ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #17 : เอ็ดวาร์ด เจนเนอร์ [ผู้คิดค้นวิธีรักษาไข้ทรพิษ (โรคฝีดาษ)]

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 924
      2
      11 ต.ค. 52



              

    เอ็ดวาร์ด   เจนเนอร์   มีผลงานคล้ายคลึงกับหลุยส์    ปาสเตอร์    คือ   คิดค้นทางสกัดกั้นโรคระบาดร้ายแรงได้  เขาเป็นคนอังกฤษ   เกิดเมื่อวันที่  17 พฤษภาคม  ..1740 (พ..2283) ที่เมืองเบิร์กคลีย์     เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นสามัญแล้วก็เข้าศึกษาวิชาการแพทย์ต่อที่โรงพยาบาลเซนต์ยอร์ช   กรุงลอนดอน   เมื่อเรียนจบแล้วแทนที่จะประกอบอาชีพอยู่ในเมืองหลวง   เขากลับไปกำเนิดอาชีพโดยสงบที่บ้านเกิดที่เมืองเบิร์กคลีย์  ทั้งนี้เพราะเขาไม่ชอบควาอึกทึกคึกโครม   และความวุ่นวายของเมืองหลวง

     

    ก่อนหน้าที่นายแพทย์เจนเนอร์จะค้นพบทางสกัดกั้นโรคระบาด   คือ  ไข้ทรพิษ  หรือฝีดาษ   โรคนี้ได้ระบาดคร่าชีวิตชาวอังกฤษเสียมาต่อมาก   แต่ถ้าใครโชคดีไม่ถึงตาย  ก็พิการตาบอดหรือเสียสติ   ที่เบาหน่อยก็เป็นแผลเป็นเต็มหน้า

     

    อันที่จริงก็มีคนรู้เรื่องโรคร้ายนี้อยู่บ้าง   เช่น   คนที่ป่วยด้วยโรคนี้เมื่อหายแล้วจะไม่เป็นอีก   แล้วก็มีผู้เอาเชื้อจากแผลผู้ป่วยไปใส่ให้คนดี  อย่างเช่นมีหญิงชาวอังกฤษผู้หนึ่ง  ชื่อ  แมรี่  เวิร์ตลีย์   วอนตากิว   ซึ่งไปได้รับความรู้เรื่องนี้มาจากกรุงคอนสแตนติโนเปิล   ตรุกี  นำมาเผยแพร่ที่อังกฤษ   ผลปรากฏว่าแทนที่จะคุ้มกันไดกลับเจ็บป่วยล้มตายกันหมด

     

    นายแพทย์เจนเนอร์  ครุ่นคิดเรื่องนี้อย่างหนัก   ยิ่งได้พบเด็กที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้แล้ว  เขายิ่งใช้ความพยายามศึกษาค้นคว้าหาทางป้องกันโรคร้ายนี้ให้ได้   และจากกาสังเกตของเขา   เขาได้พบว่าภายในหมู่บ้านที่เกิดไข้ทรพิษระบาดทั้งคนทั้งวัว    มีคนอยู่จำพวกหนึ่งที่ไม่เจ็บป่วย   คือ หญิงรีดนมวัว  เขาจึงมุ่งหน้าหาสาเหตุที่ทำให้พวกหญิงรีดนมวัวไม่ป่วย   ในที่สุดเขาก็ได้พบความจริงว่า  เพราะหญิงพวกนี้ได้รับเชื้อจากวัวที่ป่วยด้วยโรคนี้ทีละเล็กน้อย  ซึ่งไม่ทำอันตรายแก่ชีวิตแต่กลับเกิดภูมิคุ้มกันหรือต่อต้านโรคได้   เขาจึงเริ่มทำการทดลองจนแน่ใจว่าใช้ได้ผล   จึงป่าวประกาศให้ชาวบ้านรู้โดยทั่วกันในปี  ..1798 (พ..2341)

     

    เมื่อเขาประกาศปาวๆออกไป  แทนที่จะมีคนเชื่อถือกลับหัวเราะเยาะเขา   แต่นายแพทย์เจนเนอร์ก็ไม่ลดละความพยายาม   เขาโฆษณาชักชวนชาวบ้านหันมาปลูกฝี   จนกระทั่งมีคนเลื่อมใสยอมให้เขาปลูกฝีทีละสองคน   และปรากฏวาผลน่ายินดี   คนที่เคยหัวเราะเยาะเขาก็ยอมพาลูกหลานมารับการปลูกฝีจากเขา   พรรคพวกที่เป็นหมอก็มาชักชวนให้เขาไปทำงานในกรุงลอนดอน  แต่นายแพทย์เจนเนอร์กลับปฏิเสธ   เพราะเขาพอใจอยู่กับบ้านนอก อันสงบเสียแล้ว

     

    ความสำเร็จของนายแพทย์เจนเนอร์  ระบือไปทั่วโลก   และทางการแพทย์นานาประเทศก็ใช้วิธีป้องกันโรคระบาดนี้ด้วยวิธีการของเขา  รัฐบาลอังกฤษถึงกับมอบทุนให้เขาดำเนินการทดลองวิชาการแพทย์   บางประเทศ  เช่น  อินเดียก็รวบรวมเงินตอบแทนเกียรติคุณให้แก่เขาถึง  5,000  ปอนด์   เขาได้เขียนตำราเกี่ยวกับการค้นคว้าออกเผยแพร่  นอกจากนี้เขาศึกษาค้นคว้าชีวิตของสัตว์ต่างๆแสดงว่าเขาเป็นนักธรรมชาติวิทยาอีกโสตหนึ่งด้วย

     

    เขาเคยนั่งดูนกบินด้วยความอัศจรรย์ใจ    แล้วก็เกิดความคิดเหมือนอย่างนกบ้าง  ในไม่ช้าเขาก็ทำให้ชาวเมืองตื่นเต้น   คือ   เขสร้างลูกบอลลูนอัดก๊าซให้ลอยได้   สมัยที่กัปตันคุกผู้ค้นพบทวีปออสเตรเลีย   ได้ชักชวนเขาไปสำรวจสัตว์และทะเลทางใต้   แต่เขาไม่ได้ไปเพราะรักชีวิตที่สงบชอบอยู่ในที่เงียบๆตามชนบท   แม้จะมีชื่อเสียงไปทั่วโลกแล้ว  เขาก็ยังดำรงชีวิตแบบเก่า

     

    เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  24      มกราคม   ..1823 (พ..2366)  ที่บ้านเกิดของตนเองคือ  เมืองเบิร์กคลีย์  รวมอายุ  82   ปี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×