ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เปิดบ้านมหาวิทยาลัยขอนแก่น

    ลำดับตอนที่ #3 : ประวัติมหาวิทยาลัย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.57K
      1
      2 มี.ค. 51

    โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน  เนื่องจากผู้เขียนยังไม่ขัดเกลาภาษาหรือตรวจสอบข้อมูลในบางประเด็น  ดังนั้น ต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ด้วย  ซึ่งผู้เขียนจะทำการแก้ไขภายหลัง
       
      
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    เป็นอุดมศึกษาสถานแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เป็นศูนย์รวมทางความคิด สติปัญญาของสังคมและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะกระจายโอกาสทางการศึกษา ระดับอุดมศึกษา สู่ภูมิภาค ตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินดินลูกคลื่นสีแดง  มีชื่อเรียกว่า มอดินแดง บนพื้นที่ประมาณ 5,800 ไร่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของคณะวิชาถึง 18 คณะวิชา ด้วยกัน ได้แก่ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์  คณะศึกษาศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์  คณะพยาบาลศาสตร์  คณะทันตแพทยศาสตร์  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  คณะสัตวแพทยศาสตร์  คณะวิทยาการจัดการ  คณะวิทยาเขตหนองคาย  คณะสาธารณสุขศาสตร์  คณะเภสัชศาสตร์  คณะศิลปกรรมศาสตร์  คณะ     เทคนิคการแพทย์  คณะเทคโนโลยี  และคณะนิติศาสตร์

    มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภูมิภาคที่ได้รับการดำริให้จัดตั้งก่อนมหาวิทยาลัยใด  โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.  2484  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล  รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม  ได้มีนโยบายและโครงการที่จะขยายการศึกษาในระดับอุดมศึกษาสู่ภูมิภาค  โดยให้มีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ  และดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนี้ที่จังหวัดอุบลราชธานี

    ในปีแรกการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนั้น  เป็นเวลาเดียวกับที่ญี่ปุ่นนำทัพมาประชิดชายแดนไทยด้านกัมพูชา  และต่อมาในวันที่  8  ธันวาคม  พ.ศ.  2485  ได้เกิดสงครามเอเชียบูรพา  การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงได้หยุดชะงักลง 

    หลังสงครามยุติลงแล้ว  ในปีพ.ศ.  2503  รัฐบาลได้การก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น  จนเมื่อวันที่ 22  มกราคม  พ.ศ. 2505  ได้มีการประชุมคณะกรรมการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และมีมติให้จัดตั้งสถานศึกษาชั้นสูงทางเกษตรศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์  ที่จังหวัดขอนแก่น  เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 1   วันที่  8  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2505  จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติ  สถาบันเทคนิคขอนแก่น  ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า  KHONKAEN  INSTITUTE  OF  TECHNOLOGY  ใช้อักษรย่อว่า  K.I.T.  รัฐบาลได้มอบเรื่องให้สภาการศึกษาแห่งชาติ ดำเนินการหาด้านสถานที่จัดร่างหลักสูตรนอกจากนี้ยังเห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อสถาบันนี้เป็น  มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    คณะผู้สำรวจหาสถานที่จัดตั้งมหาวิทยาลัยได้มีมติเลือก  สถานพยาบาลสีฐาน  ซึ่งเป็นสถานรักษาบำบัดผู้ป่วยโรคเรื้อน  ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น  4  กิโลเมตร และได้ผนวกเอาที่ดินป่าสงวนเหนือขึ้นไปจากสถานพยาบาลซึ่งเป็นป่าเบญจพรรณปกคลุมพื้นที่สีฐานทำให้มหาวิทยาลัยมีพื้นที่รวมกันแล้วกว้างใหญ่กว่ามหาวิทยาลัยใดๆ  ในประเทศ  คือพื้นที่  5,500  ไร่อาคารคณะวิทยาศาสตร์ ในยุคแรก

                ส่วนงานในการก่อสร้างมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ได้เริ่มขึ้นหลังจากที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง  คณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียบร้อยแล้ว  เริ่มแรกได้จัดตั้งสำนักงานก่อสร้างที่สถานพยาบาลสีฐาน  อาคารแรกเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่  9  มิถุนายน พ.ศ. 2507  อาคารหลังนี้ปัจจุบันคือตึกคณะวิทยาศาสตร์  สูง 4 ชั้นตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เด่นที่สุดและสูงที่สุดในมหาวิทยาลัยมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากตัวเมืองขอนแก่น

                    ปีการศึกษา  2507  สำนักงานการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯได้รับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน  107  คน โดยแยกเป็นนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์  49  คน และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์  58  คน  โยฝากเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ( มหาวิทยาลัยมหิดล ) และได้เริ่มขอโอนและบรรจุบุคคลต่างๆเข้าเป็นอาจารย์รุ่นแรก  รวมถึงมีการเร่งรัดงานก่อสร้างมหาวิทยาลัยในทุกๆด้าน

                    หลังจากนั้นเริ่มรับนักศึกษารุ่นที่  2  จำนวน  126  คน และในวันที่  10-13  กรกฎาคม  พ.ศ.  2508  นั้นเอง  ศาสตราจารย์  ดร. พิมล  กลกิจ  ได้นำนักศึกษามาดูบริเวณมหาลัยที่เขาจะได้เข้ามาศึกษาในมาขอนแก่นครั้งนั้น   นายแพทย์  กระแส  ชนะวงศ์และคณะเทศบาลนครขอนแก่นได้ทำการต้อนรับมีพิธีรับน้องใหม่เป็นครั้งแรกอันประกอบด้วยพิธีบายศรีและเซิ้งบั้งไฟทุกคนในพิธีต่างพร้อมใจกันเรียกที่แห่งนี้ว่า  มหาวิทยาลัยของเรา  ก่อนที่คณะ     รัฐมนตรีจะมีมติเปลี่ยนชื่อจากมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาเป็น  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ในวันที่  31 สิงหาคม  พ.ศ. 2508

                    ในปี พ.ศ.2509 มีราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น  และประกาศใน

    พระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  25  มกราคม  พ.ศ. 2509 ซึ่งถือว่าเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยอีกทั้งยังพระกรุณาโปรดเกล้า   ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัย  จอมพลถนอม   กิตติขจร และนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น  และพิจารณาแต่งตั้งให้

                    1.ฯ พล ฯ   สารสิน  เป็นอธิการบดี

                    2. ศาสตราจารย์   พิมล   กลกิจ  เป็นรองอธิการบดีคณะวิทยาศาสตร์- อักษรศาสตร์และผู้รักษาการคณะบดีเกษตรศาสตร์

                    3. ดร. วิทยา   เพียรวิจิตร ผู้รักษาการคณะบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

                    และในปีเดียวกันนี้ได้ย้ายนักศึกษาที่ฝากเรียนไว้ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัย แพทย์ศาสตร์มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในสถานที่ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2509 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับนักศึกษารุ่นที่ 3 ในปีนั้นอธิการบดีได้ทำพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่เป็นครั้งแรกและทำพิธียกศาลพระภูมิซึ่งก็คือ  ศาลเจ้าพ่อมอดินแดงนั่นเอง

                20 ธันวาคม  พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงเสด็จดำเนินมาเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเป็นทางการและได้ทรงปลูกต้นกาลพฤกษ์ซึ่งถือว่าเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเป็นที่ระลึกในปี พ.ศ. 2511 เป็นปีที่บัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับพระราชทานปริญญาบัตรสภามหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าฯถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เมื่อวันที่  16ธันวาคม พ.ศ.2511 ซึ่งนับเป็นปริญญาบัตรแผ่นแรกของมหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลแก่   สถาบันการศึกษาแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง               

    ความมุ่งหวังในอดีตที่จะให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นเมืองมหาลัยที่สมบูรณ์แบบคงจะเห็นได้อย่างเด่นชัดจากความก้าวหน้าทางวิชาการรวมถึงความเป็นอยู่ของประชาคมในมหาลัยขอนแก่นซึ่งเกิดจากความร่วมแรงร่วมใจหลายๆ ฝ่ายตั้งแต่ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบันสมดังปณิธานมหาวิทยาลัยขอนแก่นคือ

                    มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์รวมความคิด สติปัญญาของสังคมและเป็นศูนย์รวมการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมหาวิทยาลัยขอนแก่นยึดมั่นในความเป็นเลิศทางวิชาการมีความสัมพันธ์กับนานาประเทศทั่วโลกเพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยที่ตั่งทางภูมิศาสตร์ใกล้ชิดกับกลุ่มประเทศอินโดจีนซึ่งเป็นแหล่งเชื่อมโยงความรู้ทางอินโดจีนอย่างแท้จริง     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×