ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~*การเขียนComicsอย่างง่าย*~

    ลำดับตอนที่ #2 : อุปกรณ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 623
      1
      28 ก.พ. 54




    อุปกรณ์

                ถึงบทก่อนนี้จะได้พูดไปแล้ว แต่แค่บอกไว้คร่าวๆ ให้เตรียมตัวพอหอมปากหอมคอ

                มาในบทนี้เราจะมาเริ่มกันอย่างจริงๆ จังๆ เสียที

               

    คำเตือน :: นักเขียนแต่ละคนมีวิธีการ์เขียนไม่เหมือนกัน จึงรวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ต่างกัน มือใหม่ทั้งหลายควรลองโน่นนี่ให้คล่องก่อนปฏิบัติจริง และในนี้จะขอพูดถึงอุกรณ์ในการวาดแบบกว้างๆ เท่านั้น ถ้ายังมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ก็ลองสมัครเข้า CartoonThaiStudio นะ (ประมาณว่าเรายุ่งกันมากมายจ้า)

     

              ใช้กระดาษแบบไหนดี ?

     

    -          สำหรับผลงานด้วยมือ ขอแนะนำให้ท่านหากระดาษที่ท่านใช้ยางลบ ลบแล้วสะอาดพอดี ไม่มีรอยขุย เปื้อน หรือฉีก ! เวลาลงหมึกเส้นต้องไม่แตก ! เวลาถมดำต้องไม่เลอะ ! (ฟังดูเหมือนจะหายาก แต่ก็แค่ใช้กระดาษจากบริษัทที่ท่านถูกมือมากที่สุดนั่นล่ะ)

    -          สำหรับวาดแล้วแสกนลงเครื่องไปตกแต่ง ใช้กระดาษหนาแค่ 80 แกรมก็น่าจะพอ

    -          ส่วนกระดาษต้นฉบับส่งสำนักพิมพ์ต้องเป็น A4 เนื้อหนา 80 แกรมเป็นต้นไปก็ถือว่าดีแล้ว และต้องไม่เลอะเทอะเลอะเลือน การวาดส่งต้องเว้นกรอบเข้ามา อย่างต่ำ 2 ซม. เพราะส่วนนอกที่เหลือเป็นส่วนที่ตัดตก (ตอนตีพิมพ์จะถูกตัดออก) โดยมาตรฐานก็ต้องเป็นสีขาว แต่ถ้าท่านจะใช้สีอื่นตามความถนัดก็ไม่ว่า เพียงแต่ตอนส่งผลงานใช้ได้มากสุดแค่กระดาษถนอมสายตาเท่านั้นเอง

     

              ประเภทของกระดาษที่ใช้

    -          กระดาษถ่ายเอกสาร หนา 80 แกรมไป ใช้ร่างและตัดเส้น เพราะผิวเรียบเนื้อแน่น ราคาถูก แต่ต้องระวังเส้นแตก กับกระดาษเป็นขุย

    -          กระดาษอาร์ตด้าน เนื้อหนา ผิวลื่น ตัดด้วยปากกาจีเพ็นง่าย แต่จะร่างยาก ทั้งหมึกที่ตัดไว้ยังแห้งช้า เลอะง่าย

    -          กระดาษอาร์ตมัน ผิวเนียนแน่น เส้นตัดสวยมาก แต่แห้งช้ามาก เลอะง่ายยิ่งกว่าอาร์ตด้าน ราคาแพง ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่

    -          กระดาษสำหรับเขียนการ์ตูนโดยเฉพาะ มีทั้งจากญี่ปุ่นและไทยผลิตเอง มีความหนา ลื่น ซึมหมึกได้พอดี แต่แพงและหาซื้อยากมาก

    -          กระดาษวาดเขียนทั่วไป มีตั้งแต่เกรดราคาถูกจนถึงแพงมาก ถ้าเกรดต่ำราคาถูก คุณภาพก็แย่ไปด้วย ไม่ควรใช้ แต่ถ้าเกรดดีเกินไปก็ดูกระเป๋าตังท่านไว้ให้ดีๆ มี 2 ด้าน ใช้ด้านเรียบในการเขียน แต่จะลงสีใช้ด้านหยาบ แนะนำกระดาษ 100 ปอนด์ก็ถือว่าโอเคแล้ว

     

    ปากกาอันไหนเป็นอันไหนใช้งานอย่างไร ?

    สามารถแยกได้ 2 แบบ คือ

    -          จุมหมึก หรือปากกาคอแร้ง, หัวสคูล, หัวกลม, G-pen

    -          มีน้ำหมึกในตัว หรือปากกา pixma

     

    แบบจุ่มหมึก

                จะแยกหัวปากกาออกจากด้าม เวลาใช้ก็เอาหัวเสียบแล้วจุ่มหมึกเขียน ส่วน G-pen ที่เห็นทั่วไป และรู้จักกันพอสมควร เป็นหัวปากกาที่ญี่ปุ่นผลิตขึ้นมารองรับอุตสาหกรรมการ์ตูนโดยเฉพาะ (ก็เหมาะกับเราดี) ดูได้จากตัว G ที่นูนตรงหัวปากกา

                เส้นที่ได้จากปากกาจีเพ็นนี้จะดูแข็งแรง โอนอ่อนดี และเราสามารถควบคุมน้ำหนักมือให้เส้นออกมาหนาหรือเบาได้ตามต้องการ และเส้นบางได้ถึงที่สุดของที่สุดตามแต่ต้องการ เวลาลบเส้นร่าง หมึก็ยังเห็นชัดเจน แต่ยุ่งยากที่การเตรียมหมึก ดูแลรักษายาก และต้องคอยเปลี่ยนหัว เพราะหัวอาจเสียง่ายถ้าไม่ดูแลให้ดี

     

    แบบมีน้ำหมึกในตัว

                มีกันอยู่ 2 แบบ คือ

                Pixma ปากกาที่ใช้หมึกหมดก็ควรทิ้ง เพราะหัวทำจากโฟม สักหลาด หรือสำลีอัดแท่ง จึงไม่ทนไม้ทนมือท่านเกิน 1 ปีแน่นอน แม้ท่านจะหาหมึกมาเตรียมไว้เติมก็ตาม

                อีกแบบเป็นหัวโลหะ หรือหัวเข้ม มีไส้เป็นหลอดพลาสติก เติมโดยซื้อไส้มาเปลี่ยนซะ และหัวปากกาก็มีความทนทานสูง ใช้กันได้นาน

                            เส้นที่ได้จากปากกาปิ้กม่าจะอ่อนกว่า เพราะมีหมึกใช้ได้ทันทีไม่ต้องจุ่มเลยวาดปรื้ดๆ สบายบรื๋อ ดูแลง่าย แต่ต้องคอยย้ำเส้นที่ต้องเน้น แล้วถ้าต้องการเส้นที่ขนาดห่างๆ กัน ก็ต้องเตรียมไว้หลายขนาดหน่อย หาความคมได้ยาก ทั้งเรื่องหัวปากกาพังก่อนหมึกหมด และบางครั้งก็ถูกเก็บไว้นานเกินไป จนหมึกแห้ง จึงใช้การไม่ได้


    แล้วจะมาต่ออีกนะ 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×