ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ยุทธการสะท้านโลก

    ลำดับตอนที่ #10 : Operation Eagle Claw เมื่อพญาอินทรีปีกหักที่อิหร่าน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 545
      1
      19 เม.ย. 57





    เช้าตรู่ของวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1979 นักศึกษาชาวอิหร่านราว 300 - 500 คน ได้บุกฝ่ากองกำลังของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่คุ้มกันอยู่ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเตหะราน เข้าไปจับกุมตัวประกัน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอเมริกันส่งตัว  พระเจ้าชาห์ โมฮัมเมด เรซา ปาห์เลวี (Mohammad Reza Pahlavi : ค.ศ.1919 - 1980) ที่กำลังรักษาโรคมะเร็งอยู่ที่สหรัฐฯ กลับไปดำเนินคดีในอิหร่าน โดยเหตุการณ์ในตอนแรก กลุ่มนักศึกษาได้จับเจ้าหน้าที่อเมริกัน 52 คน เป็นตัวประกัน และยืนยันว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องส่งตัวพระเจ้าชาห์กลับมา แต่สหรัฐฯ ปฏิเสธคำเรียกร้องโดยอ้างว่า พระเจ้าชาห์กำลังรักษาตัวอยู่ นักศึกษาจึงเรียกร้องให้รัฐบาลอิหร่านตัดความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ทันทีและยกเลิกการขายน้ำมันให้สหรัฐฯ และจากแรงบีบของกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มทางศาสนา ทำให้นายกรัฐมนตรี Mehdi Bazargan แห่งอิหร่าน ประกาศลาออกในเวลาต่อมา  อีกไม่กี่วันอิหร่านก็งดส่งน้ำมันให้แก่สหรัฐฯ 
    ทางสหรัฐฯ ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์  จึงตอบโต้ด้วยการให้อายัดทรัพย์สมบัติของอิหร่านทั้งหมดในสหรัฐฯ (ประมาณ 2 แสนล้านบาท) และก็ได้ส่งกองทัพเรือเข้าไปประชิดที่ทะเลอาหรับ


    พระเจ้าชาห์ โมฮัมเมด เรซา ปาห์เลวี (Mohammad Reza Pahlavi : ค.ศ.1919 - 1980)



    ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์


    เหตุการณ์ต่างๆ ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น กลุ่มประชาชนอิหร่านพากันเข้าร่วมประท้วงสหรัฐฯ ตามสถานทูตต่างๆ สหรัฐฯ จึงเริ่มหาพันธมิตรสนับสนุนและหันไปพึ่งศาลโลก ซึ่งทางสหประชาชาติก็ได้พยายามเข้ามาไกล่เกลี่ย โดยยอมตั้งกรรมการสอบสวนพระเจ้าชาห์ ในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสมัยที่พระองค์ทรงครองอำนาจอยู่ในอิหร่าน

    ด้านอิหร่านก็มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งจะสถาปนาอิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลามและเป็นรัฐเทวธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวางกว่าร้อยละ 99.6 ของประชากรทั้งหมด ผลของการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรกของอิหร่าน  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ได้รับการไว้วางใจจากประชาชนให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง และหลังจากการปฏิรูปการปกครองในอิหร่านนี้เองทำให้โอกาสที่อิหร่านจะยอมปล่อยตัวประกันก็สดใสและมีความหวังมากขึ้น

    และเมื่ออิหร่านมีผู้ปกครองโดยชอบธรรมแล้ว จึงทำให้การตัดสินใจ การสั่งการต่างๆ ไม่ได้อยู่ที่กลุ่มนักศึกษาแบบเมื่อก่อน จึงทำให้นายกรัฐมนตรีกับกลุ่มนักศึกษามีความขัดแย้งกันอยู่ตลอด จนเกิดการประท้วงของกลุ่มนักศึกษาขึ้นหลายครั้ง เมื่อเห็นท่าที่อ่อนลงในการเจรจากับสหรัฐฯ แต่ Ayatollah Khomeini ผู้นำการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านก็ยังยืนยันว่า สหรัฐฯ จะต้องส่งพระเจ้าชาห์กลับมายังอิหร่าน สหรัฐฯ จึงสั่งตัดความสัมพันธ์กับประเทศอิหร่านอย่างจริงจัง

    จากนั้นสหรัฐฯ จึงได้เปลี่ยนแปลงท่าทีใหม่ ในเดือนมีนาคมปีต่อมา สหรัฐได้จัดส่งกำลังรบพิเศษชิงตัวประกัน โดยเรียกแผนปฏิบัติการณ์นี้ว่า 
    Operation Eagle Claw( ปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์)   โดยเป็นปฏิบัติการของ  กองกำลังลับของสหรัฐ  เดลต้าฟอร์ช   
    ก่อนหน้านั้นผู้นำ คนที่เป็นภัยต่อสหรัฐถูกลอบสังหารคนแล้วคนเล่า  สื่อมวลชนต่างขุดคุ้ยถึงกองกำลังลับที่ว่านี้ 
    แต่ทางการสหรัฐปฏิเสธมาตลอด 

    เดลต้าฟอร์ช  ไม่เคยมีตัวตน


    ในปี 1970  ภายใต้ความระอุของสงครามเย็น  ทำให้สหรัฐ ก่อตั้งกองกำลังรบพิเศษที่พิเศษกว่าใคร  คือการรวบหัวกะทิจากหน่วยรบพิเศษ เพื่อให้ได้ หัวกะทิที่เก่งที่สุด  ซึ่งสามารถทำการ ปฏิบัติการที่ยากที่สุดภายใต้ภาวะความกดดัน  กองกำลังนี้จะทำทุกอย่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลอบสังหาร  ก่อวินาศกรรม แทรกซึม   ภายใต้คำเดียวเพื่อชาติ

    ปฏิบัติการนี้ อยู่ใต้ความรับผิดชอบของพลเอก  James B. Vaught  ขณะที่  หัวหน้าหน่วยเดลต้าฟอร์ช  คือพันเอก  Charlie Beckwith

    พันเอก  Charlie Beckwith


    แต่ก่อนหน้าที่จะทำการใดๆได้  ทีมช่วยเหลือต้องรู้ความเป็นไปในสถานทูตเสียก่อน  แต่ทว่าในที่สุด  CIA  สามารถควบคุมตัวพ่อครัวที่ทำหน้าที่อยู่ในสถานทูต  ทำให้ ทีมช่วยเหลือรู้สภาพความเป็นไปในสถานทูต แผนการช่วยเหลือจึงถูกวางขึ้น

    ปฏิบัติการเย้ยฟ้าของยิวที่เกิดขึ้นในเอ็นเทปเบ้  ที่ประสบความสำเร็จอย่างดงามเมื่อ ปี 1976นั้น  ทำให้ทีมงานช่วยเหลือตัวประกันได้ไอเดีย และนี่เอง เป็นที่มาของแผน   แผนนี้ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 16 เมษายน 1980   วันที่ 19 และ 23 เมษายน กองกำลังเดลต้าฟอร์ซ  ได้ทดลองฝึกซ้อมที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ผลของการฝึกซ้อมก็เป็นที่น่าพอใจ   ทีมช่วยเหลือตัวประกันจึงตกลงใช้แผนนี้


    แผนที่ถูกวางไว้มีดังนี้
    การปฎิบัติการจะถูกแบ่งเป้นสองช่วง
    คืนแรก   ทะเลทรายหนึ่งจะถูกวางแนวป้องกัน น้ำมันประมาณ 6000แกลลอน  ทั้งหมด ขนส่งโดย C-130 และ EC-130Es จำนวทั้งสิ้น 4ลำ (รหัส สาธารณรัฐ 4-6 )ขณะที่  MC-130E จะขนส่ง กองกำลังเดลต้าฟอร์ซ  และวัสดุอื่นๆ (รหัส  มังกร 1- 3 )  
    เฮลิคอปเตอร์ RH-53D  8ลำ จากฝูงบินที่ 16 (รหัส เคราน้ำเงิน  1-8 ) จะขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส  นิมิตซ์ . เฮลิคอปเตอร์จะเติมน้ำมันกลางอากาศ และ นำDelta Force ทีมที่ 2 มาไว้ที่ทะเลทรายส่วนที่สอง เวลาช่วงเช้า จากนั้น เฮลิคอปเตอร์และกองกำลังภาคพื้นดินจะซ่อนตัวรอเวลาปฏิบัติการจริง 

    คืนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการช่วยเหลือที่เกิดขึ้นจริง โดยตอน  แรกเจ้าหน้าที่ซีไอเอที่แฝงตัวอยู่แล้วภายในประเทศอิหร่านขับรถบรรทุกไปยังทะเลทรายสอง จากนั้นสนธิกำลังกันเข้ามาในกรุงเตหะราน ในขณะที่กองกำลังจู่โจมหลักย้ายไปอยู่ที่กรุงเตหะราน

    กองกำลังอื่น ๆ จะทำการปิดไฟฟ้าในพื้นที่โดยหวังว่าการชะลอตัวของการตอบโต้ใดๆจากกองทัพอิหร่าน นอกจากนี้AC-130 ติดปืน จะบินเหนือ กรุงเตหะรานเพื่อยิงสนับสนุนการใด ๆ ที่จำเป็น   สุดท้ายกองกำลังเรนเจอร์จะเข้าเคลียร์พื้นที่ สนามบินอิหร่านที่หมายตาเอาไว้  เพื่อรอ
    C-141 Starlifters  ที่จะมาถึง   กองกำลังภาคพื้นดินก็จะโจมตีสถานทูตและกำจัดยาม หลังจากนั้นตัวประกันและทหาร จะนัดพบกับเฮลิคอปเตอร์ที่ฝั่งตรงข้ามถนนที่สนามกีฬาShahid Shiroudi  สุดท้ายเฮลิคอปเตอร์จะนำมาให้ทุกคนมาไว้ ฐานทัพอากาศที่  C-141s จะขึ้นบินพาทุกคนกลับไปยังดินแดนที่เป็นมิตร ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การคุ้มกันของ เครื่องบินที่อยู่เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Coral Sea


    ภาพร่างแผนการ



    เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Coral Sea




    C-130 


    EC-130Es

    เฮลิคอปเตอร์ RH-53D ในวันปฏิบัติการจริง




    เฮลิคอปเตอร์ RH-53D แบบชัดๆ



    C-141 Starlifters

    หลัง ปฏิบัติการได้รับไฟเขียว
    C130 ได้ทะยานขึ้นฟ้าจาก Masirah ซึ่งเป็นเกาะใกล้ๆกับโอมานก่อนจะได้รับการเติมน้ำมันกล่างอากาศจาก KC-135 บริเวณชายฝั่งอิหร่าน
    ทีมที่ไปด้วยคือทีม ที่ต้องวางแนวป้องกัน / และทีมที่รับผิดชอบ อุปกรณ์และน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน  ทุกอย่างเป็นไปตามแผน
    22:45 ตาม เวลาท้องถิ่น   ทีมแทรกซึมที่เข้าไปล่วงหน้า  ได้โยนตัวสะท้อนแสงไปยังทะเลทราย 1  ซึ่งจะทำให้นักบินของ MC-130E (รหัสมังกร 1)  มองผ่านแว่นตามองกลางคืน  ว่ามีสิ่งกีดขวางใดๆหรือไม่   มังกร 1บินวนอยู่ 4รอบก่อนจะแน่ใจ  ว่าไม่มีอุปสรรคใดๆ  ก่อนจะร่อนลง  เกิดความเสียหายที่ปีกของดราก้อน 1 เล็กน้อย แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ  




    ***************
    KC-135 




    MC-130E


    ทีมจู่โจมซึ่งประกอบไปด้วย  เดลต้าฟรอซ์ และ เรนเจอร์สนธิกำลังกัน  สร้างสิ่งกีดขวางบนถนน และ วางแนวป้องกันเพื่อเคลียร์เส้นทางให้ตัวประกัน    รถบรรทุก 15คัน ซึ่งเป็นคนท้องถิ่นที่ถูกจ้างโดย CIA  มาถึงตามเวลาที่นัดหมาย     แนวป้องกันถูกวางไว้ทางทิศเหนือ และวางจุดชี้เป้า เพื่อให้ เฮลิคอปเตอร์ลงจอด ก่อนจะเคลียร์พื้นที่เหลือเพื่อให้เครื่องบินที่เหลือได้ร่อนลงมา  จากนั้นก็เป็นคิวของ MC-130s    

    เวลา 23:15   ลานจอด  EC-130s   และ  RH-53Ds  แปดลำก็เสร็จสิ้น

    ทุกอย่างดูเหมือนจะผ่านไปด้วยดี  แต่ทว่า   ในขณะที่ RH-53Ds  ลำที่ 6 (รหัสเครา น้ำเงิน 6) กำลังเดินทางมา  นักบินก็ได้รับสัญญาณจากตัวเครื่องว่าเกิดใบพัดเกิดแตกออก  ความเสียหายที่ใบพัดจึงทำให้ต้องร่อนลงจอดในทะเลทราย ก่อนที่ผู้โดยสารที่อยู่ในเครื่องจะถูกรับตัวไปโดย RH-53Ds  ลำที่ 8 (รหัสเครา น้ำเงิน 8)   มันเป็นลางไม่ดีเลย    แต่ทว่า ....ปัญหาที่หนักหน่วงกว่านั้นก็เริ่มต้นขึ้น  เมื่อ RH-53Ds ลำที่ 5 ที่บินนำหน้า  เจอเข้ากับพายุทรายจังๆ ระบบนำร่องเสียหายอย่างหนัก  ทำให้จำเป็นต้องบินกลับไปที่เรือบรรทุกเครื่องบิน เวลาทีนัดหมาย ล่าช้าไปถึง 50-90 นาที 

    ในเวลาเดียวกัน ที่ ทะเลทรายหนึ่ง  
    ไม่นานหลังจากนั้นทีมแรก วางแนวป้องกัน  และออกลาดตระเวณ  ก็พบกับคนขับรถบรรทุกกำลังขโมยน้ำมัน ที่โดนพายุทรายพัดมาใกล้ 
    คนขับรถบรรทุกทันทีที่รู้ว่าถูกจับได้ เกิดกลัวความผิด จึงพยามขับรถบรรทุกหนีทันที    ทำให้เดลต้าฟรออช์ ที่วางแนวป้องกัน ต้องใช้จรวดประทับบ่ายิงใส่ทันที   ผู้โดยสารของรถบรรทุก ถูกฆ่าตาย แต่คนขับ หนีไปกับรถกระบะที่มาพร้อมกันได้    แต่ไฟที่เกิดจากการที่น้ำมันลุกไหม้ ทำให้บริเวณรอบๆส่องสว่างไปหลายไมล์ในขณะเดียวกัน รถบัสพลเรือนที่มีผู้โดยสารและคนขับจำนวน 43คน ก็ผ่านมาพอดี   โดยแล่นมาบนถนน  ซึ่งขณะนี้ทำหน้าที่เป็นรันเวย์สำหรับเครื่องบิน  รถบัสคันนั้นทำให้ถูกบังคับให้หยุดผู้โดยสารถูกกักตัวไว้บนC 130 ลำหนึ่ง (รหัสสาธารณรัฐ 3 )



    ภาพร่างขณะที่  คนขับรถบรรทุกท้องถิ่นพยามขโมยน้ำมัน  จึงโดน เดลต้าฟรอซ์ ที่วางแนวป้องกันยิง  และเส้นทางที่รถบัสดวงกุดแล่นผ่านมา


    เส้นทางของทีม 1

    แผนร่างของทะเลทรายหนึ่ง

    ถึงเพียงเฮลิคอปเตอร์5ลำ ที่ไว้ใช้ขนส่งคนและอุปกรณ์เพื่อไปยัง ทะเลทรายสองซึ่งถือว่าเข้าข่าย  เกณฑ์ยกเลิกภารกิจ เฮลิคอปเตอร์ของผู้บัญชาการ Seiffert( หัวหน้าฝูงบินเฮลิคอปเตอร์) ปฏิเสธที่จะใช้ เฮลิคอปเตอร์ของเขา ไปปฏิบัติภารกิจในขณะที่   ฝั่งผู้บัญชาการเดต้า ฟอรซ์ พันเอกชาร์ลส์ Beckwith ไม่เห็นด้วยที่จะลดขนาดทีมกู้ภัยของเขา   ในขณะที่แผนสำรองในกรณีที่สูญเสียเฮลิคอปเตอร์ ก็ไม่มี  - นอกจากนี้ที่แนวหลังประเมิณว่าอาจจะสูญเสีย  เฮลิคอปเตอร์เพิ่มเติมอีกหลังโดนพายุทราย     ที่แนวหลัง  พลเอก James  Vaught ผบ.ของภารกิจ Eagle Claw เห็นด้วยที่ ภารกิจควรจะยกเลิก ข้อเสนอแนะได้รับการส่งต่อไปโดยวิทยุดาวเทียมถึงประธานาธิบดี 

    หลังจากอยู่บนพื้นดินสองชั่วโมงครึ่ง  ภารกิจก็ถูกยกเลิก

    ซ้ายไปขวา  พลเอก  James  Vaught ผบ.ของภารกิจ Eagle Claw   และ ผู้บัญชาการเดต้า ฟอรซ์ พันเอกชาร์ลส์ เบ็ควิช

    1.00 ตามเวลาท้องถิ่น  ภารกิจถูกยกเลิก  เนื่องจาก น้ำมันที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอ จึงต้องวางแผนเฉพาะหน้ากันใหม่
    จากการคำนวณอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง  แสดงให้เห็นว่า ถ้าถ่ายน้ำมันออกไปราว 1000แกลลอน EC-130s จะบินได้อยู่ราวๆ 90 นาที  ทำให้ทีมบัญชาการ  ตัดสินใจให้ ถ่ายน้ำมันจาก EC-130s  ไปยังเฮลิคปเตอร์ทั้ง 6ลำ  ที่กำลังจะมาถึง   แต่ทว่า  ในระหว่างที่ทำการย้ายเครื่องเพื่อถ่ายน้ำมัน ก็เกิดอุบัติเหตุชนกันขึ้น ในขณะที่ เฮลิคอปเตอร์  RH-53  กำลังเคลื่อนย้าย  ทรายได้เข้าไปในโรเตอร์  ทำให้เครื่องเสียสมดุล  และเข้าไปชนตรงโคนปีก  ของ   EC-130s  เกิดไฟไหม้ลุกท่วม  และเกิดการระเบิด  ทำให้มีคนเสียชีวิตทันที 8 นาย   (นักบินของ เฮลิคอปเตอร์และนักบินของ EC-130s  ถูกไฟลวก  แต่รอด)   EC-130s   หนึ่งลำ  และ RH-53  5 ลำ ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง  (กองทัพเรืออิหร่าน ยึดไปใช้ )   EC-130E (รหัสสาธารณรัฐ 5) ซึ่งรอดกลับมา  ขณะนี้อยู่ในการแสดงที่พิพิธภัณฑ์การบินแคโรไลนา .  

    ภาพเอลิคอปเตอร์  และเครื่องบินที่ถูกทำลาย








    ภาพแผนผัง ในตอนเคลื่อนย้าย  เฮลิคอปเตอร์ และ จุดที่เกิดอุบัติเหตุ




    เวลา 1.00 น  ทำเนียบขาว  แถลงข่าวความล้มเหลวในการช่วยเหลือตัวประกัน    อิหร่าน พบ  ศพชาวอเมริกัน 8 นาย  และ43  พลเรือนที่ถูกสอบสวน  ก็ได้เป็นพยานใน ภารกิจครั้งนี้  
    ภายหลังจากความล้มเหลวในการประสานงานครั้งนี้    


    อเมริการได้จัดตั้ง ศุนย์บัญชาการรบพิเศษขึ้น (USSOCOM ) เปิดใช้งานในวันที่ 16 เมษายน 1987 และเครื่อง  H-47, H-53, H-60 V-22  ก็ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่โดยอาศัยความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นประสบการณ์

    อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ทำให้คาร์เตอร์ต้องแพ้การเลือกตั้งปลายปี ค.ศ.1980 หลังจากเหตุการณ์นี้ Khomeini ก็ขู่จะฆ่าตัวประกันที่เหลือ ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลจะพยายามห้ามปรามก็ตาม  สหรัฐพยามช่วยเหลือตัวประกันอีกครั้งภายปฏิบัติการ  ที่ชื่อว่า  ฮันนี่แบดเจอร์  แต่ทว่าไม่ทันได้ลงมือ  

    พระเจ้าชาร์ก็สิ้น พระชนม์ เสียก่อนทำให้ภารกิจถูกระงับเอาไว้ก่อน  ใน วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ.1980 พระเจ้าชาห์ แห่งอิหร่านก็ได้สิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็งในตับและตกเลือด  โฆษกของรัฐบาลอิหร่าน ได้ประกาศว่า หตุการณ์ดังกล่าวจะไม่ทำให้สถานการณ์ระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านเปลี่ยนแปลงไป และรัฐสภาจะทำหน้าที่พิจารณาคดีของตัวประกันที่ถูกควบคุมอยู่เอง


    ซึ่งสหรัฐฯ ก็ได้แสดงความอ่อนข้อโดยยอมร่วมมือตั้งคณะกรรมการสอบสวนความสัมพันธ์ในอดีตของสหรัฐฯ กับพระเจ้าชาห์ ต่อมาอิหร่านก็ได้ร่างเงื่อนไขออกมา 4 ข้อ ในการแลกกับการปล่อยตัวประกันทั้ง 52 คน

    นื่องจากสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาแทรกแซงกิจการภายในอิหร่านทั้งในด้านการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ ดังนั้น ต่อไปสหรัฐฯ ต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอิหร่านอีกต่อไป

    ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร ยกเลิกการอายัดทรัพย์สินอิหร่านทั้งภายในและภายนอกประเทศสหรัฐฯ การคืนทรัพย์สินนั้นควรคืนให้แก่รัฐบาลอิหร่านเพื่อจะได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในด้านต่างๆ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้


    โดยคำประกาศของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ.1979 นั้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องออกคำสั่งใหม่มายกเลิกคำสั่งอายัดทรัพย์สินอิหร่าน และให้คำสั่งอายัดเป็นโมฆะ การส่งมอบทรัพย์สินทั้งหลายจะต้องได้รับการค้ำประกันความปลอดภัยจากสหรัฐฯ ด้วย ทั้งหน่วยราชการและเอกชนสหรัฐฯ จะต้องไม่มีการเรียกร้องใดๆ เอากับทรัพย์สินทั้งหมด


    การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการเงิน ที่กระทำต่อสาธารณะรัฐอิสลามอิหร่านจะต้องถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ โดยคำประกาศของศาลสหรัฐฯ และศาลสหรัฐฯ ต้องห้ามการเรียกร้องใดๆ จากอิหร่าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องของเอกชนหรือรัฐบาลในกรณีที่มีการเรียกร้องฟ้องร้องเอากับอิหร่านหรือประชาชนชาวอิหร่านสหรัฐฯ ต้องรับภาระเป็นผู้ชดใช้เอง โดยเฉพาะเกี่ยวกับการบุกยึดสถานทูตอเมริกัน และจับตัวประกันของชาวอเมริกันในกรุงเตหะราน

    ทรัพย์สมบัติของอดีตชาห์แห่งอิหร่าน จะต้องส่งคืนให้อิหร่าน และรัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องประกาศยอมรับว่าทรัพย์สินของชาห์และพระราชวงศ์ที่เอาไปไว้สหรัฐฯ นั้น เป็นของรัฐบาลอิหร่านโดยชอบธรรม ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะต้องประกาศเรื่องนี้พร้อมกับดำเนินการทางกฎหมาย และทางการบริหารที่จำเป็นเพื่อโอนทรัพย์เหล่านั้นคืนไปยังอิหร่าน

    แต่ผลการเจรจาของทั้งสองประเทศ ก็ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายก็ยังทำการเจรจาต่อไปโดยใช้ทูตของแอลจีเรียเป็นตัวกลางในการเจรจา และในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ.1980 รัฐสภาของอิหร่านก็ได้แถลงว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ยอมรับเงื่อนไขแล้วแต่ยังไม่เป็นทางการ โดยยังต้องตกลงในเงื่อนไขเกี่ยวกับหนี้สินที่อิหร่านกู้มาจากสหรัฐฯ ว่าจะใช้คืนอย่างไร แต่จากนั้นในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ.1981 ทุกฝ่ายก็ตกลงกันได้ ตัวประกันทั้งหมดจึงได้รับการยอมรับการปล่อยตัว หลังจากโดนคุมขังทั้งสิ้น 444 วัน

    สุสานของ หน่วยช่วยเหลือตัวประกัน 


    ผู้ที่เสียชีวิต



    END  


    เครดิต 


    http://www.airpower.maxwell.af.mil/apjinternational/apj-s/2006/3tri06/kampseng.html
    http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=59527
    http://en.wikipedia.org/wiki/Operation_Eagle_Claw
    http://en.wikipedia.org/wiki/Iran_hostage_crisis
    http://mentalfloss.com/article/30528/operation-eagle-claw-disastrous-rescue-attempt-during-iranian-hostage-crisis

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×