ตำนานรักต่างสัญชาติของเจ้าน้อยศุขเกษมเเละมะเมียะ สาวชาวพม่า - ตำนานรักต่างสัญชาติของเจ้าน้อยศุขเกษมเเละมะเมียะ สาวชาวพม่า นิยาย ตำนานรักต่างสัญชาติของเจ้าน้อยศุขเกษมเเละมะเมียะ สาวชาวพม่า : Dek-D.com - Writer

    ตำนานรักต่างสัญชาติของเจ้าน้อยศุขเกษมเเละมะเมียะ สาวชาวพม่า

    เรื่องราวความรักที่ต่างเชื้อชาติ ระหว่างเจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ อันกลายมาเป็นตำนานรักที่จบลงอย่างโศกสลด และได้รับการกล่าวขานมาถึงปัจจุบัน ถูกถ่ายทอดโดยเจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม (อดีตคู่หมั้นของเจ้าน้อยศุขเกษม) แม้ว่ามะเมียะจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับประ

    ผู้เข้าชมรวม

    647

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    647

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  รักดราม่า
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  22 ม.ค. 54 / 11:32 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    เจ้าอุตรการโกศล น้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่ หรือ เจ้าน้อยศุขเกษม ราชโอรสองค์ใหญ่ใน พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ สมรสกับ เจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ พระญาติในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน
    เจ้าน้อยศุขเกษม ถูกอ้างอิงจากบทเพลง มะเมี้ยะ ของ จรัล มโนเพ็ชร ซึ่งกล่าวถึงตำนานรักต้องห้ามระหว่าง เจ้าชายเมืองเหนือ กับ มะเมียะ สาวชาวพม่า แห่ง มะละแหม่ง ที่จบลงด้วยความเศร้า เพราะราชประเพณีความรักจึงไม่อาจสมหวังได้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เจ้าน้อยศุขเกษม

      ความรักของเจ้าน้อยศุขเกษม

      ความรักต่างเชื้อชาติ ระหว่างเจ้าน้อยศุขเกษมกับมะเมียะ กลายเป็นตำนานรักที่จบลงอย่างโศกสลด และได้รับการกล่าวขานมาถึงปัจจุบัน ถูกถ่ายทอดโดยเจ้าหญิงชุม ณ เชียงใหม่ (ชายาของเจ้าน้อยศุขเกษม) แม้ว่ามะเมียะจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ล้านนาโดยตรง แต่สำหรับเจ้าน้อยศุขเกษม ราชบุตรองค์ใหญ่ของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ (พ.ศ. 2452-2482) กับแม่เจ้าจามรีแล้ว มะเมียะเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของเจ้าน้อยฯ ก็ว่าได้
      มะเมียะเป็นแม่ค้าสาวชาวพม่า ได้พบกับเจ้าน้อยศุขเกษมครั้งแรก เมื่ออายุเพียง 16 ปี ขณะนั้นมะเมียะเป็นเพียงแม่ค้าขายบุหรี่ซะเล็กที่อยู่ตลาดใกล้บ้านในเมืองมะละแหม่ง
      วันหนึ่งเมื่อเจ้าน้อยศุขเกษมได้ออกเดินเที่ยวตามห้างร้านในตลาด จึงได้พบกับมะเมียะ ทั้งคู่เกิดถูกใจในกันและกัน จึงได้คบหากันเรื่อยมา และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา ด้วยความสนับสนุนของทางบ้านของมะเมียะ และในวันพระ ทั้งสองจะพากันไปทำบุญตักบาตรและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุตามสถานที่ต่างๆ ในเมืองมะละแหม่งอยู่เสมอ วันหนึ่ง ณ ลานกว้างหน้าพระธาตุใจ้ตะหลั่น ทั้งสองได้กล่าวคำสาบานต่อกันว่าจะรักกันตลอดไป และจะไม่ทอดทิ้งกัน หากผู้ใดทรยศต่อความรักที่มีให้กัน ก็ขอให้ผู้นั้นอายุสั้น
       
      เดินทางกลับเชียงใหม่
      เมื่อถึงกำหนดการเดินทางกลับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเจ้าน้อยฯ เพิ่งจะมีอายุครบ 20 ปี จึงให้มะเมียะปลอมตัวเป็นชายติดตามขบวนเพื่อกลับไปยังเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเพื่อนหนุ่มชาวพม่า โดยไม่รู้เลยว่าเจ้าพ่อและเจ้าแม่ของตนได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวล ธิดาของเจ้าสุริยวงษ์ (คำตัน สิโรรส) ให้เป็นคู่หมั้นของเจ้าน้อยฯ เป็นการภายในตั้งแต่ปีที่เจ้าน้อยฯ เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในเมืองพม่า
      หลังจากที่ต้องแอบซ่อนมะเมียะไว้ในบ้านหลังเล็ก ที่เจ้าพ่อและเจ้าแม่จัดเตรียมไว้ให้เป็นที่พักมาแล้วหลายวัน เจ้าน้อยศุขเกษมได้ใช้เวลาคิดใคร่ครวญและตัดสินใจเล่าความจริงให้ทั้งสองฟัง แม้ว่าจะไม่มีคำใดเอื้อนเอ่ยออกมาในขณะนั้น แต่เจ้าน้อยฯ ก็พอจะทราบได้ว่าทั้งสองไม่ยอมรับมะเมียะเป็นศรีสะใภ้อย่างแน่นอนเนื่องจากปัญหาใหญ่ในขณะนั้น คือเจ้าน้อยเป็นผู้ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะได้รับตำแหน่งเจ้าหลวงองค์ถัดไปจากเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ ซึ่งเป็นพระเจ้าลุง หากเจ้าน้อยฯ เลือกมะเมียะมาเป็นศรีภรรยา ประชาชนย่อมต้องเกิดความอึดอัดใจในการยอมรับมะเมียะผู้เป็นหญิงต่างชาติมาดำรงฐานะศรีภรรยาของเจ้าเมืองอย่างแน่นอน
      ในสถานการณบ้านเมืองขณะนั้นน่าวิตกมาก เนื่องจากมหาอำนาจอังกฤษกำลังแผ่อิทธิพลไปทั่วดินแดนในคาบสมุทรเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มะเมียะซึ่งเป็นคนในบังคับของอังกฤษและกำลังอาศัยอยู่ในคุ้มของอุปราช (ขณะนั้นเจ้าแก้วนวรัฐดำรงตำแหน่งอุปราชเมืองเชียงใหม่) อาจเป็นชนวนของปัญหาทางการเมืองที่ใหญ่โตได้ในภายหลัง ในที่สุดเจ้าพ่อและเจ้าแม่จึงเรียกตัวเจ้าน้อยฯไปพบ และยื่นคำขาดให้เจ้าน้อยส่งตัวมะเมียะกลับเมืองมะละแหม่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมือง ในยามเย็นวันนั้นเอง เจ้าน้อยได้เข้าพิธีเรียกขวัญและรดน้ำมนตที่เจ้าพ่อกับเจ้าแม่จัดขึ้น เพื่อขจัดสิ่งชั่วร้ายที่ท่านทั้งสองเชื่อว่ามะเมียะได้กระทำแก่เจ้าน้อยฯ อันเป็นเหตุให้เจ้าน้อยฯ หลงไหลในตัวนาง หลังจากพิธีรดน้ำมนต์ผ่านพ้นไป ช้างพาหนะและไพร่พลที่จะใช้ในการส่งตัวมะเมียะกลับเมืองมะละแหม่งก็ถูกจัดเตรียมทันทีตามคำสั่งของเจ้าแก้วนวรัฐ
      เมื่อเจ้าน้อยฯ กลับไปถึงที่พักในคืนนั้น มะเมียะได้รับการเกลี้ยกล่อมโดยหญิง-ชาย ชาวพม่าฝ่ายละคน ให้นางกลับไปรอเจ้าน้อยฯ ที่เมืองมะละแหม่ง มิฉะนั้นบ้านเมืองอาจเดือดร้อน นางได้เอ่ยขึ้นด้วยความเสียใจและยินยอมจากไปเพื่อมิให้ผู้ใดได้รับความเดือดร้อน แม้ตัวนางจะจากไกล แต่ความรักอันมั่นคง ยังคงอยู่ดังคำสาบานที่เคยให้ไว้แก่กันและกัน ฝ่ายเจ้าน้อยฯ ยังคงยืนยันในความรักที่มีต่อมะเมียะ และขอให้นางกลับไปรอที่บ้านก่อน หากมีวาสนาจะกลับไปรับนางมาอยู่ด้วยกันที่เชียงใหม่ให้ได้
      มะเมียะเดินทางกลับ
      ในเช้าวันหนึ่งของเดือนเมษายน นับเป็นวันเดินทางกลับเมืองมะละ แหม่งของมะเมียะที่ดูเหมือนจะเป็นการจากลาชั่วนิรันดร์ ณ ประตูหายยาที่เนืองแน่นไปด้วยประชาชนที่ใคร่เห็นโฉมหน้าของมะเมียะ ที่ลือกันว่างามนักงามหนา บรรยากาศเต็มไปด้วยความหดหู่และเศร้าหมอง เมื่อเจ้าน้อยฯ พูดภาษาพม่ากับมะเมียะได้เพียงไม่กี่คำ นางผู้มีใจรักมั่นได้ร่ำไห้ด้วยความอัดอั้นตันใจ ในอ้อมแขนที่ยากจะแยกจากกันได้ เวลานั้นก็ล่วงเลยไปมากแล้ว เจ้าน้อยฯ ได้รับปากกับมะเมียะว่าตนจะยึดมั่นในคำปฏิญาณที่ให้ไว้ต่อหน้าพระพุทธรูปวัดใจ้ตะหลั่นจนกว่าชีวิตจะหาไม่ หากท่านนอกใจมะเมียะโดยสมรสกับหญิงอื่น ขอให้ชีวิตของตนประสบแต่ความทุกข์ทรมานใจ แม้แต่อายุก็จะไม่ยืนยาว เจ้าน้อยฯ ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าภายใน เดือนจะกลับไปหามะเมียะให้จงได้ นางจึงคุกเข่าลงกับพื้น ก้มหน้า สยายผมออกเช็ดเท้าเจ้าน้อยฯ ด้วยความอาลัยหา ก่อนที่เธอจะขึ้นไปบนกูบช้าง
      เมื่อกลับไปถึงเมืองมะละแหม่งแล้ว มะเมียะได้มอบเงินทองจำนวนหนึ่งซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐและเจ้าแม่จามรีมอบให้นางก่อนเดินทางกลับเป็นการปลอบขวัญแก่พ่อแม่และน้อง จากนั้นนางได้แต่เฝ้ารอคอยเจ้าน้อยฯ จนครบกำหนด เดือนที่ท่านได้รับปากไว้ แต่นี่กระไรกลับไร้วี่แววใดๆ มะเมียะจึงตัดสินใจเข้าพึ่งใต้ร่มพุทธจักร ครองตนเป็นแม่ชีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ว่านางยังซื่อสัตย์ ต่อความรักที่มีต่อเจ้าน้อยศุขเกษม
      หลังจากที่มะเมียะทราบข่าวการเข้าพิธีมงคลสมรส ระหว่างร้อยตรีเจ้าอุตรการโกศล (ยศของเจ้าน้อยฯ ในขณะนั้น) กับเจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่ แม่ชีมะเมียะจึงเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่และขอเข้าพบเจ้าน้อยฯ เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อแสดงความยินดีกับชีวิตที่กำลังรุ่งโรจน์ องค์อดีตสวามีผู้เป็นที่รัก ก่อนที่ตนจะตัดสินใจครองตนเป็นแม่ชีไปตลอดชีวิต แต่เจ้าน้อยศุขเกษมผู้ยึดสุราเป็นที่พึ่งดับความกลัดกลุ้มอันเกิดจากความรักอาลัยในตัวมะเมียะ ชีวิตที่ไม่เคยมีความสุขในชีวิตสมรส ท่านไม่สามารถหักห้ามความสงสารที่มีต่อมะเมียะได้ จึงไม่ยอมลงไปพบแม่ชีมะเมียะตามคำขอร้อง เพียงแต่มอบหมายให้เจ้าบุญสูง พี่เลี้ยงคนสนิท นำเงินจำนวน 80 บาท ไปมอบให้กับแม่ชีมะเมียะเพื่อใช้ในการทำบุญ พร้อมกับมอบแหวนทับทิมประจำกายอีกวงหนึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าน้อยฯ ให้กับแม่ชีมะเมียะ
      เจ้าน้อยศุขเกษม ตรอมใจกับเหตการณ์ครั้งนี้มาก และสิ้นชีพิตักษัยในปี พ.ศ. 2453 โดยมีพิธีปลงพระศพ ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2453


      เจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่


      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×