ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    “ประวัติบุคคลสำคัญ”

    ลำดับตอนที่ #2 : สมัยอยุธยา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 11.06K
      11
      3 พ.ย. 52

      

     

     

     

      

    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

     

    พระราชประวัติ

    ·      สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 2 (เจ้าสามพระยา) กับพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย

    ·      ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของอยุธยา

    ·      พระองค์เป็นเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณบุรีและราชวงศ์พระร่วง

    ·      สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตใน พ.ศ. 2031  ทรงอยู่ในราชสมบัติ 40 ปี นับว่านานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยาทุกพระองค์

     

    พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

     

    1.  การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยา

    ·            เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชย์ พระยายุทธิษเฐียรก็ได้รับแต่งตั้งจากอยุธยาให้ไปปกครองเมืองพิษณุโลก

    ·            .. 1994 พระยายุทธิษเฐียรไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา พระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและได้ปกครองเมืองพิษณุโลกต่อมาจนสิ้นพระชนม์

    ·            ใน พ..2006 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จไปประทับที่พิษณุโลกและถือว่าอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยานับตั้งแต่นั้นมา

     

     

             2. ด้านการปฏิรูปการปกครอง

    ·      สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง โดยทรงรวมอำนาจจากการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลาง  คือ ราชธานี

    ·      แยกฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือน ออกจากกัน คือ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้ารับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ มีผู้ช่วยคือ จตุสดมภ์

    ·      ทรงตรากฎมนเทียรบาลขึ้นเพื่อความมั่งคงของสถาบันกษัตริย์

     

     

    การจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

    ·      หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครองแต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์

    ·      หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์ หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมือง มีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี 

      

     

     

     

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช)

     

    พระราชประวัติ

    ·      สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระเชษฐาธิราช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

    ·      ทรงครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2034 และสวรรคตในปี พ.ศ. 2074 สิริครองราชย์ได้ 38 ปี รวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา

    ·      เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกับที่ปรากฏพระนามว่า " พระพันวษา " ในวรรณคดีพื้นบ้านเรื่องขุนช้างขุนแผน

     

    พระราชกรณียกิจ

        ด้านพระศาสนา

                   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างสถูปเจดีย์ขึ้น 2 องค์ เพื่อบรรจุอัฐิสมเด็จ  พระราชบิดา และพระเชษฐา นอกจากนี้ยังได้ทรงสร้าง พระวิหารหลวงขึ้นในวัดสุทธาวาสนี้ แล้วหล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ด้วย ทองสัมฤทธิ์หุ้มทองคำ ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์

     

           ด้านการทหาร

                          มีการจัดตั้ง กรมสุรัสวดี ขึ้น(คือ สัสดี ในปัจจุบัน) กรมสุรัสวดีมีหน้าทำบัญชีหางว่าว แยกประเภทว่า ขุนนางผู้ใดมีเลกมนสังกัดจำนวนเท่าใด (เลก หมายถึง ไพร่มีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการเป็นทหาร)

          - ทรงจัดให้มีการจัดระเบียบกองทัพและแต่งตำราพิชัยสงคราม ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดทำบัญชีกำลังพล เมื่อปี พ.ศ.2061 เพื่อเกณฑ์พลเมืองเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน  

      

             ด้านการจัดการภายในประเทศ

                             ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองขึ้นเป็นครั้งแรกในคลอกสำโรงกับคลองทัพนางในเมืองพระประแดง เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมและการเดินเรือระหว่างลำแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองบางปะกง

     

              ความสัมพันธ์กับอาณาจักรข้างเคียง     

                          พ.ศ. 2050 พระเมืองแก้วเจ้าเมืองเชียงใหม่หวังจะแสดงอานุภาพด้วยการขยายอาณาเขต จึงยกทัพลงมาตีกรุงสุโขทัย ชาวเมืองรักษาเมืองไว้อย่างเข้มแข็งทัพเมืองเชียงใหม่ต้องยกถอยไป สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รับสั่งให้พระยากลาโหมคุมกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ และตีได้เมืองแพร่

     

              ด้านการต่างประเทศ

                             ชาวโปรตุเกสตีเมืองมะละกาได้ ต่อมาชาวโปรตุเกสรู้ว่าเมืองมะละกาเป็นเมืองขึ้นของไทย เกรงว่าไทยจะยกทัพไปตีเอาเมืองคืน จึงแต่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ชาวโปรตุเกสจึงได้ค้าขายกับไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวโปรตุเกสได้นำอารยธรรมมาเผยแพร่เป็นอันมาก ได้นำวิธีใช้ปืนไฟและวิชาทหารแบบยุโรปเข้ามาเผยแพร่ ได้มีชาวโปรตุเกสเข้ามารับราชการทหารไทย และเป็นกำลังในทางสงครามได้อย่างดี และได้ทำสัญญาทางราชไมตรี และทางการค้าต่อกัน เมื่อปี พ.ศ.2059 นับเป็นสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับต่างประเทศ                      

     

     

     

     

     

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

     

    พระราชประวัติ

                พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ( .. 2098 - 25 เมษายน พ.ศ. 2148) พระนามเดิมว่า พระองค์ดำ โอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชา และ พระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก ทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศวรราชาธิราช จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนามนเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจากสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราชเป็นสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช

     

    พระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาว์กับชีวิตและการศึกษาในหงสาวดี

                       ตลอดระยะเวลาในวัยเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง 9 พรรษา พระเจ้าบุเรงนองนั้นทรงให้องค์ประกันได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอย่างดี พระนเรศวรทรงใช้เวลา 8 ปีเต็มในหงสาวดีศึกษายุทธศาสตร์ของพม่า พระองค์ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาวต่างชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมในการทำศึกได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ ได้แก่ การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีการรบแบบกองโจร พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด เนื่องจากการที่พระองค์มีชีวิตอยู่ในฐานะองค์ประกันทำให้ทรงมีความกดดันสูงจากมังกะยอชวา (พระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง) จึงทรงมีแรงผลักดันที่จะกอบกู้อิสรภาพให้กับบ้านเมืองของพระองค์ เช่น จากการชนไก่ของพระองค์กับมังกะยอชวา เป็นต้น รวมทั้งการเหยียดหยามว่าเป็นเชลย จากพวกพม่าด้วย

     

     

     

    ทรงประกาศอิสรภาพ

            วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรฯเดินทัพมาถึงเมืองแครง ด้วยบุญญาธิการทรงปฏิบัติตนเป็นที่เคารพรักของชาวมอญ จึงมีพรรคพวกคนมอญมาก แม้กระทั่งพระมหาเถรคันฉ่องก็ได้นมัสการท่านอยู่ประจำจนชอบพอคุ้นเคย และเมื่อบังเอิญเกิดความวุ่นวายทางเมืองพม่า พวกมอญที่เกลียดและประสงค์จะเป็นอิสระจากพม่าอยู่แล้วรวมทั้งพระยาเกียรติ พระยารามจึงจำเป็นต้องพึ่งพากองทัพไทยสมเด็จพระนเรศวรฯได้พักทัพตั้งพลับพลาอยู่ใกล้วัดพระมหาเถรคันฉ่อง เมื่อเสด็จไปนมัสการ มหาเถรคันฉ่อง จึงได้ทรงทราบว่าพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงคิดกำจัดพระองค์ จึงรับสั่งให้ประชุมแม่ทัพนายกองรวมทั้งชาวมอญ ทั้งหลายในเมืองแครงด้วย และเข้าใจกันว่าโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่องมานั่งเป็นประธานในพิธีด้วย สมเด็จพระนเรศวรฯทรงหลั่งน้ำจากสุวรรณภิงคารลงเหนือแผ่นดิน ประกาศแก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า  

     

    " ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปกรุงศรีอยุธยาขาดพระราชไมตรีกับกรุงหงสาวดี

    มิได้  เป็นมิตรกันดังแต่ก่อนสืบไป "

     

             ในปีที่ทรงประกาศอิสรภาพ สมเด็จพระนเรศวรฯทรงมีพระชนมายุได้ 29 พรรษาหลังจาก ประกาศอิสรภาพ แล้วจากนั้นจึงยกกองทัพหลวงจากเมืองแครงไปตีเมืองหงสาวดี

      

    สงครามยุทธหัตถี

    ·      ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม

    ·      การสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. 2135 นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระแสงง้าวฟันพระมหา-อุปราชาขาดสะพายแล่ง สิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง

     

    พระราชกรณียกิจ

    พ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ

    พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา

    พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ

    พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา

    พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร

    พ.ศ. 2127-พ.ศ. 2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง 4 ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป

    พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา

    พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี และมังกะยอชะวา สิ้นพระชนม์

    พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม

    พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

    พ.ศ. 2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ เมื่อไปถึงเมืองหางหรือเมืองห้างหลวงทรงพระประชวร               เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ เสด็จสวรรคต ณ ทุ่งแก้ว เมืองห้างหลวง ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง พระชนมายุ 50 พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี

     

    สวรรคต

    พ.ศ. 2137 พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็ให้พระเจ้าแปรมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ก็

    แตกทัพกลับไป พ.ศ. 2142 เสด็จออกไปตีกรุงหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีหนี

    ไปเมืองตองอู กองทัพอยุธยาตามไปถึงเมืองตองอูแต่ขาดเสบียง พ.ศ. 2147

    ยกกองทัพไปกรุงหงสาวดีอีกครั้งถึงเมืองหาง (ในพงศาวดารบางฉบับว่าเมือง

    ห้างหลวง ) อันเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขตในสมัยนั้น เมื่อปลายเดือน 5

    ปีมะเส็ง พ.ศ. 21480ได้เสด็จประทับแรมอยู่ ณ ตำบลทุ่งแก้ว เกิดประชวร

    เป็นหัวระลอกขึ้น (บ้างว่าถูกตัวสัตว์พวกแมลงมีพิษต่อย) ที่พระพักตร์แล้วเลย

    เป็นบาดพิษจนเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง เมื่อวันจันทร์ เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ    

    พ.ศ. 2148 เรื่องวันสวรรคตนี้มีรายละเอียดกล่าวต่างกัน

     

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับวัฒนธรรมในปัจจุบัน

     

    1. ตราประจำจังหวัดของไทยที่มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดหนองบัวลำภู

    2. มีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในหลายแห่งทั่วประเทศ เช่น พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ริมหนองบัวลำภู ในจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นต้น 

    3. มีการนำพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนเรศวรและค่ายทหารต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น ค่ายนเรศวร ที่จังหวัดลพบุรี ค่ายนเรศวรมหาราช ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนทางกรมตำรวจได้นำพระนามของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อค่ายตำรวจตระเวนชายแดนที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีว่า "ค่ายนเรศวร" ด้วยเช่นกัน

    4. ชาวไทยนิยมนำหุ่นรูปไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาวไปบนบานกับพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะเชื่อกันว่าเป็นไก่พันธุ์เดียวกับตัวที่เอาชนะไก่ชนของพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดีได้

    5. มีการนำพระราชประวัติของพระองค์ไปเขียนเป็นหนังสือการ์ตูนอยู่หลายครั้ง เช่น มหากาพย์กู้แผ่นดิน ผลงานของมนตรี คุ้มเรือน เป็นต้น

     

     

     

     

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

     

    พระราชประวัติ

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง และ

    พระนางเจ้าสิริกัลยานีอัครราชเทวีพระราชมารดาเป็น พระราชธิดาในสมเด็จ

    พระเจ้าทรงธรรม เสด็จพระราช-สมภพ เมื่อ วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก

    พ.ศ. 2175

     

     ครองราชย์

    การครองราชย์ราชวงศ์ปราสาททองทรงราชย์ พ.ศ.2199-พ.ศ. 2231 

    ระยะเวลาครองราชย์32 ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 27 ใน

    สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลายรัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา

    รัชกาลถัดมาสมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคต

    พ.ศ. 2231

     

    พระราชกรณียกิจ

    ·      ด้านการทหาร

    ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงปราบปรามเมืองน้อยใหญ่

    ให้เป็นมาสวามิภักดิ์ ทั้งหัวเมืองทางเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ส่วนศึกกับพม่า

    แม้จะมีอยู่ในเวลานี้ แต่ก็ทรงจัดทัพตีพ่ายกลับไปอยู่เนืองๆ กิจการของกองทัพ

    นับว่ารุ่งเรืองและยิ่งใหญ่สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงชำนาญในการศึก คล้อง

    ช้าง และทรงซื้ออาวุธจากต่างชาติสำหรับกิจการของกองทัพด้วย

     

    ·      การต่างประเทศ

    มีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน

    อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักร เป็นจำนวนมาก

    ขณะเดียวกันยังโปรดฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนัก

    ฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุง

    ศรีอยุธยาและสยามมากที่สุด ในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์

     

    ·      วิทยาการสมัยใหม่

    พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และ

    ยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาว

    ยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย

    ·      ด้านวรรณกรรม

    สมเด็จพระนารายณ์นับว่าเป็นทั้งนักรบและกวี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้

    หลายเรื่อง เช่น

        *โคลงพุทธไสยาสน์ป่าโมก

         *โคลงพาลีสอนน้อง

         *โคลงทศรถสอนพระราม
     *
    ราชสวัสดิ์
    *
    ราชาณุวรรต
    *
    ประดิษฐ์พระร่วง
    *
    สมุทรโฆษคำฉันท์ (ตอนกลาง)
    *
    คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นต้น

     

    พระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์

             ในระหว่างปีพ.. 2228- ..2230รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    คณะ-บาทหลวงเจชูอิตชาวฝรั่งเศส ได้มาเผยแพร่ดาราศาสตร์ ในประเทศไทย

    มีสิ่งก่อสร้าง เช่น หอดูดาววัดสันเปาโล เป็นหอดูดาวแห่งแรกในประเทศไทย       

            นอกจากนี้ในวันที่ 30 เมษายน พุทธศักราช 2231 สมเด็จพระนารายณ์

    มหาราชได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่พาดผ่านแม่น้ำกฤษณะใน

    ประเทศอินเดีย พม่า จีน ไซบีเรีย  ไปสิ้นสุดในทวีปอเมริกา สำหรับประเทศ

    ไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงกล้อง

    ทอดพระเนตรจันทรุปราคาเต็มดวงใน คืนวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2228

    ร่วมกับคณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ณ พระตำหนักทะเลชุบศร เมืองลพบุรี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×