็นของคู่กัน มีงานวัดครั้งใดจ้อยมักไม่พลาดเกาะขอบเวทีมวย จ้อยชอบเชิงมวยบ้านท่าเสามากจนถึงกับ ปฎิญาณกับตัวเองว่า ถ้าโตขึ้นเมื่อไรจะไปหัดมวยกับครูเมฆที่บ้านท่าเสาให้ได้   ที่วัด จ้อยมักถูกรุมรังแกจาก คุณเฉิดและพวกอยู่เสมอ  จ้อยต้องอดทนเนื่องจากคุณเฉิดเป็นลูกของเจ้าเมือง ผู้มีอิทธิพลในเขตนั้น จ้อยตกใจวิ่งหนีออกไปจากการแกล้งของคุณเฉิดและตัดสินใจหนีออกไปเพราะคิดว่าจะต้องโดนลงโทษจากเจ้าเมืองและถึงแก้ตัวไปก็คงไม่มีใครเชื่อ จ้อยตัดเดินทางไปบ้านท่าเสาด้วยตัวเอง แต่ระหว่างทางก็ได้มีโอกาสพบกับครูมวยคนหนึ่งที่บ้านท่าแก่ง จ้อยตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเป็นทองดี เพื่อปิดบังตัวเองและเริ่มเรียนมวยกับครูเที่ยงอยู่จนเชี่ยวชาญแล้วจึงลาจากไป เพื่อไปเรียนต่อที่บ้านท่าเสาตามความตั้งใจเดิมระหว่างการเดินทาง ทองดีได้ดูงิ้วที่ศาลเจ้าบางโพธิ์ซึ่งจ้อยติดใจมาก หลังจากดูชั้นเชิงหกคะเมนตีลังกาในการแสดงงิ้วถึง ๗ วัน ๗ คืนจึงได้ฝึกฝนตัวเองทำตามเรื่อยมาถึง ๖เดือนเศษจึงทำได้คล่องแคล่วทุกประการ เมื่อครูเมฆเห็นความตั้งใจของทองดีกับตกลงใจรับเป็นศิษย์โดยง่าย ในที่สุดทองดีก็ได้เรียนมวยกับครูเมฆดังที่หวัง ทองดีจึงทุ่มเทตั้งใจเรียนอย่างต็มที่ เพียงเวลาไม่นานทองดีก็เจียนจัดวิชามวยไทยทุกประการ นายทองดีฝึกฝนทุกอย่างตามที่ครูเมฆสอน ระหว่างอยู่ที่บ้านครูเมฆทองดีก็ช่วยงานต่างวๆเช่นเคย จากวีรกรรมจับโจรได้ทำให้ทางการชมเชยและมอบอัฐเป็นรางวัล ๕ ตำลึงชาวบ้านท่าเสาล้วนชื่นชม และรักใคร่นายทองดีเป็นอันมาก หลังจากประมวยกับครูนิลได้ไม่นาน ทองดีก็ร่ำเรียนจนสำเร็จจนครูเมฆไม่มีอะไรจะสอนอีก ก็มีภิกษุองค์หนึ่งมาแนะนำให้นายทองดีไปเมืองสวรรคโลกเพื่อร่ำเรียนวิชาดาบ ซึ่งทองดีก็ตัดสินใจตามไปเพียงเวลาไม่นานนักนายทองดีก็ฝึกฝนวิชาดาบจนช่ำชอง หลังจารกนั้นไม่นานทองดีก็ได้มีโอกาสได้ร่ำเรียนมวยจีนและก็สามารถสำเร็จวิชารวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ ความเก่งกาจของนายทองดีเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว จนคนมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก ทองดีอยากสู้กับนักมวยเมืองตากบ้างจึงเข้าร่วมมางานนี้ด้วย ทองดีได้เข้ารับราชการในฐานะทหารคนสนิทของพระยาตากมาโดยตลอด ยามเมื่อว่างงานราชการก็จะมารำมวยรำดาบให้พระยาตากชมหลังจากนั้นพระยาตากก็ให้กับทองดีเป็นหลวงพิชัยอาสาหน้าที่คุมฝึกสอนทหารและเป็นนายกองทหารคนสนิท จนกระทั่งปำ.ศ. ๒๓0๙ ต่อมาพระตากได้รับพระราชสาสน์โปรดเกล้าอวยยศเป็นพระยาวชิรปราการ(เจ้าเมืองกำแพงเพชร) ณ กรุงศรีอยุธยา พระยาตากเดินทางเข้ารับตำแหน่งที่กรุงศรีอยุธยา เหล่าบริวารและนายทองดีอาสาตามป้องกันอันตรายด้วยความจงรักภักดี แต่ในตอนนั้นเอง พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าได้ยกทัพเข้ามาประชิดกรุงศรีอยุธยาหมายหักเอาเมืองให้จงได้จึงทำให้พระยาตากต้องอยู่ช่วยรักษาพระนครไม่อาจเดินทางกลับไปรับตำแหน่งที่เมืองกำแพงเพชรได้ กรุงศรีอยุธยาในตอนนั้นขาดความสามัคคีในราชสำนัก พระเจ้าอยู่หัวทรงละเลยพระราชกิจบ้านเมืองอ่อนแอถึงขีดสุด จึงเป็นเหตุให้พระยาตากเกิดความเอือมระอาและท้อแท้ที่จะรักษาพระนคร และในคืนนั้นเองหลวงพิชัยอาสา(ทองดี)ตีฝ่าเปิดกองทัพพม่าให้กองทัพของพระยาตากหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่ตีฝ่าออกจากกรุงศรีอยุธยาไปได้ก็ไปตั้งหลักที่เมืองระยองเพื่อรวบรวมกำลังทหารสำหรับกอบกู้เอกราช จนมีกำลังมากขึ้นจึงคิดย้ายไปที่จันทบุรีที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า แต่เจ้าเมืองจันทบุรีกลับไม่ต้อนรับทั้งยังกล่าวหาว่าพระยาตากก่อกบฏ พระยาตากจึงต้องบุกเข้าตีเมืองจันทบุรีด้วยกำลังโดยมีหลวงพิชัยอาสาเป็นทัพหน้านำพระยาตากบุกเข้าเมืองได้เป็นผลสำเร็จ ต้อนนี้กำลังพลของพม่าส่วนใหญ่กลับกรุงอังวะไปแล้วเหลือเพียงทหารที่ค่ายโพธิ์สามต้นไว้คอยขนย้ายทรัพย์สินออกจากกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น พระยาตากได้เข้ามาพักอยู่ในกรุงและออกสำรวจตรวจตาความเสียหายของกรุงศรีอยุธยาแต่ภาพที่ได้ทรงพระเนตรเห็นเป็นปราสาทตำหนักราชวังน้อยใหญ่วัดวาอารามบ้านเรือนราษฎรถูกเผาผลาญทำลายเป็นอย่างมากก็ทรงพระสังเวช หลังจากพระองตั้งราชธานีแห่งใหม่พระยาตากก็สถาปนาตนเป็น พระเจ้ากรุงธนบุรี หรือที่รู้จักกันว่า พระเจ้าตากสิน และโปรดให้หลวงพิชัยอาสาเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนารถตำแหน่งราชองค์ในพระองค์ ช่วงนั้นไทยร้างศึกกับพม่า เพราะพม่ารับศึกติดพันอยู่ตอนเหนือกับจีนถึง 3 ปี พระเจ้าตากจึงทรงสิ้นห่วง ดำหริจะรวมแผ่นดินไทยที่แตกแยกให้กลับมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ปี พ.ศ. 2311 เมื่อพระเจ้าตากสิ้นทรงสะสางกิจการบ้านเมืองเข้ารูปเข้ารอยเรียบร้อยแล้ว จึงได้เคลื่อนทัพเรือไปตีพิษณุโลกและ พิมาย หลังจากศึกพิมายได้ปูนบำเหน็จให้เจ้าหมื่นไวยวรนาถ(ทองดี)เป็นพระยาสีหราชเดโชชัย และปีพ.ศ.2312 ยกทัพไปตีนครศรีธรรมราช ปีพ.ศ.2313 พระเจ้าตากสินทรงให้ยกทัพขึ้นไปตีหัวเมืองทางเหนือโดยมีเป้าหมายที่เมืองเชียงใหม่แต่ก็ไม่อาจทำได้สำเร็จ พม่าเริ่มยกทัพเข้ามาตีไทยอีกครั้ง พระเจ้าตากสินจึงให้เหล่าแม่ทัพคนสำคัญไปปกครองเมืองเพื่อรับศึก โดยพระยาสีหราชเดโชชัย(ทองดี)รับตำแหน่งพระยาพิชัยสำเร็จราชการเมืองพิชัย มีจำนวนพลเมือง9,000คนพร้อมเครื่องยศชั้นสูง หลังจากขึ้นครองเมืองแล้วทองดีได้รับมารดามาอยู่ด้วยที่จวน(บิดาเสียชีวิตแล้ว)และเชิญครูมวยทั้งสองคนมาแล้วแต่งตั้งให้เป็นกำนันดูแลลูกบ้านของตนเพื่อตอบแทนพระคุณที่อุปการะมา ปลายปี พ.ศ.2315 พระเจ้าอังวะแต่งทัพเข้ามารุกรานทางเมืองพิชัยแต่ก็ถูกพระยาพิชัยขับไล่ไปได้ ในการสู้ศึกครั้งนี้พระยาพิชัยต่อสู้กับทหารพม่าอย่างดุเดือดจนกระทั่งดาบข้างขวาของท่านหักแต่ท่านก็ยังใช้ดาบที่หักนั้นฆ่าทหารพม่าแตกทัพหนีไม่เป็นท่า ณ วันอังคาร เดือนยี่แรม ๙ ค่ำปีมะเส็งพ.ศ.2316 ความเก่งกาจของพระยาพิชัยรบกับพม่าจนดาบหักครั้งนี้จึงได้รับสมญานามว่า พระยาพิชัยดาบหัก

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×