ตัดไม่สิน เด็ดไม่ขาด - ตัดไม่สิน เด็ดไม่ขาด นิยาย ตัดไม่สิน เด็ดไม่ขาด : Dek-D.com - Writer

    ตัดไม่สิน เด็ดไม่ขาด

    การสร้างคำประสมในภาษาไทย

    ผู้เข้าชมรวม

    2,539

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    8

    ผู้เข้าชมรวม


    2.53K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 ก.ค. 46 / 14:30 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คือ มีความหมายในตัวของมันเอง การเปลี่ยนแปลงความหมายขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในประโยค โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปของคำ หากต้องการคำจำนวนมากขึ้น ภาษาไทยก็ได้ใช้วิธีที่หลากหลายในการเพิ่มจำนวนคำให้พอเพียงแก่ความต้องการ เช่น การยืมคำจากภาษาอื่นมาใช้โดยตรง การประสมคำ การซ้อนคำ ฯลฯ

      เมื่อเราพิจารณาการประสมคำของไทยในหลาย ๆ คำ โดยใช้หลักวิชา Morphology เราจะพบว่าการพิจารณาชนิดและประเภทของคำที่ปรากฏอยู่โดยมากนั้น เราควรพิจารณาร่วมไปกับโครงสร้างลึก หรือ  Deep Structure ด้วย

      เกณฑ์ตามหลักไวยากรณ์ไทยของกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งกฎเกณฑ์ของคำประสมและ     คำซ้อนไว้ว่า “คำซ้อน หมายถึง การนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปที่มีความหมายเหมือนหรือขัดแย้งกัน มารวมกัน โดยได้ความหมายคล้ายของเดิม หรือ เพื่อไขความหมายให้อีกคำหนึ่ง” ในขณะที่ “คำประสม หมายถึง การนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน แล้วเกิดความหมายใหม่ โดยอาจยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่”
      หากเราใช้เกณฑ์นี้มาพิจารณาเราก็จะเห็นปัญหาใน “โครงสร้างคำ” ของ “ตัดสิน”

      เมื่อเราพิจารณาความหมายของคำว่า “ตัด” และ “สิน” แล้ว เราจะพบว่าทั้งคำว่า ตัด และ สิน ล้วนแล้วแต่แปลว่า “ทำให้ขาด” ทั้งสิ้น เช่น “…ตามกำหนดบทพระอัยการ ท่านให้เอามันไปตัดตีนสินมือ เผื้อจักไม่กระทำกรรมลามกนั้นต่อไป…” แต่เมื่อนำมารวมกันเข้าเป็น “ตัดสิน” จะหมายถึง “ชี้ไปในทางใดทางหนึ่ง” เช่น “ผู้พิพากษาได้ตัดสินลงโทษนายจันไปแล้ว” หรือ “กรรมการได้ตัดสินผลแพ้ชนะในวันนี้” เห็นได้ว่าคำว่า “ตัดสิน” ไม่ได้มีความหมายที่เกี่ยวข้องหรือมีเค้าของทั้งคำ “ตัด” และ “สิน” แม้แต่น้อย ดังนั้น การที่เราจะสรุปให้คำ “ตัดสิน” เป็นคำซ้อน ก็กลายเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเหมาะสมนัก

      ความหมายของคำว่า “ตัดสิน” ต่างจากโครงสร้างทางความหมายของของคำว่า “เสื้อแสง” “เสื่อสาด” “แปดเปื้อน” “จิตใจ” เพราะคำเหล่านี้ยังมีเค้าความหมายของคำเดิมอยู่ เช่น เสื้อแสง นำมาใช้หมายถึง “เสื้อผ้าอาภรณ์”   แปดเปื้อน หมายถึง “มีมลทิน หรือ สกปรกเลอะเทอะ”  ในขณะที่ “ตัดสิน” ไม่ได้มีเค้าของคำ “ตัด” และ “สิน”

      ดังนั้น การที่เราจะสรุปว่าคำใดเป็นคำประสมหรือคำซ้อนนั้น เราควรจะพิจารณาถึงความหมายที่แท้จริง ของ “คำสำเร็จ” นั้นให้ถูกต้องเสียก่อน เฉกเช่นเดียวกันกับคำ “เด็ดขาด” ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็ดให้ขาดหรือไม่ให้ขาด แต่หมายถึง จริงจัง ไม่โอนอ่อน ไม่ได้มีความหมายอะไรเกี่ยวกับการเด็ดที่จะขาดหรือไม่ขาดเลย แม้แต่น้อย




      สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
      ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×