ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #18 : ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน [นักธรรมชาติวิทยาผู้ยิ่งใหญ่]

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 698
      2
      11 ต.ค. 52



              

    เขาเป็นนักธรรมชาติวิทยา  ชอบยิงนกตกปลามาตั้งแต่สมัยเด็กๆ  ไม่ชอบเรียนหนังสือ   แต่ชอบสังเกตธรรมชาติไม่ว่าสัตว์หรือพืชที่อยู่รอบๆตัวเขา   เมื่อ  เติบโต  เขาก็กลายเป็นนักธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่จริงๆ  แล้วก็ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากพวกหัวเก่าหรือพวกที่เคร่งศาสนา  เช่นเดียวกับนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของอิตาลี  แต่เขาก็สามารถเอาชนะคนพวกนี้ได้    เขาคือ  ชาลส์   โรเบิร์ต   ดาร์วิน

     

    The   Origin  of   Species  by  means  of  Natural  Selection  เป็นหนังสือเล่มหนึ่งของดาร์วิน  ที่อธิบายถึงวิวัฒนาการของพืชและสัตว์   เมื่อพิมพ์ออกจำหน่ายจ่ายแจก   ปรากฏวาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก   เพราะ  ผู้คงแก่เรียน   ที่ไม่เชื่อทฤษฏีของเขาก็โจมตีเขารุนแรงแต่หนังสือก็ขายเกลี้ยงตลาด

     

    เทือกเถาเหล่ากอของดาร์วินเป็นผู้ดีเก่า    ปู่ของเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์   นักกวีและนักปรัชญา   พ่อของเขา   คือ  โรเบิร์ต   วาริง   ดาร์วิน    ก็เป็นนายแพทย์ผู้มีชื่อเสียง   ดังนั้นเขาจึงถูกเคี่ยวเข็ญให้เรียนหนังสือ   เพื่อจะได้เป็นให้เป็นโต      สร้างชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูลในภายภาคหน้า   ดาร์วินก็จำใจเรียน   เรียนทั้งๆที่เบื่อเหมือนยาหม้อ   แล้วกลับไปสนใจนกหนูแมลง   มีพี่ชาย   ชื่อ  อิแรสมัส  เป็นเพื่อนคู่หู

     

    วันเกิดของเขาคือ  12  กุมภาพันธ์  ..1809 (พ..2352) ที่เมืองชรูสเบอรี่  เมือโตจนเรียนหนังสือได้แล้ว บิดาก็ส่งเข้าโรงเรียนในเมืองนั้น   แต่เมื่อลูกชายไม่เอาถ่าน  จึงต้องย้ายไปอยู่ที่เอดินบะระ    ศึกษาวิชาการแพทย์    แต่ดาร์วินก็ไม่ชอบอีก   ยิ่งเห็นเลือดในห้องผ่าตัดตอนอาจารย์สอนก็พาลจะเป็นลม   ยิ่งตอนฟังปาฐกถาด้วยแล้ว  ถ้าเขาไม่นั่งหลับก็ตาเหม่อลอยไปมองนก   มองผีเสื้อ หรือแมลงเล็กๆภายนอก  เคราะห์ดีที่โรงเรียนนี้สอนวิชาที่ธรรมชาติวิทยาด้วย  เขาจึงไม่เสียเวลาเรียนเปล่า  ไม่เก่งทางแพทย์ก็เก่งทางธรรมชาติวิทยา

     

    บิดาก็ยังไม่ละความพยายาม   ที่จะส่งเสริมการศึกษาของบุตรชาย  เมื่อไม่ชอบการแพทย์ก็ให้ไปเรียนทางศาสนาที่เคมบริดจ์   คราวนี้เขาเรียนจนได้รับปริญญาแต่ไมได้เกียรตินิยม  เพราะเขาไปนิยมขี้ม้าล่าสัตว์ยิงนกตกปลา   แล้วก็สะสมแมลงต่างๆ  และเขียนเรื่องราวของมันไว้พะเรอเกวียน

     

    คนเราเมื่อรักทางไหนก็มักจะดื้อรั้นไปทางนั้นจนได้ดี   ดาร์วินยังคงชอบในสิ่งที่เขาชอบ   เขาได้สมัครทำงานอยู่กับคณะสำรวจท้องถิ่นรัฐบาล  ใช้เรือของราชนาวีสำรวจชื่อบีเกิ้ล (Begle) ออกเดินทางเมื่อปลาย ค..1831  กำหนดออกสำรวจ  5  ปี

     

    ตลอดระยะเวลาที่เดินทาง  ดาร์วินเมาคลื่น   แต่เขาก็ไม่ยอมนอนซม    พยายามจะเอาชนะมัน และทำงานทุกอย่างไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค  เขาเก็บและสะสมสิ่งต่างๆทั้งในน้ำและบนบก   เช่น  พันธุ์ไม้ต่างๆ  หินแปลกๆ    แมลงหลายชนิด  เรือมุ่งหน้าไปทางใต้สู่แอฟริกา แล้วจึงบ่ายหน้าไปทางตะวันตกแถบทวีปอเมริกาใต้   จากนั้นก็ข้ามมหาสมุทรอินเดีย  และแหลมกู๊ดโฮปกลับสู่ประเทศอังกฤษ    ประสบการณ์ทางด้านธรรมชาติวิทยาเข้าไปอยู่ในพุงของดาร์วินมากมายก่ายกอง   เมื่อเขากลับบ้านก็นั่งเขียนตำราได้หลายเล่ม  เช่น

                    -The Descent  of  man.

                    -The   Origin  of  Species.

                    -The   Power  of  Movement  in  Plants.

                    -Different   Forms  of  Flowers  in  plans  of  the   Species.

                    -Fertilization   of   orchids.

                    -Fertilization   of  the  Emotions  in  Man  and  Animal.

                    -The  Origin   of   species  by  Means   of  natural  Selection.

                    -Voyage  of  the  Beagle.

     

    ดาร์วินได้ทุ่มเทศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาอย่างแท้จริง   เขาไม่เพียงแต่ศึกษาจากของจริง    เขายังค้นคว้าตำราจากนักธรรมชาติวิทยาคนอื่นๆ มาอ่าน และเปรียบเทียบกับความคิดอ่านของเขา  ทำให้เขาประสบความสำเร็จในเรื่องสัตว์และพืชสามารถปรับปรุงตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้  หมายความว่า  กาลเวลาและสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติเปลี่ยนไป   สัตว์และพืชก็สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะของมันให้เข้ากันธรรมชาติได้  ยกตัวอย่างเช่น  วาฬเดิมเป็นสัตว์บก  เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม  แต่เมื่อธรรมชาติเปลี่ยนแปลงบังคับให้มันลงไปอยู่ในน้ำ  มันเปลี่ยนแปลงรูปร่างและปรับตัวให้เป็นสัตว์น้ำได้   เมื่อเขาแถลงเรื่องนี้ออกไป  พวกที่ยังเชื่อถือหลักการเก่าๆ ก็คัดค้านเขาอย่างรุนแรง

     

    “The  Descent   of  Man” เป็นหนังสือที่เขียนถึงเรื่องมานุษวิทยา  เมื่อปี  ..1871 (พ..2424) พวกหัวเก่าหรือพวกที่เคร่งศาสนาก็รวมหัวกันโจมตีเขาหั่นแหลก   กล่าวหาว่าเขาบังอาจขัดแย้กับบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า   แต่ดาร์วินกลับเฉยเมย  เพราะเขามีคนสนับสนุนในความคิดก้าวหน้าของเขาอยู่แล้ว  อย่างน้อยก็มีนักธรรมชาติวิทยา  ชื่อ  วอลเลซ  ซึ่งมีความคิดเห็นตรงกับดาร์วินทุกอย่าง  และก็ได้รวมมือกันเขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ  กำเนิดพืชและสัตว์ต่างๆ

     

    หลังจากการเดินทางสำรวจห้าปี   ดาร์วินได้พาครอบครัว  คือบุตรภรรยาไปอยู่ที่ชนบทเล็กๆ ของเมืองเค้นต์  เนื่องจากสุขภาพไม่สมบรูณ์   เขาใช้ชีวิตอย่างสงบอยู่อีกนานถึงสี่สิบปี  ตลอดระยะเวลาอันยาวนานเขายังศึกษาค้นคว้าทางธรรมชาติวิทยาต่อไป   บริเวณบ้านพักของเขา  ปลูกตนไม้นานาพันธุ์   เขามีความสุขอยู่กับธรรมชาติ  เหมือนอย่างที่เขาเคยหนีเรียนไปยิงนกตกปลาสมัยเด็กๆ

     

    สุขภาพของเขาทรุดโทรมลงไปทุกวน  แต่กำลังใจดีตลอดเวลา   ยิ่งมีผู้โจมตีคัดค้านทฤษฏีของเขาเท่าไร  เขายิ่งมุมนะสร้างความศรัทธาเชื่อถือให้กับผู้ที่ยังหลงงมงายอยู่กับความเชื่อเก่าๆ มากเท่านั้น  และในที่สุดเขาก็เขาชนะพวกหัวรั้นได้

     

    ชาลส์  โรเบิร์ต   ดาร์วิน  ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  7  ธันวาคม  ..1882 (พ..2425) รวมอายุได้  72  ปี   ทางการได้ประกอบพีธีฝังศพเขาอย่างสมเกียรติที่วิหารเวสท์มินสเตอร์   อันเป็นสุสานบุคคลสำคัญของประเทศ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×